โครงการการศึกษาอารมณ์ของมนุษย์จากการถ่ายภาพ - นิยาย โครงการการศึกษาอารมณ์ของมนุษย์จากการถ่ายภาพ : Dek-D.com - Writer
×

    โครงการการศึกษาอารมณ์ของมนุษย์จากการถ่ายภาพ

    ผู้เข้าชมรวม

    89

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    89

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  6 ต.ค. 54 / 00:00 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    บทที่1

    บทนำ

    1.1   ความเป็นมาและความสำคัญ

             เนื่องในปัจจุบันสภาวะสังคมทางเศรษฐกิจได้มีการแข่งขันกันมากขึ้น เนื่องจากค่าของเงินบาทที่มีความสูงตัวขึ้นทำให้ประชากรมีการแข่งขันในด้านเชิงการค้ามากขึ้นการดำรงชีวิตเป็นไปได้อย่างอยากลำบาก เพราะด้วยปัจจัยหลายๆด้านในการดำรงชีวิต จึงคิดที่จะศึกษาอารมณ์ของมนุษย์ ที่มี

    ด้วยกันหลายอารมณ์หลายบุคลิกไม่ว่าจะเป็น เด็กวัยรุ่น คนแก่ ทุกเพศทุกวัย ทุกคนย่อมมีความรู้สึกด้วยกันทั้งนั้น ที่จะแสดงออกมาจากทางสีหน้าแต่ละบุคคล ผ่านการถ่ายภาพ PORTRAIT ซึ่งจะถ่ายทอดอารมณ์ของคนนั้นได้อย่างลึกซึ้ง เป็นการบันทึกความทรงจำ การนึกคิดการกระทำ ณ เวลานั้นๆ ได้เป็นอย่างดี และด้วยปัจจุบันการถ่ายภาพนับวันยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากราคาของอุปกรณ์กล้องที่ลดลง ทำให้หลายคนจับจองซื้อหามาเป็นเจ้าของได้ไม่ยากทำให้มีเทคนิคการถ่ายภาพออกมาในหลายรูปแบบด้วยกัน แล้วปัจจุบันวัตถุประสงค์การนำภาพไปใช้งาน มิใช่เป็นเพียงการนำภาพที่ถ่ายไว้ไปอัดที่ร้านแล้วก็เก็บไว้ดูเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการนำภาพไปโพสต์โชว์บนเว็บบล๊อก หรือเว็บประเภท social Network ได้อีกช่องทางด้วย เรื่องการถ่ายภาพ

    เป็นที่เหมาะสมเพราะสามารถนำไปต่อยอดในการทำงานด้านนิเทศศิลป์ได้มากมายด้วยกัน

     

    1.2 รายละเอียดโครงการ

          ผู้รับผิดชอบ

         รับผิดชอบโครงการโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ได้แก่

         นายณัฐพล  กุลขจรวดี

    โดยมี ผศ. เสรภูมิ วรนิมมานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

     

     

    1.3 ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

    1.3.1 เพื่อพัฒนาการถ่ายภาพ

    1.3.2 ฝึกฝีมือทักษะในการถ่ายภาพหรือผู้ที่หัดถ่ายภาพเบื้องต้น

    1.3.3 พัฒนาการถ่ายภาพ Portrait ให้เกิดความน่าสนใจ

    1.3.4 เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพ

     

    1.4 สมมุติฐานของการวิจัย

     

    1.4.1 ได้ศึกษาการฝึกทักษะการถ่ายภาพ Portrait เกี่ยวกับอารมณ์ของมนุษย์

    1.4.2 เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับอารมณ์ของมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง

    1.4.3 เพื่อคำนึงถึงการถ่ายภาพให้เกิดความน่าสนใจ

    1.4.4 ทดสอบเมื่อผู้พบเห็นภาพถ่ายแล้วจะมีอารมณ์กับภาพถ่ายมากแค่ไหน

     

    1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

     

    1.5.1 ได้องค์ความรู้เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจศึกษาอารมณ์ของมนุษย์จากการถ่ายภาพ

    1.5.2 เพื่อเป็นเทคนิคให้กับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ

     

    1.6 ขอบเขตการวิจัย

     

