ทรัพยากรดิน - ทรัพยากรดิน นิยาย ทรัพยากรดิน : Dek-D.com - Writer

    ทรัพยากรดิน

    ทรัพยากรธรรมชาติ (ดิน)

    ผู้เข้าชมรวม

    453

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    453

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 ส.ค. 57 / 20:42 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ทรัพยากรดิน

      ดินที่ปรากฏในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย แบ่งได้ 4 ชนิด ได้แก่ ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และดินอินทรีย์

      • ดินเหนียว: พบได้ทั่วไปในบริเวณที่ราบของแม่น้ำสายต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ที่ราบปากแม่น้ำ ในภาคเหนือพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบได้ในบริเวณแอ่งโคราช ภาคตะวันออกพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ภาคตะวันตกพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และภาคใต้พบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตาปี ปากพนัง ดินเหนียวมีลักษณะเป็นเนื้อละเอียด ขยายและหดตัวได้สูง จึงสามารถแตกระแหงได้โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เหมาะแก่การปลูกข้าว ปอกระเจา เป็นต้น
      • ดินร่วน: พบได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่เป็นที่ดิน โคก เนิน โนน ซึ่งเป็นตะพักลำน้ำของแม่น้ำ ดินชนิดนี้พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบน และภาคเหนือ ดินร่วนประกอบด้วยดินเหนียวและดินทราย เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ทานตะวัน อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น
      • ดินทราย: พบบริเวณเชิงเขา ชายฝั่งทะเล และริมฝั่งแม่น้ำ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินจะประกอบด้วยทรายมากเนื่องจากเป็นดินที่เกิดใหม่ เหมาะแก่การปลูกป่าและพืชสวน
      • ดินอินทรีย์: พบในพื้นที่ที่เคยเป็นป่าชายเลนเก่า ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ในแผ่นดิน โดยจะเรียกพื้นที่ลักษณะนี้ว่า "พรุ" ดินชนิดนี้พบได้ใน ป่าพรุสิรินธร จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น ดินอินทรีย์ประกอบด้วยซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยย่อยสลายแล้ว เป็นวัตถุสะสมอยู่ในดินชั้นบน

       

      สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน

      ความ เสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน มีสาเหตุทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลัก วิชาการ ตัวอย่างของปัญหา เช่น การชะล้างพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย์ และปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติของดินร่วมกับการกระทำของมนุษย์ เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ (พรุ) ดินทรายจัด และดินตื้น พื้นที่ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมของประเทศไทย ได้แก่ การชะล้างพังทลายของดิน 108.87 ล้านไร่ พื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินมากที่สุดคือ ภาคเหนือ ดินขาดอินทรียวัตถุ 98.70 ล้านไร่ ปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุประมาณร้อยละ 77 อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม 209.84 ล้าน ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนดินเค็ม ดินกรดและดินค่อนข้างเป็นทราย อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามศักยภาพ คิดเป็นพื้นที่ 35.60 ล้านไร่

       

       

       

       

       

       

      พื้นที่มีปัญหาทรัพยากรดินของประเทศไทยแยกตามภาค

       

      สภาพปัญหาทรัพยากรดิน

      พื้นที่ (ล้านไร่)

      ภาค เหนือ

      ภาคตะวันออก
      เฉียงเหนือ

      ภาคกลาง

      ภาคใต้

      รวม

      1. ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน

      53.96

      17.87

      26.20

      10.84

      108.87

      2. ปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุ

      10.20

      75.70

      10.90

      1.90

      98.70

      3. ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม

      71.39

      75.30

      37.40

      25.75

      209.84

         3.1 ดินเค็ม

      -

      17.80

      1.60

      2.30

      21.70

         3.2 ดินเปรี้ยวจัด

      -

      -

      3.28

      0.89

      4.17

         3.3 ดินกรด

      12.38

      27.11

      11.22

      13.56

      64.27

         3.4 ดินอินทรีย์ (พรุ)

      -

      -

      -

      0.27

      0.27

         3.5 ดินทรายจัด

      0.86

      2.60

      2.30

      1.21

      6.97

         3.6 ดินค่อนข้างเป็นทราย

      1.54

      30.85

      4.65

      2.56

      39.60

         3.7 ดินตื้น

      13.09

      15.53

      9.24

      3.11

      40.97

         3.8 ดินบนพื้นที่สูง

      55.90

      8.50

      16.30

      15.40

      96.10

      4. การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามศักยภาพ

      6.20

      21.20

      3.90

      4.30

      35.60

       

       

      ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน 

      การชะล้างพังทลายของดิน คือ การที่ดินถูกกัดเซาะเป็นร่องหรือถูกขุดเป็นบริเวณกว้างเป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวดินอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุ 2 ประการคือ

      1.การชะล้างพังทลายตามธรรมชาติ เช่น พื้นดินแตกระแหงเนื่องจากลม พื้นดินริมฝั่งน้ำถูกกัดเซาะเนื่องจากน้ำ หน้าดินถูกน้ำฝนพัดพาไป

      2.การชะ ล้างพังทลายโดยการกระทำของมนุษย์และสัตว์ เช่น การหักร้างถางป่า การขุดถนน การขุดเหมืองแร่ การระเบิดเขา การขุดที่อยู่อาศัยของสัตว์

      เมื่อ ใดก็ตาม ถ้าผิวหน้าของดินปราศจากพืชปกคลุม การชะล้างและพัดพาของหน้าดินจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีฝนตก ปริมาณดินที่ถูกพัดพาออกไปนั้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของฝนที่ตกลงมาแต่ละครั้ง เมื่อดินชั้นบนซึ่งอุดมสมบูรณ์ถูกชะล้างหมดไปแล้ว ดินชั้นล่างก็จะโผล่ขึ้น กลายเป็นดินชั้นบนแทน โดยจะสังเกตได้ง่ายคือมีสภาพแน่นทึบและแข็งมีอินทรียวัตถุต่ำ ซึ่งจะเป็นดินที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชหรือทำการเกษตรด้านอื่นอีกต่อไป

      ผลจากการชะล้างพังทลายของดิน

      ผลของการชะล้างพังทลายของดินนอกจากจะทำให้ดินเสื่อมโทรมแล้วยังมีผลกระทบโดยตรงต่อสภาพสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆอีกเช่น
                      1.ทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์ สำหรับการเพาะปลูกลดลง เกิดการบุกรุกทำลายป่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่า
                      2.ตะกอนที่ถูกพัดพามา จะลงสู่แม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่นๆ ทำให้แม่น้ำหรือแหล่งน้ำตื้นเขิน น้ำขุ่นข้น ไม่เหมาะแก่การอุปโภคบริโภค
                      3.ตะกอนที่ถูกพัดพาลงสู่อ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนต่างๆ ก็จะทำให้อายุการใช้งานของอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนเหล่านั้นลดลง
                      4.ทำให้เกิดภาวะความแห้งแล้ง

      5.ดินชั้นบนซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารของพืชถูกเคลื่อนย้าย เป็นผลกระทบต่อเกษตรกรรม

      6.ดินเกิดเป็นร่องน้ำ

      7.ดินถูกพัดพาไปตกตะกอนทำให้แม่น้ำและอ่างเก็บน้ำตื้นเขินและทำให้เกิดเป็นสันดอนขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทางน้ำ

      แนวทางการแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน

      1.การใช้หญ้าแฝก

      บริเวณที่ลาดชันนั้น เมื่อมีฝนตกลงมาจะพัดพาเอาผิวดิน ลงสู่พื้นดินที่ต่ำกว่าโดยความรุนแรงจะเพิ่มมากขึ้นตามความลาดชันของพื้นที่หญ้า แฝก เป็นหญ้าที่ทนทาน ปลูกง่าย ขึ้นได้ดีทั้งในดินดีและดินเลว หญ้าแฝกมีลักษณะขึ้นเป็นกอ โคนกออัดกันแน่น มีการเจริญเติบโตจากกอเล็กเป็นกอใหญ่โดยการแตกหน่อเส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 30 เซนติเมตร จากลักษณะการเจริญเติบโตของหญ้าแฝกดังกล่าว เมื่อนำมาปลูกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่แล้ว หญ้าแฝกจะแตกหน่อเจริญเติบโตชิดติดกันจนมีลักษณะเสมือนมีรั้ว หรือกำแพงที่มีชีวิตกั้นขวางทิศทางน้ำที่ไหลบ่า รั้วหญ้าแฝกจะทำหน้าที่ชะลอความเร็ว ลดความรุนแรงของการไหลบ่าและน้ำจะกระจายตัวออกไปตามแนวรั้วหญ้าแฝก ทิ้งตะกอนดินและโคลนตมที่พัดพามาไว้ก่อนน้ำจะไหลผ่านแนวรั้วหญ้าแฝกไปน้ำ ส่วนใหญ่ก็จะซึมลงไปในดินทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่ได้ยาวนานที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ยังคงอยู่ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีและเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกในพื้น

      นอก จากนี้หญ้าแฝกยังมีระบบรากที่แข็งแรงหยั่งลึกลงไปในดินตามแนวดิ่งสานกัน อย่างหนาแน่นมากกว่าที่จะแผ่ขยายในแนวกว้างการที่รากสานกันแน่นและหยั่งลึก ก็เปรียบเสมือนมีกำแพงใต้ดิน ซึ่งนอกจากจะช่วยในการดูดซับน้ำและกักน้ำไว้ในดินแล้ว รากหญ้าแฝกยังจะช่วยยึดเกาะดิน ป้องกันการสูญเสียดินที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

      2.การนำพื้นที่ที่มีความลาดชันมาใช้ในการปลูกพืช ควรมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้เหมาะสม กับสภาพพื้นที่และลักษณะดิน  ดังนี้

      - ไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดเทของ พื้นที่ในกรณีที่พื้นที่มีความลาดชันไม่มากนัก (2-5 %)

      - ปลูกแถบหญ้าแฝกขวางความลาดเทของพื้นที่เป็นช่วง     ในพื้นที่ที่มีความลาดเท 5 – 12  %  โดยพื้นที่ระหว่างแถบหญ้าแฝกสามารถปลูกพืชไร่ และไม้ผลได้

      - พื้นที่ที่มีความลาดชัน   12 - 35% ควรมีการจัดทำขั้นบันไดดิน   คูรับน้ำรอบเขา ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก   เป็นต้น

      - ควบคุมตะกอนดินที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน  ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยการทำบ่อดักตะกอนดินไว้ตามร่องน้ำหรือลำห้วยเพื่อดักตะกอนดินไว้ไม่ให้ไหลลงสู่ที่ต่ำ

       

      ปัญหาดินถล่ม

      ดินถล่ม คือ ปรากฏการณ์ที่ส่วนของพื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ดิน ทราย โคลน หรือเศษดิน เศษต้นไม้ไหล เลื่อน เคลื่อน ถล่ม พังทลาล่น ลงมาตามที่ลาดเอียง อันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ในขณะที่สภาพส่วนประกอบของชั้นดิน ความชื้นและความชุ่มน้ำในดิน ทำให้เกิดการเสียสมดุล ดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่สร้างโลก อาจเป็นเพียงเล็กน้อยเพียงก้อนหินก้อนเดียวที่ตกหรือหล่นลงมา หรือเศษของดินจำนวนไม่มากที่ไหลลงมา หรืออาจเกิดรุนแรงใหญ่โต เช่น ภูเขาหรือหน้าผา หรือลากเขาพังทลายลงมาก็ได้ และอาจเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือค่อยๆ เป็นไปช้าๆ ก็ได้ จนกว่าจะเกิดความสมดุลใหม่จึงหยุด ดินถล่มมักเกิดตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลากในขณะที่เกิดพายุฝนตกหนักรุนแรงต่อ เนื่อง หรือหลังการเกิดแผ่นดินไหว

      สาเหตุที่ทำให้เกิดดินถล่ม

      1.  สาเหตุตามธรรมชาติ (Natural causes)

      1.1 ความแข็งแรงของดิน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของดิน (Soil composition) ว่าเป็น หินหรือ ดิน ประเภทใด มีโครงสร้างหรือมีต้นไม้ประกอบยึดเกาะกันแข็งแรงแค่ไหน มีชั้นดินดานตื้นหรือลึกในลักษณะใด

      1.2 ที่ที่มีความลาดเอียงมาก (Steep slope)

      1.3 มีฝนตกมากนานๆ (Prolong heavy rain)

      1.4 มีหิมะตกมาก (Heavy snowfall)

      1.5 โครงสร้างของแผ่นดิน (Structure of soil) ความ แตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซึมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้

      1.6 ฤดูกาล (Glacial erosion, rain, drought)

      1.7 ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง (Vegetation removal by fire or drought)

      1.8 แผ่นดินไหว (Earthquake)

      1.9 คลื่น "สึนามิ" (Tsunami)

      1.10 ภูเขาไฟระเบิด (Volcanic eruption)

      1.11 การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน (Change in underground water)

      1.12 การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน (Change in underground structure)

      1.13 การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ฝั่งทะเล และไหล่ทวีป (Coastal erosion and change in continental slope)

      2. สาเหตุจากมนุษย์(Human causes )

      2.1 การขุดดินบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา ( Excavation of slope or its toe) เพื่อการเกษตร หรือทำถนน หรือขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน หรือการทำเหมือง (Mining) ไม่ว่าบนภูเขาหรือพื้นราบ

      2.2 การดูดทรายจากแม่น้ำ  หรือบนแผ่นดิน 

      2.3 การขุดดินลึก ๆ ในการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร 

      2.4 การบดอัดที่ดินเพื่อการก่อสร้าง  ทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง

      2.5 การสูบน้ำใต้ดิน  น้ำบาดาล  ที่มากเกินไป  หรือการอัดน้ำลงใต้ดิน ในพื้นที่บางแห่ง

      2.6 การถมดิน  ก่อสร้าง  เพิ่มน้ำหนัก บนภูเขา  หรือสันเขา (Loading or building on crest or slope)

      2.7 การทำลายป่า (Deforestation)  เพื่อทำไร่ หรือสวนเกษตรกรรม

       2.8 การทำอ่างเก็บน้ำ (Reservoir) นอกจากเป็นการเพิ่มน้ำหนักบนภูเขาแล้ว ยังทำให้น้ำซึมลงใต้ดินมากจนเกินสมดุล

