ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กว่าจะเป็นหนังสือ

    ลำดับตอนที่ #3 : 3. ก่อนจะเป็นต้นฉบับ

    • อัปเดตล่าสุด 23 ธ.ค. 53


    เรา เล่าถึงขั้นตอนจากกระดาษจนมาถึงแท่นพิมพ์แล้ว แต่หนังสือก็คงจะออกมาไม่ได้ หากขาดเนื้อหาข้างใน เนื้อหาในหนังสือนั้นเกิดขึ้นจากต้นฉบับงานเขียนงานสร้างสรรค์ของนักเขียน ทั้งหลาย ซึ่งจะต้องเข้าสู่กระบวนการในสำนักพิมพ์ที่เรียกว่า "กระบวนการบรรณาธิกรณ์"

    กระบวน การบรรณาธิกรณ์เริ่มจากการค้นหาต้นฉบับจากนักเขียน คุณจตุพล บุญพรัด บรรณาธิการอาวุโส แพรวสำนักพิมพ์ ได้กรุณาบรรยายเรื่องชนิดของนักเขียนที่ บก. จะสรรหาต้นฉบับไว้ดังนั้น
    1. นักเขียนใหม่ - คือนักเขียนหน้าใหม่ที่ส่งต้นฉบับมาเอง
    2. นักเขียนมือรางวัล - คือผลงานที่ได้รับจากการประกวด บางคนที่ไม่ได้รางวัลแต่แนวคิดหรือภาษาน่าสนใจก็จะถูกทาบทามให้มาส่งต้นฉบับโดยปรับปรุงงาน
    3. นักเขียนเก่า - นักเขียนมีเคยมีผลงานนั้นจะถูกเก็บข้อมูลไว้ในรายชื่อติดต่อของสำนักพิมพ์ และพร้อมจะติดต่อไปขอต้นฉบับได้เสมอเมื่อมีงานในแนวที่เหมาะสม หรือเมื่อนักเขียนเก่าเสนอมาก็จะได้รับการพิจารณาโดยเฉพาะ บรรณาธิการและนักเขียนสมัยก่อนนั้นมีความสัมพันธ์อันดีระดับกินอยู่หลับนอน หาข้าวหาปลาหาเหล้าไปให้กันเลยทีเดียว
    4. กองบรรณาธิการ - คือต้นฉบับที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูล และเรียบเรียงโดยกองบรรณาธิการในสำนักพิมพ์เอง เช่น หนังสือเฉพาะกิจตามเทศกาล งานมงคลหรือฤดูกาล

    เมื่อต้นฉบับเสร็จสิ้น ไม่ว่าจะแก้หรือไม่ถ้าตกลงกันได้ ก็จะเข้าสู่การเจรจาค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งสัญญาลิขสิทธิ์หนังสือส่วนมากเป็นสัญญาเช่าลิขสิทธิ์มีกำหนดเวลาระหว่าง หนึ่งถึงห้าปี รายละเอียดในสัญญาอาจจะหมายรวมถึงผลงานต่อๆไปหรือไม่ก็ได้ ซึ่งนักเขียนพึงอ่านรายละเอียดในสัญญาให้ดีเพื่อมิให้ถูกเอาเปรียบ สัญญาลิขสิทธิ์แบบขายขาดอาจเกิดขึ้นหากเป็นการจ้างเขียนเฉพาะงาน โดยเฉพาะกรณีโกสต์ไรเตอร์ หรือนักเขียนผีที่เขียนงานแทนให้คนดัง บุคคลสำคัญ ดารานักแสดงที่สำนักพิมพ์อยากออกหนังสือแต่คนเหล่านั้นไม่เขียนเอง หรือเขียนไม่ดี

    ค่าลิขสิทธิ์ของนักเขียนตามมาตรฐานของสำนักพิมพ์ขนาด กลางถึงใหญ่มักจะกำหนดตามราคาปกคูณจำนวนที่พิมพ์ ระหว่าง 7-10% ส่วนสำนักพิมพ์เล็กๆอาจจะต่อรองให้จ่ายตามจำนวนที่ขายได้หลังจากพ้นงวดแรกๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเขียนอาวุโสที่มีผลงานติดตลาด มักจะได้เงินค่าพรีเมียม ถือเป็นเงินให้พิเศษเพื่อเซ็นสัญญา นักเขียนระดับทมยันตี หรือ ว. วินิจฉัยกุล อาจได้ค่าพรีเมียมถึง 50,000-100,000 บาท พร้อมกับส่วนแบ่ง 12-15%

    เมื่อได้ต้นฉบับจากนักเขียนมา ก็จะผ่านขั้นตอนดังนี้
    - การปรับแก้เนื้อหาให้เหมาะสม โดยการคุยกันระหว่างนักเขียนและบรรณาธิการว่า ควรตัดลด หรือเพิ่มเติมเนื้อหาจุดไหนเพื่อให้เหมาะสม น่าอ่าน และขายได้
    - การพิสูจน์อักษร ขั้นตอนนี้จะไม่มีการแก้เนื้อหา มีเพียงการแก้ไขคำผิดและไวยากรณ์ จัดวรรค เว้นบรรทัด ย่อหน้า ตัดหน้า เท่านั้น
    - การขอเลขเรียกหนังสือสากล(ISBN) โดยขอจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ เนื่องจากองค์กรหนังสือสากลได้มอบหมายให้แต่ละประเทศจัดจำแนกเลขเรียก หนังสือสากลเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา และอ้างอิงเชิงบรรณานุกรม เราสามารถขอเลขเรียกหนังสือสากลได้ที่ isbn@nlt.go.th เจ้าพนักงานที่ติดต่อบริการเรื่องนี้ใจดีและเป็นมิตรมากครับ
    - การจัดภาพกราฟิกและจัดหน้าเรียงพิมพ์ ปัจจุบันการจัดหน้าพิมพ์ใช้ระบบดิจิตอลหมดแล้ว ซึ่งโปรแกรมที่ใช้คือโปรแกรมตระกูล pagemaker หรือคล้ายคลึงกัน เมื่อจัดเรียงพิมพ์แล้วจะได้เป็นไฟล์ .pdf ออกมาเพื่อส่งให้โรงพิมพ์ทำเพลทต่อไป

    เมื่อได้จำนวนหน้าทั้งหมดพร้อมต้นทุน ก็จะเข้าสู่การตั้งราคาปก ซึ่งผมได้แจกแจงไว้แล้วในกระทู้
    เปิดกลยุทธ์การตั้งราคาหนังสือ

    ตอนต่อไปจะวกกลับเข้าโรงพิมพ์อีกครั้ง พร้อมเล่าถึงระบบขนส่งและลอจิสติกส์ที่เชื่อมโยงระหว่าง โรงพิมพ์ ร้านค้า และสำนักพิมพ์
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×