ข้อแนะนำ ท่องเที่ยวหรือเดินทางโดยเครื่องบิน ควรทำอย่างไร - ข้อแนะนำ ท่องเที่ยวหรือเดินทางโดยเครื่องบิน ควรทำอย่างไร นิยาย ข้อแนะนำ ท่องเที่ยวหรือเดินทางโดยเครื่องบิน ควรทำอย่างไร : Dek-D.com - Writer

    ข้อแนะนำ ท่องเที่ยวหรือเดินทางโดยเครื่องบิน ควรทำอย่างไร

    ผู้เข้าชมรวม

    321

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    321

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 ก.ค. 57 / 02:06 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมนะคะ

      อันดับแรกสุดเลย คุณควรเตรียมเอกสารการเดินทางให้พร้อมไว้ล่วงหน้า
      สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางต่างประเทศ ควรตรวจสอบเอกสารการเดินทาง ดังนี้
      1. หนังสือเดินทางหรือ Passport สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศนั้น หนังสือเดินทาง หรือ Passport ควรมีอายุเหลือมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป แต่อาจมีข้อยกเว้น ในการเดินทางเข้าในบางประเทศที่มีข้อกำหนดชัดเจนแตกต่างกันดังนั้นคุณซึ่งจะ ต้องทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการเดินทางล่วงหน้าได้จาก สถานทูตของประเทศที่จะเดินทางไป
      2. วีซ่า เนื่องจากแต่ละประเทศมีข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์การรับบุคคลสัญชาติอื่นเข้า ประเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการเดินทางควรต้องตรวจสอบข้อมูลที่สถานทูตของประเทศที่จะเดินทาง ไปล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่ถูกปฏิเสธการเดินทางที่สนามบิน


      อันดับที่สอง อย่าลืมรตรวจสุขภาพก่อนการเดินทาง
      โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศ คุณควรตรวจสอบและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสุขภาพและหากจำเป็นควรรับการ ฉีดวัคซีนก่อนการเดินทาง กันไว้ดีกว่าแก้นะคะ


      อันดับที่สาม จัดกระเป๋าสัมภาระที่จะเช็คอิน (Checked Luggage)
      อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์น้ำหนักกระเป๋าหรือสัมภาระที่คุณมีก่อนเริ่มทำการแพ็ค กระเป๋าเพราะคุณจะได้ไม่เสียเวลารื้อกระเป่าออกมาแพ็คใหม่หากพบว่ากระเป๋ามี น้ำหนักเกินกว่าที่สายการบินอนุญาต อย่าลืมตรวจสอบค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน เพราะบางสายการบินถึงแม้จะมีการเรียกเกินค่าบริการเพิ่มหากกระเป๋าคุณมี น้ำหนักเกินจากสนามบินที่คุณได้เช็คอินขึ้นเครื่องครั้งแรกแล้วก็ตามที หากมีการสต็อปโอเวอร์ที่จุดใดระหว่างทางเพื่อเปลี่ยนเครื่อง คุณอาจจะต้องเจอกับการประเมินสิทธิ์น้ำหนักสัมภาระใหม่และจ่ายค่าสัมภาระ (ถ้ามี) โดยนับตั้งแต่จุดที่เริ่มเดินทางต่อหลังจากสต็อปโอเวอร์เป็นต้นไป


      ยกตัวอย่างเกณฑ์สำหรับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
      •    การเดินทางภายในประเทศไทยตลอดเส้นทาง
      •    การเดินทางภายในทีซี 3 (เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) และ การเดินทางระหว่างทีซี 2 (ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง) และทีซี 3 (เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์)
      •    การเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา


      ยกตัวอย่างน้ำหนักสัมภาระอนุญาตสำหรับช่วงของการเดินทางในประเทศ สำหรับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)


      ยกตัวอย่างน้ำหนักสัมภาระอนุญาตสำหรับช่วงของการเดินทางระหว่างประเทศภายใน ทีซี 3 และระหว่างทีซี 2 และทีซี 3 สำหรับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)


      ยกตัวอย่างน้ำหนักและขนาดสัมภาระอนุญาตสำหรับช่วงของการเดินทางระหว่าง ประเทศไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา สำหรับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)


      ยกตัวอย่างประเภทสัมภาระพิเศษเพื่อการคำนวณค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตาม เกณฑ์น้ำหนัก (ภายในทีซี 3 และระหว่างทีซี 2 และทีซี 3) หรือตามเกณฑ์ชิ้น (ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา) สำหรับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)


      สำหรับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) คุณสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายสัมภาระได้ที่
      http://www.thaiairways.com/th_TH/plan_my_trip/Travel_information.page


