ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พี่หมอ มศว เล่าเรื่อง (Ultimate Version)

    ลำดับตอนที่ #11 : ตำนานเทพเจ้ากรีก----->งูกับสัญลักษณ์การแพทย์ มันยังไงนะ.....('_')?

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 15.77K
      7
      9 ธ.ค. 53

     

                       เรื่องโดย ~หมูสนาม~ นิสิตแพทย์ มศว MD20


                       
    น้องๆหลายคนคงเคยสงสัยว่า เอ๋....ทำไมเจ้างูตัวน้อยถึงได้มีสิทธิได้ไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวงการแพทย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลต่างๆ คณะแพทยศาสตร์หลายแห่ง หรือแม้แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ยังมีงูปรากฎอยู่บนตราสัญลักษณ์ของกระทรวง พูดมาตั้งนานน้องๆอาจนึกภาพไม่ออกมาลองดูเลยแล้วกัน ^_^




          "งู":-)  A                          B                          C                        D

                     
    งูตัวแรกงู A งูของคณะแพทย์ของพี่เอง คณะแพทย์ศาสตร์ มศว เอ๋จะว่าเป็นงูซะทีเดียวก็ไม่ได้นะมันพญานาคมากกว่า 55

                       งูตัวถัดมา งู B เป็นงูของคณะแพทยศาสตร์กรุงเทพและวชิรพยาบาล    ส่วนงู C และ D เป็นงูของคณะแพทย์ อุบล และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามลำดับ

    ไม่เว้นแม้กระทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO)
                                                                  ก็ยังมีเจ้างูตัวน้อยสีฟ้าเลื้อยอยู่ภายใน

                      สงสัยแล้วใช่ไหมครับว่าทำไม........ต้องเป็นงูสัตว์เลื้อยคลานเดินดินทำมะด้า...ธรรมดาด้วย ทำไมไม่่เอานกเหยี่ยว นกอินทรีย์มาเป็นสัญลักษณ์ล่ะ เท่!กว่ากันเยอะเลย

                                                                  
    คำตอบ

                                                   ก็คือ
                                                                           
                                                      l
                                                      l
                                                      l
                                                     V
                     
    ยังไม่เฉลยคับ 55 ไหนลองบอกมาก่อนสิ เห็นงูมาหลายตัวแล้ว มีใครตาไวบ้างว่าจากสัญลักษณ์ที่เห็นมาทั้งหมด งูมันแตกต่างกันอย่างไร ? (คิดง่ายๆนะ ไม่ต้องคิดมาก)                                                               
                   

     
                     
    เอาล่ะเฉลยคือ....หากน้องๆลองสังเกตตราทั้งหมดดูดีๆจะพบว่างูมีทั้งแบบงู 1 ตัวพันไม้คทา และแบบมีงู 2 ตัวพันไม้คทา 555 อึ้งเลยสิ >_<  พี่ไม่ได้จะกวนอะไรน้องหรอกนะ แต่ทั้งแบบงู 1 ตัวและแบบงู 2 ตัวต่างมีความหมายในตัวของมันเองสัญลักษณ์ทั้งสองล้วนมีต้นกำเนิดมาจากตำนานเทพเจ้ากรีกโบราณด้วยกันทั้งคู่ต่างกันเพียงมาจากคนละตำนานเท่านั้น

                    ไม้เท้าที่มีงูพัน 1 ตัว เรียกว่า ไม้เท้าแห่งแอสคูลาปิอุส (The Staff of Aesculapius )
     
                    ไม้เท้าที่งูพันสองตัว เรียกว่า ไม้เท้าคาดูเซียส (Caduceus)
                 
               รู้สึกจะอารัมพบทกันมาพอสมควรแล้ว พี่ก็ขอเชิญน้องๆเข้าสู่ตำนานกาพย์แรกกันได้เลยครับ

