ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #179 : [เสภา] เสภาทรงเครื่อง

    • อัปเดตล่าสุด 4 ต.ค. 50


               มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาดูเหมือนกับจะพึงพอใจในการเล่านิทานกันทั้งสิ้น อินเดีย และไทยก็เป็นเช่นเดียวกัน  แต่เนื่องด้วยต้นเหตุ การขับเสภาในเมืองไทยเราเคยมีคติอยู่อย่างหนึ่ง ที่ผู้เฒ่าผู้แก่พูดกันเสมอว่า ถ้าเล่านิทานในเวลากลางวันเทวดาจะแช่ง เห็นจะเป็นเพราะเทวดาก็ชอบฟังนิทานเหมือนกับมนุษย์เรา เพราะกล่าวกันว่า ในเวลากลางวันพวกเทวดามีกิจธุระต้องไปเฝ้าพระอิศวรหรือพระเป็นเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเสีย ถ้ามนุษย์เล่านิทานในเวลากลางวันเทวดาก็ไม่มีโอกาสได้ฟังเธอจึงสาปแช่ง และมนุษย์เราโดยเฉพาะชาวไทยจึงมีประเพณีเล่านิทานให้ฟังในเวลากลางคืน การเล่านิทานนี้เองที่ค่อยๆวิวัฒนาการมาจนกลายเป็นการขับเสภา คือการเล่านิทานเป็นคำกลอน ในสมัยโบราณการเล่านิทานเป็นคำกลอนหรือขับเสภานี้ เคยใช้ว่ากันด้วยกลอนสด คือ ผู้ขับแต่งกลอนด้นด้วยปฏิภาณของตน และนิทานหรือเรื่องราวที่นำมาแต่งกลอนด้นใช้ขับเป็นเสภาในชั้นแรก คงจะใช้แต่เรื่องที่เป็นการสรรเสริญเทพเจ้าหรือพระมหากษัตริย์ หรือเชิดชูเกียรติคุณของวีรบุรุษ เช่นเรื่อง มหาภารตะหรือรามายณะ ส่วนเรื่องอันเป็นเบ็ดเตล็ดก็ปล่อยไว้ให้เป็นนิยายสำหรับเล่ากันเช่นเดิม 


              มีข้อที่ควรสังเกตคือ เสภาเป็นสิ่งที่อุบัติขึ้นจากพิธีอันเป็นมงคลดังกล่าว แม้จะได้นำมาเป็นเครื่องมหรสพอย่างหนึ่งก็ตาม ก็ยังมีประเพณีขับเสภาในงานอันเป็นสวัสดิมงคล เช่น งานโกนจุก งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น งานจำพวกเปรตพลีหรืองานอวมงคลหามีเสภาไม่ และการขับเสภาก็นิยมมีกันแต่ในเวลากลางคืนเท่านั้น เพราะคงถือว่าเป็นประเภทเดียวกันกับการเล่านิทาน แม้ในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งท่านผู้รู้บางท่านสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ. 2011 ตอนที่ว่าด้วยกำหนดเวลาอันเป็นพระราชานุกิจของพระเจ้าแผ่นดินว่า "หกทุ่มเบิกเสภาดนตรี" ซึ่งแสดงว่าเสภาเป็นสิ่งที่ไพเราะน่าฟัง ถึงแก่ตั้งกฎไว้เป็นพระราชกิจประจำวัน และพระเจ้าแผ่นดินทรงสดับในเวลาว่างพระราชภาระตอนกลางคืน ส่วนบทที่ขับผู้ขับจะใช้บทกวีที่มีผู้แต่งไว้ขับบ้าง หรือขับเป็นกลอนสดของตนเองตามพอใจบ้าง

    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×