ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หอสมุดต้องห้ามแห่งดาร์คแลนด์

    ลำดับตอนที่ #125 : 10 ผีไทย ที่คุณอาจไม่รู้จัก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 280
      0
      1 ก.ค. 59

     
    10 ผีไทย ที่คุณอาจไม่รู้จัก
     

        
        1. ผีตาโขน

     
         หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อนี้ จากประเพณี "ผีตาโขน" ของจังหวัดเลย แต่รู้หรือไม่ ว่ามันมีที่มาอย่างไร
    เชื่อกันว่าผีตาโขนเป็นผีในความเชื่อของชาวไทยภาคอีสาน ส่วนสาเหตุที่มันได้ชื่อว่า “ผีตาโขน” นั้นสืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนมีความเชื่อกันว่าเคยมีผีกลุ่มหนึ่งพยายามเดินตามพระเพื่อขอส่วนบุญ เพื่อใช้เอาไปเกิดในภพหน้าได้ ชาวบ้านเห็นก็เลยเรียกผีกลุ่มนั้นว่า
    “ผีตามคน” ภายหลังเรียกเพี้ยนไปเพี้ยนมาจนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” ในที่สุด


       2.ผีขุนน้ำ
     
        ผีขุนน้ำ  คือผีอารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย  มักจะสถิตอยู่บนดอยสูง และมักอยู่ตามต้นไม้ใหญ่
    อยู่ต้นไม้ใกล้แม่น้ำใด  ก็มักจะได้ชื่อตามแม่น้ำนั้น เช่น "ขุนลาว"  เป็นผีที่อยู่ต้นแม่น้ำลาว เป็นต้น

     
       3.ผีโขมด
     
         เชื่อกันว่าผีขโมดเป็นผีที่มีรูปร่างเป็นดวงไฟลอยล่องอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำสกปรกยามค่ำคืน 
    เชื่อกันว่าผีขโมดจะไม่ทำอันตรายคน (หากคนไม่ไปทำอันตรายมันก่อน)
    มีบ้างเป็นบางครั้งที่ผีขโมดเพียงแต่หลอกให้คนที่เดินทางในยามค่ำคืนเดินหลงทางเล่น

     
       4.ชิน
     
         เชื่อกันว่าชินมีลักษณะเป็นดวงไฟเช่นเดียวกันกับผีขโมด แต่ชินมีลักษณะเป็นดวงไฟสีขาวขุ่น
    ตามความเชื่อของชาวไทยภาคใต้บางกลุ่ม กล่าวว่า ชินเป็นเพียงดวงวิญญาณชั้นต่ำที่ได้แต่ล่องลอยอยู่บนต้นไม้ในป่าเท่านั้น แต่คนบางกลุ่มก็ว่าชินอาจนำเอาความอัปมงคลเข้ามาสู่ตนได้หากชี้นิ้วไปยังทิศทางที่มันอยู่

     
       5.ผีแม่ซื้อ
     
         เชื่อกันว่าแม่ซื้อเป็นผีผู้หญิงที่ชอบติดตามเด็กเกิดใหม่   บ้านใดมีเด็กเกิดใหม่ก็มักจะมีแม่ซื้อมาประจำ ณ ที่แห่งนั้นด้วยเสมอ 
    บางบ้านเชื่อว่าเหตุที่เด็กทารกในบ้านของตนมักจะหัวเราะหรือดูยิ้มแย้มแจ่มใส บ้างก็ร้องห่มร้องไห้ในบางครั้งนั้น  เป็นเพราะแม่ซื้อเฝ้าหยอกล้อกับเด็กๆนั่นเอง แม่ซื้อจึงจัดเป็นผีดีที่ชอบหยอกล้อเด็กเล็กๆให้ไม่เหงายามอยู่คนเดียว