                                                    The Staff of Aesculapius 

                               ย้อน.....ไปในสมัยที่อดีตกาลอันเก่าแก่
                               ย้อน..........ไปในสมัยที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นชุมชน หมู่บ้านเล็กๆ
                               ย้อน...............ไปในสมัยที่การไปมาหาสู่กันต้องอาศัยเกวียนและสัตว์พาหนะ
                               ย้อน.....................ไปในสมัยเพึ่งก่อกำเนิดมาจากความว่างเปล่าได้ไม่นาน สมัยที่โลกนั้นถูกปกครองโดยเทพผู้ยิ่งใหญ่สามองค์ ได้แก่  "ซุส Zeus" "ฮาเดส Hades" และ "โปเซดอน Poseidon" โดยซุสนั้นเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดปกครองเทือกเขาโอลิมปัส สรวงสวรรค์และพื้นพิภพทั้งหมด  ฮาเดสปกครองขุมนรกและบาดาล ส่วนโปเซดอนปกครองมหาสมุทรอันกว้างใหญ่              
                             
                              ซุสนั้นมีโอรสอยู่องค์หนึ่งนามว่า "อพอลโล" หรือที่เรารู้จักกันในอีกนามคือ เทพสุริยะ หรือเทพเจ้าแห่งสัจจะและความซื่อตรง เมื่อยังเยาว์วัยอพอลโลเที่ยวไปตามแว่นแคว้นต่าง ๆ ทางทิศเหนือของประเทศกรีซ จนถึงแคว้นเธสสะลีซึ่งเป็นดินแดนของชนชาติไฮเพอร์โบเรียน ในแคว้นเธสสะลีมีสาวเจ้าคนหนึ่งหน้าตาสละสลวย งดงามยิ่งนัก ชื่อว่า โครอนนิส (Coronis) เป็นธิดาเจ้าแห่งแคว้นนั้น อพอลโลก็รู้สึกรักใคร่ชอบพอนางโดยทันที ท้ายที่สุดอพอลโลผูกสมัครรักใคร่ได้ เสียกับนางจนตั้งครรภ์ และได้เดินทางกลับเทือกเขาโอลิมปัสไป แต่เทพอพอลโลก็มิได้ทอดทิ้งนาง โดยส่งนกดุเหว่าสีขาวบริสุทธิ์หนึ่งตัวไว้คอยดูแลนาง แต่กลับปรากฎว่า โครอนนิสกลับเป็นหญิงหลายใจ ไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่รัก แอบไปคบชู้กับชายอื่น นกดุเหว่าจึงกลับไปบอกอพอลโลนายของตนให้ทราบเรื่อง เมื่อทราบข่าวอพอลโลโกรธมากและบันดาลโทสะ สาปเจ้านกดุเหว่าให้มีขนสีดำตลอดไปโทษฐานเอาข่าวอัปมงคลมาบอก  และได้เดินทางเพื่อไปลงทัณฑ์โครอนนิสด้วยตนเอง แต่ปรากฎว่าเมื่อไปถึงกลับทำนางไม่ลง จึงให้ "เทพอาร์ทีมิส Artemis" ซึ่งเป็นเทพีแห่งการล่าสัตว์ผู้เป็นที่เคารพรักของเหล่านายพรานเป็นคนลงมือ แผงศรปลิดชีวิตของนางโครอนนิส แต่หลังจากนางโครอนนิสตาย อพอลโลก็รู้สึกผิดและเสียใจต่อการกระทำของตนมาก จึงใช้พลังช่วยชีวิตบุตรของตนซึ่งจวนครบกำหนดคลอด และนำไปฝากให้ไครอน(Chiron) ซึ่งเป็น Centaur ผู้เปี่ยมไปด้วยความรู้ เป็นผู้เลี้ยงดูและประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ และขนานนามบุตรของตนเองว่า แอสคูลาปิอุส(Aesculapius)
                            ไครอนนี้เป็นอาจารย์ผู้ปราดเปรื่อง เชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาการต่าง ๆ มีวิชาดนตรี เภสัชกรรมวิทยา และวิชาธนูศิลป์ เป็นต้น เป็นที่นับถือของชาวกรีกโบราณว่า เป็นผู้สอนมนุษย์ให้รู้จักใช้พืชสมุนไพรทำยา และเป็นอาจารย์ของวีรบุรุษคนสำคัญ ๆ ในเทพปกรณัมมากมาย เช่น อคิลีส , เฮอร์คิวลีส(คนนี้น้องๆคงเคยได้ยินชื่อ) , เยสัน , พีลูส , อีเนียส และคนอื่น ๆ อีก,มากมาย เป็นเด็กฉลาดเฉลียวมีความเข้าใจแตกฉานและเป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่ง วิชาที่เขาใส่ใจศึกษาที่สุดได้แก่ โรคศิลป์ เพราะฉะนั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขี้น เขาจึงกลายเป็นหมอบำบัดโรคผู้มีความสามารถยิ่ง
                          
