ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กว่าจะเป็นหนังสือ

    ลำดับตอนที่ #1 : 1. กระดาษมาจากไหน

    • อัปเดตล่าสุด 20 ธ.ค. 53


    ในฐานะที่เราเสพและเขียนหนังสือมามากมาย รู้กันบ้างหรือไม่ว่า กว่าจะเป็นหนังสือสักเล่มให้เราอ่าน ต้องผ่านกระบวนการกี่ขั้นตอน และต้องใช้พลังงาน การเดินทางยาวไกลสักเท่าไรกว่าจะได้เป็นหนังสือเล่มหนึ่งๆ

    ผมจะนำเพื่อนๆทุกคนให้รู้ตั้งแต่กระบวนการแรกเริ่มของหนังสือครับ
    "กระดาษ"

    "กระดาษ" เป็นหนึ่งในสี่สิ่งประดิษฐ์ที่ชาวจีนภาคภูมิใจ ไฉ่หลุน ปราชญ์ชาวจีนได้ผลิตกระดาษในรูปแบบคล้ายคลึงกับปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนต้นราวคริสตศตวรรษที่ 2 จากเยื่อไผ่ เศษหนังสัตว์ และกาว แช่น้ำให้เละผสมกันแล้วเกลี่ยบนผืนตาข่ายกรองน้ำออก ตากให้แห้งจนกลายเป็นกระดาษ

    ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตเยื่อกระดาษคุณภาพดี จากสวนป่าไผ่และยูคาลิปตัสจากผู้ผลิตกระดาษ 54 ราย(ข้อมูลปี 2550) ผลิตกระดาษได้ปีละ 5.2 ล้านตัน สามารถส่งออกเป็นมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท โดยคนไทยใช้กระดาษเฉลี่ยคนละ 56 กิโลกรัม/คน/ปี บริษัทขนาดใหญ่ที่ผลิตกระดาษในไทย เช่น บริษัทอุตสาหกรรมกระดาษคราฟต์ จำกัด ในเครือ SCG บริษัทกระดาษดับเบิลเอ บริษัทเยื่อกระดาษไทย บริษัทฟินิกซ์พัลพ์แอนด์เปเปอร์ จำกัด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังต้องนำเข้ากระดาษเกรดพรีเมียม และกระดาษเกรดหนังสือพิมพ์(กระดาษปรู๊ฟ) จากต่างประเทศ โดยนำเข้าจากประเทศฟินแลนด์, สวีเดน และเดนมาร์ก เพื่อตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์เพิ่มเติม

    ขั้นตอนการผลิตกระดาษในอุตสาหกรรมกระดาษยุคใหม่ เริ่มต้นจากการตัดไม้วัตถุดิบจากสวนป่าที่ปลูกไว้เพื่อทำกระดาษโดยเฉพาะ ในประเทศไทยการผลิตกระดาษมีวัตถุดิบมาจากต้นยูคาลิปตัสซึ่งทางบริษัท ผลิตกระดาษสนับสนุนให้มีการปลูกทั่วไปในเขตภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



    เมื่อตัดไม้มารวมกันแล้ว ไม้เหล่านั้นก็จะถูกซอยย่อยให้เป็นเยื่อไม้ ก่อนจะถูกคลุกเคล้าลงไปในน้ำกรดปริมาณมหาศาล ย่อยให้เป็นเยื่อกระดาษ(Pulp) ผสมสารเคมีต่างๆเช่น สารฟอกขาว สารกันเสีย สารฆ่าเชื้อ ลงไป ก่อนที่จะถูกรีดน้ำออกและอบร้อนให้เป็นม้วนใหญ่ๆ



    โรง งานกระดาษที่สำคัญของไทยตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น(ฟินิกซ์พัลพ์แอนเปเปอร์ น้ำพอง), ปราจีนบุรี(ดับเบิลเอ) และมาบตาพุด ระยอง(SCG paper) ส่วนกระดาษนำเข้านั้น ได้มาจากสวนป่าสนในประเทศฟินแลนด์ สวีเดน และนอร์เวย์ และบางส่วนจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน

    กระดาษที่ใช่ในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้

    1. กระดาษปรู๊ฟหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ - ใช้ในหนังสือพิมพ์และสิ่งตีพิมพ์ที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก เช่น ใบปลิว แผ่นพับ เป็นกระดาษสีน้ำตาลอ่อน มีลิกนินเหลืออยู่มาก ไม่มีการฟอกขาว ราคาต่ำ อาจมาจากการรีไซเคิลได้ แต่ต้องซื้อในปริมาณมาก ประเทศไทยผลิตกระดาษปรู๊ฟเองไม่ได้ ปัจจุบันไทยนำเข้ากระดาษปรู๊ฟจากสวีเดนและจีน

    2. กระดาษปอนด์ - เป็นกระดาษที่ใช้พิมพ์เนื้อในของหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ค เนื้อกระดาษนุ่ม เป็นสีขาวหรือสีเหลืองนวล(กระดาษกรีนรี้ด) ประเทศไทยผลิตกระดาษชนิดนี้ได้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออก กระดาษปอนด์มีความหนาแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน เช่น เป็นกระดาษถ่ายเอกสาร, กระดาษหนังสือ, โดยมากจะหนาตั้งแต่ 70-100 แกรม

    3. กระดาษอาร์ต - คือกระดาษที่ใช้ในสิ่งพิมพ์ นิตยสารทั่วไป โดยมากจะอาบมันหรือเคลือบผิว(Coated paper) ใช้ในการพิมพ์สอดสี พิมพ์ปก ซึ่งกระดาษระดับพรีเมียมคุณภาพสูงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แม้ว่าบริษัทกระดาษในประเทศกำลังพัฒนาการผลิตแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้อง การ

    เมื่อเราได้กระดาษเป็นม้วนๆ จากโรงงานกระดาษออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปของการทำหนังสือก็จะเข้าสู่ "กระบวนการพิมพ์" ใน โรงพิมพ์

    โปรดติดตามตอนต่อไป...
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×