ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #64 : [เพลงไทย] เพลงลา

    • อัปเดตล่าสุด 8 พ.ค. 50



    เพลงลา

            เพลงลา หมายถึง เพลงที่ผู้ขับร้องและบรรเลงแสดงเป็นอันดับสุดท้ายก่อนที่การแสดงจะจบลง ซึ่งเป็นไปตามแบบแผนของการแสดงกิจกรรมการบรรเลงดนตรีไทย ที่โบราณจารย์ได้กำหนดไว้ กล่าวคือ เพลงแรกที่บรรเลงคือเพลงโหมโรง และเพลงสุดท้ายต้องบรรเลงเพลงลา เพื่อเป็นการร่ำลาให้ศีลให้พรแก่เจ้าของงานหรือผู้ชมผู้ฟัง  เนื้อร้องมีความหมายในทางร่ำลา อาลัย อาวรณ์ และให้ศีลให้พรแล้ว มักจะมี สร้อย คือ มีการร้องว่า "ดอกเอ๋ย เจ้าดอก..." และจะมีเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่ง บรรเลงเลียนเสียงร้องให้คล้ายคลึงกันมากที่สุด ซึ่งเรียกกันเป็นทางภาษาสามัญว่า "ว่าดอก" เครื่องดนตรีที่ใช้ก็อาจใช้ ซออู้
            เพลงลาที่นิยมใช้บรรเลงกัน เช่น เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง เพลงอกทะเล

    เพลงเต่ากินผักบุ้ง

    บทร้อง มนตรี ตราโมท

         ยามเรียนข้าจะเรียนเพียรศึกษา เพื่อก้าวหน้าต่อไปไม่ถอยหลัง
    จะเหนื่อยยากสักเท่าใดไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งสำเร็จเสร็จสมใจ
    ดอกเอ๋ยเจ้าดอกมะไฟ จิตมุ่งมั่นอันใด ไม่แคล้วไปเลยเอย
    ผลแห่งความพยายามเอย จะตามมาสนอง สิ่งใดที่ใฝ่ปอง ต้องเสร็จสมอารมณ์เอย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×