ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    A Tranquilizer for your Christmas Eve : ยากล่อมใจในคืนฝัน

    ลำดับตอนที่ #24 : จิตติกับการวิเคราะห์ไดอารีของทัตตวา -2-

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 606
      1
      8 ต.ค. 54

    จิตติสับสน เขาคิดภาพเด็กสาวที่ยิ่งนิ่งเป็นหินอยู่กลางโรงยิมออก แต่นั่นไม่เกี่ยวกับคำว่า “พวกเขามองไม่เห็น” เธอไม่ใช่วิญญาณสักหน่อย เป็นไปไม่ได้ที่จะมองไม่เห็น เขาคิดเรื่องนี้ทวนไปมา อ่านรายงานที่เขียนเองกลับไปกลับมา หนึ่งสัปดาห์ผ่านไปเขาได้ข้อสรุปหยาบๆ ว่า พวกนั้นมองเห็นเธอ แต่ว่าทัตตวาต่างหากที่มองไม่เห็นและไม่ได้ยินสิ่งที่พวกนั้นร้องเตือนและทำไป ทัตตวาต้องการให้ผู้คนรอบๆทิ้งเธอไว้คนเดียวและไม่สนใจตัวเธอ จึงปิดการรับรู้ของตัวเองลงจากสิ่งรอบตัว คล้ายกับเธอรู้ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่ไม่รู้ว่าโลกหมุนรอบตัวเอง – เป็นการอุปมาที่ง่ายที่สุดที่เขาคิดขึ้นมาได้

    แต่แรกนั้น จิตติยังไม่ปลงใจเชื่อสมมติฐานนี้ จนกระทั่งพิสูจน์ว่าระบบสมองของทัตตวาเป็นปกติ จากนั้นเขาจึงเตรียมแบบทดสอบใหม่ให้เธอทำ เป็นการเดินและเล่นกีฬาที่ต้องใช้การฟัง การมองเห็น และอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ว่าทัตตวามุ่งใช้จิตใจทั้งหมดไปควบคุมการพูดของเธอ

    เขาทำแบบทดสอบเดิมอีกครั้ง โดยการยกภาพให้ดูและถามว่าเธอมองเห็นอะไร รูปรถยนต์, ผู้คน และธงชาติของประเทศต่างๆ เธอทำการทดสอบได้ดีตามคาด จากนั้นจึงเปลี่ยนไปเปิดวิทยุ และเปิดเพลงคลาสสิคแบบที่เล่นคลอตามห้างสรรพสินค้าในความดังปกติ แล้วกลับคืนสู่คำถาม ทัตตวาใช้เวลาตอบนานขึ้น อาจจะเป็นเหมือนคนทั่วไปที่ถูกดึงดูดความสนใจด้วยเสียงดนตรีจนการตัดสินใจตอบช้าลง แต่ทัตตวาใช้เวลานานกว่าค่าเฉลี่ย เมื่อจิตติถามว่าเธอคิดอย่างไร ได้ยินและมองเห็นทุกอย่างหรือไม่ เธอเขียนตอบว่า “ก็ปกติดี เห็นทุกอย่างและได้ยินทุกอย่างด้วย มีอะไรผิดปกติหรือไง” เขาบอกว่าไม่มีอะไรผิดปกติ

    เขาทดลองแบบทดสอบอีกอย่างหนึ่ง วางสิ่งของไว้บนพื้นแล้วให้ทัตตวาเดินข้าม เธอเริ่มสะดุดมันเมื่อจิตติเปิดเพลง (ดูเหมือนทัตตวาจะไม่รู้ว่าเพลงเป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง) “เธอมองเห็นทุกอย่างแต่ไม่รู้ตัวว่าจะสะดุดมันเวลาเดินบนถนนเหรอ” จิตติถามและเด็กสาวก็พยักหน้า

    เมื่อทัตตวาจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นการเล่นโกะหรือการเรียน ก็ทำได้เหมือนเด็กสาวอื่นทั่วไป หรือแม้แต่ดีกว่าเด็กอายุเท่าๆ กัน แต่เมื่อมีสิ่งที่ต้องใส่ใจมากกว่าสองหรือสามอย่าง เพียงแค่สิ่งเบี่ยงเบนความสนใจที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนทั่วไป เธอก็ไม่สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมเสียแล้ว เมื่อเธอเดินก็จะเพ่งความสนใจไปที่ปลายเท้าและทิศทางการเดินจนลืมเรื่องอื่นในหัว ถ้าเธอมองนกที่อยู่บนต้นไม้ขณะเดินอยู่ เธอก็จะหยุดชะงักทันทีไม่ก็เดินไปทั่วโดยไม่รับรู้และเห็นสิ่งใดนอกจากนกตัวนั้น

    และเป็นอีกครั้งที่จิตติเกลียดการที่เขาต้องตระหนักรู้ว่า ปัญหาในสมองของเธอส่วนนี้นำไปสู่ปริศนาที่ยังแก้ไขไม่ได้ และข้อบ่งชี้เดียวที่บอกว่าสภาพของทัตตวาที่เป็นอยู่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ผิดพลาดในครอบครัวตั้งแต่วัยเยาว์ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะหวังอะไรได้จากยายของทัตตวา เขารู้ดีอย่างยิ่งว่ายายแก่นั่นจะไม่ยอมช่วยเขาหรอก

    จิตติต้องการรู้เรื่องเพื่อนที่ “ดูเป็นมิตร” ซึ่งทัตตวาได้เขียนถึงในไดอารีวันก่อน หลังจากอ่านหน้านั้นอีก เขาจับอารมณ์ที่ลึกซึ้งกว่าความเป็นเพื่อนได้จากการแสดงออกของเด็กสาวคนนั้น เขาหวังว่าการคาดคะเนของตัวเองจะผิด ให้เป็นแค่มิตรภาพจะดีกว่าสำหรับทัตตวา ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ใส่เลยเลยหากทัตตวาจะมีความรักจริงๆ ก็ตาม ความรักถือเป็นอารมณ์หนึ่ง หากทัตตวามีความรักก็นับว่าการรักษาคืบหน้าไปอย่างมาก แต่ความรักนั้นก็อาจเป็นปัญหาได้ เพราะความไร้เหตุผลของผู้ป่วยที่มีโรครักเข้าแทรกซ้อนมักจะทำให้การรักษายากขึ้น ดังนั้นเขาจึงคาดคะเนสถานการณ์ขั้นร้ายแรงที่สุดไว้ล่วงหน้า

    ถ้าจิตติเลือกผู้ป่วยที่ไม่อยากรับไว้ดูแลได้ เขาคงจะเลือกผู้ป่วยโรครักนี้ออกไปให้ไกลที่สุดเป็นอันดับแรก เขามีปัญหาอย่างยิ่งเวลาต้องเผชิญหน้ากับคนที่หลงอยู่ในห้วงรักที่ไร้เหตุผลสิ้นดี เขายอมรับว่าจิตใจของผู้คนนั้นไม่ค่อยมีเหตุผล แต่ความไร้เหตุผลเนื่องจากความรักนี่สิที่เขาทำใจรับรู้ไม่ได้ เขาเคยเกี่ยวพันกับผู้หญิงมากมาย และเขาอนุมานได้ถึงสาเหตุการเลิกราว่าเพราะเขาไม่เข้าใจธรรมชาติของความรัก แต่เขาก็พอใจกับมันตราบเท่าที่เขาหลีกเลี่ยงความรักที่ไร้เหตุผลได้เช่นเดียวกับผู้หญิงที่ไร้เหตุผล

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×