คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #12 : การประยุกต์ในบทนิพนธ์
การประยุกต์
ภาพยนตร์
- ดูบทความหลักที่ ภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์
ในจดหมายฉบับหนึ่งถึงคริสโตเฟอร์ โทลคีน ลูกชายของเขา เจ.อาร์.อาร์. โทลคีนได้กำหนดแนวทางพิจารณาการปรับแต่งงานของเขาเพื่อการสร้างภาพยนตร์ ระหว่าง : "ศิลปะหรือเงิน".
เขาได้ขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์สำหรับ เดอะ ฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ให้กับ ยูไนเต็ดอาร์ติสท์ เมื่อ พ.ศ. 2512 หลังจากที่ต้องเผชิญกับใบแจ้งภาษี ปัจจุบันลิขสิทธิ์เหล่านั้นตกอยู่ในมือของ โทลคีนเอ็นเตอร์ไพรส์ ส่วน โทลคีนเอสเตท ได้ลิขสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์เรื่อง ซิลมาริลลิออน และงานอื่น ๆ
การดัดแปลงเพื่อสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรก คือการสร้างเรื่อง เดอะ ฮอบบิท เมื่อ พ.ศ. 2520 สร้างโดย แรนคิน-บาส (Rankin-Bass)
ในปีถัดมา (พ.ศ. 2521) ภาพยนตร์เรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก็ออกฉาย โดยการสร้างและกำกับของราฟ บาคชิ (Ralph Bakshi) เป็นการดัดแปลงเฉพาะครึ่งแรกของเนื้อเรื่อง สร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนด้วยเทคนิคแบบโรโตสโคป (rotoscope) ภาพยนตร์สร้างประสบความสำเร็จด้านการเงินพอสมควร แต่ได้รับคำวิจารณ์ในแง่ลบจากนักวิจารณ์และนักอ่านวรรณกรรมค่อนข้างมาก
พ.ศ. 2523 แรนคิน-บาส ได้สร้างภาพยนตร์พิเศษทางทีวีครอบคลุมส่วนหลังของ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เรียกว่า The Return of the King อย่างหยาบ ๆ อย่างไรก็ตามมันไม่ได้เป็นตามตอนจบของภาพยนตร์ของบาคชิโดยตรง
สำหรับภาพยนตร์แบบที่ใช้คนจริง ๆ ในการแสดง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ต้องรอจนกระทั่งปลายคริสตทศวรรษ 1990 ภาพยนตร์เหล่านั้นกำกับโดย ปีเตอร์ แจ็คสัน ด้วยการสนับสนุนด้านการเงินจาก นิวไลน์ซีนีม่า กับการหนุนหลังจากรัฐบาลและระบบธนาคารของประเทศนิวซีแลนด์
- ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน อภินิหารแหวนครองพิภพ (พ.ศ. 2544)
- ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ (พ.ศ. 2545)
- ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหาสงครามชิงพิภพ (พ.ศ. 2546)
ภาพยนตร์อยู่ใน box office เป็นเวลานานและความประสบความสำเร็จจากการวิพากษ์วิจารณ์ (ทั้งผู้อ่านและผู้ที่ไม่ได้อ่านหนังสือ) รวมทั้งได้รับรางวัลออสการ์ รวมสิบเจ็ดรางวัล (ได้รางวัลอย่างน้อยหนึ่งรางวัลในทุกประเภท เว้นแต่เพียงประเภทนักแสดง) อย่างไรก็ตาม ในการแปลงหนังสือเป็นภาพยนตร์ การเปลี่ยนลำดับเรื่องและตัวละครของแจ็คสันและบริษัทได้ทำให้แฟนหนังสือบาง ส่วนไม่พอใจ ถึงแม้หลายคนจะออกมาปกป้องว่าเกิดจากความจำเป็นก็ตาม
เกม
งานของโทลคีนมีอิทธิพลหลักต่อ role-playing games เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ เช่น โรเบิร์ต อี. ฮาเวิร์ด ฟริตซ์ เลยเบอร์ เอช. พี. เลิฟคราฟต์ และ ไมเคิล มูร์โคก ถึงแม้ว่าเกมที่มีชื่อเสียงที่สุดจะได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนโดยสภาพแวดล้อมของ en:Dungeons & Dragons พวกมันยังคงเป็นสองเกมที่มีลิขสิทธิ์และสร้างตามมิดเดิลเอิร์ธ สองเกมนี้คือ en:Lord of the Rings Roleplaying Game จาก en:Decipher Inc. และ en:Middle-earth Role Playing game (MERP) จาก en:Iron Crown Enterprises Middle-earth en:play-by-mail game ดำเนินการครั้งแรกโดย ไฟรอิง บัฟฟาโล และตอนนี้ผลิตโดย มิดเดิลเอิร์ธเกมส์ โดยเกมนี้ถูกดึงมาเป็นของ Academy of Adventure Gaming Arts & Design's Hall of Fame เมื่อ พ.ศ. 2540
en:Simulations Publications ได้สร้าง เกมวางแผนการรบ สามเกมตามงานของโทลคีน War of the Ring ครอบคลุมเหตุการณ์ส่วนใหญ่ใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ Gondor มุ่งไปที่ยุทธภูมิแห่งทุ่งเพเลนนอร์ ส่วน Sauron ครอบคลุมการรบในยุคที่สองก่อนประตูแห่งมอร์ดอร์ en:The Lord of the Rings Strategy Battle Game เกมการรบตามงานภาพยนตร์ของแจ็คสัน ได้วางตลาดอยู่ในขณะนี้โดย Games Workshop เกมกระดาษ ที่เรียกว่า War of the Ring เช่นกันก็วางตลาดในช่วงนี้เช่นกันโดย en:Fantasy Flight Games
เกมคอมพิวเตอร์ Angband เป็น free en:roguelike D&D-style game ที่แสดงตัวละครหลายตัวจากงานของโทลคีน รายชื่อของเกมคอมพิวเตอร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากโทลคีนสามารถดูได้ที่ http://www.lysator.liu.se/tolkien-games/
EA Games ได้สร้างเกมตามภาพยนตร์ของแจ็คสันสำหรับเกมคอนโซลและพีซี เกมเหล่านี้ได้แก่ platformers The Two Towers, The Return of the King, the real-time strategy game The Battle for Middle-earth, และภาคที่ตามมา The Battle for Middle-earth II, และ the role-playing game The Third Age.