    1.6.1 ศึกษาเฉพาะ การถ่ายภาพ Portrait บุคคล

    1.6.2 ศึกษาอารมณ์ที่เกิดจากของมนุษย์จากการถ่ายภาพ

     

    1.7 ขั้นตอนของการการวิจัย

     

    1.7.1 รวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร จากหนังสือ ตำรา อินเตอร์เน็ต และรูปภาพประกอบที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพ Portrait

    1.7.2 สอบถามความรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

     

    1.8 ตัวแปรที่ศึกษาวิจัยประกอบด้วย

     

    (1) ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ผลลัพธ์ที่ออกมาจากเรื่อง การศึกษาอารมณ์ของมนุษย์จากการถ่ายภาพPortrait

    นิยามศัพท์

    การศึกษา หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความหมายของการศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ไว้ดังนี้ "การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศก็ย่อมทำได้สะดวกราบรื่น ได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว" จะเห็นว่าการศึกษามีความหมายใน ๒ มิติ คือมิติแรกเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ และมิติที่สองเป็นการพัฒนาบุคคลผู้ศึกษาเองให้มีความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรม ซึ่งทั้งสองมิติแห่งความหมายนี้แยกกันไม่ได้ ตรงกันข้ามจะต้องควบคู่กันไปเพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีความรู้ แต่มีความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยมและคุณธรรม ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมจะนำไปสู่การใช้ความรู้ในทางที่ไม่ก่อประโยชน์ต่อทั้งตนเองและส่วนรวมได้ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งในเรื่องนี้มีความหมายตอนหนึ่งว่า "ความรู้กับดวงประทีปเปรียบกันได้หลายทาง ดวงประทีปเป็นไฟที่ส่องแสงเพื่อนำทางไป ถ้าใช้ไฟนี้ส่องไปในทางที่ถูก ก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสะดวกเรียบร้อย แต่ถ้าไม่ระวังไฟนั้น อาจเผาผลาญให้บ้านช่องพินาศลงได้ ความรู้เป็นแสงสว่างที่จะนำเราไปสู่ความเจริญ ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้ความรู้ก็จะเป็นอันตรายเช่นเดียวกัน จะทำลายเผาผลาญบ้านเมืองให้ล่มจมได้

    " (๒๘ มกราคม ๒๕๐๕)การศึกษาในความหมายนี้สะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาไม่ใช่สิ่งที่จบหรือสิ้นสุดในตัวเอง แต่การศึกษาจะต้องนำไปสนองต่อเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายบางประการ โดยเฉพาะต่อสังคมส่วนรวม (ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป) นั่นหมายความว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยนำพาให้บุคคลและสังคมไปสู่จุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องรวมไปถึงการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมได้จึงจะถือได้ว่าเป็นการศึกษาในความหมายที่ครบถ้วน สมดังที่พระราชกระแสที่ว่า"การที่มีการศึกษาสมบูรณ์แล้วนี้ ทำให้แต่ละคนหลีกเลี่ยงไม่ได้จากความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้ สติปัญญาของตนให้เป็นประโยชน์และเป็นความเจริญวัฒนาแก่บ้านเมืองและส่วนรวม" (๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๖) พระองค์ทรงชี้ถึงปรัชญาการศึกษาที่น่าสนใจยิ่งคือ เมื่อบุคคลหนึ่งมีการศึกษาที่สมบูรณ์ ผลแห่งการมีการศึกษาสมบูรณ์นี้จะกำหนดให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้และสติปัญญาของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลอื่นและสังคมส่วนรวมโดยไม่ต้องมีบุคคลใดมาร้องขอหรือเรียกร้องให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่วนรวมหรือประเทศชาติแต่การปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมหรือประเทศชาติของผู้มีการศึกษาที่สมบูรณ์เกิดขึ้นแต่ภายในจากจิตสำนึกแห่งสภาวะของการมีความรู้และสติปัญญาสมบูรณ์ โดยไม่ต้องมีสิ่งจูงใจหรือข้อแลกเปลี่ยน เช่นประโยชน์ส่วนบุคคลหรือรางวัลใดๆมาเป็นแรงผลักดันให้ผู้ที่มีการศึกษาสมบูรณ์ปฏิบัติหน้าที่อันควรจะกระทำ ดังนั้นการศึกษาสมบูรณ์จึงมีความครบถ้วนในตัวเองทั้งองค์ความรู้และการใช้ความรู้เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ในความหมายเช่นที่กล่าวนี้การศึกษาจึงมีความหมายในเชิงสร้างสรรค์และเป็นผลดีเท่านั้น ถ้าจะกล่าวในเชิงกลับกันอาจกล่าวได้ว่าการศึกษาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวบุคคลหรือส่วนรวมนั้นไม่ใช่การศึกษาที่สมบูรณ์ และการศึกษาที่สมบูรณ์นี้เป็นการศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งหวังให้เกิดขึ้นในพสกนิกรและประเทศชาติของพระองค์ การศึกษาที่จะนำไปสู่การศึกษาสมบูรณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ว่าต้องประกอบด้วย การศึกษาทางวิชาการและการศึกษาทางธรรม ทั้งนี้เพื่อการศึกษาทางธรรมคอยกำกับการศึกษาทางวิชาการให้ดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องและสนองตอบต่อเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ดังพระราชดำรัสมีความตอนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "การแบ่งการศึกษาเป็นสองอย่าง คือการศึกษาวิชาการอย่างหนึ่ง วิชาการนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเองและแก่บ้านเมือง ถ้ามาใช้ต่อไปเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ขั้นที่สองก็คือ ความรู้ที่จะเรียกได้ว่าธรรม คือรู้ในการวางตัว ประพฤติและคิด วิธีคิด วิธีที่จะใช้สมองมาท

