ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หอสมุดต้องห้ามแห่งดาร์คแลนด์

    ลำดับตอนที่ #63 : มนุษย์หิมะ เยติ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 722
      0
      1 ก.ค. 59

    มนุษย์หิมะ เยติ



            เยติ หรือ มนุษย์หิมะ เป็นชื่อที่ใช้เรียกสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง ในความเชื่อของชาวเชอร์ปา ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาลและธิเบต โดยเชื่อว่าเยติ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่คล้ายมนุษย์ผสมกับลิงไม่มีหางคล้าย กอริลลา มีขนยาวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำปกคลุมทั้งลำตัว โดยปรกติแล้ว เยติเป็นสัตว์ที่มีนิสัยสงบเสงี่ยม แต่อาจดุร้ายโจมตีใส่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ในบางครั้ง

            เยติ ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของชาวเชอร์ปามาอย่างช้านาน โดยถูกกล่าวถึงในนิทานและเพลงพื้นบ้าน และเรื่องเล่าขานต่อกันมาถึงผู้ที่เคยพบมัน นอกจากนี้แล้วยังปรากฏในศิลปะของพุทธศาสนานิกายมหายานแบบธิเบต โดยปรากฏเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดลามะอายุกว่า 300 ปี และปัจจุบันนี้ ก็มีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นหนังศีรษะของเยติถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในวัดลามะแห่งหนึ่งในคุมจุง ซึ่งนับว่าเยติเป็นสัตว์ที่ถูกกล่าวอ้างถึงยาวนานกว่าสัตว์ประหลาดที่มีลักษณะคล้ายกันชนิดอื่นที่พบในอีกซีกโลก เช่น บิ๊กฟุต หรือ ซาสควอทช์

            นอกจากคำว่าเยติแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ที่เรียกเยติ เช่น เธลม่า (Thelma), แปลว่า "ชายตัวเล็ก" เชื่อว่ามีนิสัยรักสงบ ชอบสะสมกิ่งไม้และชอบร้องเพลงขณะที่เดินไป, ดซูท์เทห์ (Dzuteh) เป็นเยติขนาดใหญ่ มีขนหยาบกร้านรุงรัง มีนิสัยดุร้ายชอบโจมตีใส่มนุษย์, มิห์เทห์ (Mith-teh) มีนิสัยคล้ายดซูท์เทห์ คือ ดุร้าย มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ, เมียกา (Mirka) แปลว่า "คนป่า" เชื่อว่าหากมันพบเห็นสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ มันจะทำร้ายจนถึงแก่ความตาย, คัง แอดมี (Kang Admi) แปลว่า "มนุษย์หิมะ" และ โจบราน (JoBran) แปลว่า "ตัวกินคน" เป็นต้น

            ซึ่งเรื่องราวของเยติที่โจมตีใส่มนุษย์นั้น ได้ถูกทำเป็นรายงานส่งไปยังเมืองกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ซึ่งปากคำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกบันทึกโดยอาสาสมัครชาวอเมริกันที่ทำงานในเนปาล โดยผู้ถูกทำร้ายเป็น เด็กหญิงชาวเชอร์ปาคนหนึ่ง โดยเธอบอกว่าขณะกำลังนำจามรีไปดื่มน้ำที่ลำธาร เยติตัวหนึ่งก็โผล่มาทำร้ายเธอ แต่เธอกรีดร้องลั่น จนมันปล่อยเธอ และหันไปทำร้ายจามรีของเธอจนมันถึงแก่ความตายด้วยการบิดเขาและหักคอ

            เรื่องราวเยติเป็นที่สนใจของชาวตะวันตก เมื่อชาวตะวันตกได้เข้ามาบุกเบิกและยึดครองดินแดนแถบนี้ ได้มีการตามล่าและค้นคว้าเกี่ยวกับเยติ ซึ่งก็ได้พบกับหลักฐานการมีอยู่ของเยติมากมาย ทั้ง รอยเท้า, ขนและมูล และแม้กระทั่งประจักษ์พยานที่เคยได้พบเห็น ซึ่งโดยมากเป็นนักปีนเขา ซึ่งหลักฐานส่วนใหญ่ได้ถูกบันทึกไว้เป็นรูปถ่าย โดยรูปถ่ายของรอยเท้าเยติรูปแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1921 โดยถ่ายไว้ได้ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 5,029 เมตร

            มีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับเยติไว้มากมาย เช่น เชื่อว่ามันอาจเป็นสัตว์ชนิดอื่นที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขานี้ เช่น หมีสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นหมีชนิดหนึ่งที่หาได้ยากมาก, เสือดาวหิมะ, อีกาปากแดง ที่มักจะทิ้งรอยเท้าไว้บนพื้นหิมะด้วยการกระโดด หรือแม้แต่เป็นชะนีขนาดใหญ่ แต่มีนักสัตววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับรอยเท้าของเยติ กล่าวว่า รอยเท้าของเยติบ่งว่า เยติมีเท้าที่ไม่เหมือนกับหมีหรือสัตว์ชนิดอื่นใดเลย นอกจากสัตว์ในอันดับไพรเมทอันเป็นอันดับเดียวกับ มนุษย์ และลิงไม่มีหาง แต่มีสิ่งที่แปลกออกไปคือ นิ้วเท้านิ้วที่ 2 มีขนาดใหญ่ และมีกระดูกอุ้งเท้าที่สั้นผิดปกติ ดูคล้ายกับเท้าของลิงยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gigantopithecus จึงทำให้เชื่อได้ว่า เยติอาจเป็นลิงชนิดนี้ที่เคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วก็เป็นได้ นอกจากนี้แล้วยังได้ข้อสรุปว่า เยติเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีโครงสร้างของร่างกายใหญ่และหนาทึบ และเดินด้วยสองขาหลังเหมือนมนุษย์

            ในปี ค.ศ. 1960 เซอร์เอดมันด์ ฮิลลารี ผู้พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้เป็นคนแรกของโลก ได้กลับมายังเทือกเขาหิมาลัยอีกครั้ง พร้อมด้วยอุปกรณ์และลูกหาบมากมายเพื่อค้นหาเยติ แต่ทว่ากว่า 10 เดือนที่เขาต้องทนหนาวอยู่ที่นี่ ฮิลาลารีไม่ได้พบเจอเยติเลย เขาหัวเสียมากและประกาศลั่นว่า เยติไม่มีอยู่จริง

            ในต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 นักวิทยาศาสตร์จากหลายชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, เอสโตเนีย, สวีเดน, จีน และมองโกเลีย ได้รวมตัวกันเพื่อประชุมและตามล่าเยติที่ภูมิภาคเคเมโรโว ในแคว้นไซบีเรีย ของประเทศรัสเซีย และสถานที่ใกล้เคียง เช่น เทือกเขาอัลไต เพราะมีรายงานการพบเห็นเยติในแถบนี้มากถึง 3 เท่าจากเมื่อ 20 ปีก่อน โดยพบรอยเท้าขนาด 35 เซนติเมตร หรือสิ่งก่อสร้างที่คล้ายกระท่อมอย่างง่าย ๆ จากกิ่งไม้ก็ถูกพบ ทำให้คาดว่ามีเยติในภูมิภาคนี้มากถึง 70-80 ตัว และนับเป็นการล่าเยติอย่างจริงจังที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียต ลงทีมไปสำรวจในพื้นที่ทางตะวันตกของไซบีเรีย เพื่อตามจับเยติ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×