      2.9 การเปลี่ยนแปลงทางน้ำธรรมชาติ (Change the natural stream) ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเสียสมดุล

      2.10 น้ำทิ้งจากอาคาร บ้านเรือน สวนสาธรณะ ถนน บนภูเขา (Water from utilities leakages or drainages)

      2.11 การกระเทือนต่าง ๆ เช่นการระเบิดหิน (Artificial vibration)

       

      ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม

      ดินที่มีปัญหา หมาย ถึง ดินตามธรรมชาติที่มีความผิดปกติแตกต่างไปจากดินทั่วไป โดยจะมีคุณสมบัติบางประการที่ไม่เหมาะสม ถึงขั้นเป็นอุปสรรค์ต่อการเจริญเติบโตตามปกติของพืช เช่น ดินมีความเป็นกรดรุนแรง ดินมีความเค็มมากเกินไป หรือดินเป็นดินทรายจัด เป็นต้น

      1.ปัญหาดินเค็ม

      ดินเค็ม (saline soil) หมาย ถึงดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไปจนมีผล กระทบต่อการเจริญเติบโตและผลิตผลของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไปนอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่ สมดุลของธาตุอาหารพืชด้วย

      ลักษณะการเกิดและการแพร่กระจายดินเค็ม

      ดินเค็มในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ ดินเค็มบกและดินเค็มชายทะเล ดินเค็มบกมีทั้งดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และดินเค็มภาคกลาง ดินเค็มแต่ละประเภทมีสาเหตุการเกิด ชนิดของเกลือ การแพร่กระจาย ตามลักษณะสภาพพื้นที่ และตามลักษณะภูมิประเทศด้วย ดังนี้

      ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

      แหล่ง เกลือมาจากหินเกลือใต้ดิน น้ำใต้ดินเค็มหรือหินทราย หินดินดานที่อมเกลืออยู่ ลักษณะอีกประการหนึ่งคือ ความเค็มจะไม่มีความสม่ำเสมอในพื้นที่เดียวกันและความเค็มจะแตกต่างกัน ระหว่างชั้นความลึกของดินซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ลักษณะของดินเค็มที่สังเกตได้คือ จะเห็นขุยเกลือขึ้นตามผิวดิน และมักเป็นที่ว่างเปล่าไม่ได้ทำการเกษตร หรือมีวัชพืชทนเค็ม เช่น หนามแดง หนามปี เป็นต้น

      ดินเค็มภาคกลาง

      แหล่ง เกลือเกิดจากตะกอนน้ำกร่อย หรือเค็มที่ทับถมมานานหรือเกิดจากน้ำใต้ดินเค็มทั้งที่อยู่ลึกและอยู่ตื้น เมื่อน้ำใต้ดินไหลผ่านแหล่งเกลือแล้วไปโผล่ที่ดินไม่เค็มที่อยู่ต่ำกว่าทำ ให้ดินบริเวณที่ต่ำกว่านั้นกลายเป็นดินเค็มทั้งนี้ขึ้นกับภูมิประเทศแต่ละ แห่งสาเหตุการเกิดแพร่กระจายออกมามาก ส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์โดยการสูบน้ำไปใช้มากเกินไป เกิดการทะลักของน้ำเค็มเข้าไปแทนที่ การชลประทาน การทำคลองชลประทานรวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ในไร่นาบนพื้นที่ที่มี การทับถมของตะกอนน้ำเค็ม หรือจากการขุดหน้าดินไปขายทำให้ตะกอนน้ำเค็มถึงจะอยู่ลึกนั้น กลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเกลือได้

      ดินเค็มชายทะเล

      สาเหตุ การเกิดดินเค็มชายทะเลเนื่องมาจากการได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเล โดยตรง องค์ประกอบของเกลือในดินเค็มเกิดจากการรวมตัวของธาตุที่มีประจุบวกพวก โซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม รวมกับธาตุที่ประจุลบ เช่น คลอไรด์ ซัลเฟต ไบคาร์บอเนต และคาร์บอเนต ดินเค็มที่เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในรูปของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) คล้าย คลึงกับดินเค็มชายทะเล แต่ดินเค็มชายทะเล มีแมกนีเชียมอยู่ในรูปคลอไรด์และซัลเฟตมากกว่า ส่วนชนิดของเกลือในดินเค็มภาคกลางมีหลายรูปมีหลายแห่งที่ไม่ใช่เกลือ NaCl แต่มักจะพบอยู่ในรูปของเกลือซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือ คาร์บอเนตของแมกนีเซียม แคลเซียม และโซเดียม

      สาเหตุการแพร่กระจายดินเค็ม

      เกลือ เกิดขึ้นเป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ดี น้ำจึงเป็นตัวการหรือพาหนะในการพาเกลือไปสะสมในที่ต่าง ๆ ที่น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดการแพร่กระจายดินเค็ม

      สาเหตุจากธรรมชาติ

      หิน หรือแร่ที่อมเกลืออยู่เมื่อสลายตัวหรือผุพังไป โดยกระบวนการทางเคมีและทางกายภาพ ก็จะปลดปล่อยเกลือต่างๆ ออกมาเกลือเหล่านี้อาจสะสมอยู่กับที่หรือเคลื่อนตัวไปกับน้ำแล้วซึมสู่ชั้น ล่างหรือซึมกลับมาบนผิวดินได้โดยการระเหยของน้ำไปโดยพลังแสงแดดหรือถูกพืชนำ ไปใช้น้ำใต้ดินเค็มที่อยู่ระดับใกล้ผิวดินเมื่อน้ำนี้ซึมขึ้นบนดิน ก็จะนำเกลือขึ้นมาด้วยภายหลังจากที่น้ำระเหยแห้งไปแล้วก็จะทำให้มีเกลือ เหลือสะสมอยู่บนผิวดินและที่ลุ่มที่เป็นแหล่งรวมของน้ำ น้ำแหล่งนี้ส่วนมากจะมีเกลือละลายอยู่เพียงเล็กน้อยก็ได้นานๆเข้าก็เกิดการ สะสมของเกลือโดยการระเหยของน้ำพื้นที่แห่งนั้นอาจเป็นหนองน้ำหรือทะเลสาบ เก่าก็ได้

      สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์

      การ ทำนาเกลือ ทั้งวิธีการสูบน้ำเค็มขึ้นมาตากหรือวิธีการขูดคราบเกลือจากผิวดินมาต้ม เกลือที่อยู่ในน้ำทิ้งจะมีปริมาณมากพอที่จะทำให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกลาย เป็นพื้นที่ดินเค็มหรือแหล่งน้ำเค็ม การสร้างอ่างเก็บน้ำบนพื้นที่ดินเค็มหรือมีน้ำใต้ดินเค็ม ทำให้เกิดการยกระดับของน้ำใต้ดินขึ้นมาทำให้พื้นที่โดยรอบและบริเวณใกล้ เคียงเกิดเป็นพื้นที่ดินเค็มได้ การชลประทานที่ขาดการวางแผนในเรื่องผลกระทบของดินเค็มมักก่อให้เกิดปัญหาต่อ พื้นที่ซึ่งใช้ประโยชน์จากระบบชลประทานนั้นๆ แต่ถ้ามีการคำนึงถึงสภาพพื้นที่และศึกษาเรื่องปัญหาดินเค็มเข้าร่วมด้วย จะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาดินเค็มได้วิธีหนึ่งและการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้สภาพการรับน้ำของพื้นที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมายจากสภาพทางอุทกธรณีของน้ำเปลี่ยนแปลงไป แทนที่พืชจะใช้ประโยชน์กลับไหลลงไปในระบบส่งน้ำใต้ดินเค็มทำให้เกิดปัญหาดิน เค็มตามมา

