ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #178 : [ลิเก] เรื่องที่ใช้แสดง

    • อัปเดตล่าสุด 4 ต.ค. 50




                 เดิมทีเมื่อลิเกได้ขยายวิธีการแสดงมาถึงลิเกลูกบท ก็ยังใช้เรื่องนั้นๆหรือเรื่องที่เป็นภาษาต่างๆชุดเล็กๆดังได้กล่าวมา ต่อมาเมื่อลิเกได้วิวัฒนาการมาถึงลิเกทรงเครื่อง โดยดำเนินวิธีเลียนแบบละครรำ จึงใช้เรื่องนิยายโบราณ เช่น หมื่นหาญกับทิดเพชรบ้าง  เรื่องที่ละครรำเคยแสดงมาแล้ว เช่น แก้วหน้าม้า ขุนช้างขุนแผน ฯลฯ บ้าง ในตอนหลัง เมื่อได้แสดงเป็นประจำในสถานที่เก็บเงินแก่ผู้เข้าชม ซึ่งเรียกติดปากกันต่อมาว่า "วิก" การแสดงแสดงลิเกจึงมักนำเรื่องยาวๆมาแสดงติดต่อกันไปทุกๆคืน หลายๆคืนจึงจะจบเรื่อง ซึ่งทำให้ผู้ชมการแสดงติดใจ ต้องไปซื้อบัตรเข้าดูต่อเรื่อยๆไปทุคืน และยิ่งมีคณะลิเกหลายคระแสดงประกวดประขันกันหลายวิกขึ้น เจ้าของคณะก็ต้องค้นหาเรื่องที่สนุก และมีวิธีการแสดงให้แปลกออกไป จนถึงกับนำเอาพงศาวดารของชาติต่างๆ เช่น สามก๊ก ซิเต็งวัน ราชาธิราช เป็นต้น มาแสดงก็มี
    วิธีการแสดงลิเกสมัยนั้น แม้จะมุ่งความรวดเร็วของการดำเนินเรื่อง และตลกขบขันเป็นจุดสำคัญก็จริง แต่ก็ยึดถือหลักของละครรำเป็นมาตรฐานอยู่มาก เช่น อิเหนา การแสดงก็ต้องเป็นไปอย่างเรียบร้อย แช่มช้า มุ่งศิลปการร้อง และระมากขึ้นกว่าแสดงเรื่องที่เป็นละครนอก บทร้องบางบทอาจนำเอาบทละครในจริงๆมาใช้ก็ได้ ถ้าเป็นการแสดงเรื่องที่เป็นละครนอกแล้ว ก็จะดำเนินการแสดงให้มีตลกขบขัน รวดเร็วละม้ายคล้ายคลึงไปกับแบบละครนอก แต่ไม่ให้เหมือนละครนอกจริงๆ ถ้าการแสดงนั้นเป็นเรื่องภาษาต่างๆแล้ว ลิเกจะหาวิธีแสดงของตนออกไปอย่างอิสระ แต่การพลิกแพลงอย่างอิสระนี้ ผู้ประดิษฐ์ก็ต้องมีแบบแผนอันดีเหมือนกัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×