การใช้โปรแกรม Adobe Illustrator สร้างงานกราฟิก (vector ลายไท
ผู้เข้าชมรวม
3,838
ผู้เข้าชมเดือนนี้
8
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
บทที่1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญ
จุดเริ่มต้นของนักออกแบบ และสร้างงานกราฟิกบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เราจะเริ่มต้นกันที่การเรียนรู้กับชนิดของภาพกราฟิก และโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างงานกราฟิก ตลอดจนการจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งโปรแกรมสำหรับงานกราฟิกเหล่านั้นที่เราต้องการ
คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการออกแบบกราฟิกมากกว่าเครื่องมือชนิดอื่น ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยในปัจจุบันส่งผลให้การออกแบบไฟล์งานกราฟิกสำหรับงานพิมพ์ต่าง ๆ เช่น โลโก้ ฉลากผลิตภัณฑ์ ป้ายโฆษณา นามบัตร การ์ดเป็นที่แพร่หลาย จุดเริ่มต้นของนักออกแบบ และสร้างงานกราฟิกบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เราจะเริ่มต้น
กันที่การเรียนรู้กับชนิดของภาพกราฟิกและโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างงานกราฟิก
โปรแกรม Adobe Illustrator จึงถูกนำมาใช้ตอบสนองผู้ใช้งานในการแก้ไขปัญหาข้างต้น
โดยตัวโปรแกรมนี้สามารถสร้างงานกราฟิกความละเอียดสูงสำหรับเครื่องพิมพ์ไฟล์ที่ได้จะไม่สูญเสียความละเอียดเมื่อถูกนำไปใช้ขยายในสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ ๆ เช่น ไวนิล หรือป้ายโฆษณา และงานที่ได้จะใช้โหมดสีเดียวกันกับเครื่องพิมพ์ สีที่ได้ในงานพิมพ์จึงไม่ผิดจากต้นฉบับ เรียกได้ว่าโปรแกรมนี้เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะ
Adobe Illustrator เป็นโปรแกรมออกแบบที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่ชอบสร้างงานศิลปะ และนักออกแบบทั่วไป ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาจนถึงเวอร์ชั่น CS5 เนื่องจากโปรแกรมนี้ใช้งานง่าย มีการแบ่งส่วนปะกอบของหน้าต่างและเครื่องมือออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน โดยสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพการ์ตูน ภาพเหมือนจริง
โลโก้ ปกหนังสือ ภาพสเก๊ต งานโฆษณาและงานด้านสื่อพิมพ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงงานด้าน
เว็บเพจและยังประกอบกับความสามารถในการตกแต่งภาพด้วยการใช้ฟิลเตอร์และเอฟเฟ็กต์รูปแบบต่างๆที่จะช่วยเพิ่มลูกเล่นให้ผลงานมีความสวยงามดูแปลกตามากขึ้น
1.2 รายละเอียดโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
รับผิดชอบโครงการโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ได้แก่
นางสาวเบญจมาศ อรุณมาส
โดยมี ผศ. เสรภูมิ วรนิมมานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
1.3 วัตถุประสงค์การวิจัย
1.3.1 เพื่อศึกษาเข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์ และเครื่องมีที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม
กราฟิก Adobe Illustrator
1.3.2 เพื่อศึกษาเข้าใจวิธีการวาดภาพกราฟิกภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นที่เกิด เช่น เส้นตรง วงกลม และรูปหลายเหลี่ยม เป็นต้น
1.3.3 เพื่อศึกษาเข้าใจถึงระบบสี และการให้สีและลวดลาย ให้กับวัตถุ
1.3.4 เพื่อศึกษาเข้าใจถึงหลักการสร้างภาพกราฟิกที่มีความซับซ้อน
1.3.5 เพื่อศึกษาความสามารถสร้างภาพกราฟิกโดยใช้โปรแกรม Adobe Illustrator
1.3.6 เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจกับกราฟิกคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการทำงานด้านกราฟิกเบื้องต้น
1.4 สมมติฐานการวิจัย
1.4.1 เพื่อเผยแพร่ vectorสำหรับผู้ใช้โปรแกรมกราฟิก
1.4.2 เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการทำ vector
1.5 ขอบเขตของการวิจัย
1.5.1 การหาข้อมูลจากหนังสือที่เกี่ยวข้อง
1.5.2 การฝึกทำ vector จากโปรแกรม Adobe Illustrator
1.6 ขั้นตอนการทำวิจัย
1.6.1 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Adobe Illustrator เพื่องานกราฟิกจาก ตำรา หนังสือ
1.6.2 สอบถามเรื่องการทำ vector จากโปรแกรม Adobe Illustrator จากอาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
นิยามศัพท์เฉพาะ
การใช้โปรแกรม Illustrator คือโปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นหรือเวกเตอร์ และยังสามารถรวมภาพกราฟิกที่แตกต่างกันระหว่างเวกเตอร์และบิตแมพ ให้เป็นงาน
กราฟิกที่มีทั้งภาพเป็นเส้นที่คมชัดและมีเอฟเฟกต์สีสันสวยงามหรือมีความแปลกใหม่ร่วมกันได้ เปรียบเราเป็นจิตรกร Illustrator ให้เราสามารถสร้างภาพโดยเริ่มสร้างภาพโดยเริ่มต้นจากหน้ากระดาษเปล่าเหมือนจิตรกรที่เขียนภาพลงบนผืนผ้าใบ โดยใน Illustrator จะมีทั้งพู่กัน ดินสอ
และอุปกรณ์การวาดภาพอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์
Illustrator ทำอะไรได้บ้าง
>> งานสิ่งพิมพ์
ไม่ว่าจะเป็นงานโฆษณา โบว์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่าเกือบทุกสิ่งพิมพ์ที่
ต้องการความคมชัด
>> งานออกแบบทางกราฟิก
การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออก
แบบการ์ดอวยพร ฯลฯ
>> งานทางด้านการ์ตูน
ในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการ
วาดรูปได้เป็นอย่างดี
>> งานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
