ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คุยกันภาษาชาวYaoi

    ลำดับตอนที่ #2 : ธงสีรุ้ง(ต่อ)และกรุณาโพสด้วยขอบคุณ

    • อัปเดตล่าสุด 11 มิ.ย. 52


    สีรุ้ง...สีสันพรรณรายของคนรักเพศเดียวกันสีรุ้ง เป็นสีสัญญลักษณ์ สีล่าสุดของคนรักเพศเดียวกัน ทั้งเลสเบี้ยน และเกย์ (หลังจากที่เคยเปลี่ยนมาหลายสี ตามความเปลี่ยนแปลงทางสังคม)

    แรกเริ่มแต่เดิมนั้น คือในสมัยวิคตอเรียนของอังกฤษ สีที่เป็นสีสัญญลักษณ์ของชาวหญิงรักหญิงและชายรักชาย
    ก็คือ สีเขียว

    ต่อมา เปลี่ยนมาใช้สีม่วงแทน ซึ่งเป็นสีที่มาจากป้ายผ้าที่ทหารนาซีใช้ติดแขวนเสื้อคนรักเพศเดียวกัน ในค่ายกักกัน เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (ส่วนชาวยิว และกลุ่มคนอื่นๆที่ไม่ใช่ชาวอารยัน ก็จะใช้สีอื่นๆ ติดแทน แบ่งเป็น หมวดหมู่ไป)

    สีม่วงนี้เริ่มใช้กันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวครั้งแรกในยุค'60 ซึ่งเป็นช่วงหลังเหตุการณ์สโตนวอลล์ (สโตนวอลล์เป็นชื่อ บาร์เกย์ที่ตำรวจเข้าไปตรวจตราและได้ทำร้ายทอมคนหนึ่งทำให้ชาวรักเพศเดียวกันที่อยู่ในนั้นไม่พอใจตำรวจที่ทำ
    รุนแรงเกินกว่าเหตุ จึงลุกขึ้นมาต่อสู้และได้รับชัยชนะในที่สุด อันเป็นที่มาของเหตุการณ์สโตนวอลล์) แต่มาฮิตจริงๆ ก็ช่วงยุค'80 ฮิตทั้งในหมู่คนรักเพศเดียวกันเอง และประชาชนทั่วไป ก็เข้าใจความหมาย ของสีนี้เป็นอย่างดี ว่าเป็นสี ของชาวโฮโมเซ็กชวล

    แต่กาลต่อมา ประมาณปี 1978 ศิลปินชาวเกย์ในซานฟานซิสโก นามว่านายกิลเบิร์ต เบเกอร์ ทนเสียงเรียกร้องของ เพื่อนๆนักกิจกรรมทางสังคม ที่ต้องการมีสัญลักษณ์ของตัวเองไม่ไหว จึงได้ลงมือตัดเย็บ ย้อมสี ประดิษฐ์ธงสีรุ้ง ขึ้นมา ครั้งแรกนั้นมีด้วยกันถึง 8 สี และแต่ละสีก็มีความหมายดังนี้คือ สีชมพูหมายเรื่องเรื่องเพศ สีแดงหมายถึงชีวิต สีส้มหมายถึงการเยียวยา สีเหลืองคือพระอาทิตย์ สีเขียวคือธรรมชาติ สีฟ้าคือศิลปะ สีครามแทน ความผสานและ กลมกลืน และสีสุดท้ายคือสีม่วง แทนจิตวิญญาณของคนรักเพศเดียวกัน

    หลังจากทำธงผืนนี้เสร็จ ก็เป็นที่ถูกอกถูกใจชาวเลสเบี้ยน&เกย์แถบซานฟานฯเป็นอย่างมาก ใครๆก็อยากได้ไปเก็บ ไว้ที่บ้านบ้าง นายเบเกอร์ก็จึงได้ติดต่อบริษัททำธง ให้ผลิตออกมาให้หน่อย เพื่อที่มันจะได้แพร่กระจายไปใน ชาวรัก เพศเดียวกันเยอะๆ แต่ปรากฎว่าบริษัททำธง ไม่สามารถผลิตสีชมพูสดได้ จึงมาต่อรองขอตัดสีชมพูออก เหลือ 7 สีจะได้ไหม ซึ่งด้วยความเป็นคนใจอ่อน นายเบเกอร์ก็ยอมตามที่บริษัททำธงขอมา

    แต่โอกาสที่ธงสีรุ้งได้มีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ ก็ในงานเดินขบวนของชาวเกย์ ที่จัดเพื่อระลึกถึงนาย ฮาร์วีร์ มิลค์ เกย์นักการเมืองชื่อดังที่ถูกฆาตกรรมตอนปลายปี โดยนักการเมืองด้วยกัน ที่มีความเกลียดชังคน เป็นเกย์ โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งได้สร้างความสะเทือนใจในหมู่ชาวเกย์เป็นอย่างมาก และคณะกรรมการ งานพาเหรด เกย์(Gay Pride) ก็ได้มีมติใช้ธงสีรุ้งของนายเบเกอร์นำริ้วขบวนในงานนี้ แต่ขอตัดให้เหลือเพียง 6 สี โดยตัดสีครามออกไป เพื่อให้ริ้วขบวนเวลาเดินไปตามถนนทำได้โดยง่าย คือแบ่งเป็นฝั่งละ 3 ริ้วขบวน ซึ่งนายเบเกอร์ก็ยินยอม ตกลงใจอย่างไม่กังขา

    จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ ธงสีรุ้ง 6 สี ก็ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการแล้วจากสภาผู้ทำธงนานาชาติ (International Congress of Flag Makers) ว่าเป็นธงของชาวเลสเบี้ยนและเกย์ ซึ่งชาวหญิงรักหญิง และชายรักชาย ทั่วโลกก็เข้าใจในความหมายของสีนี้ เป็นอย่างดี

    ในต่างประเทศ หากสถานที่ใดขึ้นธงสีรุ้งไว้ ก็เป็นอันรู้กันว่า ที่นั้นคือที่ๆยินดีต้อนรับคนรักเพศ เดียวกัน(และแน่นอนคนรักต่างเพศด้วย)

    สีรุ้ง นอกจากจะถูกทำเป็นธงแล้ว ยังถูกนำมาเป็นสัญญลักษณ์ติดบนข้าวของเครื่องใช้ต่างๆมากมาย ทั้งเสื้อผ้า ร่ม แก้วกาแฟ ผ้าปูที่นอน พวงกุญแจ ฯลฯ เป็นต้น

    เห็นสัญญลักษณ์สีรุ้งที่ไหนจะได้เข้าใจความหมาย และที่มา

    ป.ล.หมายเหตุ ในเมืองไทย สีรุ้งอาจจะยังไม่แพร่หลายในแง่ของสีที่เป็นสัญญลักษณ์ของหญิงรักหญิงและชายรักชาย หลายวันก่อน ร้านใกล้ที่ทำงานขึ้นธงสีรุ้งไว้ ทำเอาคนเขียนดีใจ ชวนเพื่อนร่วมงานที่เดินไปด้วยให้ดู พี่แกบอกว่าร้านนี้น่าเข้าไปทานข้าวจัง เพราะคงจะราคาถูกกว่าร้านที่มีธงสีฟ้าแหงๆ !! เป็นงั้นไป


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×