ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : 2. หมึกและแท่นพิมพ์
แน่นอนว่าเมื่อเรามีกระดาษแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการพิมพ์ตัวอักษร รูปภาพเนื้อหาทั้งหลายให้กลายมาเป็นหนังสือเล่ม มีขั้นตอนการผลิตค่อนข้างซับซ้อนหลายกระบวนการ หากแต่ปัจจุบันได้มีเครื่องจักรที่สามารถรวบขั้นตอนทั้งหมดในครั้งเดียวได้ แล้ว
ประวัติศาสตร์ของหมึกและการพิมพ์แบบคล้ายคลึงกับปัจจุบันเกิด ขึ้นในประเทศจีนเช่นเดียวกับกระดาษเดิมทีการเขียนตัวอักษรจะใช้สีย้อมที่ได้ จากธรรมชาติเช่น สีจากครั่ง, ถ่าน หรือแม้กระทั่งเลือดสัตว์ หรือใช้เหล็กเผาไฟจารลงบนวัสดุบันทึก แต่ในราวปี 256 ก่อนคริสตกาล ยุคเลียดก๊ก ปราชญ์แห่งแคว้นฉู่ได้คิดค้นทำหมึกแท่งขึ้นโดยใช้รากไม้ที่ให้ สีดำ ผงถ่านและกาวหนังสัตว์ ผสมแล้วปั้นให้ขึ้นรูป เมื่อใช้ก็ละลายน้ำแล้วจึงเขียนหรือพิมพ์
โครงสร้างของหมึกที่ใช้ในงานพิมพ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลงมานับแต่นั้น อันประกอบด้วย
1. สารให้สี (Colorant) ได้แก่ เม็ดสี(Pigment), สีย้อม(Dye) เพื่อให้สีต่างๆแก่หมึก
2. สารยึดเหนี่ยว(Vehicle/binder) ได้แก่ กาว, พลาสติก เพื่อให้หมึกยึดตัวกับพื้นผิววัตถุที่ต้องการให้หมึกติด
3. สารเพิ่มเติม (Additive) เพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติอื่นๆเช่น การแข็งตัว, กันบูดเน่า, กลิ่นหอม
4. ตัวกลางนำ (Carrier substance) เพื่อทำให้สารทั้งหมดรวมตัวกันและใช้งานได้ เช่น น้ำ น้ำมัน ไขมัน
สาร ให้สีของหมึกประกอบด้วยสารประกอบของโลหะหนักหลายชนิดที่ให้สีสันแตกต่างกัน ไป เช่น แคดเมียม โครเมียม ซึ่งแร่โลหะหนักที่ใช้ทำหมึกเหล่านี้จะถูกขุดขึ้นจากเหมืองต่างๆในทวีป แอฟริกา เช่น แทนซาเนีย ซูดาน หรือในทวีปอเมริกาใต้เช่นที่โบลิเวีย ชิลี ก่อนที่จะถูกขนส่งไปผลิตผสมกับสารประกอบส่วนอื่นๆในโรงงานผลิตหมึก โดยมากบริษัทผลิตหมึกชื่อดังจะเป็นบริษัทสัญชาติเยอรมัน หรือญี่ปุ่น เช่น สเต็ดเลอร์, มิตซูบิชิ ปัจจุบันโรงงานหมึกอุตสาหกรรมเพื่อการพิมพ์จำนวนมากได้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ ที่ประเทศจีน
เนื่องจากอุตสาหกรรมหมึกพิมพ์เป็นอุตสาหกรรมหนักที่ก่อ มลภาวะ และส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการพิมพ์ ทำให้ทุกวันนี้มีความพยายามคิดค้นหมึกพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ คือหมึกพิมพ์ที่ผลิตจากถั่วเหลืองขึ้นด้วยวิธีการคล้ายคลึงกับการผลิตซีอิ๊ว แต่เพิ่มสารยึดเหนี่ยวและกันเสียลงในหมึกถั่วเหลืองเหล่านั้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ในอนาคตหากไม่ถูกระบบดิจิตอลตี ตลาดจนหมดเสียก่อน