      อันดับที่สี่ จัดกระเป๋าสำหรับที่จะเอาขึ้นเครื่องติดตัวไปด้วย (Hand Luggage)
      จากเหตการณ์ทางการบินหลายๆเหตการณ์ในอดีตที่ผ่านมา ทำให้สายการบินและสนามบินกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยที่สูงขึ้นและเข็ม งวดขึ้น ในปัจจุบันมาตรการจำกัดปริมาณของเหลว เจล และสเปรย์ ขึ้นเครื่องบิน ได้ระบุไว้ว่า
      - ของเหลว เจล และสเปรย์ทุกชนิด ต้องบรรจุในภาชนะที่มีขนาดความจุไม่เกิน 100 มิลลิลิตร สำหรับภาชนะที่เกิน 100 มิลลิลิตร แม้จะบรรจุของเหลว เจล และสเปรย์ เพียงเล็กน้อย ก็ไม่สามารถ นำขึ้นเครื่องได้
      - ภาชนะทั้งหมดต้องใส่รวมไว้ในถุงพลาสติกใสซึ่งเปิด-ปิดผนึกได้ โดยถุงพลาสติกใสต้องมีขนาดไม่เกิน 1 ลิตร
      - ผู้โดยสารสามารถนำถุงพลาสติกใสขึ้นในห้องโดยสารได้เพียงคนละ 1 ถุง เท่านั้น และต้องแยกออกจากสัมภาระติดตัวอื่นๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเมื่อถึงจุดตรวจค้น
      - ของเหลวที่ได้รับการยกเว้น ได้แก่ นม และ อาหารสำหรับเด็กทารกในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงยาที่มีเอกสารกำกับชัดเจน
      - ของเหลว เจล และสเปรย์ ที่ซื้อจากร้านค้า ปลอดอากร (Duty free shops) ที่สนามบินหรือบนเครื่องบิน ต้องบรรจุในถุงพลาสติกใสปิดผนึกปากถุง ไม่มีร่องรอยการเปิดปากถุง และมีหลักฐานแสดงว่าได้ซื้อ ณ วันที่เดินทาง และควรตรวจสอบข้อมูลจากร้านค้าปลอดอากรก่อนซื้อสินค้า
      ดังนั้นอย่าลืมกฏที่สำคัญด้านบนนี้ก่อนเดินทางทุกครั้งนะคะ คุณจะได้ไม่ต้องบอกลาน้ำหอมหรือครีมขวดโปรดที่คุณหวังว่าจะพกไปด้วยแต่มัน ดันมีขนาดเกินกว่าที่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้นำขึ้นได้


      อันดับที่ห้า การเตรียมตัวระหว่างอยู่บนเครื่อง
      การเดินทางโดยเครื่องบินอาจทำให้เกิดความอ่อนล้า ความเครียด ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดหู เท้าบวม ปวดเมื่อย นอนไม่หลับ หรือที่ร้ายแรงที่สุดคือเส้นเลือดดำที่ขาอุดตัน
      วิธีหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้เพื่อให้การเดินทางราบรื่น คือ
      • อย่ารับประทานอาหารหนัก และมีปริมาณมากเมื่ออยู่บนเครื่อง
      • สูดหายใจลึกๆ พยายามผ่อนคลายอารมณ์เพื่อลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารอันเป็นสาเหตุของอาการท้องอืด
      • พยายามดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำผลไม้ให้มากๆ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือมีกาเฟอีนเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
      • ใช้แว่นสายตาแทนการใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจากตาจะแห้งกว่าปกติเมื่ออยู่บนเครื่องบิน ถ้าต้องการใช้คอนแทคเลส์ควรหยอดน้ำตาเทียมเป็นระยะ
      • ทาครีมบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ผิวแห้ง
      • ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับเกินไป ถอดรองเท้าระหว่างอยู่บนเครื่อง และพยายามเดินเพื่อลดอาการปวดเมื่อยจากการนั่งนานๆ
      • บริหารร่างกาย ขยับขาและข้อเท้าตามคำแนะนำบนเครื่อง
      • ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยารับประทานก่อนขึ้นเครื่อง หากท่านมีอาการเมาเครื่องบิน และพยายามมองวัตถุที่นิ่งเมื่อเครื่องบินตกหลุมอากาศ เพื่อลดอาการเมาเครื่องบิน
      • ล้างมือบ่อยๆ เพื่อสุขอนามัย
      ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรับการรับประทานยาและอาหารตามเขตเวลาที่เปลี่ยนแปลง สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องฉีดยาอินซูลินควรแจ้งสารการบินก่อนออกเดิน ทาง รวมทั้งเตรียมใบรับรองแพทย์ (ภาษาอังกฤษ) ไว้เมื่อต้องนำเข็มและหลอดฉีดยาขึ้นเครื่อง

      อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเดินทางโดยเครื่องบิน
      • อาการปวดหูหรือปวดโพรงจมูก เวลาเครื่องขึ้นลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความกดดันอากาศในเครื่อง ผู้โดยสารที่เป็นโรคภูมิแพ้ ไซนัสเรื้อรังจะมีอาการมากกว่าผู้โดยสารอื่น อากาศในเครื่องจะแห้งกว่าปกติทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวม ท่อที่เชื่อมระหว่างหูส่วนกลางและโพรงจมูกจะทำงานไม่ได้ดี และเมื่อเครื่องลงอาการปวดหูหรือหูอื้อจะเป็นมากขึ้น อาการเหล่านี้จะบรรเทาได้ถ้าปฏิบัติตัวดังนี้
           • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย
           • ใช้ยาลดบวมพ่นจมูก หรือรับประทานยาแก้แพ้ประมาณ 30 นาทีก่อนเครื่องลงเพื่อลดอาการบวมของท่อที่เชื่อมหูส่วนกลางและโพรงจมูก
           • เคี้ยวหมากฝรั่ง อ้าปากหาวกว้างๆ หรือใช้มืออุดจมูกแล้วเป่าลมแรงๆ (Vasalva) เพื่อช่วยลดอาการหูอื้อ
      • อาการอ่อนเพลียจากการเดินทางข้ามเขตเวลาบนเที่ยวบินระยะไกล อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย วิงเวียน ท้องผูก ความตื่นตัวลดลง อาการเหล่านี้จะเป็นมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่เดินทางกลางคืน หรือเดินทางจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก การเตรียมตัวดังต่อไปนี้จะช่วยลดอาการอ่อนเพลียจากการเดินทางได้
           • ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
           • อาจใช้ยาเมลาโทนินหรือยานอนหลับอ่อนๆ ช่วย (ห้ามใช้เมลาโทนินในเด็ก ผู้ใช้ยาละลายลิ่มเลือด ผู้มีโรคลมชัก)
           • นอนและตื่นให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมงเป็นเวลา 3 วันก่อนการเดินทางจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก และในทิศตรงข้ามนอนและตื่นให้ช้าลง
           • เมื่อเดินทางถึงที่หมายแสงสว่างจากดวงอาทิตย์สามารถช่วยในการปรับตัว
      • โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน โรคนี้มีเรียกอีกชื่อว่าโรคของผู้โดยสารชั้นประหยัด มักจะเกิดขึ้นเมื่อต้องเดินทางระยะไกล  รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ในเครื่อง  ความชื้น และ ปริมาณออกซิเจนที่ลดลง  การที่ต้องนั่งนานๆ  การที่ดื่มน้ำไม่พอ โรคนี้อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิต คือการอุดตันของหลอดเลือดดำในปอด  โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตันอาจเกิดหลังการ เดินทางมาแล้วหลายวัน อาการที่แสดงมี ปวดน่อง ข้อเท้าและน่องบวมตึง มีไข้ หรือมีอาการวิงเวียน โรคนี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในผู้โดยสารกลุ่มเสี่ยง เช่น
           • มีอายุเกิน 40 ปี
           • มีประวัติหลอดเลือดดำอุดตัน
           • เพิ่งได้รับการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดช่องท้อง สะโพก หรือขา
           • ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน
           • มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือมีปัญหาเลือดข้น
           • กำลังตั้งครรภ์ หรือเพิ่งคลอดบุตร
           • เป็นโรคมะเร็ง
           • มีประวัติโรคหัวใจ
           • รับประทานฮอร์โมนเพื่อการรักษา ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน รับประทานยาคุมกำเนิด
           • มีเส้นเลือดขอด
           • น้ำหนักเกินมากไป
      เพื่อลดการเกิดโรคนี้ ควรปฏิบัติดังนี้
           • ใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย
           • สวมถุงน่องสำหรับผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดขอด
           • ดื่มน้ำมากๆ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาแฟ
           • อย่านำกระเป๋าถือไว้ใต้เก้าอี้ข้างหน้า เพื่อให้สามารถขยับขาได้
           • ลุกเดินบ่อยๆ
           • ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเดินทางเพื่อให้ยาป้องกันประเภทยาฉีดเฮปารีนหรือยาแอสไพริน
           • บริหารร่างกายตามคำแนะนำที่มีบนเครื่อง

      แต่ไม่ต้องกังวลนะคะเพราะแต่ละสายการบิน จะมีนโยบายความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพบนเครื่องและจะมียาและเวชภัณฑ์ ฉุกเฉินที่จำเป็นตามกฎการบินอยู่บนเครื่อง พนักงานต้อนรับจะได้รับการฝึกเพื่อการช่วยเหลือเบื้องต้น อาจมีการประกาศขอความช่วยเหลือจากแพทย์ที่เดินทางอยู่ในเที่ยวบินนั้น

      ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพแบบสุขการและสุขใจไร้กังวลนะคะ

      อ้างอิง เว็บฯการบินไทย

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×