ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประชาคมอาเซียน

    ลำดับตอนที่ #3 : การขยายตัวของสมาคมอาเซียน

    • อัปเดตล่าสุด 4 ต.ค. 54


    การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    เป็นกระบวนการซึ่งขยายสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการรับรัฐสมาชิกใหม่เข้ามา กระบวนการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อสมาชิกก่อตั้งห้าประเทศ ที่ได้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ใน พ.ศ. 2510

    นับตั้งแต่นั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เพิ่มเป็นสิบประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมกับอาเซียนคือ
    กัมพูชา ใน พ.ศ. 2542

    ปัจจุบัน การเจรจารับเข้าเป็นสมาชิกกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนกับสองรัฐ ได้แก่
    ปาปัวนิวกินี  กับติมอร์ตะวันออก

    เกณฑ์การเข้าเป็นสมาชิก

    หนึ่งในเกณฑ์สมาชิกคือ สมาชิกในอนาคตนั้นจะต้องยอมตกลงลงนามหรือเข้าร่วมกับสนธิสัญญา แถลงการณ์และความตกลงทั้งหมดในอาเซียน เริ่มตั้งแต่ที่ระบุไว้ในปฏิญญากรุงเทพเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 และที่เพิ่มเติมและพัฒนาขึ้นในสนธิสัญญา แถลงการณ์และความตกลงของอาเซียนในเวลาต่อมา ความกังวลร่วมกันอย่างหนึ่งซึ่งจะต้องหยิบยกขึ้นมาเจรจาคือ ความสามารถของสมาชิกที่คาดหวังในการเข้าร่วมกับเขตการค้าเสรีอาเซียน และการจัดการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น อีกหนึ่งวิธีกำหนดเป้าหมายของสมาชิกที่คาดหวังที่สำคัญคือ การเข้าร่วมในการประชุมอาเซียนและการมีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือต่าง ๆ

    ปฏิญญากรุงเทพมิได้วางเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกเลย นอกเหนือไปจากประเทศนั้นจะต้องตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหลักการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั่วไป อาเซียนไม่มีเกณฑ์การเข้าเป็นสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของรัฐบาล ระบบและทิศทางอุดมการณ์ นโยบายเศรษฐกิจหรือระดับการพัฒนา หากมีเกณฑ์ดังกล่าวมากำหนดการเข้าเป็นสมาชิกแล้ว องค์การความร่วมมือในภูมิภาคจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทำให้องค์การดังกล่าวมีความหลากหลาย  และเพื่อจะได้รับการยอมรับเป็นรัฐสมาชิกอาเซียน รัฐนั้นจะต้องมีสถานเอกอัครราชทูตอยู่ในทุกประเทศสมาชิกในปัจจุบันของกลุ่ม

    เกณฑ์การได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์

    เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนได้ตกลงใน พ.ศ. 2526 ว่า สถานะผู้สังเกตการณ์ "ควรมอบให้เฉพาะกับรัฐที่มีศักยภาพเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนที่เป็นไปตามเกณฑ์สมาชิกภาพอาเซียน" โดยมีเกณฑ์ข้อหนึ่งระบุว่า "มีเพียงรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนได้"

    เกณฑ์การเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก

    การประชุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum, ARF) เวทีอภิปรายพหุภาคีในหมู่ประเทศเอเชีย-แปซิฟิก มีเป้าหมายจะส่งเสริมการเจรจาและการปรึกษาระหว่างประเทศ ทั้งยังสนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นใจและการทูตเชิงป้องกันตลอดภูมิภาค เกณฑ์สมาชิกภาพสำหรับ ARF เช่นเดียวกับคู่เจรจาอื่น ๆ ระบุไว้ระหว่าง ARF ครั้งที่สองใน พ.ศ. 2539 ในกรุงจาการ์ตา

    การขยายตัวในอดีต

    สมาชิกผู้ก่อตั้ง

    อาเซียนถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของห้าประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย ประชุมกันที่อาคารกระทรวงการต่างประเทศของไทยในกรุงเทพมหานคร และลงนามปฏิญญาอาเซียน ซึ่งรู้จักกันมากกว่าในชื่อ ปฏิญญากรุงเทพ รัฐมนตรีทั้งห้า อันประกอบด้วย อดัมกับอีฟ มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร

    บรูไนและเวียดนาม

    ใน พ.ศ. 2519 รัฐปาปัวนิวกินีในเมลานีเซีย ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์  กลุ่มอาเซียนมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเมื่อ  บรูไนดารุสซาลามเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 เพียงแค่สัปดาห์เดียวหลังประเทศได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม ปีนั้น  วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่เจ็ด

    ลาว พม่าและกัมพูชา

    สมาชิกสามประเทศล่าสุดของอาเซียนยื่นคำขอเข้าร่วมกลุ่มในคริสต์ทศวรรษ 1990   ลาวเป็นผู้สังเกตการณ์อาเซียนที่การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 25 ที่จัดขึ้นในกรุงมะนิลา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 ที่ AMM ครั้งที่ 28 ในบันดาร์เสรีเบกาวัน รัฐมนตรีต่างประเทศลาวกล่าวว่า เขาปรารถนาจะเห็นลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนใน พ.ศ. 2540 ความปรารถนาดังกล่าวแสดงในจดหมายขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของลาว ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539