                            ความสามารถในการบำบัดโรคของแอสคูลาปิอุสนั้นเก่งกาจยิ่งกว่าอาจารย์ของเขามาก ด้วยว่าสามารถบำบัดโรคและความป่วยไข้ได้ทุกชีวิต ซึ่งแม้แต่ไครอนเองก็ทำไม่ได้ ในไม่ช้าชื่อเสียงของแอสคูลาปิอุสก็เลื่องลือไปไกล ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วยหนักหนาสาหัสหรือเล็กน้อย ถ้าได้รับการบำบัดจากเขาแล้วอาการก็จะทุเลาลงอย่างรวดเร็ว จนกล่าวว่าหายวันหายคืนเลยทีเดียว ผู้คนพากันไปขอรับการบำบัดโรค ณ สถานบำบัดโรคของเขาจากทุกสารทิศ


                             


                               การที่งูมาเกี่ยวข้องกับแอสคูลาปิอุส มีเรื่องเล่าอยู่ว่าขณะที่เขากำลังรักษาผู้เจ็บป่วยในสถานบำบัดโรคของเขา ก็มีงูตัวหนึ่งเลื้อยเขามาและกัดทำร้ายผู้ป่วย เขาจึกตัดสินใจใช้ไม้เท้าทุบฆ่ามันจนตาย และรักษาผู้ถูกมันกัดจนหายดี จากนั้นเขาก็ได้ใช้สมุนไพรชุบชีวิตเจ้างูตัวนั้นขึ้นมา เจ้างูตัวนั้นจึงสำนึกในบุญคุณและเลื้อยขึ้นมาพันไม้เท้าของเขาและยอมเป็นผู้รับใช้ในการรักษาโรคของแอสคูลาปิอุส ภาพไม้เท้าที่มีงูพันหนึ่งตัวจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์และการรักษา แสดงถึงจริยธรรมอันแนวแน่ของแพทย์

                               การที่แอสคูลาปิอุสมีความสามารถมากจนเป็นที่เลื่องลือก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาอายุสั้นด้วย เนื่องจากเขาเก่งกาจมากจนสามารถรักษาแม้กระทั่งคนตายให้ฟื้นคืนชีวิตได้ จึงทำให้คนตายลดลง จนยมโลกเกิดความเงียบเหงา ฮาเดสเทพแห่งความตาย ถึงกลับขุ่นเคืองมากจนนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อมหาเทพซุส โดยบอกว่า "เจ้าพวกมนุษย์นั้นกำลังคิดกำเริบพยายามเอาตัวเทียบเคียงเทพเจ้า โดยแม้แต่ความตายก็เอาชนะได้ ปล่อยไว้แบบนี้จะเป็นภัยภายหลัง" ซุสฟังความข้างเดียวจึงได้ส่งอัสนีบาต สายฟ้าลงมาถูกตัวเขาตายในทันที เทพอพอลโลรู้สึกโกรธมากทีลูกของตนถูกฆ่าแต่ก็ทำอะไรเทพบิดาไม่ได้ จึงไปจับยักษ์ตาเดียวของเทพเจ้าซุสมาฆ่าเสียเป็นการล้างแค้น เทพซุสจึงลงโทษเทพอพอลโลในความอุกอาจครั้งนี้ โดยเนรเทศอพอลโลให้ลงมาอยู่ในโลกมนุษย์และเป็นขี้ข้ามนุษย์เป็นเวลา 1 ปีจึงจะพ้นโทษ

                             ต่อมาภายมหาเทพซุสได้ทราบความจริง และรู้สึกเสียใจกับความหุนหันพลันแล้นของตน จึงเสด็จลงมาโลกมนุษย์ด้วยตนเองและนำดวงวิญญาณของแอสคูลาปิอุสกลับไปยังเทือกเขาโอลิมปัสและจุติใหม่เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา.......

