คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ประเภทใบชา
ชาจะแบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามกรรมวิธีการผลิต ได้แก่
1.ชาเขียว เป็นชาที่ผ่านการอบแห้งโดยไม่ต้องหมัก ทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว
2.ชาจีน เป็นชาที่เก็บจากภูเขาสูง และเป็นชาที่เก็บในฤดูหนาว
3.ชาฝรั่ง เป็นชาที่ผ่านการหมักอย่างเต็มที่
4.ชาขาว เป็นชาที่ได้จากยอดชาอ่อน และผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้ความร้อนน้อยที่สุด จึงทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการและศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด
5. ชาสมุนไพร เป็นชาที่ได้จาก ใบไม้ หรือผล ของต้นไม้ที่ต้องการเช่น ชาดอกมะลิ คือ นำใบมะลิมาตากแห้ง อบ จนแห้ง ชาสมุนไพร และใช้กรรมวิธีเหมือนกับชาเขียว
ซึ่งชาจีนมีประเภทชาดังนี้
โดยชาสมุนไพรต่าง ๆ จะมีสรรพคุณเช่น
ชามะตูม เป็นชาสมุนไพรที่แพร่หลาย ใช้ทั้งชงและต้ม โดยนำผลมาฝานเป็นแว่นตากแห้ง สามารถนำมาต้มได้เลย แต่ถ้าจะนำมาชง ต้องหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อน โดยชงในน้ำร้อนนานประมาณ 5 นาที จะได้ชาที่มีกลิ่นหอมเหมือนเปลือกไม้รมควัน แต่จะเข้มข้นน้อยกว่าวิธีต้ม สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ แก้ร้อนใน
ชาตะไคร้ ชาสมุนไพรที่ดื่มกินได้ทั้งร้อนหรือเย็น สามารถนำมาต้มหรือชงก็ได้ น้ำชาสีเหลืองอมเขียวอ่อนๆ รสออกฝาดนิดหน่อย แต่กลิ่นหอมเย็นอย่างมะนาว ใช้วิธีชงจะได้กลิ่นที่หอมมากกว่า สรรพคุณช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ
ชากระเจี๊ยบ ใช้มหรือชงก็ได้ น้ำชากระเจี๊ยบมีรสชาดไม่แตกต่างกันมากนัก เพียงแต่น้ำกระเจี๊ยบต้มจะเข้มข้นกว่า ชากระเจี๊ยบ มีสีแดงใส กลิ่นหอม รสอมเปรี้ยว สรรพคุณมีฤทธิ์ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ รักษาอาการขัดเบา นิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ ลดความดันโลหิต แก้ไอได้
ชาเก๊กฮวย ใช้ดอกที่ตากแห้ง เอามาต้มหรือชงก็ได้ ผลไม่แตกต่างกัน ชาดอกเก๊กฮวยมีกลิ่นหอมหวาน รสธรรมชาติ มีสีเหลืองใสอ่อนๆ นิยมดื่มทั้งร้อนและเย็น สรรพคุณช่วยบำรุงตับและสายตา บรรเทาอาการไขข้ออักเสบ ช่วยขับลมในลำไส้
ชาว่านหางจระเข้ ใช้ส่วนใบและวุ้นมาตากแห้ง แล้วต้มหรือชงก็ได้ ชาว่านหางจระเข้จะมีกลิ่น และรสเหมือนกับชาสมุนไพรทั่วไป มีสีเหลืองใสอ่อนๆ รสออกขมนิดๆ หากใช้ใบและวุ้นปนกันมากจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นยาระบาย
