ลำดับตอนที่ #24
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #24 : (กวีนิพนธ์) ฉันเห็นรวงข้าวร้องไห้ โดย กุหลาบน้ำเงิน
ฉันเห็นรวงข้าวร้องไห้ โดย กุหลาบน้ำเงิน
ขออุทิศแด่ ชาวนา
กวีนิพนธ์
...กลอนบทนี้ เกิดขึ้นมาเพราะผู้เขียนเกิดคำถามว่า ทำไมชาวนาไทยถึงยากจน?
เเละคำตอบของคนทั่วไปคือ เพราะชาวนาไทยใช้เงินไม่เป็น ใช้เงินโง่เอง...
ผู้เขียนได้ใช้เวลาราว 3 เืดือนในการค้นหาคำตอบของคำถามพวกนี้
เเละพบคำตอบที่น่าสะเทือนใจว่า...
ชาวนาไทยยากจน...เพราะ 'เรา' นั่นเอง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ถูกเขียนขึ้นในรัฐบาลในสมัย จอมพล สกฤษดิ์ ธนะรัชต์
เพื่อนำเปลี่ยนประเทศเกษตรกรรมไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม
ชาวนาถูกรัฐหันเหจากการใช้ เคียว ใช้ควาย ใช้ปุ๋ยหมักชาวบ้าน ใช้ภูมิปัญญาเดิมๆ
ไปสู่การลงทุนใช้รถไถ ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ข้าวพันธุ์ใหม่
มีการปลูกข้าวปีละหลายๆครั้ง เพื่อให้สามารถทำนาได้ผลผลิตรวดเร็วขึ้น และมากขึ้น
อุตสาหกรรมยังคงเดินหน้าไป...ถนนหนทางถูกสร้างขึ้น ไฟฟ้าสว่างน้ำประปาไหลรินเพื่อเอื้อแด่เอกชน
เงินมหาศาล... ได้มาจากการการเก็บภาษีส่งออกข้าวของชาวนา
ทว่า...ชาวนายากจน ผู้เป็นรากหญ้ากลับถูกย่ำเหยียบหลงลืม...
ทุนของชาวนา กลับกลายเป็นหนี้ สุดท้าย ต้องขายผืนนาของตัวเอง เเละเเปรผันเป็น 'ผู้รับจ้างทำนา'
พิศเพียงจันทร์หม่นเศร้า หทัย
ลอยเลื่อนลาอาลัย ผ่านฟ้า
วิเวกแว่วสงัดไพร ไหวหวั่น
พลางทอดถอนฤดีล้า ซ่อนน้ำตานอง
ยอดรวงทองสั่นพลิ้ว เอนไหว
แปรชีพชาวนาไทย เปลี่ยนสิ้น
ชีวิตแบบเดิมใด จำจาก ทิ้งเอย
ฝืนร่างทนแดดิ้น ‘รับจ้าง...ทำนา’
พิศผืนทอง มองผืนนา น่าปลาบปลื้ม
ดูด่ำดื่ม ดุจแดนสรวง รวงข้าวไสว
อร่ามเหลือง เรืองรองลิ่ว ทิวทุ่งไกล
งามจับใจ ในเขตคาม ยามลมโปรย
หากพลิกกลับ ลับหลังภาพ...ภาพรันทด
ใครหลังขด อดงานทน จนระโหย
ใครเหนื่อยล้า ท้าแสงแดด แผดร้อนโชย
ปาดเหงื่อโกย โรยชีพพลี ที่ผืนนา
ยากหนักหนา กว่าจะเห็น เป็นรวงข้าว
จำปวดร้าว เฝ้าตรำตราก หลากปัญหา
แล้วเรายื่น คืนสิ่งใดให้ชาวนา…
...กดราคา… มอบน้ำตา... ความดูแคลน
สันหลังชาติ พินาศร่อน กร่อนพังพ่าย
ร่างผอมผ่าย ร่ายระทม ตรมสุดแสน
หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ถิ่นข้นแค้น
ทั้งขาแขน แกนกายล้า พร่าน้ำตา
ข้าวทุกคำ กำซาบใจ ใครขมขื่น
เรายิ้มรื่น ใครขืนข่ม ระทมหนา
เราอิ่มข้าว แล้วเฝ้าย่ำ ซ้ำชาวนา
คือที่มา ความชาชิน ถิ่นนาไทย
ตะวันแผด แดดหมองมัว ทั่วทุ่งท้อง
สกุณร้อง ท่องบรรเลง เพลงพลิ้วไหว
สายลมเรื่อย เฉื่อยเมฆน้อย ลอยคล้อยไป...
ที่นี่ไง...ใครอีกคน ก่นน้ำตา
ณ วันนี้...
ตามผืนนาหลายผืน จึงแลเห็นแสงไฟนีออนวับๆตามท้องทุ่งนา
‘ผู้รับจ้างทำนา’ หลายคนยังคงทำอาชีพของตนไปหามค่ำหามรุ่งเพื่อเก็บเกี่ยวทรัพย์
ในความเร่งรีบปลูกข้าวทั้งวันทั้งคืน
‘ผืนดิน’ ถูกบังคับให้ผลิตรวงข้าวออกมาอย่างซ้ำซากซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเสื่อมโทรม
หน้าดินถูกรถไถทำลาย อากาศเป็นมลพิษเพราะยาฆ่าแมลง
ข้าวพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตดีกว่าเติบโตเต็มท้องทุ่ง ในขณะที่ข้าวพื้นเมืองพันธุ์เก่าค่อยๆเลือนหายสูญพันธุ์ไป
ความสัมพันธ์ ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวนา...จางหายเลือนลับ
ผู้แต่ง
ขออุทิศแด่ ชาวนา
กวีนิพนธ์
...กลอนบทนี้ เกิดขึ้นมาเพราะผู้เขียนเกิดคำถามว่า ทำไมชาวนาไทยถึงยากจน?
