คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #8 : มิดเดิ้ลเอิร์ธคือที่ไหน ? ตอนที่ 2
แนวคิดแรกเริ่ม
ในตำนานเยอรมันโบราณและ นอร์ส เชื่อกันว่าเอกภพประกอบด้วย "โลก" จำนวนเก้าโลกเชื่อมต่อกัน ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีการเชื่อมต่อกันอย่างไร แต่แนวคิดหนึ่งบอกว่า โลกเจ็ดแห่งวางตัวบนทะเลรายล้อม ได้แก่ ดินแดนของเอลฟ์ (Alfheim) คนแคระ (Niðavellir) พระเจ้า (Asgard กับ Vanaheim) และยักษ์ (Jotunheim กับ Muspelheim) แต่พวกนักปราชญ์นอร์สบอกว่าโลกทั้งเจ็ดนี้อยู่บนท้องฟ้า คืออยู่บนกิ่งก้านของต้นอิกดราซิล "ต้นแอชแห่งพิภพ" ทั้งสองแนวคิดกล่าวถึงโลกของมนุษย์ (ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อต่างๆ กัน เช่น มิดการ์ด, มิดเดนเอม, และมิดเดิ้ลเอิร์ธ) ว่าอยู่ที่ศูนย์กลางของจักรวาล โดยมี Bifröst สะพานสายรุ้ง เชื่อมจากมิดเดิ้ลเอิร์ธไปยังแอสการ์ด ส่วน เฮล ดินแดนแห่งความตายตั้งอยู่ใต้มิดเดิ้ลเอิร์ธ
นิรุกติศาสตร์
คำว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" ไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยโทลคีน แต่เป็นรูปภาษาอังกฤษยุคใหม่ของคำในภาษาอังกฤษยุคกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาอีกทีจากคำในภาษาอังกฤษยุคเก่า middanġeard ("g" ออกเสียงเบาๆ เหมือนเสียง ย ในคำว่า "yard" (ยาร์ด)
ในช่วงอังกฤษยุคกลางนั้นคำว่า middangeard มีการเขียนอยู่หลายแบบเช่น middellærd, midden-erde หรือ middel-erde ครั้นเวลาต่อมาจึงมีการสะกดผิดเพี้ยนไปเล็กน้อยแต่ไม่ได้เปลี่ยนความหมาย คำว่า middangeard มีความหมายจริง ๆ ว่า "เปลือกหุ้มชั้นกลาง" แทนที่จะเป็น "โลกตรงกลาง" (middle-earth) อย่างไรก็ตามคำว่า middangeard มักนิยมแปลออกมาว่า "middle-earth" และโทลคีนก็ยึดถือเอาแนวคิดนี้มาใช้
Middangeard มาจากคำภาษาเยอรมันในยุคก่อนหน้าและมีรากศัพท์ในภาษาซึ่งสัมพันธ์กับภาษาอังกฤษยุคเก่า เช่น คำภาษานอร์สยุคเก่า Miðgarðr จาก ตำนานนอร์ส ซึ่งถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษว่า Midgard
มิดเดิ้ลเอิร์ธของโทลคีน
โทลคีนพบคำว่า middangeard ในส่วนหนึ่งของบทกวีภาษาอังกฤษยุคเก่าที่เขาศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2457:
-
- éala éarendel engla beorhtast / ofer middangeard monnum sended.