ชาดอกคำฝอย ใช้ดอกที่แห้งนำมาชงเป็นชาสมุนไพร มีกลิ่นหอม รสเหมือนกับน้ำชาทั่วไป สีเหลืองปนส้ม สรรพคุณช่วยบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ลดระดับคอเลสเตอรอล
ชาใบหม่อน เหมือนใบชาจีน เหมาะนำมาชง สีเขียวปนเหลือง รสฝาดนิดหน่อย สรรพคุณช่วยระงับประสาท คลายกังวล ทำให้ผ่อนคลาย
ชากานพลู นิยมดื่มกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ จะนำเอาดอกตูมมาตากแห้งมา แล้วชงหรือต้มก็ได้ มีสีเหลืองปนน้ำตาล กลิ่นหอมเย็น รสเฝื่อนนิดๆ สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ดับกลิ่นปาก ลดการบีบตัวของลำไส้
ชากิงโกะ (ใบแปะก๊วย) ใช้ต้มหรือชงก็ได้ หากจะชงต้องหั่นใบเป็นฝอยๆ ก่อน มีกลิ่นหอมเหมือนใบชาทั่วไป รสออกขมปนฝาด ชากิงโกะเป็นของจีน สรรพคุณช่วยการสูบฉีดโลหิตไปยังส่วนปลายประสาทให้ดีขึ้น บำรุงประสาท เหมาะสำหรับคนแก่ ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
ชารางจืด ใช้ใบนำมาตากแห้ง แล้วต้มหรือชงเป็นชาสมุนไพร มีกลิ่นหอมอ่อนๆ สีเหลืองอ่อน รสขมแกมฝาดเล็กน้อย บางทีใส่ใบหนุมานประสานกายและใบเตยเข้าไปผสมด้วย สรรพคุณช่วยลดไข้ ถอนพิษได้
ชามิรานี ชัย เป็นชาสมุนไพรค็อกเทล ที่นิยมดื่มในหมู่นักดื่มชาสมุนไพรในตะวันตก ใช้ส่วนผสมน้ำเปล่า 2 ถ้วย ขิงแก่สับ 2 ช้อนชา อบเชย 2 แท่ง พริกไทยเม็ดบุบ 3-4 เม็ด ลูกกระวาน 8-10 ลูก ต้มส่วนผสมทั้งหมดประมาณ 10 นาที แล้วใส่น้ำนมถั่วเหลือง 1/2 ถ้วย ต้มต่ออีก 10 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำใส่แก้วดื่ม อาจจะแต่งรสด้วยน้ำผึ้งและผงลูกจันทน์เทศป่นได้ มีกลิ่นหอมของอบเชยและน้ำนมถั่วเหลือง รสเผ็ดแบบขิงเล็กน้อย
ชาเขียว
ชาไม่หมัก ชาเขียว เป็นชาที่ไม่มีขั้นตอนการหมักใบชาสดระหว่างกระบวนการผลิต โดยนำยอดชาสดมาทำให้แห้ง ใช้วิธีให้ความร้อนหยุดยั้งการสลายตัวของยอดชา หรือปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ ในการย่อยสลายตัวเอง หรือเรียกว่าการหมัก ชาประเภทนี้เป็นชาที่นิยมดื่มกันมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น รสอ่อน สีน้ำชาเป็นสีเขียว หรือเหลืองอมเขียว กากชามีสีเขียวค่อนข้างสดชาเขียวรู้จักกันแพร่หลาย เช่น ชาหลงจิ่ง หวง ซันเหมา ฟง ผู โถ ฉา ชุนหมี่ ชาญี่ปุ่น เป็นต้น ชาเขียวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชาเขียวอบไอน้ำและชาเขียวคั่ว