    เป็นประโยชน์แก่ตัว สิ่งที่เป็นธรรมหมายถึงวิธีประพฤติปฏิบัติ คนที่ศึกษาในทางวิชาการและศึกษาในทางธรรมก็ต้องมีปัญญา แต่ผู้ใช้ความรู้ในทางวิชาการทางเดียวและไม่ใช้ความรู้ในทางธรรม

    จะนับว่าเป็นปัญญาชนมิได้" (๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๓) นั่นหมายความว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความรู้ ทั้งความรู้ในทางวิชาการและความรู้ในทางธรรม ด้วยความรู้ทั้งสองด้านนี้จะก่อให้เกิด "ปัญญา" ขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายความหมายของปัญญาว่า "ปัญญาแปลอย่างหนึ่งคือ ความรู้ทุกอย่างทั้งที่เล่าเรียนจดจำมา ที่พิจารณาใคร่ครวญคิดเห็นขึ้นมา และที่ได้ฝึกฝนอบรมให้คล่องแคล่วชำนาญขึ้นมา เมื่อมีความรู้ความชัดเจนชำนาญในวิชาต่างๆดังว่า จะยังผลให้เกิดความเฉลียวฉลาดแต่ประการสำคัญนั้นคือความรู้ที่ผนวกกับความเฉลียวฉลาดนั้นจะรวมกันเป็นความสามารถพิเศษขึ้น คือความรู้จริง รู้แจ้งชัด รู้ตลอด ซึ่งจะเป็นผลต่อไปเป็นความรู้เท่าทัน เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็จะเห็นแนวทางและวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นอุปสรรคปัญหา และความเสื่อม ความล้มเหลวทั้งปวงได้ แล้วดำเนินไปตามทางที่ถูกต้องเหมาะสมจนบรรลุความสำเร็จ" (๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๑) ปัญญาในความหมายนี้ ทรงชี้ว่าเป็นสภาวะแห่งการรู้จริง การรู้แจ้งชัดและการรู้ตลอด ซึ่งสภาวะแห่งการรู้ทั้งสามนี้จะนำไปสู่การรู้เท่าทันและปัญญาในความหมายดังกล่าวนี้จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคและนำไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด จากที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดง ถึงความหมายของการศึกษาที่เป็นปัจจัย ก่อให้เกิดความรู้และสภาวะแห่งการรู้จริงและรู้ทุกอย่าง เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญญาและด้วยปัญญาจะนำไปสู่ความสำเร็จ กล่าวให้ชัดเจนคือ การศึกษา ความรู้และปัญญาเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์ที่แยกออกจากกันไม่ได้ การจะเข้าใจเรื่องหนึ่งเรื่องใดให้สมบูรณ์จะต้องเข้าใจทั้งสามเรื่องอย่างเชื่อมโยงกัน การศึกษาในความหมายนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายว่าเป็นเรื่องของทุกคนตั้งแต่เกิดและไม่มีที่สิ้นสุดตลอดชีวิตของคน ทรงแสดงขอบเขตการศึกษาในชีวิตคนกับบรรดา นักศึกษามหาวิทยาลัยไว้ดังนี้  "การศึกษานั้นเป็นเรื่องของทุกคน และไม่ใช่ว่าเฉพาะในระยะหนึ่ง เป็นหน้าที่โดยตรงในระยะเดียวไม่ใช่อย่างนั้น ตั้งแต่เกิดมาก็ต้องศึกษาเติบโตขึ้นมาก็ต้องศึกษา จนกระทั่งถึงขั้นที่เรียกว่าอุดมศึกษา อย่างที่ท่านทั้งหลายกำลังศึกษาอยู่ หมายความว่าการศึกษาที่ครบถ้วน ที่อุดม ที่บริบูรณ์ แต่ต่อไปเมื่อออกไปทำหน้าที่การงานก็ต้องศึกษาต่อไปเหมือนกัน มิฉะนั้นคนเราก็อยู่ไม่ได้ แม้จบปริญญาเอกแล้วก็ต้องศึกษาต่อไปตลอด หมายความว่า การศึกษาไม่มีสิ้นสุด" (๒๐ เมษายน ๒๕๒๑) พระราชดำรัสองค์นี้ชี้ถึงขอบเขตการศึกษาที่ครอบคลุมตลอดชีวิตของบุคคล ตั้งแต่เกิดต่อเนื่องกันจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เสมือนการศึกษากับชีวิตเป็นของคู่กัน