เกมที่สร้างตามหนังสือ (ลิขสิทธิ์ทางการจาก en:Tolkien Enterprises) ได้แก่ Vivendi's own platformer, The Fellowship of the Ring, และ Sierra's own real-time strategy game, War of the Ring, ทั้งสองเกมที่ proved highly unsuccessful แม่แบบ:ME-fact, และหลายเกมสร้างตาม The Hobbit.
Turbine ยังสร้าง Middle-earth-based graphical massively multiplayer online roleplaying game (MMORPG) เกมแรก: Lord of the Rings Online: The Shadows of Angmar ซึ่งวางแผนจะลงตลาดในปี พ.ศ. 2549
ยังมีเกม MMORPG หลายเกมซึ่งสร้างตามหนังสือ (รู้จักในนาม MU*) วางแบบตามมิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน เกมที่มีอายุมากที่สุดย้อนไปถึงสิบห้าปี (MUME - Multi Users in Middle-earth) สำหรับรายการของ MU*s ที่ได้แรงบันดาลใจจากโทลคีน (ค่อนข้างยาว) ให้ไปที่ The Mud Connector และดูคำค้นหา 'tolkien'
นอกจากเกมลิขสิทธิ์ที่เป็นทางการแล้ว mods และแผนที่ที่ได้แรงบันดาลใจจากโทลคีน ได้ถูกสร้างสำหรับหลาย ๆ เกมเช่น Warcraft III และ en:Rome: Total War ยังมีโครงการ "mod" สร้างตามมิดเดิลเอิร์ธที่สำหรับ TES IV: Oblivion
มิดเดิลเอิร์ธในงานอื่น ๆ
มีการแสดงถึงแนวคิดที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกับมิดเดิลเอิร์ธในงานอื่น ๆ โดยโทลคีนและงานของนักเขียนคนอื่น ตัวอย่างที่เก่าที่สุดคือ Space Trilogy ของ ซี. เอส. ลูอิส ซึ่งมีโลกที่เรียกว่ามิดเดิลเอิร์ธเช่นกัน นิยายของลูอิสซึ่งมีฉากอยู่ประมาณช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (กับนิยายเรื่องสุดท้าย That Hideous Strength ก็มีฉากอยู่ในอังกฤษหลังสงคราม) มักมีการอ้างอิงเป็นพิเศษกับตำนานของโทลคีน (ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้ตีพิมพ์) โดยทำเสมือนหนึ่งว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลปฐมภูมิสำหรับเขา เช่นการสร้างให้ เมอร์ลิน แห่งตำนานกษัตริย์อาเธอร์ เป็นผู้สืบทอดเวทมนตร์จากนคร แอตแลนติส หรือ "นูมินอร์ (Numinor)" (ลูอิสสะกดผิดจากคำว่า นูเมนอร์ (Númenor)) และลูอิสยังได้อ้างอิงอย่างชัดเจนว่าโลกเป็นมิดเดิลเอิร์ธถึงสองครั้งในบท ที่ 14 "They Have Pulled Down Deep Heaven on Their Head"
ทั้งลูอิสและโทลคีนต่างเป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อนทางวรรณกรรมที่เป็นที่รู้จักในชื่อ เดอะอิงค์ลิงก์ส (The Inklings) งานบางชิ้นของโทลคีนรวมทั้ง ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ถูกนำมาอ่านให้ฟังกันในกลุ่มเดอะอิงค์ลิงก์ส ซึ่งทำให้ลูอิสยืมชื่อเหล่านั้นไปใช้ นอกจากนี้ยังมีนวนิยายเชิงย้อนเวลาของโทลคีนที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์และยังเขียน ไม่เสร็จ คือเรื่อง en:The Lost Road และ en:The Notion Club Papers อันมีฉากในประเทศอังกฤษ ก็ได้เชื่อมโลกของเขากับมิดเดิลเอิร์ธและ นูเมนอร์ อีกด้วย
ความคิดเห็น