1.1 ชาเขียวอบไอน้ำ เป็นการแปรรูปชา หยุดกระบวนการทางเคมีในใบชา ด้วยการอบไอน้ำ ในช่วงเวลาสั้น ๆ คือเมื่อเก็บยอดชานำมานึ่งด้วยไออุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0.7 นาที เพื่อหยุดกิจกรรมของเอนไซม์ โพลิฟีน อัลออกซิเดส เสร็จแล้วนำไปนวดอบไอร้อนเพื่อลดปริมาณความชื้นในใบลง ต่อจากนั้นนำมานวดในห้องอุณหภูมิปกติเพื่อทำให้เซลล์แตก และนวดด้วยความร้อนอีก เพื่อทำให้ใบชาม้วนตัวสวยงาม แล้วนำไปอบแห้งให้ความชื้นในใบชาลดเหลือ 4 % ชาเขียวอบไอน้ำส่วนใหญ่ มีการแปรรูปในประเทศญี่ปุ่น สีของน้ำชาประเภทนี้จะมีสีเขียวถึงเขียวอมเหลือง เนื่องจากยังมีครอโรฟิลอยู่
1.2 ชาเขียวคั่ว เป็นชาที่หยุดกระบวนการทางเคมีในยอดชาด้วยการคั่วด้วยกระทะร้อน ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 300-350 องศาเซลเซียส แล้วนำไปนวดให้เซลแตกและม้วนตัว และอบแห้ง ชาเขียวคั่วสามารถแยกได้เป็น 2 แบบ คือ ชาเขียวคั่วหมักอ่อน และชาเขียวที่ไม่มีการหมัก สีน้ำชามีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ส่วนใหญ่มีการแปรรูปในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน และเกาะทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น
ชากึ่งหมัก / ชาอู่หลง
เป็นชาที่มีการหมักใบชาสดในระหว่างการผลิตเพียงบางส่วน โดยเพิ่มการนำยอดชามาผึ่งแดด 20-40 ทำให้อุณหภูมิในยอดชาสูงขึ้น เกิดกลิ่นหอม แล้วนำไปผึ่งในร่มอีกครั้งพร้อมเขย่ากระตุ้นยอดชาให้ตื่นตัว เร่งการหมัก ทำให้สีน้ำมีสีเข้มขึ้น ความแก่อ่อนของการหมักขึ้นกับระยะเวลาการผึ่งและเขย่ากระตุ้น ชนิดชาที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ชาอูหลง ชาประเภทนี้รสชาติน้ำชาเข้มข้นและมีกลิ่นหอม น้ำชามีสีเหลืองอมเขียว น้ำตาลอมเขียว น้ำตาลอมเหลือง น้ำตาลส้ม ขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต กากชาที่มีสีเขียวอมเหลืองนิยมดื่มกันมากในประเทศจีนตอนกลาง แถบมณฑลฝูเจี๋ยน กวางตุ้ง ไต้หวัน เมื่อดื่มชาชนิดนี้จะให้รสฝาด และขมเล็กน้อย ชุ่มคอ
ชากึ่งหมัก เป็นชาประเภทที่ผู้ดื่มชาจีนในประเทศไทยส่วนใหญ่รู้จักดี ชาที่ดื่มจะเป็นชาหมักปานกลาง ค่อนข้างแก่ถึงหมักแก่ ชามีกลิ่นหอม รสฝาดชุ่มคอ ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศจีนแถบมณฑลกวางตุ้ง มณฑลฝูเจี๋ยน ต่อมามีการผลิตชาอูหลงแถบดอยแม่สลอง ดอยวาวี โดยนำเทคโนโลยีการผลิตจากไต้หวัน จึงได้ชาอูหลงที่มีคุณภาพดี กลิ่นหอม รสชาติชุ่มคอ ทำให้ชาอูหลงเป็นที่รู้จักและนิยมดื่มมากขึ้น
ชาหมักหรือชาดำ
เป็นชาที่นิยมดื่มกันทั่วโลก โดยเฉพาะแถบยุโรปหรือพวกฝรั่ง คนไทยจึงเรียกว่าชาฝรั่ง บางคนเรียกชาผง เพราะส่วนใหญ่จะเห็นมีลักษณะเป็นผง บางครั้งเรียกชาดำ ตามลักษณะสีใบชาแห้ง แต่ชาวจีนเรียกชาแดง ตามลักษณะสีน้ำชาเป็นสีส้ม หรือน้ำตาลแดง ชาฝรั่งสันนิษฐานว่ามาจากชาหมักชื่อ เจียน ซี หวู ของชนเผ่าฉี อาศัยอยู่แถบภูเขา หวู่ ยิ เมื่อมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าจากมณฑลกวางตุ้งชาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโบเฮีย และถูกส่งจากมณฑลกวางตุ้งไปประเทศอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 การผลิตชาฝรั่ง จะให้สีและรสชาติเข้มข้นที่สุด น้ำชาเป็นสีส้มหรือน้ำตาลแดง ชาฝรั่งจะนิยมใช้ยอดชาพันธุ์อัสสัม เพราะชาอัสสัมจะมี สารโพลีพินอลสูง ชาประเภทนี้ ได้แก่ ชาคีมุนของจีน ชาของอินเดีย และชาของศรีลังกา
ชาแต่งกลิ่น
ชาเขียว ชาอูหลง หรือชาฝรั่ง สามารถนำมาตกแต่งกลิ่นโดยผสมใส่เครื่องเทศ สมุนไพร กลีบดอกไม้ หรือน้ำมันหอมระเหยต่าง ๆ ลงไปในใบชาก่อนบรรจุ การแต่งกลิ่น ต้องไม่ทำให้รสชาติของชาผิดแปลกออกไป ในสมัยก่อนชาวจีนได้ใส่กลิ่นรสต่าง ๆ ลงไปในชา เช่น ใส่ดอกไม้ ผลไม้ลงไปในชา ชาจีนบางชนิด อาจมีกลิ่นหอมธรรมชาติของกล้วยไม้ป่า เพราะมีกล้วยไม้ป่าขึ้นอยู่ในสวนชา หรือมีกลิ่นดอกไม้หรือผลไม้ เนื่องจากในช่วงที่ต้นชาสร้างยอดและใบใหม่ ใบชามีคุณสมบัติดูดกลิ่นได้ดี การเรียกชื่อใช้ชื่อผลไม้ ดอกไม้ หรือเครื่องเทศที่ใส่ลงไป เช่น ชามะลิ ชากุหลาบ ชาลิ้นจี่ เป็นต้น
ชาแผ่นหรือชาแท่ง
เป็นผลิตภัณฑ์ชาที่ได้จากการนำชาจีนหรือชาฝรั่งมาอัดเป็นก้อนเพื่อสะดวกในการพกพา เมื่อต้องการดื่มเพียงบิใส่ภาชนะ เติมน้ำร้อนลงไปจะได้น้ำชาพร้อมดื่ม ชาอัดเริ่มทำในสมัยราชวังค์ถัง โดยนำใบชามานึ่งแล้วอัดเป็นก้อนแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง ในปัจจุบันใช้ชาผง อัดด้วยความดันเป็นแผ่นยาว แผ่นกลม ลูกบอล รังนก ชามีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันออกไป ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้นิยมบริโภคในแถบตะวันออกกลาง รัสเซียตอนใต้ ธิเบต ประเทศจีนแถบตะวันตกเฉียงเหนือ
ชาสำเร็จรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดละลายน้ำ โดยการทำการสกัดสารในใบชาออกมาเป็นชาเข้มข้น น้ำชาเข้มข้นถูกทำให้แห้งเป็นของแข็ง โดยการฉีดพ่นสารละลายชาเข้มข้นผ่านอากาศร้อน หรือความเย็น ระเหยน้ำออกไปภายใต้สุญญากาศ เมื่อจะดื่มนำมาชงสามารถละลายน้ำได้ทันที สะดวกต่อการบริโภค การผลิตชาสำเร็จรูปสามารถใช้เครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยวมากขึ้น สามารถขนส่งไปยังประเทศผู้บริโภค ได้สะดวก ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง เช่น ชาผงสำเร็จรูปเนสที เป็นต้น
ชาพร้อมดื่ม
เป็นการผลิตน้ำชาบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำชาธรรมดา น้ำชาที่เติมกลิ่นและสี เช่น กลิ่นรสมะนาว รสเบอรี่ พีช เป็นต้น บางครั้งเติมน้ำตาลบรรจุในกระป๋องหรือขวด ทำให้สะดวกต่อการบริโภคและการขาย น้ำชาประเภทนี้เป็นที่นิยมของวัยรุ่น โดยเฉพาะประเทศที่มีอากาศร้อน และนิยมดื่มชาเย็น
