ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #185 : [เสภา] กรับเสภา

    • อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 50



    กรับ เป็นสิ่งสำคัญของการขับเสภาอีกอย่างหนึ่ง กรับเสภานี้ ตามปกติทำด้วยไม้ชิงชันรูปสี่เหลี่ยม แต่ลบเหลี่ยมเสียนิดหน่อยเพื่อมิให้บาดมือ และให้สามารถกลิ้งตัวของมันเองกลอกกระทบได้สะดวก ขนาดของกรับเสภา หนาด้านละประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. มีจำนวน 2 คู่ หรือ 4 อัน ต่อผู้ขับ 1 คน ผู้ขับใช้กรับนี้ถือเรียงไว้ในฝ่ามือของตนข้างละคู่กล่าวขับไปพลาง มือทั้งสองข้างจะขยับกรับในมือแต่ละข้าง ให้กลอกกระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ
    ประเภทของจังหวะกรับ
    เพลงกรับแต่โบราณ เท่าที่ทราบมามีอยู่ 4 อย่าง คือ
    1. กรอ ใช้เวลาก่อนเริ่มต้นที่จะขับ เป็นการลองกรับ และเตือนประสาทมือที่จะขยับตอนหนึ่ง กับระหว่างพักในตอนดำเนินเรื่องอีกตอนหนึ่ง
    2. ไม้หนึ่ง ใช้ขยับในตอนขับไหว้ครูตอนต้น ในสมัยโบราณวิธีขยับจะเลียนเสียงจากเครื่องหนังประกอบจังหวะของหน้าทับปรบไก่ 2 ชั้น สมัยหลังต่อมาเมื่อเกิดเพลง 3 ชั้น และหน้าทับ 3 ชั้นกันขึ้นโดยทั่วไป การขยับกรับก็ขยายตัวเลียนตามหน้าทับ 3 ชั้นประเภทปรบไก่ขึ้นบ้าง
    3. ไม้สองมักใช้ขยับเมื่อขับบทไหว้ครูตอนท้าย และต่อมาก็มีการขยายตัวขึ้นไปตามหน้าทับ 3 ชั้น
    4. ไม้รบ (บางทีก็เรียกว่า "ไม้สาม") ใช้ขยับเวลาเนื้อเรื่องดำเนินไปในทางดุเดือด โลดโผน เช่น รบ หรือหึงหวง หรือทะเลาะกัน เป็นต้น
    ที่กล่าวมานี้ เป็นหลักเกณฑ์สังเขปที่พอจะสามารถนำมากล่าวให้เห็นได้ เพราะกรับเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของการขับเสภา และมีศิลปในการขยับกรับให้กลอกกระทบกันเป็นจังหวะต่างๆมากมายหลายอย่าง ซึ่งผู้กล่าวขับจะต้องเป็นผู้ขยับกรับเอง ถ้าคนหนึ่งขับ อีกคนหนึ่งขยับกรับ ก็จะเป็นไปได้อย่างไม่สนิทสนมเหมาะสมตามบทบาท และทำนองขับ โบราณาจารย์จึงให้ผู้ขับเสภาขยับกรับด้วยตนเองทั้งสิ้น เพราะทำนองของเสภาเป็นลำนำ สำหรับดำเนินลีลา และบทไปเท่านั้น ไม่เป็นเพลงหรือมีจังหวะแน่นอน ยากที่ผู้หนึ่งจะรู้ใจอีกผู้หนึ่งได้ 

    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×