ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บันทึกการศึกษาและตามหาพลัง kinesis

    ลำดับตอนที่ #3 : องค์ความรู้แรก:ไฟฟ้าสถิต การเกิดประจุไฟฟ้า

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 57


    วิธีที่จะทำให้วัตถุมีประจุไฟฟ้าที่ผมไปค้นหาและศึกษามา สามารถทำได้โดยวิธีดังนี้
    1.การเหนี่ยวนำ
    คือการนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าเข้าใกล้(เน้นว่าแค่เข้าไกล้นะ อย่าให้มันแตะกันหล่ะ)วัตถุที่เป็นกลางแล้วทำให้วัตถุที่
    เป็นกลางเกิดประจุชนิดตรงข้ามที่ด้านใกล้และประจุชนิด เดียวกันที่ด้านไกลออกไปและเมื่อนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้า
     
    ออกห่างการกระจายตัวของประจุในวัตถุก็จะกลับมาเป็นเช่นเดิม
      การทำให้วัตถุมีประจุไฟฟ้าโดยการเหนี่ยวนำพร้อมกับต่อสายดิน 
    มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ นำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าไปเหนี่ยวนำวัตถุที่เป็นกลางแล้วต่อสายดินให้กับ
    วัตถุที่เป็นกลาง แล้วนำสายดิน ออกจากนั้นนำวัตถุที่เหนี่ยวนำออก จะทำให้วัตถุที่เป็นกลางมีประ
    จุชนิดตรงข้ามกับวัตถุที่นำมาเหนี่ยวนำ(นี้คือวิธีที่เค้าสร้างแม้เหล็กกันสินะ อันนี้ผมเดาไปก่อนน่ะนะ)
    คือถ้าเรา เอาวิตถุที่มีประจุเป็นบวก ไปไกล้ๆกับวัตถุไดๆแล้วต่อสายดินให้วิตถุ วิตถุที่ถูกต่อสายดินจะกลายเป็น
    ประจุลบ ถ้าเปลี่ยนจากบวกเป็นลบ ผลก็ตรงกันข้ามครับ
     
    2.การทำให้วัตถุมีประจุโดย การเอาไปแตะกัน
    การนำวัตถุที่มีประจุไปแตะกับวัตถุที่เป็นกลาง ประจุไฟฟ้าจะมีการถ่ายเทโดยประจุลบจะถ่ายเท
    จากวัตถุที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำไปยังวัตถุที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง จะหยุดการถ่ายเทเมื่อวัตถุทั้งสองมีศักย์ไฟฟ้า
    เท่ากัน
    แค่เท่านี้อาจจะไม่เข้าใจ คือ สมมุติ วัตถุ A มี อะตอมจำนวน 100 อะตอม และๆ ทุกๆ อะตอม เสีย อิเล็กตรอนไป 1
    ตัว จะได้ว่า วัตถุ A มีประจุไฟฟ้า +100 และ วัตถุ B มี 100 อะตอม และเป็นกลางทางไฟฟ้า คือ ไม่มีการเสีย
    อิเล็กตรอน ถ้า เอาวัตถุ A ไปแตะ วัตถุ B จะทำให้ อิเล็กตรอนจาก B ย้ายมาที่ A จนกว่า ทั้งคู่จะมีศักไฟฟ้าเท่ากัน
    คือมันจะย้ายไปจนกว่า A จะได้ อิเล็กตรอนมา 50 ตัว คือ ทั้ง A และ B จะมีประจุเป็น +50 ทั้งคู่แล้วจึงจะเลิกถ่าย
    เทอิเล็กตรอน
     
    3ทำให้มีประจุโดยการขัดถูกัน
    เมื่อนำวัตถุมาถูกัน แล้วมีผลทำให้วัตถุมีประจุไฟฟ้าขึ้น เป็นเพราะงานหรือพลังงานกลเนื่องจาก
    การถูถ่ายโอนให้กับอิเล็กตรอน ของอะตอมบริเวณที่ถู กันทำให้พลังงานของอิเล็กตรอนสูงขึ้น
    จนสามารถหลุดออกจากอะตอมของวัตถุหนึ่งไปสู่อะตอมของ อีกวัตถุหนึ่งได้
    หรือจะอธิบายให้ชัด ไม่จำเป็นต้องถูกันเสมอไป ถ้าวัตถุนั้นได้รับพลังงานมากพอจนทำให้ไม่เสถียรอิเล็กตรอนจะหลุดออกมาจากวัตถุ และย้ายไปอยู่กับอีกวัตถุนึงที่อยู่ไกล้ๆได้ โดยมันจะมีปัจจัยหลายอย่าง สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิชาเคมี เรื่องโครงสร้างอะตอม พันธะต่างๆ และเรื่อง ปฏิกิริยาเคมีครับ
     