ชาเมี่ยง
เมี่ยงหรือชาหมักดอง เป็นผลิตภัณฑ์ชาของท้องถิ่นทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยการนำใบชาสด มามัดเป็นกำ นึ่งแล้วมักทิ้งไว้จนใบชาเปลี่ยนสภาพเป็นสีเหลือง ใบยุ่ย จึงนำมาบริโภค นิยมใช้เป็นของขบเคี้ยว หรืออมเป็นของว่างระหว่างการทำงาน ยามว่างหลังอาหาร หรือชงดื่มกับน้ำร้อน ช่วยผ่อนคลาย ความเหน็ดเหนื่อย ปัจจุบันมีอยู่หลายชนิด เช่น เมี่ยงหวาน เมี่ยงเค็ม เมี่ยงหมี่ เมี่ยงขิง เมี่ยงใส่กระเทียมดอง เป็นต้น
Assam อัสสัม : แหล่งปลูกชาใหญ่ในตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เป็นต้นกำเนิดของชาพันธุ์ Camellia sinensis var. assamica หรือชาพันธุ์อัสสัม ที่นิยมนำมาทำชาฝรั่งหรือชาดำ
Black tea ชาดำ : หมายถึงชาที่หมักนานจนเกิดการ oxidized เต็มที่ ใบชาจะมีสีเข้มถึงดำ รสขม ชาฝรั่งจัดเป็นชาประเภทนี้
Cambric tea ชาเคมบริก : ชาสำหรับเด็ก ชงจากน้ำร้อน นม น้ำตาล และใส่ชาเล็กน้อย มีสีขาวตุ่นๆ แบบผ้าลินินหรือผ้าฝ้ายดิบ จึงเรียกว่า cambric ซึ่งแปลว่าผ้าลินิน
Darjeeling tea ชาดาร์จีลิง : ชาที่ผลิตจากแคว้นเบงกอลตะวันตก แถบเมืองดาร์จีลิง
Earl Grey tea ชาเอิร์ลเกรย์ : ชาชนิดหนึ่งที่ใช้ชาดาร์จีลิง หรือชาซีลอนผสมชากึ่งหมักแบบจีน แล้วแต่งกลิ่นด้วยน้ำมันมะกรูด เหมาะสำหรับดื่มยามบ่ายหรือดื่มไม่ใส่นม ได้ชื่อมาจาก ชาร์ลส์ เกรย์ ซึ่งเป็นเอิร์ลแห่งเกรย์คนที่ ๒ (Charles Grey, 2nd Earl Grey) ผู้ริเริ่มปรุงชาแบบนี้ขึ้นมา
Formosa tea ชาไต้หวัน : ชาที่ผลิตในเกาะไต้หวัน ส่วนใหญ่คือชาอู่หลง
Gyoukuro เกียวกูโระ : แปลว่ามุกน้ำค้าง เป็นชาเกรดดีที่สุดในบรรดาชาเขียวญี่ปุ่น ทำจากยอดชาที่อ่อนที่สุดของต้นชาซึ่งปลูกในโรงเรือนที่พรางแสง ๙๐% ด้วยเสื่อไม้ไผ่หรือเสื่อกกเป็นเวลา ๒๐ วัน เพื่อลดแสงแดดก่อนทำการเก็บ ทำให้ใบมีคลอโรฟีลล์สูงและแทนนินต่ำ ใบชาจะบาง สีเขียวเข้ม ให้น้ำชาสีออกเหลืองปนเขียวอ่อนๆ
Hard ฮาร์ด : คำใช้เรียกชาที่มีรสแรง รสแก่มากๆ ปกติใช้กับชาอัสสัม
Irish Breakfast ไอริช เบรกฟาสต์ : ชาซึ่งมีรสและสีเข้มข้น (แบบคนไอริช) เป็นชาผสมระหว่างชาอัสสัมหลากชนิด บางครั้งก็ใช้ชาจากอินโดนีเซียหรือแอฟริกาผสมด้วย
Jasmine tea ชามะลิ : มีกำเนิดมากว่าพันปีแล้ว เป็นชาแต่งกลิ่นซึ่งได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง เกิดในมณฑลฟูเจี้ยน โดยใช้ชาเขียวหรือชากึ่งหมักไปอบดอกมะลิประมาณ ๔ ชั่วโมง ชาจะดูดกลิ่นหอมของดอกมะลิเก็บไว้ เวลาชงน้ำร้อน กลิ่นมะลิจะหอมกรุ่นขึ้นมาชัดเจน