      แนวทางการแก้ไขปัญหาดินเค็ม

      การ ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายดินเค็มเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากสาเหตุการเกิด ดำเนินการได้โดยวิธีการทางวิศวกรรม วิธีทางชีวิทยา และวิธีผสมผสานระหว่างทั้งสองวิธี

      วิธีทางวิศวกรรม จะต้องมีการออกแบบพิจารณาเพื่อลดหรือตัดกระแสการไหลของน้ำใต้ดินให้อยู่ใน สมดุลของธรรมชาติมากที่สุด ไม่ให้เพิ่มระดับน้ำใต้ดินเค็มในที่ลุ่ม

      วิธีทางชีวิทยา โดยใช้วิธีการทางพืชเช่นการปลูกป่าเพื่อป้องกันการแพร่กระจายดินเค็ม มีการกำหนดพื้นที่รับน้ำที่จะปลูกป่า ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้โตเร็วมีรากลึก ใช้น้ำมากบนพื้นที่รับน้ำที่กำหนด เพื่อทำให้เกิดสมดุลการใช้น้ำและน้ำใต้ดินในพื้นที่ สามารถแก้ไขลดความเค็มของดินในที่ลุ่มที่เป็นพื้นที่ให้น้ำได้

      วิธีผสมผสาน การแก้ไขลดระดับความเค็มดินลงให้สามารถปลูกพืชได้ โดยการใช้น้ำชะล้างเกลือจากดินและการปรับปรุงดิน ดินที่มีเกลืออยู่สามารถกำจัดออกไปได้โดยการชะล้างโดยน้ำ การให้น้ำสำหรับล้างดินมีทั้งแบบต่อเนื่องและแบบขังน้ำเป็นช่วงเวลา แบบต่อเนื่องใช้เวลาในการแก้ไขดินเค็มได้รวดเร็วกว่าแต่ต้องใช้ปริมาณน้ำมาก ส่วนแบบขังน้ำใช้เวลาในการแก้ไขดินเค็มช้ากว่า แต่ประหยัดน้ำ

      การ ใช้พื้นที่ดินเค็มให้เกิดประโยชน์ตามสภาพที่เป็นอยู่ ไม่ปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า โดยการคลุมดินหรือมีการเพิ่มผลผลิตพืชโดยเปลี่ยนพืชเป็นพืชเศาษฐกิจที่เหมาะ สม เช่นพืชทนเค็ม พืชชอบเกลือ

      2. ปัญหาดินเปรี้ยว

      ดินเปรี้ยว หรือดินกรด (Acid soil) หมายถึง ดินที่มีค่า pH วัดได้ต่ำกว่า 7.0 ดังนั้น ดินเปรี้ยวจัด (Acid sulfate soil) จึง เป็นดินเปรี้ยวหรือดินกรดชนิดหนึ่ง แต่มีความหมายแตกต่างจากดินกรดโดยทั่ว ๆ ไป หรือดินกรดธรรมดา หนังสือคำบัญญัติศัพท์ ภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2523) ได้ให้ความหมายว่า acid sulfate soil หมายถึง ดินเปรี้ยวจัด ดินกรดจัด หรือดินกรดกำมะถัน

      ดินเปรี้ยวจัด นับว่าเป็นดินที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากพื้นที่ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ ดินเปรี้ยวจัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดช่วงฤดูฝนและลักษณะของ ดินเป็นดินเหนียวจึงจัดใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้ผลผลิตข้าวต่ำ ถึงแม้สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเหมาะสมต่อการทำนาก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ซึ่งไม่ใช่ดินเปรี้ยวจัดซึ่งจะให้ผลผลิต เฉลี่ยมากกว่าหลายเท่า ดังนั้นการแก้ไขปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่ง ด่วนและต่อเนื่อง

      เมื่อ พิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของดินเปรี้ยวจัด พบว่าความเป็นกรดอย่างรุ่นแรงของดินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโต ของพืชและผลผลิตของพืชตกต่ำ เพราะทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารหลักของพืชลดลงหรือมีไม่พอเพียงต่อ ความต้องการของพืช ธาตุอาหารของพืชที่มีอยู่ในระดับต่ำคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ส่วนธาตุอาหารของพืชบางชนิดมีเกินความจำเป็นซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการ เจริญเติบโนและผลผลิตของพืชที่ปลูก เช่น อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส และความเป็นกรดจัดยังมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินและมี ประโยชน์ต่อพืชมีปริมาณที่ลดลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องหาลู่ทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดิน เปรี้ยวจัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเป็นการแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนต่อไป

      ประเภทของดินเปรี้ยว

      ดิน กรดเป็นดินที่ปัญหาทางการเกษตรเนื่องจากสมบัติที่เป็นกรดซึ่งมีผลต่อกระบวน การเจริญเติบโตของพืชแล้วส่งผลต่อปริมาณผลิตผลทางการเกษตร พบว่าดินกรดจะมีลักษณะของดินและกระบวนการเกิดดินสามารถแบ่งประเภทของดินได้ 3 ประเภท ดังนี้

      1. ดินเปรี้ยวจัด ดินกรดจัด หรือดินกรดกำมะถัน (Acid sulfate soil) เป็น ดินทีเกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ที่มีสารประกอบของกำมะถันซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดกำมะถันตามกระบวนการ ธรรมชาติสะสมในชั้นหน้าตัดของดินโดยจะเป็นดินที่มีความเป็นกรดสูง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างรุนแรง เช่นขาดธาตุฟอสฟอรัส ไนโตรเจนแถมยังมีธาตุอาหารบางชนิดเกินความจำเป็นซึ่งส่งผลร้ายหรือเป็น อันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่น ธาตุเหล็ก อลูมิเนียม เป็นต้น

      2. ดินอินทรีย์ หรือโดยทั่วไปเรียกว่าดินพรุใน ประเทศมีดินที่เป็นดินอินทรีย์แพร่กระจายอยู่หนาแน่นอยู่ตามแนวชายแดนหรือ เขตชายแดนไทยและมาเลเซียเป็นส่วนใหญ่นอกจากนั้นยังพบโดยทั่ว ๆ ไปในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ พื้นที่ที่เป็นพื้นที่พรุหรือพื้นที่ดินอินทรีย์นั้น ตามธรรมชาติจะเป็นที่ลุ่มน้ำที่มีน้ำขังอยู่ตลอดทั้งปีซึ่งเกิดจากการทับถม ของพืชต่าง ๆ ที่เปื่อยผุพังเป็นชั้นหนาตั้งแต่ 40 เซนติเมตร ไปจนถึงมีความหนาประมาณ 10 เมตร มี่การสลายตัวอย่างช้าๆทำให้กรดอินทรีย์ถูกปล่อยออกมาสะสมอยู่ตลอดเวลาอย่าง ต่อเนื่อง ดินชนิดนี้จะมีปริมาณดินเหนียวต่ำ และมีปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อพืชอยู่น้อยดินชนิดนี้ ที่พบในบริเวณที่ราบลุ่มตามชายทะเลจะมีดินเปรี้ยวจัดแฝงอยู่ในชั้นล่างของ ดิน ถ้ามีการระบายน้ำออกจากพื้นที่บริเวณพื้นที่พรุจนถึงระดับของดินเปรี้ยวจัด แฝงอยู่จะก่อให้ปัญหาใหม่ตามมาคือจะเกิดเป็นดินกรดกำมะถันขึ้น ทำให้มีปัญหาซ้ำซ้อนทั้งดินเปรี้ยวจัดและดินอินทรีย์ ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นมาอีก

