คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : เส้นทางสู่อนาคตเมื่อจบ ม.6
เส้นทางสู่อนาคตเมื่อจบ ม.6
เส้นทางสู่อนาคตเมื่อจบ ม.6
เมื่อนักเรียนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีแนวทางศึกษาต่อ ดังต่อไปนี้
1. มหาวิทยาลัยปิด
2. มหาวิทยาลัยเปิด
3. มหาวิทยาลัยเอกชน
4. สถาบันพยาบาล-สาธารณสุข
5. สถาบันทหาร-ตำรวจ
6. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐอื่น ๆ
7. สถาบันวิชาชีพอื่น ๆ
วิธีการเข้าศึกษา มี 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. ระบบรับตรง ระบบโควตา และโครงการพิเศษ สถาบันจะเป็นผู้รับสมัครและคัดเลือกเอง ตามหลักเกณฑ์ของแต่ละสถาบันที่กำหนด
2. ระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ 12 สถาบัน และคณะทันตแพทยศาสตร์ 5 สถาบัน จัดสอบวิชาเฉพาะและวิชาสามัญ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www9.si.mahidol.ac.th/
3. ระบบแอดมิสชั่นส์กลาง (Admissions) นักเรียนสามารถเลือกสาขาวิชาได้ไม่เกิน 4 อันดับ โดยใช้องค์ประกอบของ GPAX , O-NET , GAT และ PAT
****การเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่าง ๆ นักเรียนจะต้องดูเงื่อนไขของแต่ละสถาบัน**** ****เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ เมื่อได้รับการคัดเลือกและรายงานตัวในระบบรับตรงแล้ว**** ****จะถูกส่งรายชื่อไปยังระบบแอดมิสชั่นส์กลางเพื่อตัดสิทธิ์****
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกัน GPAX , O-NET , GAT และ PAT
1. GPAX หมายถึง ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีค่าน้ำหนัก 20 %
2. O-NET (Ordinary National Education Test) หมายถึง การสอบความรู้รวบยอดระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีค่าน้ำหนัก 30 %
3. GAT (General Aptitude Test) หมายถึง ความถนัดทั่วไป เป็นการวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มีค่าน้ำหนัก
10 50 % แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และโจทย์แก้ปัญหา
- ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ
4. PAT (Professional and Academic Aptitude Test) หมายถึง ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ เป็นการวัดความรู้พื้นฐานและศักยภาพในการเรียนวิชานั้น ๆ มีค่าน้ำหนัก 0 40 % แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
- PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
- PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
- PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
- PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
- PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
- PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
- PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
(ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน อาหรับ บาลี)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จะยื่นคะแนนเข้าศึกษาต่อจะต้องดูเกณฑ์และคุณสมบัติที่แต่ละคณะ/สาขาวิชาของแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดว่า จะต้องสอบวิชาประเภทใดบ้าง
การสอบ O-NET นักเรียนสอบครั้งเดียวขณะกำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
การสอบ GAT / PAT นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบได้ปีละ 2 ครั้ง ช่วงเดือนตุลาคม และ มีนาคม (ขณะนักเรียนกำลังเรียนชั้น ม.6) สามารถเก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี นับจากวันสอบ และเลือกคะแนนที่ดีที่สุดในการยื่นคะแนน คะแนนที่ยื่นของแต่ละวิชา ไม่จำเป็นต้องคะแนนการสอบในครั้งเดียวกัน
การสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admissions) นักเรียนสามารถเลือกคณะ/สาขาวิชาได้ 4 อันดับ โดยดูจากความสามารถ ความชอบ ความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพ อาชีพที่สนใจในอนาคต และพิจารณาร่วมกับผลคะแนน GPAX , O-NET , GAT และ PAT ซึ่งนักเรียนสามารถคำนวณคะแนนต่าง ๆ ได้เอง เพื่อจะได้ทราบที่มาของคะแนน โดยเทียบคะแนนเต็ม 30,000 คะแนน ดังตัวอย่างใน
http://writer.dek-d.com/skn-guidance/writer/viewlongc.php?id=567704&chapter=8
หรือในโปรแกรมคำนวณใน http://www.cuas.or.th/index.php คะแนนที่นักเรียนได้ ควรจะมากกว่าหรือเท่ากับคะแนนต่ำสุดของคณะ/สาขาวิชาที่นักเรียนสนใจ ในการคัดเลือกเข้าศึกษาในปีที่ผ่าน ๆ มา จึงจะมีโอกาสผ่านการคัดเลือก คะแนนสูง-ต่ำของคณะ/สาขาวิชาในแต่ละปีการศึกษาอาจจะผันผวน จึงควรจะศึกษาย้อนหลังดู 2-3 ปี
อย่างไรก็ตามนักเรียนควรจะหมั่นตั้งใจเรียน และทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการฝึกทำข้อสอบเก่า ๆ บ่อย ๆ เพื่อจะได้ทราบแนวโน้มของข้อสอบ นักเรียนบางคน สามารถผ่านการคัดเลือกได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนในสถาบันกวดวิชาต่าง ๆ เลย
สกอ. = สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา www.cuas.or.th
นักเรียนและผู้ปกครองในระดับชั้น ม.ปลาย ควรจะติดตามข่าวคราวการรับสมัครตลอดจนศึกษาเกณฑ์การรับสมัครของคณะ/สาขาวิชา ต่าง ๆ ที่นักเรียนสนใจ จากเว็บไซต์ของสถาบันต่าง ๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า และข้อมูลที่น่าสนใจ จาก.........
Website งานแนะแนว www.skn.ac.th
หรือ http://my.dek-d.com/skn-guidance/
สทศ. = สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ www.niets.or.th
ความคิดเห็น