ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พี่หมอ มศว เล่าเรื่อง (Ultimate Version)

    ลำดับตอนที่ #23 : บันทึกไม่ลับนักศึกษาแพทย์ ตอน "ฝันให้ไกล...ไปให้ถึง" (อัพแล้ว 100%)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.37K
      3
      27 พ.ค. 52

    เรื่องโดย ~หมูสนาม~  นิสิตแพทย์ มศว MD20
    เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2552


    การมีความฝันนั้น...คือสิ่งที่ดี
    ความฝันนั้น...มีความหมายมากล้นเหลือ
    ความฝันนั้นมีเพื่อสร้างแรงผลักดัน...ให้แก่จิตใจ
    แต่มิใช่มัวแต่นั่งรอ...ให้ความฝันนั้นเป็นจริงขึ้นมาเพียงอย่างเดียว
    เมื่อมีความฝันแล้วก็ต้องพยายามลงมือทำ
    พยายามทำให้ถึงความฝันนั้น
    ฝันนั้นอยู่แค่เอื้อมมือของเราเท่านั้น
    ลองถามตัวเองว่าเราลองพยายามที่จะไขว่ขว้ามันหรือยัง?
    ฝันไปให้ไกลไปให้ถึง...
     
              อย่างอาชีพ"แพทย์" หรือ "หมอ" ก็เป็นอาชีพที่หลายๆ คนมีความฝันที่อยากจะเป็น กว่าที่จะเราจะจบมาเป็นหมอได้นั้นก็ไม่ใช่ของง่าย แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินความสามารถของเรา…หากเรานั้นมีความตั้งใจ สิ่งที่ยากกว่าก็คือ "ทำอย่างไรจึงจะเป็นหมอที่ดีได้" มากกว่า 

             วันนี้ว่าที่EXTERNแบงค์อ่านหนังสือเบื่อๆ เลยแวะมาเช็กบทความดูเล่นๆว่ามีน้องคนไหนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียนแพทย์หรือไม่ ก็เลยได้เจอคำถามของน้องคนหนึ่งที่โดนใจ ว่าแล้วก็เอาคำถามของน้องคนนั้นมาตอบให้ในตอนนี้ซะเลย (เหอๆ ตอนแรกว่าช่วงนี้จะไม่อัพตอนเพิ่มอยู่แล้วเชียว แบบว่าอ่านหนังสือสอบก็จะไม่ทันอยู่แล้ว)

     
            
              ตอบ
    หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตนั้นมีการเรียนการสอนทั้งหมด 6 ปีการศึกษา จากนั้นก็จะกลายเป็นคุณหมอเต็มตัวแล้ว แต่จะเป็นหมอที่เรียกว่าแพทย์ทั่วไปหรือที่เขาเรียกกันย่อๆว่า GP(General Practice or Physian) ซึ่งหมอทั่วไปก็มีลักษณะงานดังนี้
     
    - ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค สั่งยา ผ่าตัดเล็ก รักษาอาการบาดเจ็บโรค และอาการผิดปกติต่างๆ ของผู้ป่วย
    - ตรวจผู้ป่วยและตรวจหรือสั่งตรวจทางเอ็กซเรย์หรือการทดสอบพิเศษถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
    - พิจารณาผลการตรวจและผลการทดสอบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์อื่นตามความจำเป็น และวินิจฉัยความผิดปกติ
    - สั่งยา ทำการผ่าตัดเล็กหรือการรักษาอย่างอื่นและแนะนำผู้ป่วยในเรื่องการปฏิบัติตนที่จำเป็นสำหรับการทะนุถนอมสุขภาพหรือการกลับคืนสู่สภาพปกติบริหารยาและยาสลบตามต้องการ
    - ทำการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะก่อนคลอด ทำการคลอดและให้การดูแลรักษามารดา และทารกหลังคลอด
    - เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้ตรวจโรคที่เป็นและการรักษาที่ได้ให้หรือสั่ง
    - ผสมยาอาจรับผิดชอบและสั่งงานสำหรับพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถาบันอื่น