    นั่นหมายความว่าขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมถึงทุกเรื่องและทุกเวลาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์อาจกล่าวอีกนับหนึ่งได้ว่าการศึกษามิได้มีขอบเขตเฉพาะเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งด้วยความหมายและขอบเขตของการศึกษาตามแนวพระราชดำรินี้ จะเห็นว่าการศึกษา

    เป็นหัวใจของชีวิตมนุษย์ และการศึกษาเป็นเครื่องนำทางที่สำคัญของมนุษย์ให้ไปสู่การพัฒนาคุณภาพตนเอง และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม กล่าวให้ชัดเจนโดยสรุปคือความหมายของการศึกษาจะต้องกำกับด้วยจุดหมายของการศึกษาด้วย กล่าวคือเป็นการศึกษาที่สร้างสรรค์และเป็นผลดีแก่บุคคลและส่วนรวมเท่านั้น

     

    อารมณ์

    หมายถึง  คำว่า อารมมณะ เป็นคำหนึ่งในภาษาบาลี ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่าอารมณ์ ไม่เหมือนกับความหมายที่เราเข้าใจเพราะว่าคนไทยเราเอาภาษาบาลีมาใช้แต่ใช้ไม่ตรงกับความหมายในพระพุทธศาสนา เวลาที่ราบอกว่า วันนี้อารมณ์ดี เพราะว่าเห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ลิ้มรสดี รู้สิ่งที

    กระทบสัมผัสดีคิดนึกเรื่องราวดีๆก็บอกว่าอารมณ์ดีแต่คำว่าอารัมณะต้องคู่กับคำว่า จิต เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้ หรือ ธาตุรู้ เมื่อเกิดขึ้น ต้องรู้ไม่รู้ไม่ได้เลย เพราะ ฉะนั้น เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ หรือว่าจิตกำลังรู้ สิ่งใด สิ่งนั้นเป็น อารมณ์ เสียงในป่า เสียงนอกศาลา เสียงใด ๆ ก็เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการกระทบกันของของแข็ง แต่เสียงที่ไม่ปรากฏไม่ใช่ อารมณะ หรืออารมณ์ เพราะว่าขณะนั้นไม่มีจิตที่รู้อารมณ์หรือเสียงนั้น เสียงนั้นเกิด แล้วก็ดับไป ๆ แต่ขณะใดก็ตาม เสียงปรากฏ หมายความว่า เสียงปรากฏ กับสภาพรู้ที่กำลังได้ยินเสียง ขณะนี้มีจิตขณะหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ยินเสียง

