ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เนื้อหาชีววิทยาที่ควรรู้ก่อนสอบ!!

    ลำดับตอนที่ #1 : Microscope

    • อัปเดตล่าสุด 24 ต.ค. 56


    Microscope กล้องจุลทรรศน์

    ->Light
    Microscope      --> Stereomicroscope
                                                               --> Compound Light Microscope
     

                                                                                             o Dark feild
                                                                                             o Phase Contrast
                                                                                             o
    Fluorescense
    ->Electron Microscope -->Transmitted Electron Microscope   
                                              -->Scanning Electron Microscope


    แบ่งออกเป็น 2 ประเภท นะคะ
    1   Light microscopes/Optical microscopes  >ใช้แสง
    - แสงกระทบวัตถุเข้าสู่ตา ตาสามารถรับภาพได้(
    ตามี photoreceptor ที่เป็นตัวรับแสง ทำให้คนมองเห็นภาพที่เกิดจากแสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาได้)
    2   Electron microscopes >ใช้ electron
    - ตาไม่สามารถรับภาพได้ (ตาไม่มีตัวรับอิเล็กตรอน)
    - ต้องใช้จอรับอิเล็กตรอนต่อกับตัวกล้อง เพื่อดูภาพจากกล้องอีกที


    Light microscopes

    แบ่งเป็น 2 ชนิดอีก

                     Stereomicroscope                  Compound light microscope
                                                                                



                     1 Stereomicroscope    2 Compound light microscope

    แสงส่อง          ด้านบนวัตถุ                   ด้านล่างวัตถุ
    วัตถุ               โปร่ง/ทึบแสง                 โปร่งแสง only
    เลนส์ใกล้วัตถุ   น้อยกว่าหรือเท่ากับ4x      4x 10x 40x 100x
                         ไม่สามารถเปลี่ยนกำลัง     สามารถเปลี่ยนกำลังขยาย
                     
        ขยายได้
    ภาพที่เกิด        ภาพเสมือน 3 มิติ            ภาพเสมือน 2 มิติ


    + วิธีจำ
    Stereomicroscope ตัว s นำ ให้คิดถึง scan สแกนภาพภายนอก ภาพเลยเป็น 3D
    Compound light microscope
    ตัว c นำ ให้คิดถึง cut ตัดแล้วเอามาส่อง เลยใช้ส่องได้แค่วัตถุบางๆ โปร่งแสง เกิดภาพ 2D
     
    ในหนังสือเน้นไปที่
    Compound light microscope แบ่งออกเป็นย่อยๆได้อีกนะ
    -Dark field แปลเป็นไทยว่า จอดำ คือจอหลังมืด ใช้ศึกษาวัตถุใสไม่ต้องย้อมสี เช่นพวก โปรติสท์ในน้ำ ,Spirochete (เป็นแบคทีเรียรูปเกลียว ก่อเกิดโรคฉี่หนูนะ)


    ภาพ  Spirochete

    -Phase contrast ใช้ตัวกลางหักเหแสงหลายตัว ใช้ศึกษาโครโมโซมระหว่างการแบ่งเซลล์

    -Fluorescense ใช้ย้อมสีพิเศษ และใช้รังสี UV จะติดสีเฉพาะตัวที่ศึกษา ใช้ศึกษาโครงร่างของเซลล์



    ข้อควรรู้ Compound light microscope

    = กำลังขยายสูงสุด 1000 เท่า
    = ขนาดที่เล็กสุดที่เห็นได้ .2 ไมโครเมตร หรือ 200 นาโนเมตร

    เกี่ยวกับเลนส์กล้อง
    = มีเลนส์นูนทำให้เกิดภาพ 2 ตัว
         เลนส์ใกล้วัตถุ   ระยะวัตถุอยู่ระหว่าง f ถึง 2f   =>ให้ภาพหัวกลับ
         เลนส์ใกล้ตา     ระยะวัตถุอยู่ที่ <f    =>ขยายภาพหัวกลับอีกที
    = ภาพที่เกิด จะเป็น ภาพเสมือน หัวกลับ กลับซ้ายไปขวา


    ลูกศรสีฟ้า = วัตถุ  ลูกศรสีเหลือง = ภาพ

    เทคนิคหาภาพจากเลนส์  จากภาพเดิม หมุนภาพไป 180 องศา จะได้ภาพที่ผ่านกล้องจุลทรรศน์

    สมมติภาพเป็น       (         หมุนไป 180 องศา จะได้ภาพจากกล้องจุลทรรศน์เป็น        )

    สมมติภาพเป็น       P         หมุนไป 180 องศา จะได้ภาพจากกล้องจุลทรรศน์เป็น        d



    Electron microscope
    -ใช้ลำอิเล็กตรอนในการเกิดภาพ ต้องใช้ฉากรับ ใช้เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า ศึกษาได้เฉพาะ
    วัตถุไม่มีชีวิต
    แบ่งเป็น 2 ชนิดนะจ้ะ

    Transmitted EM ส่องผ่าน   >> ต้องหั่นวัตถุให้บางมาก ภาพเป็น 2D
    Scanning EM ส่องกราด   >> นึกถึง scan ภายนอก ภาพเป็น 3D *วัตถุต้องเคลือบด้วยทองคำ เพื่อให้ ลำอิเล็กตรอนตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนได้*



    ตารางเปรียบเทียบกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง กับ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

    ลักษณะที่เปรียบเทียบ

    กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

    กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

    1. แหล่งกำเนิดแสง

    กระจกหรือหลอดไฟ

    ปืนยิงอิเล็กตรอน

    2. แสงที่ใช้

    แสงสว่างในช่วงที่ตามองเห็นได้ (ม่วง-แดง) ความยาวคลื่น 4,000-7,000 อังสตรอม

    ลำแสงอิเล็กตรอนความยาวคลื่นประมาณ 0.05 อังสตรอม

    3. ชนิดของเลนส์

    เลนส์แก้ว

    เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า

    4. กำลังขยาย

    1,000-1,500 เท่า

    200,000-500,000 เท่า หรือมากกว่า

    5. ขนาดของวัตุที่เล็กที่สุดที่มองเห็น

    0.2 ไมโครเมตร

    0.0004 ไมโครเมตร

    6. อากาศในตัวกล้อง

    มีอากาศ

    สุญญากาศ

    7. ภาพที่ได้

    ภาพเสมือนหัวกลับดูได้จากเลนส์ตา

    ภาพปรากฎบนจอรับภาพเรืองแสง

    8. ระบบหล่อเย็น

    ไม่มี

    มีเนื่องจากเกิดความร้อนมาก

    9. วัตถุที่ส่องดู

    มีหรือไม่มีชีวิต

    ไม่มีชีวิตเท่านั้น

    ที่มาตาราง http://writer.dek-d.com/temperater/story/viewlongc.php?id=546974&chapter=4




    สุดท้ายแล้ววๆๆๆๆ


    สูตรคำนวณกล้อง มี 2 สูตร


    กำลังขยายกล้อง = กำลังขยายเลนส์ใกล้ตา X กำลังขยายเลนส์ใกล้วัตถุ

    กำลังขยาย= ขนาดภาพ / ขนาดวัตถุ



     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×