               จะเห็นได้ว่าห
    ากเป็นโรคยากๆหรือโรคที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทาง แพทย์ทั่วไปก็จะต้องส่งต่อคนไข้ให้แพทย์เฉพาะทางด้านนั้นๆ

               ดังนั้นหากใครมีความฝันไปมากกว่านั้น เช่น อยากเป็นหมอสูติทำคลอด เป็นหมอเด็กรักษาเด็กน้อย เป็นหมอศัลยกรรมเพราะตนเองเป็นคนชอบผ่าตัด ก็ต้องเรียนต่ออีกเป็น Intern และ Resident ของสาขานั้นๆ และหากต้องการเป็นผู้เชี่ยวชาญขั้นสูงขึ้นไปอีกก็ต้องเรียนต่อเป็น Fellow ครับ เช่น จบมาเป็นหมอศัลยกรรมก็สามารถผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องได้หมด แต่หากเราอยากทำนม เสริมดั้งจมูก หรือทำตาสองชั้นได้ก็ต้องเรียนต่อหมอศัลยกรรมพลาสติกครับ
    สรุปรวมระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนทั้งหมดก็ประมาณ 6 ปี++ (++ คือบวกระยะเวลาของสาขาเฉพาะทางที่เราสนใจ) แต่น้องๆไม่ต้องตกใจนะว่า...จบมาจะแก่หง่ำเหงือกไปซะก่อน 55 เพราะระหว่างที่น้องเรียนสาขาเฉพาะทางช่วงนั้นน้องก็มีคำนำหน้าว่าคุณหมออยู่แล้ว และเป็นการเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย

     
                ว่าที่EXTERNแบงค์มีข้อมูลของแพทย์เฉพาะทางคร่าวๆมาให้ดู(ไม่ครบทุกสาขานะ)
     
                หมอดมยาหรือวิสัญญีแพทย์ (Anesthetist)
    ลักษณะของงานมีดังนี้
    1. ประเมินผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดเพื่อการเตรียมการทำวิสัญญีได้โดยถูกต้องและปลอดภัย
    2. ตรวจหรือสั่งตรวจทางเอ็กซเรย์หรือการทดสอบพิเศษถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
    3. พิจารณาผลการตรวจและผลการทดสอบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์อื่นตามความจำเป็น และวินิจฉัยความผิดปกติก่อนเตรียมการให้ผู้ป่วยรับการทำวิสัญญี
    4. แนะนำผู้ป่วยในเรื่องการปฏิบัติตนที่จำเป็นสำหรับการทะนุถนอมสุขภาพหรือการกลับคืนสู่สภาพปกติก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัด
    5. ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยพร้อมทั้งพิจารณาขั้นตอนวิธีการทำวิสัญญีสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดเฉพาะโรคหรือเฉพาะสภาวะรวมถึงการประเมินระยะเวลาที่ต้องใช้ในการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดหัวใจ (Cardiac Surgery) ผ่าตัดทางระบบประสาท (Neuro Anesthsia) เพื่อให้การวางยาสลบหรือการให้ยาชาเป็นไปอย่างถูกต้องกับโรค สภาพของผู้ป่วยและการยอมรับของร่างกายของผู้ป่วย การแพ้ยา และอื่นๆเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและป้องกันมิให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในระหว่างและหลังการผ่าตัด
    6. บริหารยาสลบตามต้องการเช่นการให้ยาสลบโดยการสูดดมยาเทคนิคต่างๆ หรือให้ยาสลบทางเส้นเลือดหรือที่เรียกว่า Nerve Block รวมถึงการให้ยาชา ยาแก้ปวด หรือยาหย่อนกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับประเภทของคนไข้และการผ่าตัด
    7. จัดเตรียมอุปกรณ์ สำหรับการผ่าตัดในส่วนที่ต้องรับผิดชอบ เช่นอาจต้องใช้ จอภาพ (Monitor) พื้นฐาน ใส่ท่อสายยางต่างๆที่ต้องใช้สำหรับผู้ป่วยแต่ละกรณี ซึ่งความต้องการจะแตกต่างกันไป
    8. เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วย และการรักษาที่ได้ให้หรือสั่ง
    9. อาจจะอยู่เฝ้าระวังในระหว่างการทำการผ่าตัดผู้ป่วย
    10. อาจผสมยาอาจรับผิดชอบและสั่งงานสำหรับพยาบาลในโรงพยาบาล
     