เมื่อมีหมึกแล้ว ขั้นตอนต่อไปของการพิมพ์หนังสือก็จะเข้าสู่แท่นพิมพ์หรือเครื่องพิมพ์ แม้ว่าการพิมพ์จะคิดค้นขึ้นครั้งแรกในจีนและแพร่ขยายเข้าไปสู่ประเทศญี่ปุ่น ดังปรากฏหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกคือ ปรัชญาปารมิตา วัชรเจติยญาณสูตร ในสมัยราชวงศ์ถังราวศตวรรษที่ 5 และใบปลิวบทสวดป้องกันโรคห่าของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 12 แต่การพิมพ์แบบถอดเปลี่ยนตัวอักษรได้ ซึ่งตัวพิมพ์สามารถเรียงพิมพ์ ถอดซ่อมแซม หลอมและสร้างใหม่ เกิดขึ้นในเยอรมันยุคต้นเรอเนสซองส์ จากผลงานของโยฮันเนส กูเตนแบร์ก ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลฉบับกูเตนแบร์กนั้นถือเป็นโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าทั้งทาง ราคาและประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง เนื่องจากกูเตนแบร์กได้ทำให้คัมภีร์ศาสนาหรือตำราความรู้ใดๆถูกเผยแพร่ไป ทั่วทวีปยุโรปโดยไม่ถูกผูกขาดจากชนชั้นขุนนางหรือวัดวาอาราม เป็นปัจจัยหนึ่งของการปฏิรูปศาสนาโดยมาร์ติน ลูเธอร์ ในที่สุด
ประเทศ ไทยรับเอาการพิมพ์มาใช้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยสั่งแท่นพิมพ์นำเข้าจากประเทศอเมริกาและอังกฤษ ซึ่งมิชชันนารีอเมริกันใช้พิมพ์ทั้งคัมภีร์ศาสนาและเรื่องทั่วไป บิดาของการพิมพ์ไทย นพ. แดน บีช บรัดเลย์ หรือหมอปลัดเล ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่วัดเกาะ (บางคอแหลม ปทุมวัน ปัจจุบัน) ออกหนังสือพิมพ์บางกอกเรคอร์เดอร์ และต่อมานพ. สมิธ ก็ได้ตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์กลอนของสุนทรภู่ขายให้ประชาชนอ่านจนเป็นธุรกิจ สร้างความร่ำรวย ส่วนสมเด็จพระจอมเกล้าฯเองก็นำเข้าแท่นพิมพ์มาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อพิมพ์พระไตรปิฎก และออกราชกิจจานุเบกษาเพื่อกระจายข่าวสารทางราชการ
ทุก วันนี้ประเทศไทยยังต้องนำเข้าเครื่องจักรกลการพิมพ์ในระดับอุตสาหกรรมจาก ต่างประเทศ โดยมากจากประเทศเยอรมนี, เดนมาร์ก และอเมริกา แท่นพิมพ์ตามโรงพิมพ์ใหญ่ๆเช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ใช้เครื่องพิมพ์ยี่ห้อ เมน โรแลนด์ ของประเทศเยอรมนี ซึ่งเราจะเห็นข่าวดารานักแสดงไปเยี่ยมชมแท่นพิมพ์บ่อยๆ
แท่นพิมพ์อาจแบ่งประเภทได้ใหญ่ๆ 3 ประเภท ได้แก่
1. แท่นพิมพ์ฉับแกระ (Letterpress) เป็นแท่นพิมพ์แบบโบราณพัฒนาจากแท่นพิมพ์ของกุเตนแบร์ก ใช้น้ำหนักของแท่นพิมพ์กดทับหมึกลงไปให้เกิดอักษร ปัจจุบันหายากแล้ว เหลือเฉพาะตามโรงพิมพ์เล็กๆในต่างจังหวัด
2. แท่นพิมพ์ออฟเซ็ต (Off-set) เป็น แท่นพิมพ์ที่ใช้ระบบลูกกลิ้งสองม้วน ลูกกลิ้งม้วนหนึ่งจะมีน้พุหมึกพ่นใส่เพลท ส่วนอีกลูกหนึ่งจะเป็นตัวนำหมึกบนเพลทนั้นถ่ายเทสู่กระดาษหรือวัตถุที่ต้อง การพิมพ์ แท่นพิมพ์แบบนี้จะมีช่องใส่หมึกเฉพาะที่ต้องผสมสารตัวนำ เช่นน้ำหรือน้ำมันสังเคราะห์ ช่างผสมหมึกในเครื่องพิมพ์ถือเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและอันตรายจากโลหะหนักใน หมึกมาก แท่นพิมพ์แบบนี้ใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ส่วนใหญ่ เนื่องจากสามารถนำเพลทกลับมาใช้ได้อีก และต้นทุนต่อหน่วยต่ำหากพิมพ์ปริมาณมาก
3. แท่นพิมพ์ดิจิตอลเลเซอร์(Laser digital) เป็น แท่นพิมพ์ที่สั่งการโดยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถแก้ไขงานพิมพ์ได้สะดวกและรวดเร็ว แต่มีต้นทุนต่อเล่มสูง โดยมากใช้ในงานพิมพ์จำนวนน้อย หรืองานพิมพ์ on-demand
