ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #183 : [เสภา] เพลงเสภา

    • อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 50



                ในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้ วงปี่พาทย์ซึ่งได้ขยายตัวออกไปจนถึงเป็นเครื่องใหญ่ มีความนิยมประกวดประขันเรื่องวงปี่พาทย์กันมากขึ้น จนถึงแก่เสภาที่เคยเป็นประธาน และปี่พาทย์ที่เป็นแต่อุปกรณ์ก็กลับให้เสภาไปเป็นเครื่องอุปกรณ์ของปี่พาทย์ การขับเสภามีแต่เพียงเล็กน้อยพอเป็นพิธี วิธีการบรรจุเพลงก็เปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนละครดังเป็นมาแต่ก่อน คือเริ่มด้วย
    1. ปี่พาทย์โหมโรงแล้วคนขับก็ขับเสภาไหว้ครู และดำเนินเรื่อง
    2. ร้องส่งเพลงพม่าห้าท่อนแล้วขับเสภาดำเนินเรื่องต่อไปเล็กน้อย
    3. ร้องส่งเพลงจระเข้หางยาวแล้วขับเสภาคั่น
    4. ร้องส่งเพลงสี่บทแล้วขับเสภาคั่น
    5. ร้องส่งเพลงบุหลันแล้วขับเสภาคั่น
    ต่อไปไม่มีกำหนดเพลง แต่คงสลับกันเช่นนี้ตลอดไปจนจวนจะหมดเวลา จึงส่งเพลงส่งท้ายอีกเพลงหนึ่ง เพลงส่งท้ายนี้แต่เดิมใช้เพลงกราวรำ ต่อมาจึงเปลี่ยนแปลงเป็นเพลงอกทะเล เต่ากินผักบุ้ง หรือพระอาทิตย์ชิงดวง ฯลฯ แต่เดิมมาเพลงที่ใช้ตั้งแต่โหมโรงจนจบเวลาบรรเลง ใช้เพลง 2 ชั้นทั้งนั้น ต่อมาจึงประดิษฐ์เพลงต่างๆเหล่านี้ขึ้นเป็น 3 ชั้นเกือบทั้งหมด ศิลปแห่งการขับเสภามีปี่พาทย์ ประกอบ หรือปี่พาทย์มีขับเสภาประกอบดังกล่าวนี้ เรียกกันว่า "เสภาทรงเครื่อง" คือ ขับเสภามีร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ
    ครั้นภายหลัง เมื่อความนิยมฝ่ายดนตรีปี่พาทย์มีมากขึ้น และคนขับเสภาก็อาจจะน้อยตัวลง สมัยหลังๆมา เสภาเคยอยู่คู่กับวงปี่พาทย์จึงหายไป แต่การบรรเลง และร้องส่งเพลงต่างๆดังที่เคยมีมาแต่ก่อน เหมือนที่มีเสภาประกอบก็ยังคงอยู่ แม้วงเครื่องสายหรือวงดนตรีชนิดอื่นๆที่ขับร้อง และบรรเลง ก็ใช้เป็นแบบแผนประเพณีเช่นนี้เหมือนกัน คือ โหมโรง แล้วพม่าห้าท่อน จระเข้หางยาว ฯลฯ เป็นลำดับไปดังกล่าวแล้ว

    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×