ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พี่หมอ มศว เล่าเรื่อง (Ultimate Version)

    ลำดับตอนที่ #29 : บันทึกไม่ลับนักศึกษาแพทย์ ตอน จากท้องทุ่งนา...สู่ป่าคอนกรีต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2K
      1
      28 ก.พ. 55

    เรื่องโดย ~หมูสนาม~  นิสิตแพทย์ มศว MD20
    เขียนเมื่อ 18  พฤษภาคม 2552 ณ โรงพยาบาลตำรวจ
              ขณะนี้EXTERNแบงค์ได้ย้ายตัวเองจากท้องทุ่งนาอันกว้างใหญ่ของ จ.พระนครศรีอยุธยา มาอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครที่รายล้อมไปด้วยป่าคอนกรีต สถานที่ฝึกแห่งใหม่นี้ก็คือโรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลตำรวจเป็นหนึ่งในสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ หรือ EXTERN มศว ซึ่งEXTERNแบงค์ก็ต้องมาฝึกปฏิบัติงานในภาควิชาสูตินรีเวช ณ โรงพยาบาลกลางกรุงแห่งนี้ เรามาดูประวัติโรงพยาบาลนี้กันคร่าวๆกันเลย
              โรงพยาบาลนี้เดิมทีเดียวเป็นโรงพยาบาล สำหรับรักษาหญิงโสเภณีที่หลังวัดพลับพลาไชย ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2440 หลังจากนั้น 1 ปี กิจการการแพทย์ตำรวจถึงเริ่มขึ้น โดยรัฐบาลมีนโยบายให้เปลี่ยนโรงพยาบาลแห่งนี้มาเป็นโรงพยาบาลตำรวจสำหรับพลตระเวน เพื่อรักษาตำรวจที่เจ็บป่วยพิสูจน์บาดแผลและชันสูตรพลิกศพ เพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่างๆ เดิมทีเดียวนั้นโรงพยาบาลนั้นมีอาคารสำหรับตรวจรักษาผู้ป่วยเพียงไม่กี่ตึก แต่เมื่อเวลาผ่านไปขนาดของโรงพยาบาลก็เติบโต สามารถรองรับผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในปัจจุบัน

              วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลตำรวจ คือ

       บริการประทับใจ   วิทยาการทันสมัย
           ปลอดภัยได้มาตราฐาน   เพื่อตำรวจและประชาชน

             มาอาศัยอยู่ที่นี่EXTERNแบงค์แทบจะปรับตัวไม่ทันเลยทีเดียว จะเห็นได้จากปัจจัยสี่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
              ปัจจัยที่หนึ่ง “อาหาร” ที่นี่ไม่ขัดสนเหมือนโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาที่มีแต่โรตีสายไหมให้กินจนหน้าจะบานเป็นโรตีอยู่แล้ว อาหารการกินนั้นมีให้เลือกกินมากมาย เรียกได้ว่าอุดมสมบูรณ์ ไม่สิเรียกว่าเหลือล้นเลยดีกว่า  ด้วยเหตุที่ว่าแค่เดินไปฝั่งตรงข้ามก็เจอกับ Central World เดินไปข้างๆก็ Siam Paragon มาบุญครอง ถึงแม้ที่นี่จะไม่มีปัญหาเรื่องความซ้ำซากของอาหารเหมือนอยุธยาที่กินร้านไหนก็กินอยู่แค่ร้านนั้น เนื่องจากรอบข้างไม่มีอะไรขายนอกจากโรตีสายไหม แต่อยู่ที่นี้กลับมีปัญหาใหม่เข้ามาแทนคือปัญหาค่าครองชีพ อาหารแต่ละมื้อที่กินนั้นราคากรุงเทพ แถมราคากรุงเทพแบบกลางเมืองสุดๆด้วย โดยอาหารแต่ละมื้อราคาเฉียดร้อย ยิ่งหากข้ามถนนไปกินฝั่ง Central World และ Siam Paragon ร้อยหนึ่งนี่เอาไม่อยู่หรอกครับ




            ปัจจัยที่สอง “เครื่องนุ่งห่ม” ผู้คนที่นี่แต่งตัวแฟชั่น หลากหลาย Style เสื้อผ้าก็สีฉูดฉาดมีแทบกันทุกสี หนุ่มกางเกงขาเด๊ป เสื้อฮิบฮอป สาวใส่สายเดี่ยว เกาะอก สวมกระโปรงสั้นจนแทบจะเรียกว่าใส่แต่กางเกงในเลยไหมครับพี่ แบบนี้มีให้เห็นกันเกลื่อนกลาด ผิดกับอยุธยาที่ภาพเหล่านี้มีให้เห็นกันน้อยมาก
             ปัจจัยที่สาม “ที่อยู่อาศัย” EXTERNแบงค์พักอาศัยอยู่ที่ชั้น 11 ของอาคารสูงแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใจกลางของโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งหากมองลงไปจากความสูงระดับนี้ สามารถเห็นวิวทิวทัศน์โดยรอบของที่นี่ได้หมด อาคารนี้มีชื่อสวยหรูว่า “อาคารบำบัดน้ำเสีย…???” อย่าเพึ่งงงกับชื่อครับ เนื่องจากมันก็ตรงตัวอยู่แล้ว เพราะน้ำเสีย น้ำเน่าจากทุกอาคารในโรงพยาบาลตำรวจจะไหลมารวมเพื่อรอการบำบัดที่อาคารนี้ กลิ่นเวลาเดินอยู่ที่ชั้นหนึ่งแรงมากเลยทีเดียว โชคดีที่EXTERNแบงค์พักอยู่ชั้น 11 กลิ่นเลยลอยขึ้นไปไม่ถึง แต่ที่ตามไปถึงก็คือแมลงสาบเจออยู่แทบทุกวันจนแทบจะเป็นเพื่อนร่วมห้องอยู่แล้ว ยังดีที่ห้องพักที่นี่มีแอร์เย็นช่ำสบาย ค่าน้ำค่าไฟไม่ต้องเสีย และ Wireless ที่นี่แรงสุด(แรงแบบ irregular นะ แบบว่าผีเข้าผีออก บทจะเร็วก็เร็วโคตร บทจะช้าก็อย่างกับเต่า)
          ปัจจัยสุดท้าย “ยารักษาโรค” อันนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากมาที่นี่ยังไม่เคยป่วย แต่ในโรงพยาบาลก็คงไม่ขัดสนเรื่องยาอยู่แล้ว แต่จากการที่ Round Ward มาหลายวันก็พบว่าโรงพยาบาลตำรวจเข้มงวดเรื่องสิทธิการรักษามาก ไม่รู้ว่าการเบิกจ่ายยาจะเหมือนศูนย์แพทย์หรือไม่
           มาฝึกครั้งนี้EXTERNแบงค์ได้ประสบการณ์เพิ่มหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำคลอด การตรวจผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเรา(เยอะมากครับที่นี่) ตอนหน้าเรามาคุยกันเรื่องเบ่งคลอดกันดีกว่า เจอกันนะครับ ^_^

    อ่านจากท้องทุ่งนา…สู่ป่าคอนกรีต ฉบับ REWRITE คลิ๊กที่นี่
    ประกาศ ขณะนี้ผู้เขียนกลับมาเขียนบทความอีกครั้ง โดยจะย้ายไปที่http://thedoctorstory.blogspot.com/ 
    บ้านแห่งใหม่น้องๆใครเล่นfacebookสามารถติชมผ่านid เฟสบุ๊คได้โดยตรงเลยครับ ;-D
      
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×