- โอ เออาเรนเดล สว่างเหนือปวงเทวา / เหนือถิ่นหล้ามิดเดิ้ลเอิร์ธสู่มวลมนุษย์
ข้อความนี้มาจากส่วนที่สองของบทกวี Crist โดย Cynewulf ชื่อ เออาเรนเดล เป็นแรงบันดาลใจให้โทลคีนสร้างนักเดินเรือ เออาเรนดิล. ตามปกรณัมของโทลคีน เออาเรนดิลล่องเรือออกจากมิดเดิ้ลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง เพื่อไปของความช่วยเหนือจากเหล่าเทพ หรือ วาลาร์ ในเวลาต่อมา วาลาร์ได้บันดาลให้เรือวิงกิล็อทของเออาเรนดิลล่องอยู่บนฟากฟ้า กลายเป็นดวงดาวแห่งความหวังของเอลฟ์และมนุษย์แห่งมิดเดิ้ลเอิร์ธ [ โทลคีนเขียนบทกวีชุดแรกของเขาเกี่ยวกับเออาเรนดิลในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่เขาได้อ่านบทกวีของคริสต์ เขาได้เอ่ยถึงสถานที่แห่งหนึ่งว่า "ชายขอบของมัชฌิมโลก" (the mid-world's rim)
สำหรับโทลคีนแล้ว เขาเลือกใช้แนวคิดเกี่ยวกับ middangeard ในลักษณะเดียวกับการใช้คำเฉพาะในภาษากรีกว่า οἰκουμένη - oikoumenē (เป็นที่มาของคำว่า ecumen) โดยที่โทลคีนกล่าวว่า oikoumenē คือ "ที่พักอาศัยของมนุษย์" ซึ่งมีความหมายในทางกายภาพว่าเป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์ต้องใช้ชีวิตอยู่และ ผูกพันชะตาของตนเอาไว้ ตรงกันข้ามกับโลกอื่นที่มองไม่เห็น เช่น สวรรค์ หรือ นรก
อย่างไรก็ตาม คำว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธไม่ได้ใช้ในงานเขียนชิ้นแรกสุดของโทลคีนเกี่ยวกับโลกที่ เขาสร้างขึ้น งานเขียนจากต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1920 และตีพิมพ์ต่อมาใน The Book of Lost Tales (2526-7) แม้กระทั่งใน เดอะฮอบบิท (2480)
] โทลคีนเริ่มใช้คำว่า "มิดเดิ้ลเอิร์ธ" ในงานยุคหลังจากปีคริสต์ศักราช 1930 แทนที่คำก่อนหน้าเช่น "แผ่นดินใหญ่" (Great Lands), "แผ่นดินนอก" (Outer Lands) และ "ฮิเธอร์แลนด์" (Hither Lands) ที่เขาเคยใช้บรรยายดินแดนในเรื่องของเขา คำว่า 'มิดเดิ้ลเอิร์ธ' มีปรากฏอยู่ในชุดร่างของ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมถึงในฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกของเรื่อง ก็ปรากฏคำว่า 'มิดเดิ้ลเอิร์ธ' ในบทนำ : "...Hobbits had, in fact, lived quietly in Middle-earth for many long years before other folk even became aware of them."
คำว่ามิดเดิลเอิร์ธยังสามารถนำมาใช้เรียกเป็นชื่อทั่วไปสำหรับผลงานการ สร้างทั้งหมดของโทลคีน แทนที่คำที่มีความหมายถูกต้องแต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เช่น อาร์ดา ซึ่งหมายถึงโลกจริงๆ ทั้งหมดของโทลคีน (รวมถึงส่วนประกอบต่างๆ ในท้องฟ้า) หรือ เออา ซึ่งหมายถึงจักรวาล เราสามารถพบคำว่ามิดเดิลเอิร์ธได้ในชื่อหนังสือเช่น The Complete Guide to Middle-earth, The Road to Middle-earth, The Atlas of Middle-earth และโดยเฉพาะในหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ ทั้งหมดนี้ครอบคลุมพื้นที่นอกเหนือจากนิยามทางภูมิศาสตร์ที่จำกัดในคำว่า มิดเดิลเอิร์ธอีกด้วย
คำว่า "Middle-earth" บางครั้งเขียนนำเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เป็น "Middle-Earth"
และบางครั้งก็ละเครื่องหมายยัติภังค์ซึ่งผิดเช่นกัน เช่น "Middle Earth", "Middle earth"
และ "Middleearth "
ความคิดเห็น