Keemun tea ชาคีมุน : ชาดำหรือชาหมักที่ผลิตจากมณฑลอันฮุยในภาคกลางของจีน รสชาติติดขม กำเนิดในศตวรรษที่ ๑๙ และได้รับความนิยมในยุโรปอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นองค์ประกอบหลัก ของการดื่มชาแบบอังกฤษ (English Breakfast tea) เป็นต้นกำเนิดของชาฝรั่ง
Lipton, Thomas โทมัส ลิปตัน (๑๘๕๐-๑๙๓๑) : นักเผชิญโชคผู้เกิดในครอบครัวชาวไอริชที่ยากจนในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ ระหว่างที่เป็นกะลาสีบนเรือซึ่งเดินทางไปออสเตรเลีย เขาได้แวะที่ซีลอน (ศรีลังกาในปัจจุบัน) ในช่วงที่การทำไร่กาแฟ บนเกาะซีลอนกำลังซบเซา เนื่องจากการระบาดของโรคราสนิม เขามีโอกาสซื้อไร่กาแฟราคาถูกๆ หลายแห่ง นำมาปลูกชาและผลิตใบชาชั้นดีส่งไปขายยังอังกฤษและสก๊อตแลนด์ โดยขายในร้านชำของตัวเองที่ชื่อว่า LIpton ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วเกาะอังกฤษ จนกลายเป็นมหาเศรษฐีผู้มีชื่อเสียง
Matcha มัตฉะ : แปลตามตัวอักษรญี่ปุ่นได้ว่า "มรกตเหลว" จะเรียกว่าชามรกตก็คงได้ เป็นชาชั้นดีของญี่ปุ่นที่ใช้สำหรับพิธี "ชาโนยุ" หรือพิธีชงชาโดยเฉพาะ เป็นชาเขียวผงละเอียดที่คัดจากยอดชาอ่อนที่สุดในวันแรกของการเก็บชา มัตฉะเกรดดีที่สุดเป็นที่นิยมมากจนไม่เหลือพอให้ส่งออกได้ เวลาชงให้เติมน้ำร้อนลงในผงชา แล้วคนด้วยแปรงไม้ไผ่ น้ำชาจะมีสีเขียวอ่อน ข้น และมีรสฝาด
Oolong อู่หลง : ชากึ่งหมักซึ่งมีชื่อเสียงที่สุด รสชาติเข้มข้น กลิ่นหอม ดื่มแล้วชุ่มคอ ส่วนใหญ่ผลิตจากเกาะไต้หวัน และจากจีน (มณฑลฟูเจี้ยนและเจียงซี) แต่ชาอู่หลงจากไต้หวันได้รับการยกย่องว่าดีที่สุด
Pu-erh ผู่เอ๋อ : พันธุ์ชาจากยูนนาน นิยมทำเป็นชาอัดแท่งสำหรับใช้ทำชาดำ ชาเขียว และชาอู่หลงได้ และมักใช้ดอกเก๊กฮวยผสมเพื่อแต่งกลิ่นด้วย
Russian carravan รัสเซียน คาราวาน : เป็นชาผสมระหว่างชาอู่หลงกับชาจีนรมควัน (lapsang souchong)
Scented tea ชาแต่งกลิ่น : ชาทั้งหลายสามารถนำมาตกแต่งกลิ่นได้ โดยผสมเครื่องเทศ สมุนไพร กลีบดอกไม้ หรือน้ำมันหอมระเหยต่างๆ ลงในใบชาก่อนบรรจุหีบห่อ การแต่งกลิ่นต้องไม่ทำให้รสชาติของชาเสียไป
White tea ชาขาว : ชาจีนที่ใช้เฉพาะยอดชานำมาหมักอ่อนๆ น้ำชาที่ได้จะเป็นสีเหลืองจางๆ เป็นชาที่หาดื่มได้ยาก เพราะผลิตน้อย เช่น ชาเป่าจง ชาไป๋มู่อิ๋งเจิน
ชานางงามตะวันออก หรือ ชายามเย็น สาเหตุที่ได้ชื่อนี้เพราะว่าชาชนิดนี้ช่วงเวลาที่เก็บแล้วได้ชาดีที่สุดคือช่วงพระอาทิตย์อัสดงตอนเย็น และเป็นชาที่เก็บได้เพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้นคือช่วงต้นปี และ ค่อนปลายปีเท่านั้น
ความคิดเห็น