      3. ดินกรด หรือดินกรดธรรมดา ดิน กรดหรือดินกระธรรมดา เป็นดินเก่าแก่อายุมากซึ่งพบได้โดยทั่วไป ดินกรดเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่เขตร้อนชื้นมีฝนตกชุก ดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างหรือดินที่ถูกใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเนื่องจากดินเหนียวและอินทรีย์วันถุถูก ชะล้างไปด้วยมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์โดยทั่วๆ ไปของดินต่ำจนถึงต่ำมาก นอกจากนี้ดินยังมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำอีกด้วย

      กระบวนการเกิดดินเปรี้ยวจัด

      กระบวน การเกิดดินเปรี้ยวจัด ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญคือกระบวนการเกิดวัตถุต้นกำเนิดดินเปรี้ยวจัด หรือเรียกว่ากระบวนการสร้างดินทางธรณีวิทยา (geogenetic process) และกระบวนการเกิดชั้นดินเปรี้ยวจัดหรือเรียกว่า กระบวนการสร้างดินทางปฐพีวิทยา (pedogenetic process) ซึ่งกระบวนการเกิดวัตถุต้นกำเนิดดินเปรี้ยวจัดจะเกี่ยวข้องกับการเกิดสารประกอบไพไรท์ (pyrite) หรือสารประกอบซัลไฟด์ แต่กระบวนการเกิดชั้นดินเปรี้ยวจัดจะเกี่ยวข้องกับการออกซิไดซ์สารไพไรท์แล้วเกิดเป็นสารประกอบของกรดกำมะถัน

      แนวทางการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว

      1. วิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน

      ป้อง การเกิดกรดกำมะถันโดยการควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประ กอบไพไรท์อยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้สารประกอบไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศหรือถูกออก ซิไดซ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้

              1.      วางระบบการระบายน้ำทั่วทั้งพื้นที่

              2.      ระบายน้ำเฉพาะส่วนบนออกเพื่อชะล้างกรด

              3.      รักษาระดับน้ำในคูระบายน้ำให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 1 เมตรจากผิวดินตลอดทั้งปี

      2. วิธีการ " แกล้งดิน " ตามพระราชดำริ

      วิธีการปรับปรุงดินอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "แกล้งดิน" สามารถเลือกใช้ได้ 3 วิธีการตามแต่สภาพของดินและความเหมาะสม คือ

      1. การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด : เป็นการใช้น้ำชะล้างดินเพื่อล้างกรดทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้นโดยวิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลง แล้วระบายออกประมาณ 2-3 ครั้ง โดยทิ้งช่วงการระบายน้ำประมาณ 1-2 สัปดาห์ ต่อครั้ง ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือฤดูแล้ง ดังนั้นการชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาวมิใช่ กระทำเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดแต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้าง ดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือดินเลนที่มีไพไรท์มาก เมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมิเนียมที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี

      2. การ แก้ไขดินเปรี้ยวด้วยการใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน ซึ่งมีวิธีการดังขั้นตอนต่อไปนี้คือ ใช้วัสดุปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (marl) สำหรับถาคกลางหรือปูนฝุ่น (lime dust) สำหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่ แล้วไถแปรหรือพลิกกลบดิน ปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน

      3. การ ใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบรูณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งเป็นดินกรดจัด รุนแรงและถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน

      3.ปัญหาดินทราย

      ดิน เนื้อทรายเป็นกลุ่มชุดดินที่ไม่อุ้มน้ำ ง่ายต่อการกัดกร่อน ความในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหารต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ขาดสารปรับปรุงบำรุงดิน จากผลการสำรวจของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่ามีดินทรายทั่วประเทศประมาณ 6 ล้านไร่ กระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 3 ล้านไร่ และภาคอื่น ๆ ของประเทศ ซึ่งจะต้องมีการจัดการเป็นกรณีพิเศษกว่าดินทั่วไป จึงจะสามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้

      ดินทรายในพื้นที่ดอน
                      พบตาม บริเวณหาดทราย สันทรายชายทะเล หรือบริเวณพื้นที่ลาดถึงที่ลาดเชิงเขา เนื้อดินเป็นทรายตลอดมีการระบายน้ำดีมากจนถึงดีมากเกินไป ดินไม่อุ้มน้ำ และเกิดการชะล้างพังทะลายได้ง่ายเนื่องจากอนุภาคดินมีการเกาะตัวกันน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด

      ดินทรายในพื้นที่ลุ่ม
                      มักพบ ตามที่ลุ่มระหว่างสันหาด หรือเนินทรายชายฝั่งทะเล หรือบริเวณที่ราบที่อยู่ใกล้ภูเขาหินทราย ดินมีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ทำให้ดินแฉะหรือมีน้ำขังเป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้ หลังจากที่มีฝนตกหนัก บางแห่งใช้ทำนา บางแห่งใช้ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย และปอ บางแห่งเป็นทืทิ้งร้าง หรือเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ

      นอก จากนี้ในบางพื้นที่ บริเวณหาดทรายเก่า หรือบริเวณสันทรายชายทะเล โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ อาจพบดินทรายที่มีชั้นดินดานอินทรีย์ ซึ่งเป็นดินทรายที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ ช่วงชั้นดินตอนบนจะเป็นทรายสีขาว แต่เมื่อขุดลึกลงมาจะพบชั้นทรายสีน้ำตาลปนแดงที่เกิดจากการจับตัวกันของสาร ประกอบพวกเหล็กและอินทรียวัตถุอัดแน่นเป็นชั้นดานในตอนล่าง ซึ่งในช่วงฤดูแล้งชั้นดานในดินนี้จะแห้งแข็งมากจนรากพืชไม่อาจชอนไชผ่านไป ได้ ส่วนในฤดูฝนดินจะเปียกแฉะ ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ป่าเสม็ด ป่าชายหาด ป่าละเมาะ หรือบางแห่งใช้ปลูกมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์

      ปัญหาของดินทรายแบ่งออกเป็น 3 ปัญหาหลัก ดังนี้

      1. ปัญหา เกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่รุนแรงในพื้นดินดอน พื้นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ และรุนแรงมากในบริเวณพื้นภูเขา การชะล้างพังทลายของดินเกิดขึ้นรุนแรงในพื้นที่ที่มีความลาดชันตั้งแต่ 5 % ขึ้น ไป ที่ใช้ในการปลูกพืชโดยไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมเนื่อง จากอนุภาคของดินเกาะกันอย่างหลวมๆ การชะล้างพังทลายของดินทำให้เกิดปัญหาติดตามมาหลายชนิด เช่น เกิดสภาพเสื่อมโทรมมีผลกระทบทำให้แม่น้ำลำธาร เขื่อน อ่างเก็บน้ำชลประทานตื้นเขิน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้งและน้ำท่วมซ้ำซาก