กระดาษจะถูกป้อนเข้าสู่แท่นพิมพ์เป็นม้วนๆ พ่นหมึกหรือพิมพ์ข้อมูลตามที่ตั้งค่าเรียงพิมพ์ไว้ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการตัดหน้า ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป
ประวัติศาสตร์ของหมึกและการพิมพ์แบบคล้ายคลึงกับปัจจุบันเกิด ขึ้นในประเทศจีนเช่นเดียวกับกระดาษเดิมทีการเขียนตัวอักษรจะใช้สีย้อมที่ได้ จากธรรมชาติเช่น สีจากครั่ง, ถ่าน หรือแม้กระทั่งเลือดสัตว์ หรือใช้เหล็กเผาไฟจารลงบนวัสดุบันทึก แต่ในราวปี 256 ก่อนคริสตกาล ยุคเลียดก๊ก ปราชญ์แห่งแคว้นฉู่ได้คิดค้นทำหมึกแท่งขึ้นโดยใช้รากไม้ที่ให้ สีดำ ผงถ่านและกาวหนังสัตว์ ผสมแล้วปั้นให้ขึ้นรูป เมื่อใช้ก็ละลายน้ำแล้วจึงเขียนหรือพิมพ์
โครงสร้างของหมึกที่ใช้ในงานพิมพ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลงมานับแต่นั้น อันประกอบด้วย
1. สารให้สี (Colorant) ได้แก่ เม็ดสี(Pigment), สีย้อม(Dye) เพื่อให้สีต่างๆแก่หมึก
2. สารยึดเหนี่ยว(Vehicle/binder) ได้แก่ กาว, พลาสติก เพื่อให้หมึกยึดตัวกับพื้นผิววัตถุที่ต้องการให้หมึกติด
3. สารเพิ่มเติม (Additive) เพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติอื่นๆเช่น การแข็งตัว, กันบูดเน่า, กลิ่นหอม
4. ตัวกลางนำ (Carrier substance) เพื่อทำให้สารทั้งหมดรวมตัวกันและใช้งานได้ เช่น น้ำ น้ำมัน ไขมัน
สาร ให้สีของหมึกประกอบด้วยสารประกอบของโลหะหนักหลายชนิดที่ให้สีสันแตกต่างกัน ไป เช่น แคดเมียม โครเมียม ซึ่งแร่โลหะหนักที่ใช้ทำหมึกเหล่านี้จะถูกขุดขึ้นจากเหมืองต่างๆในทวีป แอฟริกา เช่น แทนซาเนีย ซูดาน หรือในทวีปอเมริกาใต้เช่นที่โบลิเวีย ชิลี ก่อนที่จะถูกขนส่งไปผลิตผสมกับสารประกอบส่วนอื่นๆในโรงงานผลิตหมึก โดยมากบริษัทผลิตหมึกชื่อดังจะเป็นบริษัทสัญชาติเยอรมัน หรือญี่ปุ่น เช่น สเต็ดเลอร์, มิตซูบิชิ ปัจจุบันโรงงานหมึกอุตสาหกรรมเพื่อการพิมพ์จำนวนมากได้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ ที่ประเทศจีน
เนื่องจากอุตสาหกรรมหมึกพิมพ์เป็นอุตสาหกรรมหนักที่ก่อ มลภาวะ และส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการพิมพ์ ทำให้ทุกวันนี้มีความพยายามคิดค้นหมึกพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ คือหมึกพิมพ์ที่ผลิตจากถั่วเหลืองขึ้นด้วยวิธีการคล้ายคลึงกับการผลิตซีอิ๊ว แต่เพิ่มสารยึดเหนี่ยวและกันเสียลงในหมึกถั่วเหลืองเหล่านั้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ในอนาคตหากไม่ถูกระบบดิจิตอลตี ตลาดจนหมดเสียก่อน
เมื่อมีหมึกแล้ว ขั้นตอนต่อไปของการพิมพ์หนังสือก็จะเข้าสู่แท่นพิมพ์หรือเครื่องพิมพ์ แม้ว่าการพิมพ์จะคิดค้นขึ้นครั้งแรกในจีนและแพร่ขยายเข้าไปสู่ประเทศญี่ปุ่น ดังปรากฏหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกคือ ปรัชญาปารมิตา วัชรเจติยญาณสูตร ในสมัยราชวงศ์ถังราวศตวรรษที่ 5 และใบปลิวบทสวดป้องกันโรคห่าของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 12 แต่การพิมพ์แบบถอดเปลี่ยนตัวอักษรได้ ซึ่งตัวพิมพ์สามารถเรียงพิมพ์ ถอดซ่อมแซม หลอมและสร้างใหม่ เกิดขึ้นในเยอรมันยุคต้นเรอเนสซองส์ จากผลงานของโยฮันเนส