ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หอสมุดต้องห้ามแห่งดาร์คแลนด์

    ลำดับตอนที่ #95 : อักษรรูน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.6K
      4
      1 ก.ค. 59

    อักษรรูน



     

                      
                    อักษรรูน หรือ อักษรรูนิก ในภาษาพื้นเมืองเรียกฟูทาร์ก ซึ่งหมายถึงตัวอักษร ข้อความ หรือจารึก ใน
    ภาษาเยอรมันเก่าหมายถึง ประหลาดหรือความลับ อักษรนี้มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของอักษรรูน ได้แก่ อักษรนี้ถูกออกแบบโดยอิสระ ไม่ขึ้นกับอักษรอื่น การเขียนเริ่มขึ้นในยุโรปใต้และถูกนำไปทางเหนือโดยเผ่าเยอรมัน เป็นแบบให้อักษรละตินและอักษรอีทรัสคัน

                     
                  จารึกอักษรรูนที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 643 แต่จารึกส่วนใหญ่อยู่ในราว พ.ศ. 1600 พบทั้งยุโรปตั้งแต่
    แหลมบอลข่าน เยอรมัน สแกนดิเนเวีย ไปจนถึงอังกฤษ ทิศทางการเขียนช่วงแรกผันแปรมาก โดยมากอยู่ในแนวซ้ายไปขวา ไม่มีการแบ่งช่องว่างระหว่างคำมากนัก โดยอาจมีการใช้จุดหนึ่งจุดหรือมากว่า จารึกที่พบมีทั้งจารึกบนผาสูง หินขนาดใหญ่ สิ่งก่อสร้าง จารึกทางศาสนาและเวทมนตร์ จารึกเกี่ยวกับการค้าและการเมือง จดหมายส่วนบุคคล ข้อความสั้นๆและจารึกในงานศิลปะ

     

              อักษรรูนมีหลายรุปแบบดังต่อไปนี้

    • อักษรฟูทาร์กรุ่นแรก (Elder Futhark) เป็นรูปแบบเก่าสุดที่พบในยุโรป ที่เป็นบ้านเกิดของเผ่าเยอรมัน รวมทั้งสแกนดิเนเวีย รูปแบบอื่นๆอาจพัฒนาไปจากรูปแบบนี้
    • อักษรรูน โกธิก ใช้เขียนภาษาโกธิกที่เป็นภาษาเยอรมันตะวันออก แต่จุดเริ่มต้นยังไม่ชัดเจน จารึกอักษรนี้เหลืออยู่น้อยมาก ถูกแทนที่ด้วยอักษรอื่นเมื่อราว พ.ศ. 900
    • อักษรฟูทาร์ก แองโกล-แซกซอน (Anglo-Saxon Futhorc) มีการเพิ่มอักษรบางตัวเข้ามาเพื่อใช้เขียนภาษาแองโกล-แซกซอน ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษโบราณ คาดว่าอักษรนี้เข้าไปในอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 1000 และใช้มาจนถึง พ..ศ. 1600 มักพบบนเครื่องประดับ ก้อนหิน อาวุธ และอื่นๆ
    • อักษรฟูทาร์กรุ่นใหม่ (Younger Futhork) พัฒนาจากอักษรรุ่นเก่า และคงตัวอยู่จนถึง พ.ศ. 1300 เป็นอักษรหลักในนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินเมื่อศาสนาคริสต์แพร่ไปถึง อักษรใน 3 ประเทศนี้ต่างกันเล็กน้อย

             หลังพุทธศตวรรษที่ 23 การใช้อักษรรูนลดน้อยลง เมื่อศาสนาคริสต์แพร่หลายเข้ามา อักษรรูนถูกโยงเข้ากับเวทมนตร์คาถาซึ่งต้องถูกกำจัด ในปัจจุบันมีการฟื้นฟูการใช้อักษรรูนอีกครั้งแต่ใช้ในการพยากรณ์.


     

                        อักษรรูนถือเป็นอักษรศักดิ์ลิทธิ์ของกลุ่มชนชาติที่ใช้ภาษากลุ่มเยอรมัน มีการนำชื่อเทพเจ้าต่างๆ มารวมเข้ากับชื่ออักษร ต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในสแกนดิเนเวีย มีการสลักอักษรรูนไว้ในเหรียญกษาปต์ โลงศพ หรือใช้ประดับตกแต่งสถานที่ ในยุคนาซีมีการฟื้นฟูการใช้อักษรรูนอีกครั้ง แต่เมื่อนาซีหมดอำนาจก็เสื่อมความนิยมไป จนปัจจุบันการทำนายด้วยอักษรรูนเป็นที่นิยมและนำกลับมาศึกษากันอีกครั้ง มีการกำหนดวิธีทำนายมากมาย เช่น การโยนกิ่งไม้เพื่อให้เกิดเป็นรูปอักษรรูนหรือสุ่มหยิบก้อนหินที่สลักรูปอักษรรูนไว้







     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×