     
       6.ผีแม่บันได
     
         เชื่อกันว่าที่บันไดทางขึ้นบ้านของคนไทยในสมัยก่อนนั้นมีผีประจำอยู่ เป็นผีผู้หญิงเรียกกันว่าแม่บันได ผีตนนี้มีหน้าที่ในการปกป้องบันไดในบ้านนั้นๆ มีความเชื่อของชาวไทยภาคกลางว่า "ห้ามเหยียบแม่บันไดยามเดินเข้าสู่เรือนชาน" เพราะเชื่อว่าหากเหยียบแม่บันไดแล้วจะก่อให้เกิดผลร้ายตามมานั่นเอง
     
     
       7.ผีม้าบ้อง
     
         ม้าบ้อง เป็นผีชนิดหนึ่งตามคติความเชื่อของชาวไทยวน ม้าบ้องมีรูปลักษณ์ท่อนบนลำตัวเป็นหญิงสาวสวย แต่ท่อนล่างเป็นม้า ม้าบ้อง (ลักษณะเหมือนเซนทอร์) โดยปกติจะไม่เห็นตัว แต่อาจจะได้ยินเสียงม้า หรือปรากฏบนรอยเท้าม้าตามพื้นดิน ม้าบ้องจะออกล่อลวงเหยื่อที่เป็นผู้ชาย โดยเฉพาะหนุ่มละอ่อนที่ไม่ประสีประสาในเรื่องทางเพศให้ตามเข้าไปถึงถิ่นที่อาศัยของมัน แล้วฆ่าทิ้งเสีย
     
     
       8.จะกละ 
     
         จะกละ มีลักษณะคล้ายแมวป่า เป็นผีที่หมอผีเลี้ยงเอาไว้เพื่อใช้ในการทำร้ายศัตรูหรือคู่อริ ทางภาคใต้เรียกกันว่า"ผีล้วง" ลักษณะโดยทั่วไปจะเหมือนกับแมวบ้านทุกประการ แต่ขนจะมีสีดำสนิทกระด้างไม่มีเงา ขนจะทวนไปด้านหน้าฟูฟ่อง มีดวงตาสีแดงเลือด ชอบกินสัตว์อื่นและเลือดสดๆเป็นอาหาร เป็นสื่อนำของผู้มีอาคมปล่อยมาแฝงร่างเพื่อกินของคาวสด 
     
     
       9.ผีปกกะโหล้ง
     
         เชื่อกันว่าผีปกกะโหล้งเป็นผีที่อยู่ปกป้องรักษาป่าทางภาคเหนือของประเทศไทย  มีรูปร่างลักษณะคล้ายคนป่าไว้ผมยาวรุงรัง เล็บมือและเล็บเท้ายาวเหมือนคนป่า นิยมกินกุ้งหอยปูปลาและออกล่าสัตว์เล็กๆมาฉีกกินเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าผีปกกะโหล้งเคลื่อนที่ได้เร็วดุจลมพัด ไม่เคยมีใครสามารถที่จะตามจับหรือตามไล่มันได้ทัน    

     
       10.ผีหลังกลวง
     
         ผีหลังกลวงเป็นผีที่เกิดจากความเชื่อของชาวไทยภาคใต้  มีลักษณะเป็นเหมือนกับคนธรรมดา แต่มีสันหลังที่กลวงโบ๋  มีน้ำหนองไหลออกมาอย่างน่ากลัว  ผีหลังกลวงชอบอาศัยอยู่ในแถบสถานที่ๆมีอากาศเย็นโดยเฉพาะในบริเวณน้ำตกต่างๆของทางภาคใต้ เชื่อกันว่ามันชอบกินของดิบๆเป็นนิสัย ส่วนกรรมวิธีในการหลอกคนก็คือ มันจะหันหลังที่มีสภาพน่าเกลียดน่ากลัวให้คนที่มันจะหลอกดู แต่ผีหลังกลวงในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดพัทลุงนั้นมันมีวิธีหลอกโดยการเดินมาตอนกลางคืนแล้วอาสาว่าจะช่วยตำข้าวให้ พอเจ้าของบ้านเผลอมันจะฉวยโอกาสหักคอกับครกตำข้าว (คนพัทลุงในสมัยก่อนจึงไม่ค่อยมีใครนิยมตำข้าวตอนเวลากลางคืน) เป็นต้น





     
     
     
     


     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×