      2. ปัญหา ที่เกี่ยวกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินทรายจัด จะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำปริมาณอินทรีย์วัตถุ ธาตุโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่ในเกณฑ์ต่ำถึงต่ำมาก ความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุอาหารต่ำมาก เป็นเหตุให้การใช้ปุ๋ยเคมีให้ผลตอบสนองต่อพืชต่ำ และเป็นผลให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ลดลงด้วย

      3. ปัญหา เกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพของดินไม่ดี ได้แก่ ดินแน่นทึบ โดยเฉพาะดินพื้นที่นาที่มีค่อนข้างเป็นทรายละเอียด มีอินทรีย์วัตถุเป็นองค์ประกอบต่ำ จะมีผลทำให้ดินอัดตัวแน่นทึบ ยากแก่การใชของรากพืช

      ปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุ

      ปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุ ซึ่งพบมากที่สุดในประเทศไทย เป็นพื้นที่ถึง 191 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 59.5 ของพื้นที่ทั้งประเทศ เป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง

      สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์  

      1. การถากถางพืชที่ปกคลุมหน้าดินจนเตียน  ทำให้น้ำฝนชะเอาผิวหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไหลไปด้วย   

      2.  การเผาพืช หรือหญ้าที่ขึ้นในไร่นา  ทำให้แร่ธาตุและจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินซึ่งมีประโยชน์ต่อพืชถูกทำลายไป
      3.  การทำไร่ สวนบนเนินที่มีความลาดเอียงมาก  โดยการไถพื้นดินให้เป็นร่องจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำจะทำให้น้ำฝนชะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย
      4.  การปลูกพืชชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน  ทำให้แร่ธาตุในดินบางชนิดหมดไป  ผลผลิตของพืชจึงลดลง   
      5  การขาดความรู้เรื่องวิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง  โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีถ้าใช้ไปในปริมาณมากเกินความต้องการของพืชจะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพลง

      แนวทางการแก้ไขปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุ

      1. การปลูกพืชคลุมดิน

      การ ปลูกพืชคลุมดิน คือ การปลูกพืชที่มีใบหนาหรือมีระบบรากแน่นสำหรับคลุมและยึดดินเพื่อช่วยให้ดิน มีสิ่งรองรับแรงปะทะจากเม็ดฝน การพัดพาจากกระแสน้ำและกระแสลม

      ประโยชน์ของการปลูกพืชคลุมดิน มีดังนี้

      -       ช่วย ป้องกันการชะล้างของหน้าดินโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความลาดเอียง จะช่วยรองรับแรงปะทะของเม็ดฝนได้อย่างดี ถ้าเป็นพืชที่มีระบบรากแน่นหนาแผ่สาขาไปได้มาก จะช่วยยึดเหนี่ยวเม็ดดินให้ติดกัน ลดการพังทลายของหน้าดิน

      -       ช่วยลดความเร็วและการกระจายการไหลของน้ำที่ไหลบ่าบนผิวดินทำให้น้ำซึมลงไปในดินมากขึ้น

      -       เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน เมื่อมีการไถกลบหรือเมื่อ ต้น เถา ใบ ของพืชคลุมดินหล่นทับถมลงไปในดิน

      -       ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่ดิน

      -       ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน

      -       ช่วยต่อต้านและขัดขวางการเจริญเติบโตของพืชที่ไม่ต้องการ เช่น หญ้าคา และวัชพืชต่าง ๆ

      -       รากของพืชคลุมดินช่วยทำให้ดินโปร่ง มีช่องอากาศมากขึ้น สามารถระบายน้ำได้ดี

      2. การปลูกพืชตามแนวระดับ

      การ ปลูกพืชตามแนวระดับ หมายถึง การไถพรวน หว่าน ปลูก และเก็บเกี่ยวพืชขนานไปตามแนวระดับเดียวกัน ขวางความลาดเทของพื้นที่ เพื่อลดอัตราการชะล้างและพัดพาดินไป ประสิทธิภาพของการปลูกพืชตามแนวระดับนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน ความลาดเท ลมฟ้าอากาศ และลักษณะการใช้ที่ดิน โดยทั่วไปแล้ว การปลูกพืชตามแนวระดับที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดนั้นควรปฏิบัติบนพื้นที่ที่ มีความลาดเทอยู่ในระหว่าง 2-7% และระยะของความลาดเทไม่ควรเกิน 100 เมตร

      ประโยชน์ของการปลูกพืชในแนวระดับ

      -       ช่วยสงวนดินจากการเซาะกร่อนประมาณ 0.12 – 16.72 ตัน/ไร่/ปี

      -       สงวนน้ำไว้ในดินประมาณ 12.3 – 482.6 มม./ปี

      -       ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 10 %

      -       ป้องกันกล้าพืชและเมล็ดพืชมิให้ถูกน้ำชะพาไป

      ข้อเสีย

      -       ถ้า ความยาวของความลาดเทมากเกินไป จะเกิดน้ำไหลบ่าในส่วนล่างของพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากน้ำไหลข้ามคันดินเล็ก ๆ อันจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการกัดเซาะ สึกกร่อนเพิ่มขึ้นได้

      -       หากเป็นสภาพพื้นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ มาก จะเป็นการยากในการไถพรวน เพราะจะทำให้เกิดแนวโค้งงอมาก

      3. การใช้ปุ๋ย

      ใน สภาพธรรมชาติ ดินจะมีระดับธาตุอาหารต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ตลอดเวลา มีการสูญเสียธาตุอาหารไป และขณะเดียวกันก็ได้รับธาตุอาหารเพิ่มเติม การได้รับและสูญเสียจะสมดุลกันที่ความอุดมสมบูรณ์ระดับหนึ่ง มากบ้าง น้อยบ้างขึ้นกับชนิดของดินและสภาพแวดล้อม แต่เมื่อมีมนุษย์เข้าไปใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้น มีการหักล้าง การพัง เผาต้นไม้ที่โค่นเพื่อสะดวกแก่การเพาะปลูก ทำให้สภาพสมดุลของธรรมชาติเสียไป มีการสูญเสียธาตุอาหารของพืชอย่างรวดเร็ว ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงเสื่อมลงทุก ๆ ปี เป็นเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้ปุ๋ยเพื่อไห้ได้รับผลผลิตมากหรือพอเพียงแก่ความ ต้องการ และทดแทนการสูญเสียธาตุอาหารของพืชในดิน

      ปุ๋ย หมายถึง วัสดุใด ๆ ก็ตามที่นำมาใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช อาจจำแนกได้ 2 ชนิด คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี

      ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่มาจากสารอินทรีย์ต่าง ๆ โดยตรง เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เป็นต้น

      ปุ๋ยอินทรีย์มีลักษณะ 2 ประการคือ

      1. มี ลักษณะเป็นปุ๋ย คือ สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารพืชให้กับดิน เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารอยู่ครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารไนโตรเจนที่สำคัญที่สุด