    มนุษย์หมายถึง  คน หรือ มนุษย์ สามารถนิยามได้ทั้งในทางชีววิทยา, ทางสังคม และทางเจตภาพ (spirituality) ในทางชีววิทยานั้น มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิด Homo sapiens (ภาษาละติน: "มนุษย์ผู้รู้") ซึ่งจัดเป็นไพรเมตยืนสองขาชนิดหนึ่งในวงศ์ใหญ่ Hominoidea ร่วมกับลิงไม่มีหาง

    หรือวานรอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ลิงชิมแปนซี, ลิงกอริลลา, ลิงอุรังอุตัง และชะนีมนุษย์มีลำตัวตั้งตรงซึ่งทำให้รยางค์คู่บนว่างลงและใช้จัดการวัตถุสิ่งของต่างๆได้ มนุษย์ยังมีสมองซึ่งพัฒนาอย่างมากและมี

    ความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงนามธรรม,การพูด,การใช้ภาษาและการใคร่ครวญในด้านพฤติกรรม ความเป็นมนุษย์นิยามด้วยการใช้ภาษา; การจัดโครงสร้างสังคมอันซับซ้อนในรูปของกลุ่ม, ชาติ, รัฐ และสถาบัน; และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ความแตกต่างทางพฤติกรรมเหล่านี้ของมนุษย์ก่อให้เกิดวัฒนธรรมนับหมื่นนับพันวัฒนธรรม ซึ่งยึดถือความเชื่อตำนาน,พิธีกรรมคุณค่าและปทัสฐานทางสังคมต่างๆกันไป  ความตระหนักถึงตนเอง,ความใคร่รู้ และการใคร่ครวญของมนุษย์ ตลอดจนความโดดเด่นกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ก่อให้เกิดความพยายามที่จะอธิบายธรรมชาติและพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ทั้งในทางวัตถุธรรมและในทางนามธรรม คำอธิบายในทางนามธรรมนั้นจะเน้นมิติทางเจตภาพของชีวิต และอาจรวมถึงความเชื่อในพระเป็นเจ้า, เทพเจ้า หรือสิ่งเหนือธรรมชาติอื่น ๆ ตลอดจนแนวคิดเรื่องวิญญาณ ความพยายามที่จะสะท้อนภาพตัวเองของมนุษย์นั้นเป็นพื้นฐานของความคิดทางด้านปรัชญา และมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคแรกๆ

     

    การถ่ายภาพ

     หมายถึง การถ่ายภาพมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า  Photography  รากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phos หมายถึง แสงสว่าง Graphein หมายถึง การเขียน  รวมกันจึงหมายถึง "การเขียนด้วยแสงสว่าง"

     ความหมายของการถ่ายภาพ มี 2 ประเด็น คือ

    1.        เชิงวิทยาศาสตร์  หมายถึง  การทำปฏิกิริยาระหว่างวัสดุไวแสงกับแสง

         2.          เชิงศิลปะ  หมายถึง  การวาดภาพด้วยแสงและเงารวมทั้งการผสมสีเพื่อถ่ายทอด ความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ หรือทัศนคติ

          สรุป : การถ่ายภาพ คือ การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนคติ โดยใช้กระบวนการที่ปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนมาจากวัตถุผ่านเข้าไปกระทบกับวัตถุไวแสง แล้วจึงนำวัตถุไวแสงไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏ

     

    Portrait

    หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะของบุคคล หรือ คน ออกมาเป็น ภาพวาด หรือ การถ่ายภาพ ที่เน้นหรือให้ความสำคัญโดย มีองค์ประกอบหลักคือบุคคล และ สิ่งที่แสดงออกมาเป็นภาพ โดยแต่ละภาพ อาจแสดงถึง ลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน แล้วแต่ความคิดของผู้สร้างสรรค์และถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานภาพ นั้นๆ เช่น ภาพที่ผู้ถ่ายทอด ต้องการสื่อให้เห็นถึง อารมณ์ สีหน้า แววตา หรือ ภาพที่ผู้ถ่ายทอดต้องการสื่อให้เห็น ถึงสัดส่วน ท่าทางที่แสดงออกของร่างกาย และ เสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือส่วนประกอบอื่นๆ รองลงมาโดยมี บุคคลหรือ คนเป็น

    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น