ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : องค์ความรู้แรก:ไฟฟ้าสถิต Intro
จากการที่เรา เอา วัตถุที่เป็นฉนวนมาถูกกัน เราจะพบว่า วัตถุนั้น สามารถจะดูด หรือ ผลัก วัตถุไดๆได้ แรงจากการผลักหรือดูด นี้ ไม่ใช่แรงระหว่างมวล แต่เป็นแรงที่เกิดจากประจุไฟฟ้า เรียกว่าแรงประจุไฟฟ้า โดย ถ้าเป็นประจุชนิดเดียวกัน จะผลักกัน ต่างชนิดกันจะดูดกัน
เบนจามิน แฟรงคลิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่จำแนกชนิดของประจุไฟฟ้า เป็น ประจุบวก และ ประจุลบ
ก่อนที่เราจะศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ ไฟฟ้า หรือไฟฟ้าสถิต ก่อนอื่นเราต้องรู้จักอะตอมซะก่อนโดยผมจะอธิบายแค่คราวๆ
ถ้าใครต้องการความรู้เบื่องลึกต้องไปศึกษาต่อเอาเองนะครับ เพราะมันยาวมาก
อะตอมจะประกอบไปด้วย สามสิ่ง คือ โปรตรอน มีประจุเป็นบวก อิเล็กตรอน มีประจุเป็นลบ และนิวตรอนเป็นกลางทางไฟฟ้า โดยปกติวัตถุ มักจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้าคือมีจำนวนอิเล็กตรอนและโปรตรอนเท่ากัน และถ้าวัตถุมีจำนวนอนุภาคไม่เท่ากัน จะทำให้วัตุนั้นมีประจุไฟฟ้าสุทธิไม่เป็นศูนย์ ซึ่งเกิดจากการเสียอิเล็กตรอนไปและทำให้วัตุนั้น มีคุณสมบัติไฟฟ้าเป็นบวก และวัตถุที่ได้รับอิเล็กตรอนมีคุณสมบัติเป็นลบ
*การทำให้วัตุมีประจุไฟฟ้า ไม่ใช่เป็นการสร้างประจุขึ้นมาไหม่ แต่เป็นการย้ายประจุจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเท่านั้นนี่คือกฏการอนุรักษณ์ประจุไฟฟ้า
และสิ่งที่เราต้องรู้จักต่อไปคือ ตัวนำ(Conductor)และฉนวน(Insulator)
วัตถุใดที่ได้รับการถ่ายเทอิเล็กตรอนและอิเล็กตรอนนั้นยังคงอยู่ที่บริเวณนั้นไม่ได้กระจายไปที่อื่น เรียกวัตถุนั้นว่า ฉนวนไฟฟ้า วัตถุใดที่ได้รับการถ่ายเทอิเล็กตรอนแล้ว อิเล็กตรอนที่ถูกถ่ายเทสามารถเคลื่อนที่กระจายไปได้ตลอดเนื้อวัตถุโดยง่าย เรียกวัตถุตัวนั้นว่า ตัวนำไฟฟ้า
ถ้าเราเอามือเราถูเข้าด้วยกัน เราจะรู้สึกอุ่น ซึ่งการเสียดสิ จะทำให้เกิดความร้อนและการถ่ายเทประจุได้
และถ้าเราเดินไปบนพรมโดยที่เราไส่รองเท้าด้วย แล้วไปจับลูกบิดที่เป็นโลหะ เราอาจจะรู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าดูด เพราะรองเท้าเราเสียดสีกับพรมทำให้เกิดการถ่ายเทประจุ ทำให้ประจุลบที่เท้าเราวิ่งไปยังลูกบิด หรือ จากลูกบิดวิ่งมาที่เท้าเรา แล้วแต่ว่า การเสียดสีนั้น รองเท้าเสียอิเล็กตรอนหรือได้รับอิเล็กตรอน ถ้ารองเท้าได้รับอิเล็กตรอน ประจุลบจะวิ่งจากเท้าไปที่ลูกบิด หรืออีกกรณีก็ตรงกันข้าม
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น