      2. เป็น วัสดุปรับปรุงดิน คือ ทำให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดินดีขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน คือ ช่วยให้เกิดเม็ดดินโดยอินทรียสารจะช่วยเพิ่มความเสถียรของเม็ดดิน ทำให้ดินมีการระบายอากาศ และดูดยึดน้ำได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้สามารถช่วยลดการพังทลายและการถูกชะล้างของดินได้ ทำให้ดินมีความหนาแน่นพอเหมาะจึงทำให้ดินไถพรวนได้ง่ายและมีสภาพเหมาะแก่การ เจริญเติบโตของรากพืช ในด้านของการช่วยปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน คือปุ๋ยอินทรีย์ช่วยเพิ่ม ซี อี ซี (Cation Exchange Capacity, CEC) แก่ ดิน ทำให้ดินสามารถดูดซับธาตุอาหารไว้ได้มาก เนื่องจาก ปุ๋ยอินทรีย์เมื่อถูกย่อยสลายแล้วจะได้ฮิวมัสซึ่งมีประจุลบ ดังนั้น จึงสามารถดูดซับธาตุอาหารประเภทประจุบวก เช่น แอมโมเนียม ([NH4]+) โพแทสเซียม (K+) แคลเซียม (Ca2+) และแมกนีเซียม (Mg2+) ได้มากยิ่งขึ้น และยังช่วยเพิ่มความจุบัฟเฟอร์ (buffer capacity) แก่ ดินทำให้ดินมีความเปลี่ยนแปลงในด้านความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็ม ความเป็นพิษจากยากำจัดศัตรูพืชและโลหะหนักที่ใส่ลงไปในดิน ให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

      ปุ๋ยอินทรีย์ที่สำคัญได้แก่ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด

      ปุ๋ยคอก คือ มูลสัตว์ต่าง ๆ เช่น วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ ค้างคาว ที่นำมาใส่ให้กับดิน ปริมาณธาตุอาหารที่มีในปุ๋ยคอกนั้นไม่แน่นอน ขึ้นกับชนิดของสัตว์ อายุของสัตว์ วิธีการเลี้ยงตลอดจนการเก็บรักษาอีกด้วย ปุ๋ยคอกเมื่อใส่ลงในดินแล้วจะสลายตัวได้ง่ายและรวดเร็วให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปตัสเซียม หลังจากที่สลายตัวเต็มที่แล้วก็จะเหลือสารอินทรีย์ที่สลายตัวยากตกค้างในดิน สารอินทรีย์ส่วนนี้เองที่ช่วยให้ดินมีสมบัติทางกายภาพที่ดี การสลายตัวของปุ๋ยคอกนั้นจะสลายตัวรวดเร็วในระยะแรกและจะค่อยๆ ช้าลงในเวลาต่อมา ในปีแรกปุ๋ยคอกอาจจะสลายตัวประมาณ 50% การสลายตัวจะเพิ่มขึ้นเป็นโดยประมาณ 65% ในปีที่สองและหลังจากนั้นการสลายตัวจะค่อยๆ ช้าลงและจะเหลือสารอินทรีย์ที่คงทนต่อการสลายตัวอยู่ประมาณ 30% ด้วย เหตุที่ปุ๋ยคอกเป็นอินทรียวัตถุที่สลายตัวค่อนข้างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบ กับอินทรียวัตถุชนิดอื่น เช่น ฟางข้าว หรือพืชสด และเมื่อสลายตัวแล้วจะเหลืออินทรียวัตถุที่คงทนต่อการสลายตัวไม่มากนักดัง นั้นการที่จะปรับปรุงคุณสมบัติของดินโดยการใส่ปุ๋ยคอกนั้นจำเป็นต้องใส่ใน ปริมาณมากและใส่อย่างต่อเนื่องทุกปี จึงจะได้ผล

      ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำสารอินทรีย์ต่างๆ เศษพืช ซากสัตว์ มากองรวมกันเพื่อให้สลายตัวโดยจุลินทรีย์กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ในการนำสารอินทรีย์มาหมักนั้นอาจมีการผสมปุ๋ยคอกดินและปุ๋ยเคมีด้วยก็ได้ นอกจากนี้อาจมีการรดน้ำและกลับกองเศษพืชนั้นเพื่อเร่งให้ระยะเวลาในการหมัก เร็วขึ้น

      ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการไถกลบคลุกเคล้าพืชลงไปในดินในขณะที่ยังสดอยู่ พืชเหล่านี้มักจะเป็นปุ๋ยพืชตระกูลถั่ว เพราะสามารถเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดินได้มากกว่าพืชอื่นๆ โดยปกติพืชที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดนี้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ หรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมจะถูกไถกลบลงไปในดินโดยไม่ได้หวังเก็บเกี่ยว ผลผลิตของพืชมาใช้ประโยชน์ การไถกลบพืชเพื่อทำปุ๋ยพืชสดนั้น ควรจะทำเมื่อพืชมีปริมาณไนโตรเจนสูงสุด โดยทั่วไปมักจะไถกลบเมื่อพืชออกดอกประมาณ 50% และหลังจากไถกลบพืชลงไปในดินแล้วพืชก็จะเริ่มสลายตัวให้ธาตุไนโตรเจนแก่ดิน ดังนั้น หลังจากไถกลบพืชลงดินแล้วประมาณ 10-15 วัน ควรจะปลูกพืชตามเลยทันที เพื่อไม่ให้ธาตุอาหารที่ได้จากการสลายตัวของปุ๋ยพืชสดสูญหายไป

      ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นจากสารอนินทรีย์ต่างๆ สามารถให้ธาตุอาหารที่สำคัญแก่ดินอย่างรวดเร็ว ปุ๋ยเคมีที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ยธาตุอาหารหลัด คือปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ซึ่งได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม เมื่อมีการปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน ดินมักจะมีธาตุอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืชที่ปลูก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมธาตุอาหารเหล่านี้ลงไปในดิน ปุ๋ยเคมีอีกชนิดหนึ่งคือ ปุ๋ยธาตุอาหารรอง คือ ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมากพอๆ กับธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน ส่วนใหญ่ธาตุอาหารรองมักมีอยู่ในดินในปริมาณมาก เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุอาหารหลัก ในการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นมีผลเสียหลายประการ เช่น เป็นตัวขัดขวางการสร้างอินทรียสารหรือฮิวมัสตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญของความอุดมสมบูรณ์ที่แท้จริงของดิน นอกจากนี้ปุ๋ยเคมียังเพิ่มความเค็มและความเปรี้ยวให้แก่ดิน ทำให้ดินแข็ง รากพืชชอนไชลำบาก มีผลให้ปริมาณออกซิเจนในดินลดลงด้วย

      4. การปลูกพืชหลายอย่าง

      การ ปลูกพืชหลายอย่าง หมายถึง การปลูกพืชหลายชนิดในแปลงเดียวกัน อาจจะปลูกพร้อมกันในเวลาเดียวกันหรือปลูกก่อนหรือหลังก็ได้ จุดประสงค์เพื่อให้มีพืชคลุมพื้นที่มากที่สุดเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน และรักษาความชื้นในดิน การปลูกพืชแบบนี้มีหลายประเภท คือ

       

      การปลูกพืชหมุนเวียน

      การ ปลูกพืชหมุนเวียน คือการปลูกพืชต่างชนิดหมุนเวียนในที่เดียวกัน เช่น ปลูกถั่วหลังปลูกข้าว ปลูกหญ้าหรือหญ้าผสมถั่วหลังข้าวโพด เป็นวิธีการบำรุงและปรับปรุงดินช่วยลดการชะล้างพังทลาย