                                                                  ไม้เท้าคาดูเซียส (Caduceus)

                               เรื่องถัดมาเป็นเรื่องของไม้เท้าคาดูเซียส ไม้เท้าที่มีงูพันสองตัว เดิมทีไม้เท้านี้เป็นเพียงไม้เท้ามีปีกของ "เฮอร์เมส Hermes" หรือรู้จักกันในนามเทพแห่งการสื่อสารและการพูด วันหนึ่งขณะที่เออร์เมสลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ก็ได้พบงูสองตัวกำลังต่อสู้กัน พระองค์จึงเอาไม้เท้าทิ่มระหว่างกลางเพื่อยุติความวิวาท เจ้างูทั้งสองจึงหยุดการต่อสู้และเลื้อยขึ้นมาบนไม้เท้าโดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาไม้เท้าคาดูเซียสจึงมีงูพันอยู่สองตัวและกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลาง การทูต การเจรจา และสันติภาพ  ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแพทย์แต่อย่างใด

    (A) เป็นสัญลักษณ์ของ United States Army Medical Corps; ส่วน (B) เป็นสัญลักษณ์ของ American Veterinary Medicine Association ที่มาภาพจากเวปที่กล่าวไป

                                เห็นได้ว่าสัญลักษณ์ของวิชาชีพแพทย์ที่ถูกต้องจริงๆแล้วคือ The Staff of Aesculapius แต่ตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา ก็ได้มีการใช้ไม้เท้า Caduceus เข้ามาปนด้วย อาจเนื่องจากผู้พิมพ์หนังสือตำราแพทย์ในสมัยก่อนใช้ตรา Caduceus สับสนกับ ไม้เท้าแอสคูลาปิอุส แม้กระทั้งกรมการแพทย์ทหารบกของสหรํฐอเมริกาก็นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ดังรูป A จึงอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ไม้เท้า Caduceus แพร่หลายในปัจจุบัน 
                                  
                                ถึงแม้ในปัจจุบันสัญลักษณ์ทั้งสองจะมีใช้ปะปนกันทั่วไป แต่ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร ถ้าหน่วยงานที่เอาไปใช้นั้นสื่อถึงความหมายและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของวิชาชีพแพทย์ อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์ที่มีที่มาที่ถูกต้องคือ งูตัวเดียว The Staff of Aesculapius  ครับผม

                                จบกันไปแล้วนะครับน้องๆ สนุกไม่สนุกก็ติชมได้ แต่ก็หวังว่าน้องๆคงได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ :-) บทความอันนี้เหนื่อยมากเลยต้องหาข้อมูลจากหลายเวปกับหนังสืออีกหลายเล่มเลย โอ้ยเหนื่อย       - -"  ก่อนจะลากันตรงนี้ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ Reference กันหน่อย


    Reference

    Lewis Richard Farnell, Greek Hero Cults and Ideas of Immortality, 1921.
    http://en.wikipedia.org/wiki/Asclepius 

    Aesculapius Books "Aesculapius The God of Medicine"
    http://aesculapbooks.com/abaes.html

    Scott
     http://www.artsymbolism.com/2002/KimScottcaduceuspaper.htm>. 

     
    Hamilton, Edith. Mythology: Timeless Tales of Gods and Heroes. Warner Books ed. New York: Warner Books, 1999. 

    "ประวัติกระทรวงสาธารณสุข." เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข. 16 April 2005. <http://www.moph.go.th/about/history/prav.htm>.

    Nichols, Darren. "Walk Among Gods: The Symbols of Medicine." Iatros 10.1 (1995) 16 April 2005. <http://www.in-ta.net/info/aesculapius/iatros.html>. 

    Nichols, Darren. "Walk Among Gods: The Symbols of Medicine." Iatros 10.1 (1995) 16 April 2005. <http://www.in-ta.net/info/aesculapius/iatros.html>.

    Kim. "The History and Confusion of the Caduceus symbol and the Staff of Aesculapius in Medicine." Student Papers about Symbolism in Art. 2002. Virginia Commonwealth University Honors Department. 16 April 2005.

    Paul_012, The Symbol of the Medical Profession
    http://paul012.blogspot.com/2005/04/symbol-of-medical-profession.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×