ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #182 : [เสภา] โหมโรงเสภา

    • อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 50



                 การโหมโรงละครรำนั้น บรรเลงตั้งแต่เพลงตระ ไปจนถึงเพลงกราวใน ชุบ และเพลงลา เช่นเดียวกับโหมโรงเย็น เมื่อจะลงโรงปี่พาทย์(เริ่มแสดง) คือ บรรเลงเพลงวา ละครก็ปล่อยตัวแสดงออกมา และดำเนินเรื่องต่อไป การบรรเลงโหมโรงเสภาในสมัยนั้นก็คงจะต้องโหมโรงอย่างละครรำ และจบลงด้วยเพลงวา แล้วผู้ขับเสภาจึงเริ่มขับไหว้ครู และดำเนินเรื่องต่อไปเช่นเดียวกัน
    ในที่นี้อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้วินิจฉัยคำว่า "วา" ว่าเหตุที่เพลงที่บรรเลงสำหรับลงโรงนี้เรียกว่า "วา" เพราะคำว่า "วา" มักนิยมใช้กันในมาตรวัดซึ่งมีอัตรา 4 ดอก ไม่เห็นเกี่ยวข้องกับการแสดงหรืออะไรในตอนนี้เลย แต่บังเอิญมานึกถึงคำโบราณซึ่งใช้เป็นภาษาพูดกันอยู่อย่างหนึ่ง มีความหมายคล้ายกับคำว่า "ปล่อย" เช่น ผู้ที่พลัดตกจากที่สูงโดยไม่มีท่ามีทาง แขนขาก็ไม่ทำงานอย่างหนึ่ง หรือปล่อยตัวลงมาโดยเจตนา แต่มือและเท้าก็คงปล่อยไปตามเรื่อง เหมือนดั่งไม่มีความรู้สึกอย่างหนึ่ง หรือนอนหงายอย่างปล่อยมือปล่อยเท้าให้เหยียดออกไปโดยไม่คำนึงว่ามือ และเท้าจะเป็นอย่างไรอีกอย่างหนึ่ง อาการเช่นนี้มักเรียกกันว่า "วาตีนวามือ" คือ "ปล่อยตีนปล่อยมือ" ถ้าคำว่า "วา" มีความหมายว่าปล่อย ซึ่งดูจะเป็นการลากคำเข้าไปหาความอยู่บ้าง แต่ถ้ามีความหมายเช่นนั้นได้น่าจะอุปโลกน์ว่า "เพลงวา" คือ "เพลงปล่อย" หมายความถึงเพลงสำหรับปล่อยตัวละครออกมาแสดงนั่นเอง
    เมื่อการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบเสภาต้องโหมโรงอยู่เป็นเวลานานกว่าจะถึงเพลงวา เป็นการเสียเวลาที่ผู้คอยฟังจะทนรออยู่ได้ และถ้ายิ่งเป็นองค์พระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะทรงรำคาญเวลาที่รอนี้ยิ่งขึ้นอีกหลายเท่า จึงโปรดเกล้าฯให้รวบรัดตัดความบรรเลงแต่เพลง "วา" เป็นเพลงโหมโรงเพลงเดียว ก็เป็นการทันอกทันใจผู้ฟังเสภามากขึ้น จึงถือเป็นประเพณีดังนี้สืบมา แต่วิสัยศิลปินก็เหมือนนักเลงวิทยาการทั้งหลาย ถ้าต้องทำสิ่งใดซ้ำซากอยู่เช่นนี้ทุกครั้งโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเสียบ้างแล้ว ก็ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย และเห็นเป็นไม่มีความเปลี่ยนแปลงงอกงาม จึงมีผู้ประดิษฐ์คิดเอาเพลงอื่นอันมีจังหวะหน้าทับเป็นประเภทเดียวกับเพลงวามาบรรเลงแทน ต่อเมื่อจะลงจบให้เสภาขับ จึงนำทำนองอันเป็นวิธีจบของเพลงวาไปใช้ต่อท้าย ส่วนเพลงอื่นๆต่อจากนั้น ก็ได้เปลี่ยนแปลงจากแบบละครมาเป็นเพลงพม่าห้าท่อน และจร เข้หางยาว ฯลฯ จนถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 เพลงประกอบเสภาได้ขยายตัวขึ้นเป็น 3 ชั้น เพลงโหมโรงก็ขยายขึ้นเป็น 3 ชั้นตามไปด้วย แต่คงยึดถือทำนองตอนจบของเพลงวามาต่อท้ายทุกเพลง เป็นแบบแผนประเพณีมาจนถึงทุกวันนี้ 

    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×