    กัมพูชาได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ที่ AMM ครั้งที่ 28 ที่จัดขึ้นในบันดาร์เสรีเบกาวัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชายื่นคำขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในจดหมายลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2539 เช่นเดียวกับลาว กัมพูชาปรารถนาจะเข้าร่วมกับอาเซียนใน พ.ศ. 2540

    รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าเข้าร่วม AMM ครั้งที่ 28 จัดขึ้นในบันดาร์เสรีเบกาวัน ในฐานะแขกของรัฐเจ้าภาพ เขาเข้าร่วม AMM ครั้งที่ 27 จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ในฐานะเดียวกัน ระหว่าง AMM ครั้งที่ 28 พม่าเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยื่นคำขอสถานะผู้สังเกตการณ์อาเซียน ประมุขรัฐบาลพม่า พร้อมด้วยประมุขแห่งรัฐบาลลาวและกัมพูชา เข้าร่วมประชุมกับประมุขรัฐบาลอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ห้า จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เขาแสดงความหวังว่า พม่าจะได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์อาเซียนในการประชุม AMM ครั้งถัดไป คือครั้งที่ 29 ที่จัดขึ้นในอินโดนีเซีย ใน พ.ศ. 2539

    คณะกรรมการความมั่นคงอาเซียน (ASC) ก่อตั้งคณะทำงานว่าด้วยสมาชิกภาพของกัมพูชาและลาวเพื่อพิจารณาประเด็นทั้งหมดภายใต้ขอบเขตของ ASC ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการสำหรับและของสมาชิกที่คาดหวังทั้งสองประเทศในการเข้าร่วมกับอาเซียน วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 คณะทำงานจุดการประชุมกับเลขาธิการของกรมอาเซียนลาวในกรุงจาการ์ตา

    ที่ AMM ครั้งที่ 29 พม่าได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในอาเซียน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าได้ปรึกษากับอาเซียนและเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกเป็นครั้งแรก วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2539 รัฐมนตรีต่างประเทศพม่ายื่นคำขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของพม่า เขายังได้แสดงความปรารถนาว่าประเทศพม่าจะเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนภายใน พ.ศ. 2540 พร้อมกับกัมพูชาและลาว

    ASC ได้ขยายอำนาจของคณะทำงานที่กำลังศึกษาสมาชิกภาพของกัมพูชาและลาวให้รวมสมาชิกภาพของพม่าด้วย[4] ลาวและพม่าได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 กัมพูชาเองก็มีกำหนดเข้าร่วมพร้อมกับลาวและพม่าเช่นกัน แต่ถูกเลื่อนออกไปเพราะการต่อสู้ทางการเมืองภายในประเทศ ภายหลังประเทศเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 หลังรัฐบาลมีเสถียรภาพมั่นคงแล้ว

    ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1990 กลุ่มมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับแรงขับเคลื่อนให้บูรณาการมากขึ้น ใน พ.ศ. 2533 มาเลเซียเสนอให้จัดตั้ง

    ความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก   ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกอาเซียนขณะนั้น เช่นเดียวกับสาธารณรัฐประชาชนจีนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของสหรัฐอเมริกาในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) เช่นเดียวกับในภูมิภาคเอเชียโดยรวม   อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวล้มเหลว เพราะได้รับเสียงคัดค้านอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น   แต่แม้จะล้มเหลว รัฐสมาชิกยังคงทำงานเพื่อบูรณาการต่อไปและอาเซียนบวกสามถูกจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2540

    ใน พ.ศ. 2535 แผนอัตราศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff - CEPT) มีการลงนามเป็นกำหนดการภาษีศุลกากรและมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันของภูมิภาคเป็นฐานการผลิตที่ขับเคลื่อนตลาดโลก กฎหมายดังกล่าวอาจเป็นเสมือนกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 มาเลเซียก็รื้อฟื้นข้อเสนอขึ้นมาอีกครั้ง รู้จักกันในชื่อ การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเรียกร้องบูรณาการที่ดียิ่งขึ้นระหว่างเศรษฐกิจอาเซียนเช่นเดียวกับประเทศอาเซียนบวกสาม

    การขยายตัวในอนาคต

    ปาปัวนิวกินี

    ปาปัวนิวกินี หนึ่งในประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ เป็นประเทศผู้สังเกตการณ์กลุ่มภูมิภาคอาเซียนนับแต่ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้าประเทศสมาชิกอาเซียนที่มิได้เป็นสมาชิกก่อตั้งเสียอีก ข้อเท็จจริงที่ว่าปาปัวนิวกินีเป็นประเทศนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ เพราะการรับรองปาปัวนิวกินีมีก่อนการใช้บังคับการตัดสินใจใน พ.ศ. 2526 ซึ่งจำกัดให้เฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นจึงจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภูมิภาคได้

    ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 29 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงจาการ์ตา ใน พ.ศ. 2539 รัฐมนตรีต่างประเทศปาปัวนิวกินี Kilroy Genia แสดงความปรารถนาของปาปัวนิวกินีในการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์กับอาเซียน โดยเสนอว่าปาปัวนิวกินีจะขอเป็นสมาชิกประเภทสมทบถาวรของอาเซียน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของปาปัวนิวกินี Michael Somare ชี้ระหว่างการเดินทางเยือนฟิลิปปินส์ใน พ.ศ. 2552 ว่า ประเทศของเขาพร้อมและสามารถเติมเต็มข้อกำหนดสมาชิกภาพในการรวมกลุ่มภูมิภาค

    ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×