    ตอนแรกว่าจะไม่เขียนเรื่องฟ้าผ่า เพราะ มันเหมือนจะไม่มีความจำเป็นในการตามหาพลัง kinesis ของผม 
    แต่ไหนๆศึกษามาละ เขียนซะหน่อย
     จากที่ได้เคยศึกษาเกี่ยวกับ การเกิดประกายไฟ ซึ่งจะเกิดขึ้นอยู่ระหว่างวัตถุที่มีประจุและวัตถุที่ไม่มีประจุหรือระหว่างที่มีประจุไม่เหมือนกัน และพบว่าประกายไฟมีการกระโดดจากคนสู่วัตถุ ที่เป็นกลางทางไฟฟ้าได้ เมื่อเราเดินไปบนพรม ฟ้าผ่าคืออะไร คุณคงเคยเห็นสายฟ้าเคลื่อนที่จากก้อนเมฆมาสู่พื้นดิน ซึ่งคล้ายกับว่าเกิดประกายไฟฟ้า ที่ยาวมากๆ ฟ้าผ่าเป็นการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า ในการผลิตประกายไฟที่ยาวเช่นนั้นจะต้องมีความต่างศักย์ที่สูงมาก่ระหว่างวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง ในการเกิดฟ้าผ่านั้นความต่างศักย์เกิดขึ้นอาจถึงหนึ่งล้านโวลต์ โดยประจุไฟฟ้าจำนวนมากจะเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในเวลาเสี้ยววินาที การเกิดฟ้าผ่ามักจะเกิดเมื่อมีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของอากาศ ในเวลาที่มีพายุ ฝนฟ้าคะนอง ซึ่งการเกิดประจุไฟฟ้าบางทีอาจเกิด จากการขัดสีระหว่างอากาศที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว 
     
    การควบคุมฟ้าผ่า
    เนื่องจาก ฟ้าผ่าอันตรายมาก เพราะ การผ่าแต่ละครัง จะมีประจุวิ่งตามสายฟ้าผ่ามาเยอะมาก ทำให้เกิดความร้อนสูงถ้าผ่าไปโดนอะไร มันก็จะไหม้เช่นถ้าผ่าโดนต้นไม้ จะทำให้บริเวณที่ต้นไม้โดนฟ้าผ่าเกิดความร้อนสูงแบบเฉียบพลันสูงมากจนระเหยเป็นไอทันทีเลยทีเดียว มันเลยทำให้ต้นไม้ที่โดนฟ้าผ่า แยกออกเป็นสองซีกทันที เพราะ ส่วนที่ระเหยเป็นไอขยายตัวอย่างรวดเร็วก็เหมือนๆกับเราไปฝั่งระเบิดใว้ในต้นไม้แล้วกดระเบิดน่ะแหละ เบนจามิน แฟรงคลินรู้ว่าปรากฏการณ์ฟ้าผ่าคืออะไรแต่เขาไม่สามารถเข้าใจมันและเขาได้สร้างเครื่องมือ ที่เรียกว่า“สายล่อฟ้า” ซึ่งก่อนที่เขาออกแบบมัน เขาพบว่าวัตถุที่มีปลายแหลมจะมีประจุไฟฟ้ามากและ จะสูญเสียประจุเร็วกว่าแบบกลมเรียบ  ดังนั้น สายล่อฟ้าจึงถูกทำให้เป็นวัตถุที่มีความแหลมมาก ซึ่งจะถูกติดตั้งตรงส่วนบนของบ้านโดยจะต่อ สายไฟเข้ากับสายล่อฟ้าและพื้นดิน ซึ่งเมื่อเกิดฟ้าผ่ามันจะผ่าที่ สายล่อฟ้าไม่ใช่บ้าน ประจุจะเดินทางจาก สายไฟลงดินทำให้บ้านไม่เสียหาย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×