ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสามก๊ก (๕) สองพี่น้องสกุลซุน

    ลำดับตอนที่ #2 : ซุนกวน - สร้างขึ้นนั้นง่าย แต่รักษาไว้นั้นยากยิ่ง

    • อัปเดตล่าสุด 4 ม.ค. 50


    ชีวประวัติ ซุนกวน - Sun Quan - ซุนฉวน (A.D.181-251)
    เขียนโดย ปาโมไทแมน
    (wen_narokjud@hotmail.com)

     


    Sun Quan from ROTK 9


    เป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน มีชื่อรองคือจงโหมว เป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กตายซุนกวนจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งต่อ ด้วยอายุเพียง18ปี ซุนกวนแม้จะไม่เก่งในด้านรบเหมือนซุนเซ็ก แต่ซุนกวนก็มีฝีมือในด้านการปกครองสูงมาก อีกทั้งยังได้ขุนนางดีๆมาช่วย เช่นจิวยี่ โลซก ลกซุน ลิบอง เตียวเจียว และอีกมากมายทำ
    ให้ง่อก๊กเป็นก๊กที่อยู่ได้นานที่สุดใน3ก๊ก ซุนกวนมักมีนโยบายที่สำคัญคือ ไม่ชอบตีฝ่ายอื่น แต่ถนัดในด้านรับ เพราะง่อก๊กมีทำเลที่ยากแก่การบุก และซุนกวนก็มีนโยบายที่สำคัญคือยอมเป็นพันธมิตรแก่โจโฉบ้าง แก่เล่าปี่บ้าง

    หลังจากศึกผาแดง ก๊กเล่าปี่ก็ได้แอบไปยึดเมืองเกงจิ๋วของซุนกวน ซุนกวนพยายามให้โลซกมาทวงเมือง เกงจิ๋วคืนหลายครั้งแต่ก็ไม่ได้ จนกระทั่งส่งจูกัดกิ๋นพี่ชายของขงเบ้งมาขอลูกสาวกวนอูให้ลูกชายตน เพื่อผูกสัมพันธ์ แต่ถูกกวนอูปฏิเสธอย่างไร้เยื่อไยด้วยคำว่า “บุตรของเรานี้ชาติเชื้อเหล่าเสือไม่สมควรจะให้แก่สุนัข”ทั้งกวนอูยังจะตัดหัวจูกัดกิ๋นอีก ทำให้ซุนกวนตัดสินใจร่วมมือกับโจโฉเพื่อที่จะยึดเมืองเกงจิ๋วคืน
    ต่อมาซุนกวนยึดเมืองเกงจิ๋วคืนได้ และสั่งประหารกวนอู เล่าปี่จึงยกทัพใหญ่มาบุกง่อก๊กเพื่อแก้แค้นให้แก่กวนอูและเตียวหุยทั้งๆที่ไม่มีขงเบ้งไปด้วย แถมยังจัดทัพไม่ได้เรื่อง ก็เลยพ่ายแพ้ต่อทัพของซุนกวนที่นำมาโดยลกซุนไปอย่างยับเยิน

    ครั้งที่พระจ้าเล่าปี่ยกทัพมานั้น ซุนกวนสวามิภักดิ์ต่อวุยก๊ก พระเจ้าโจผีจึงตั้งให้เป็น เงาอ๋อง ต่อมาซุนกวนตัดความสัมพันธ์กับพระเจ้าโจยอย(โจผีตายไปแล้ว)และตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ ในปีคศ.228 ทรงพระนามว่าพระเจ้าอู๋ต้าตี้ ครองราชสมบัติอยู่ยี่สิบสี่ปี จึงสิ้นพระชนม์เมื่ออายุได้71ปี ในปีคศ.251

    ซุนกวนนั้นมีลูกชายลูกหลายคน คือ ซุนเต๋ง ซุนโห ซุนเหลียง และซุนฮิว(คนละคนกับที่ปรึกษาของโจโฉนะครับ) ซึ่งซุนเต๋งตอนแรกจะได้เป็นคนต่อไปที่จะเป็นฮ่องเต้ต่อจากซุนกวน แต่เกิดป่วยตายขึ้นมาก่อน ซุนโหก็เกิดอะไรขึ้นไม่ทราบ ฆ่าตัวตาย จึงต้องตั้งซุนเหลียงขึ้นมาแทน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×