                จิตแพทย์ (Psychiatrist )
    ลักษณะของงาน
    1. ตรวจร่างกาย วินิจฉัยอาการทางจิต สั่งยารักษาอาการผิดปกติของผู้ป่วย โดยการใช้เครื่องมือทดสอบที่เป็นมาตรฐานร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ และแปลผลการทดสอบ
    2. ตรวจผู้ป่วยและตรวจหรือสั่งตรวจทางเอ็กซเรย์ หรือการทดสอบพิเศษถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
    3. พิจารณาผลการตรวจและผลการทดสอบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์อื่นตามความ จำเป็น และวินิจฉัยความผิดปกติ
    4. บำบัดรักษาอาการความผิดปกติทางจิตโดยสั่งยาหรือการรักษาอย่างอื่นและแนะนำผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยในเรื่องการปฏิบัติตนที่จำเป็นสำหรับรักษาตนให้พ้นจากการป่วยไข้
    5. เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้ตรวจโรคที่เป็นและการรักษาที่ได้ให้หรือสั่ง
    6. อาจรับผิดชอบและสั่งงานสำหรับพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถาบันอื่น
     
                 หมอตาหรือจักษุแพทย์ (Ophthalmologist)
    ลักษณะของงาน
    1. ตรวจสายตา และสั่งให้ทำแว่นตาหรือให้การรักษาตาด้วยวิธีการให้ยาหรือผ่าตัด
    2. ตรวจสายตาให้ทราบข้อบกพร่องโดยใช้เครื่องมือและวิธีการทดสอบต่างๆ
    3. สั่งขนาดของเลนส์สำหรับประกอบแว่นตา
    4. ให้คำแนะนำในการฝึกสายตาตามความจำเป็นเพื่อรักษาสายตาให้ดีขึ้น
    5. ตรวจตา วัดสายตา วัดความดันตา ตรวจดูกระจกตาความลึกของช่องหน้าลูกตาลักษณะม่านตา ปฏิกริยาต่อแสงสว่าง ตรวจดูจอประสาทตา
    6. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติ หรือคนใกล้ชิดได้เข้าใจถึงลักษณะของโรคตาการกำเนิดโรค แนวทางเลือกในการรักษา
    7. สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดต้องตรวจตาและร่างกายทั่วไปและอธิบายการดำเนินการรักษา ข้อดีข้อเสียจากการผ่าตัดและผลหลังการผ่าตัดวิธีการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัดภาวะแทรกซ้อนจากยาชาหรือยาสลบ
    8. จักษุแพทย์ ต้องติดตามผลแทรกซ้อนจากการให้ยาเช่นกลุ่มสเตียรอยด์ กลุ่มยาที่มีผลต่อไตบางตัว
    9. เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้ตรวจโรคตาที่เป็นและการรักษาที่ได้ให้หรือสั่ง
               จะบอกว่าแม้น้องๆจะเรียนจบเป็นแพทย์เฉพาะทางตามที่ฝันไว้ได้สำเร็จแล้วการเรียนนั้นยังไม่จบสิ้นนะครับ อาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตน้องต้องหมั่นค้นคว้าหาความรู้ใหม่ตลอดเวลาเพราะยาใหม่ๆวิธีการรักษาใหม่ๆสามารถโผล่ออกมาได้ทุกเมื่อ
               อย่างว่าที่EXTERNแบงค์ก็มีความฝันที่จะเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน แล้วน้องๆหล่ะครับสนใจเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านไหนกัน…ฝันให้ไกล…ไปให้ถึงนะครับ และอย่ามัวนั่งรอให้ฝันของเรานั้นเป็นจริง…ตัวเรานั้นแหละที่ต้องเป็นคนไขว่ขว้าฝันนั้นด้วยตัวเราเอง…โชคดีครับน้องๆทุกคน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×