เเละคำตอบของคนทั่วไปคือ เพราะชาวนาไทยใช้เงินไม่เป็น ใช้เงินโง่เอง...
ผู้เขียนได้ใช้เวลาราว 3 เืดือนในการค้นหาคำตอบของคำถามพวกนี้
เเละพบคำตอบที่น่าสะเทือนใจว่า...
ชาวนาไทยยากจน...เพราะ 'เรา' นั่นเอง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ถูกเขียนขึ้นในรัฐบาลในสมัย จอมพล สกฤษดิ์ ธนะรัชต์
เพื่อนำเปลี่ยนประเทศเกษตรกรรมไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม
ชาวนาถูกรัฐหันเหจากการใช้ เคียว ใช้ควาย ใช้ปุ๋ยหมักชาวบ้าน ใช้ภูมิปัญญาเดิมๆ
ไปสู่การลงทุนใช้รถไถ ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ข้าวพันธุ์ใหม่
มีการปลูกข้าวปีละหลายๆครั้ง เพื่อให้สามารถทำนาได้ผลผลิตรวดเร็วขึ้น และมากขึ้น
อุตสาหกรรมยังคงเดินหน้าไป...ถนนหนทางถูกสร้างขึ้น ไฟฟ้าสว่างน้ำประปาไหลรินเพื่อเอื้อแด่เอกชน
เงินมหาศาล... ได้มาจากการการเก็บภาษีส่งออกข้าวของชาวนา
ทว่า...ชาวนายากจน ผู้เป็นรากหญ้ากลับถูกย่ำเหยียบหลงลืม...
ทุนของชาวนา กลับกลายเป็นหนี้ สุดท้าย ต้องขายผืนนาของตัวเอง เเละเเปรผันเป็น 'ผู้รับจ้างทำนา'
พิศเพียงจันทร์หม่นเศร้า หทัย
ลอยเลื่อนลาอาลัย ผ่านฟ้า
วิเวกแว่วสงัดไพร ไหวหวั่น
พลางทอดถอนฤดีล้า ซ่อนน้ำตานอง
ยอดรวงทองสั่นพลิ้ว เอนไหว
แปรชีพชาวนาไทย เปลี่ยนสิ้น
ชีวิตแบบเดิมใด จำจาก ทิ้งเอย
ฝืนร่างทนแดดิ้น ‘รับจ้าง...ทำนา’
พิศผืนทอง มองผืนนา น่าปลาบปลื้ม
ดูด่ำดื่ม ดุจแดนสรวง รวงข้าวไสว
อร่ามเหลือง เรืองรองลิ่ว ทิวทุ่งไกล
งามจับใจ ในเขตคาม ยามลมโปรย
หากพลิกกลับ ลับหลังภาพ...ภาพรันทด
ใครหลังขด อดงานทน จนระโหย
ใครเหนื่อยล้า ท้าแสงแดด แผดร้อนโชย
ปาดเหงื่อโกย โรยชีพพลี ที่ผืนนา
ยากหนักหนา กว่าจะเห็น เป็นรวงข้าว
จำปวดร้าว เฝ้าตรำตราก หลากปัญหา
แล้วเรายื่น คืนสิ่งใดให้ชาวนา…
...กดราคา… มอบน้ำตา... ความดูแคลน
สันหลังชาติ พินาศร่อน กร่อนพังพ่าย
ร่างผอมผ่าย ร่ายระทม ตรมสุดแสน
หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ถิ่นข้นแค้น
ทั้งขาแขน แกนกายล้า พร่าน้ำตา
ข้าวทุกคำ กำซาบใจ ใครขมขื่น
เรายิ้มรื่น ใครขืนข่ม ระทมหนา
เราอิ่มข้าว แล้วเฝ้าย่ำ ซ้ำชาวนา
คือที่มา ความชาชิน ถิ่นนาไทย
ตะวันแผด แดดหมองมัว ทั่วทุ่งท้อง
สกุณร้อง ท่องบรรเลง เพลงพลิ้วไหว
สายลมเรื่อย เฉื่อยเมฆน้อย ลอยคล้อยไป...
ที่นี่ไง...ใครอีกคน ก่นน้ำตา
ณ วันนี้...
ตามผืนนาหลายผืน จึงแลเห็นแสงไฟนีออนวับๆตามท้องทุ่งนา
‘ผู้รับจ้างทำนา’ หลายคนยังคงทำอาชีพของตนไปหามค่ำหามรุ่งเพื่อเก็บเกี่ยวทรัพย์
ในความเร่งรีบปลูกข้าวทั้งวันทั้งคืน
‘ผืนดิน’ ถูกบังคับให้ผลิตรวงข้าวออกมาอย่างซ้ำซากซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเสื่อมโทรม
หน้าดินถูกรถไถทำลาย อากาศเป็นมลพิษเพราะยาฆ่าแมลง
ข้าวพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตดีกว่าเติบโตเต็มท้องทุ่ง ในขณะที่ข้าวพื้นเมืองพันธุ์เก่าค่อยๆเลือนหายสูญพันธุ์ไป
ความสัมพันธ์ ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวนา...จางหายเลือนลับ
ผู้แต่ง
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น