       

      การปลูกพืชแซม

      การ ปลูกพืชแซม คือเมื่อปลูกพืชชนิดหนึ่งแล้วปลูกพืชอีกชนิดหนึ่งแซมระหว่างแถวหรือระหว่าง ต้น เช่น ปลูกถั่วในสวนยางพารา ทำให้พื้นที่ปกคลุมด้วยพืชตลอดและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยเฉพาะ เมื่อปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชแซม

      การปลูกพืชเหลื่อมฤดู

      การ ปลูกพืชเหลื่อมฤดู หมายถึง การปลูกพืชสองชนิดต่อเนื่องกันโดยยังไม่ได้เก็บเกี่ยวพืชแรก ทั้งนี้ก็เพื่อจะใช้พื้นที่เพาะปลูกพืชได้หลายอย่างโดยยังคงมีน้ำหรือความ ชื้นในดินพอเพียง

       

      5. การใช้วัสดุคลุมดิน

      การ ใช้วัสดุคลุมดิน หมายถึง การใช้วัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งปกคลุมผิวหน้าดิน เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำและเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน โดยส่วนใหญ่มักเป็นวัสดุธรรมชาติ ซึ่งเป็นเศษซากพืชหรือวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร เช่น ฟางข้าว ตอซังพืช แกลบ ขี้เถ้าแกลบ ขี้เลื่อย ตลอดจนใบไม้และหญ้าแห้ง โดยการนำวัสดุมาคลุมโคนต้น และระหว่างแถวพืชที่ปลูกในระหว่างการเพาะปลูก หรืออาจจะคลุมหลังจากการเก็บเกี่ยว เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช และเมื่อเศษซากพืชคลุมดินเหล่านี้สลายตัวจะได้อินทรียวัตถุสำหรับปรับปรุง บำรุงดินด้วย ในสภาพไร่นาทั่วไปเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรปล่อยเศษเหลือของพืชทิ้งไว้ในไร่นา ไม่ควรจุดไฟเผาและเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝนจึงไถกลบ ส่วนกรณีของสวนผลไม้ นิยมใช้การคลุมดินเพื่อสงวนความชื้นของดินในฤดูแล้ง โดยเริ่มคลุมดินตั้งแต่เดือนตุลาคม ก่อนการคลุมดินควรจะพรวนดินบริเวณโคนต้นไม้ก่อน เพื่อทำลายวัชพืชที่แย่งน้ำและทำให้ดินเป็นก้อนเล็ก หลังจากนั้นจึงใช้เศษเหลือของพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นอีกที สำหรับกรณีบริเวณที่ไม่ใช้พื้นที่ทำการเกษตร แต่ต้องการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน และป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ก็ควรใช้วัสดุคลุมดินก่อนถึงฤดูฝนจะดีที่สุด

                     

      ปัญหาการใช้ทรัพยากรไม่ถูกต้องเหมาะสมตามศักยภาพ

                      ปัญหา การใช้ทรัพยากรที่ดินไม่ถูกต้องตามสมรรถนะที่ดิน เกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวด เร็ว มีผลทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นรุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่สูง และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตร ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ดินไม่ถูกต้องตามสมรรถนะที่ดิน ได้แก่ การนำที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรไปใช้เพื่อการพัฒนาเมือง อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม การสร้างสนามกอล์ฟ และชุมชนเป็นต้น นอกจากนี้ในบางพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรก็มีปัญหา ที่เกิดจากธรรมชาติของทรัพยากรดินเอง ได้แก่ ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินตื้นที่มีกรวดลูกรังปน ดินทรายจัด ดินพรุ รวมทั้งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในกิจกรรมต่างๆ โดยขาดการจัดการที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ อาทิเช่น การผลิตเกลือสินเธาว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การขุดตักดินในที่ดินกรรมสิทธิของเอกชน การบุกรุกทำลายป่าเพื่อทำการเกษตรบนที่สูง และการใช้ที่ดินชายทะเลในภาคตะวันออก เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาในกิจกรรมต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมมา

      แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรไม่ถูกต้องเหมาะสมตามศักยภาพ

      1.      การแก้ไขโดยทุกฝ่าย

      ความรู้แก่ประชาชนให้รู้จักใช้ดินอย่างถูกต้อง  และรู้จักหวงแหนผืนดินของตน  รวมทั้งรัฐบาลหรือภาครัฐควรให้ความสำคัญในการจัดการเรื่องนี้  วาง แนวทางและดำเนเนการเพื่อมิให้เกิดการใช้ดินอย่างไม่ถูกต้องอีก เช่น ปราบปรามไม่ให้ประชาชนหรือแม้กระทั่งเอกชนสร้างสิ่งก่อสร้างที่ไม่เหมาะสม กับสภาพดิน  รวมถึงต้องหยุดการขุดตักดินไปใช้ประโยชน์  มิเช่นนั้นอาจทำให้ดินทรุดไปมากกว่าที่เป็นอยู่และส่งผลกระทบมาสู่ประชาชนอย่างหนีเสียมิได้

      2.      การให้ความชุ่มชื้นและการระบายน้ำในดิน

      การ ให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน การระบายน้ำในดินที่มีน้ำขังออกการจัดส่งเข้าสู่ที่ดินและการใช้วัสดุ เช่น หญ้าหรือฟางคลุมหน้าดินจะช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์

      ผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน

      ผลกระทบด้านกายภาพ

      ความ เสื่อมโทรมของดินเกิดจากการจัดการที่ดินไม่เหมาะสมขาดการป้องกันที่ไม่ถูก ต้อง ทำให้มีการชะล้างพังทลายของหน้าดินที่เป็นส่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์หมดไป หน้าดินที่ถูกชะล้างจะตกลงไปเป็นตะกอนตามแหล่งน้ำต่างๆ ก่อให้เกิดการตื้นเขินของแหล่งน้ำทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขุดลอก ตะกอนตามแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

      ด้านเศรษฐกิจ
                ความเสื่อมโทรมของดินส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตร และกระทบต่อเกษตรกร 34 ล้านคน (ร้อยละ 60 ของ ประชากรทั้งประเทศ) ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะได้รับผลผลิตต่ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ เกษตรกรมีรายได้ต่ำ ยากจนส่งผลรายได้ของประชากรที่ทำการเกษตรมีรายได้ต่ำกว่าประชากรนอกการเกษตร ถึง 11 เท่า

      ด้านสังคม
                การที่เกษตรกรมีรายได้ต่ำ มีทางเลือกในการหารายได้น้อย การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ขยายพื้นที่ทำกินเพื่อให้มีรายได้เพียงพอหรืออพยพ เข้าเมืองทิ้งถิ่นฐาน มาหางานทำในเมือง ซึ่งทั้ง 2 ทาง เลือกนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติทั้งสิ้น สาเหตุสำคัญประการหนึ่งก็คือ ละเลยการมองปัญหาพื้นฐานของมนุษย์ คือดินและที่ดินนั่นเอง

       

       

      แหล่งที่มา

      -                    nationalresource53.blogspot.com

      -                    www.ldd.go.th

      -                    th.wikipedia.org

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×