กูเตนแบร์ก ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลฉบับกูเตนแบร์กนั้นถือเป็นโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าทั้งทาง ราคาและประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง เนื่องจากกูเตนแบร์กได้ทำให้คัมภีร์ศาสนาหรือตำราความรู้ใดๆถูกเผยแพร่ไป ทั่วทวีปยุโรปโดยไม่ถูกผูกขาดจากชนชั้นขุนนางหรือวัดวาอาราม เป็นปัจจัยหนึ่งของการปฏิรูปศาสนาโดยมาร์ติน ลูเธอร์ ในที่สุด
ประเทศ ไทยรับเอาการพิมพ์มาใช้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยสั่งแท่นพิมพ์นำเข้าจากประเทศอเมริกาและอังกฤษ ซึ่งมิชชันนารีอเมริกันใช้พิมพ์ทั้งคัมภีร์ศาสนาและเรื่องทั่วไป บิดาของการพิมพ์ไทย นพ. แดน บีช บรัดเลย์ หรือหมอปลัดเล ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่วัดเกาะ (บางคอแหลม ปทุมวัน ปัจจุบัน) ออกหนังสือพิมพ์บางกอกเรคอร์เดอร์ และต่อมานพ. สมิธ ก็ได้ตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์กลอนของสุนทรภู่ขายให้ประชาชนอ่านจนเป็นธุรกิจ สร้างความร่ำรวย ส่วนสมเด็จพระจอมเกล้าฯเองก็นำเข้าแท่นพิมพ์มาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อพิมพ์พระไตรปิฎก และออกราชกิจจานุเบกษาเพื่อกระจายข่าวสารทางราชการ
ทุก วันนี้ประเทศไทยยังต้องนำเข้าเครื่องจักรกลการพิมพ์ในระดับอุตสาหกรรมจาก ต่างประเทศ โดยมากจากประเทศเยอรมนี, เดนมาร์ก และอเมริกา แท่นพิมพ์ตามโรงพิมพ์ใหญ่ๆเช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ใช้เครื่องพิมพ์ยี่ห้อ เมน โรแลนด์ ของประเทศเยอรมนี ซึ่งเราจะเห็นข่าวดารานักแสดงไปเยี่ยมชมแท่นพิมพ์บ่อยๆ
แท่นพิมพ์อาจแบ่งประเภทได้ใหญ่ๆ 3 ประเภท ได้แก่
1. แท่นพิมพ์ฉับแกระ (Letterpress) เป็นแท่นพิมพ์แบบโบราณพัฒนาจากแท่นพิมพ์ของกุเตนแบร์ก ใช้น้ำหนักของแท่นพิมพ์กดทับหมึกลงไปให้เกิดอักษร ปัจจุบันหายากแล้ว เหลือเฉพาะตามโรงพิมพ์เล็กๆในต่างจังหวัด
2. แท่นพิมพ์ออฟเซ็ต (Off-set) เป็น แท่นพิมพ์ที่ใช้ระบบลูกกลิ้งสองม้วน ลูกกลิ้งม้วนหนึ่งจะมีน้พุหมึกพ่นใส่เพลท ส่วนอีกลูกหนึ่งจะเป็นตัวนำหมึกบนเพลทนั้นถ่ายเทสู่กระดาษหรือวัตถุที่ต้อง การพิมพ์ แท่นพิมพ์แบบนี้จะมีช่องใส่หมึกเฉพาะที่ต้องผสมสารตัวนำ เช่นน้ำหรือน้ำมันสังเคราะห์ ช่างผสมหมึกในเครื่องพิมพ์ถือเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและอันตรายจากโลหะหนักใน หมึกมาก แท่นพิมพ์แบบนี้ใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ส่วนใหญ่ เนื่องจากสามารถนำเพลทกลับมาใช้ได้อีก และต้นทุนต่อหน่วยต่ำหากพิมพ์ปริมาณมาก
3. แท่นพิมพ์ดิจิตอลเลเซอร์(Laser digital) เป็น แท่นพิมพ์ที่สั่งการโดยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถแก้ไขงานพิมพ์ได้สะดวกและรวดเร็ว แต่มีต้นทุนต่อเล่มสูง โดยมากใช้ในงานพิมพ์จำนวนน้อย หรืองานพิมพ์ on-demand
กระดาษจะถูกป้อนเข้าสู่แท่นพิมพ์เป็นม้วนๆ พ่นหมึกหรือพิมพ์ข้อมูลตามที่ตั้งค่าเรียงพิมพ์ไว้ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการตัดหน้า ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น