ใช้สร้างภาพตกแต่งเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น Background หรือปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่องตลอดจน
ภาพประกอบต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ
§ ความหมายของกราฟิก
กราฟฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ
1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
2. Graphein หมายถึง การเขียน
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้
สื่อสารต้องการกราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของ
ภาพบิตแมพที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่
ระบุ(Over)
เป็นภาพที่เกิดจากเส้นตรง เส้นโค้ง และสีต่างๆ ซึ่งถูกบรรจุเอาไว้ในลักษณะสมการทางคณิตศาสตร์ใช้กันมากในงานประเภทที่ต้องการความแม่นยำ และความละเอียดสูง เช่น การออกแบบโลโก้ สร้างภาพสามมิติ การสร้างภาพทางวิศวกรรม สร้างภาพ Clip Art เนื่องจากงานดังกล่าวจะถูกปรับย่อ- ขยายบ่อย ๆ จุดเด่นของภาพแบบ Vector คือ ภาพคมชัด เม็ดสีไม่แตกเมื่อเกิดการปรับย่อ ซ้ำ ๆ จุดด้อยของภาพแบบ Vector คือ ภาพที่ได้ไม่สมจริงจะเหมาะกับ
งานที่เป็นกราฟิกมากกว่าสร้างภาพเหมือนจริง โปรแกรมที่ทำงานกับภาพกราฟิกแบบ Vector มีอยู่หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรม Illustrator, Flash , 3d Studio max เป็นต้น และจะถูกบันทึกเอาไว้ในไฟล์นามสกุล Al , SWF , EPSเป็นต้น
§ ลายไทย
คือ คำที่เรียกว่า"ลาย"นั้น หมายถึงลายดอกหรือลายเครือเถา มีรูปร่างเป็นดอกไม้ หรือถูกดัดแปลงเป็นตัวเทศ ใบเทศ สมมุติเป็นรูปดอก ใบ เพื่อให้เข้าใจง่าย ส่วนคำว่า"กนก" มีรูปลักษณ์เป็นกอ กาบ กิ่ง ก้าน ใบ โดยผูกให้สวยงาม เป็นฝีมือของช่างระดับชั้นครูเท่านั้น จึงเขียนได้อย่างอ่อนช้อยสวยงาม ปัจจุบันมักเรียกรวมกันว่า โดยใส่คำว่า"ลาย"ไว้ข้างหน้า เช่น ลายกนก ลายประจำยาม เป็นต้น
ปฐมกำเนิดลายไทย
อันเแบบแผนลายไทยเท่าที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ถือได้ว่าเป็นแบบแผนตายตัว เนื่องด้วยลายไทยได้วิวัฒนาการตัวเอง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนสู่จุดสมบูรณ์ กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยจนถึงทุกวันนี้ ที่จริงในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ลายไทยมิได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ จากการค้นคว้าลายรุ่นเก่า บนลายปูนั้นและลายจำหลักศิลา บนใบเสมารุ่นอู่ทอง และสุโขทัย ซึ่งพบทั่วไปในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ของนครเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา ลงไปสุดใต้ที่นครศรีธรรมราช ลายอันปรากฏนั้น มิได้เป็นลายที่สืบต่อมาจากขอม หรือ ทวารวดี หากแต่เป็นลายที่ เกิดขึ้นจากการ "สลัดแอกอิทธิพลอินเดีย" เข้าสู่ความเป็นตนเอง โดยจะมีลักษณะเหมือนธรรมชาติ คือเป็นลายเครือเถา ลายก้านขด ประกอบด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ รูปนก สัตว์จตุบาท (สัตว์ ๔ เท้า) ทวิบาท (สัตว์ ๒ เท้า) ต่างๆ ซึ่งลายลักษณะนี้ เป็นลายคนละตระกูล กับลายอันมีอิทธิพลจากอินเดีย
ลายไทยนั้นได้มีวิวัฒนาการ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยนับเริ่มต้นได้ตั้งแต่ ในสมัยอู่ทอง อโยธยา สุโขทัย ลายไทยในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ลายไทยอันสง่างาม เลื่อนไหลเเป็นเปลวไฟ ในสมัยอุธยายาตอนปลาย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และศิลปะของเมืองหลวงปัจจุบัน
ศิลปภาพลายไทย
ชาติไทยเราได้รับมรดกตกทอดทางศิลปมาแต่บรรพบุรุษ อันหาค่ามิได้ และงดงามทางศิลป ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นศิลปไทย รู้สึกติดตาตรึงใจ ที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้เกิดปิติ ความสงบ และความสุขสบายใจ
การเขียนภาพลายไทย
นี้มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนภาพลายไทยในกาลก่อนมีความรู้สึกนึกคิด ตามสิ่งที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำมาเขียนเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ ต่อมาได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวอินเดีย ได้นำศิลปะหลายแขนงเข้ามา ครูอาจารย์คนไทย ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์เหล่านั้น แล้วนำมาผสม ผสานกับศิอลปดั้งเดิม ของคนไทยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานตามประวัติศาสตร์ลายไทย ได้เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสน สืบทอดกันมาที่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ ต่อมาช่างเหล่านั้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดินเรียก ช่างหลวง หรือ ช่างสิบหมู่
ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น ๔ ได้แก่
๑. หมวดกระหนก หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนกใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
๒. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึกเขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
๓. หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอายักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่อง
ผลงานอื่นๆ ของ koiiz64 ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ koiiz64
ความคิดเห็น