ลำดับตอนที่ #181
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #181 : [เสภา] ปี่พาทย์ประกอบเสภา
อนึ่งการขับเสภาแต่สมัยโบราณ ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดประกอบ นอกจากกรับที่ผู้ขับขยับประกอบแทรกแซงสอดสลับในทำนองขับของตนเท่านั้น เนื่องจากการขับเสภาเป็นที่นิยมแพร่หลาย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็โปรดฟังการขับเสภาเป็นอย่างยิ่ง ถึงแก่มีเสภาเป็นของหลวงประจำพระองค์ ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า คนขับเสภาถึงแม้ว่าจะได้ผลัดเปลี่ยนขับคนละตอนตามถนัดแล้วก็ตาม คนขับก็ยังเหน็ดเหนื่อย มีเวลาพักไม่เพียงพอ จึงโปรดเกล้าให้จัดวงปี่พาทย์เข้าประกอบเป็นอุปกรณ์การขับเสภา โดยให้แทรกเพลงร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ และบรรเลงเพลงหน้าพาทย์เหมือนอย่างการแสดงละคร ตอนใดดำเนินเรื่องก็ขับ ตอนใดเป็นถ้อยคำรำพันหรือข้อความอื่นที่ควรแก่การร้องส่งก็ร้อง จะเป็น "ช้าปี่" หรือ "โอ้ปี่" อย่างละครก็ได้ ตอนใดเป็นบทไปมาหรือรบ ปี่พาทย์ก็บรรเลงเพลงกราวนอก กราวใน หรือเชิด เป็นอย่างที่ท่านสุนทรภู่กล่าวไว้ในกลอนว่า "เสียงส่งกราวเชิดเพลงโหน่งเหน่งไป" การขับเสภาที่มีปี่พาทย์ก็เห็นจะเริ่มขึ้นแต่รัชกาลที่ 2 นั้นเป็นครั้งแรก โดยมีหลักฐานอยู่ในกลอนคำไหว้ครู ซึ่งแต่งในรัชกาลที่ 2 ว่า
ครั้นมาถึงพระองค์ผู้ทรงชัย | เสภาขับยังหามีปี่พาทย์ไม่ ก็เกิดมีขึ้นในอยุธยา" |
เคล็ดลับของเพลงปี่พาทย์ประกอบเสภา
1. เพลงโหมโรงของโบราณ จะต้องจบลงตรงเสียงอันเป็นคู่แปด (Octave) กับเสียงลูกรองยอดของระนาดเอก หรือฆ้องวงใหญ่
2. เพลงที่รับจากร้องส่งทุกเพลงต้องออกลูกหมด และลูกหมดทุกชนิด ก็จบลงตรงเสียงลูกรองยอดของระนาดเอก หรือฆ้องวงใหญ่เช่นเดียวกัน เสียงลูกรองยอดนี้เทียบได้กับเสียง "เร" ของดนตรีสากล ซึ่งเป็นเสียงที่สำคัญที่สุดของนักร้องเพลงไทยที่จะต้องยึดถือ เมื่อกระนี้แล้วถ้าผู้ขับร้องสำเหนียก และรักษาเสียงนั้นไว้ได้แม่นยำ ก็จะร้องเพลงต่อๆไปได้โดยไม่ผิดเพี้ยนเลย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น