ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บันทึกของความคิด

    ลำดับตอนที่ #5 : สงคราม...

    • อัปเดตล่าสุด 21 พ.ย. 50


    เอาล่ะ วันนี้มาเขียนเรื่อยๆ เปื่อยๆ ได้ความคิดวูบวาบ (เรียกซะน่ากลัวเชียว) มาตอนคิดทำโปรเจ็ควาดการ์ตูนของคาบประวัติศาสตร์อเมริกา วันนี้มาพูดถึงเรื่องใหญ่ๆ กันหน่อยดีกว่า อย่างเช่น สงคราม...

    มิสเตอร์สมิท ครูสอนประวัติศาสตร์ของฉันบอกว่า เรียนประวัติศา่สตร์ไม่ได้เรียนสงคราม แต่เราเรียนโดยเลี่ยงสงครามไม่ได้ เพราะอะไรน่ะเหรอ ก็เพราะว่าสงครามมันเกิดขึ้นถี่มาก ถี่ชนิดที่เรียกว่าคาดไม่ถึงเชียวแหละ ยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งมาสองสามร้อยปี เข้าร่วมสงครามทั้งหมดไม่ต่ำกว่าสิบ เฉลี่ยหนึ่งสงครามต่อสิบปี ยังไม่รวมสงครามFrench - Indian war ที่เป็นสงครามอันเป็นเหตุไปสู้การก่อตั้งอเมริกาอีก หากผลของสงครามที่มักจะบอกว่าใครชนะใครแพ้ อะไรเป็นตัวชี้วัด

    ฉันนั่งคิดอยู่หลายครั้งหลายคราว่าอะไรตัดสินผลของสงคราม ประเทศที่ประกาศยอมแพ้เหรอ... น่าขำ บางที คนที่แพ้สงครามจริงๆ นั่นแหละคือคนที่ชนะเอง ลองคิดเล่นๆ นะ หากมีประเทศหนึ่งประกาศยอมแพ้ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มรบ กับอีกประเทศที่ทุ่มเงินหลายล้านเพื่อเตรียมกำลังทหาร ระดมพล และอะไรสิ้นเปลืองอีกหลายอย่าง หากสูญเปล่า ครั้งนี้ใครชนะ ประเทศที่ยอมแพ้ แต่ไม่เสียงบประมาณ กับประเทศที่โง่เสียเงินหลายล้านมาเพื่อคำๆ เดียว

    หลายครั้งที่ประเทศแพ้สงครามขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ อย่างเช่นญี่ปุ่น ที่แพ้สงคราม แล้วพัฒนาตนเองจนกลาบเป็นประเทศเดียวในละแวกบ้านเราที่ได้เข้าร่วมจีแปด และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ หากเราที่เป็นเอกราชมาโดยตลอดกลับจมปรักอยู่กับที่ น่าแปลกเหมือนกันนะ

    หลายครั้งการแพ้ ชนะไม่ได้เป็นตัววัด หากผลพลอยได้ของมันต่างหากที่สำคัญ หลายประเทศที่เหยียบย่ำความพ่ายแพ้ขึ้นสู่จุดสูงสุด หลายประเทศที่ขึ้นจุดสูงสุดแล้วตกลงมาจากที่สูงอย่างเจ็บปวด และหลายประเทศที่พังทลายลงเพราะความบ้าอำนาจของตนเอง

    ฉันได้อะไรหลายอย่างจากการเรียนประวัติศาสตร์ที่โรงเรียนในอเมริกากับมิสเตอร์สมิท เพราะท่านไม่ได้สอนจากหนังสือ แล้วให้นักเรียนท่องจำ ซึ่งฉันก็ว่าเป็นสิ่งที่ดียิ่ง เพราะเราไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์เพื่อเป็นนักประวัติศาสตร์หน่อย ฉันว่าเราเรียนเพื่อตอกย้ำความผิดพลาด และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก แม้ว่ามนุษย์เราจะโง่ผิดเรื่องเดิมๆ มานับไม่ถ้วนก็ตาม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×