ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #21 : ค้นพบกดไนตริก (ดินประสิว)

    • อัปเดตล่าสุด 25 เม.ย. 52





    เฮนรี่ คาเวนดิช : Henry Cavendish
     


    เกิด        วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1731 ที่เมืองนีซ (Nice) ประเทศอิตาลี (Italy)
    เสียชีวิต วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1810 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
    ผลงาน   - ค้นพบสารประกอบน้ำซึ่งมีสูตรทางเคมีว่า H2O หมายถึง ไฮโดรเจน 2 ส่วน ออกซิเจน 1 ส่วน (โดยปริมาตร)
                 - ค้นพบกฎพื้นฐานทางไฟฟ้า
                 - ค้นพบก๊าซไฮโดรเจน
                 - ค้นพบกรดไนตริก หรือกรดดินประสิว

            แม้ว่าน้ำจะเป็นสารประกอบธรรมดา ทำให้ไม่มีนักวิทยาศาสตร์ผู้ใดให้ความสนใจ แต่การค้นพบสารประกอบน้ำ และการค้นพบ
    สมบัติของธาตุ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับการค้นคว้างานด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านเคมี และนักวิทยาศาสตร์ที่
    ค้นพบผลงานดังกล่าวก็คือ เฮนรี่ คาเวนดิช

             คาเวนดิชเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1731 ที่เมืองนีซ ประเทศอิตาลี ครอบครัวของคาเวนดิชถือว่าร่ำรวยและมีชื่อเสียงมาก
    ทีเดียว บิดาของเขาเป็นท่านลอร์ด ชื่อว่า ชาร์ล คาเวนดิช (Lord Charles Cavendish) ส่วนปู่ของเขาก็เป็นดยุคแห่งดีวอนไชร์
    ที่ 2 (Duke of Devonshire II) จากฐานะที่ร่ำรวย ทำให้คาเวนดิชได้รับการศึกษาที่ดี และมีเงินทุนสำหรับการทดลอง
    วิทยาศาสตร์ คาเวนดิชเริ่มต้นการศึกษาขั้นแรกเมื่ออายุได้ 11 ปีที่โรงเรียนเฮคเนย์ (Hackney) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
    หลังจากจบการศึกษาที่โรงเรียนเฮคเนย์ คาเวนดิชได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยปีเตอร์ (Peter College) ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
    (Cambridge University) เมื่อจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แล้ว คาเวนดิชได้เดินทางกลับบ้านเพื่อทำการทดลอง
    วิทยาศาสตร์ และศึกษางานด้านวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง โดยเขาได้สร้างห้องทดลองขึ้นที่บ้านของเขาเอง ซึ่งเป็นห้องทดลองที่
    ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้นก็ว่าได้

             คาเวนดิชทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทดลอง ในปี ค.ศ. 1765 เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความร้อน และค้นพบ "กฎพื้น
    ฐานทางไฟฟ้า" ว่าถ้าหากนำประจุไฟฟ้า 2 ขั้ว มาเชื่อมต่อกัน จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากขั้วหนึ่งไปอีกขั้วหนึ่ง จนเกิดสมดุลกระแส
    ไฟฟ้า ไฟฟ้าจึงหยุดไหล จากหลักการอันนี้คาเวนดิชได้ประดิษฐ์หม้อเก็บกระแสไฟฟ้าขึ้น และนำมาใช้ในการทดลองของเขาด้วย
    จากนั้นเขาได้ทำการทดลองต่อไป จนค้นพบก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen) แต่เขาเรียกก๊าซไฮโดรเจนว่า "Inflammable air"
    แปลว่า ก๊าซที่สามารถติดไฟได้ ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามสมบัติที่สามารถติดไฟได้ของก๊าซชนิดนี้

             ต่อมาคาเวนดิชได้ทำการทดลองตามสมมติฐานของ คาร์ล วิลเฮล์ม เชย์เลอร์ (Karl Wilhem Scheele) ที่ว่า ออกซิเจน
    1 ส่วน กับไฮโดรเจน 2 ส่วน (โดยปริมาตร) เผารวมกันแล้วจะเกิดการระเบิดและสลายตัวไป คาเวนดิชได้ทำการทดลองโดยการ
    บรรจุก๊าซไฮโดรเจน และออกซิเจน ไว้ในขวดแก้วอย่างหนาจากนั้นก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าลงไปในขวด ปรากฏว่าเกิดการระเบิดขึ้น
    ภายในขวด แต่ขวดไม่เป็นอะไร จากนั้นคาเวนดิชสังเกตเห็นว่าภายในขวดมีละอองน้ำเขาเริ่มสงสัยว่าน้ำมาจากไหน และทำการ
    ทดลองซ้ำอีกหลายครั้ง เพื่อค้นหาที่มาของน้ำ ในที่สุดเขาก็พบสมบัติของน้ำว่าไม่ใช่ธาตุ แต่เป็นสารประกอบโดยมีส่วนประกอบ
    ของไฮโดรเจน (Hydrogen) และออกซิเจน (Oxygen) โดยเขียนเป็นสัญลักษณ์ทางเคมีได้ดังนี้ H2O ซึ่งหมายถึง ไฮโดรเจน
    2 ส่วน ออกซิเจน 1 ส่วน (โดยปริมาตร)

             สิ่งที่เขาค้นพบอีกอย่างหนึ่งจากการทดลองครั้งนี้คือ กรดไนตริก (Nitric acid) หรือกรดดินประสิว ว่าประกอบไปด้วย
    ไนโตรเจน และก๊าซอีก 2 ชนิด คือ ออกซิเจน และไฮโดรเจน การพบกรดไนตริกนี้เกิดจากที่คาเวนดิชสังเกตว่าน้ำที่ได้จากการทดลอง
    ไม่ได้เป็นน้ำบริสุทธิ์ทุกครั้งไป แต่บางครั้งน้ำมีฤทธิ์เป็นกรด

             ในปี ค.ศ. 1803 คาเวนดิชได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of
    London) และในปีเดียวกัน เขาก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของราชสมาคมแห่งฝรั่งเศส (Royal Society of Franc)
    ซึ่งมีชาวต่างประเทศเป็นสมาชิกอยู่เพียง 8 คน เท่านั้น

             คาเวนดิชเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1810 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากผลงานและความสามารถของเขา
    ในปี ค.ศ. 1874 ทางรัฐบาลอังกฤษได้สร้างห้องทดลองที่มีอุปกรณ์อันทันสมัยขึ้นมาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์
    ในความสามารถของเฮนรี่ คาเวนดิชนักฟิสิกส์และเคมีผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ และได้ตั้งชื่อห้องทดลองนั้นว่า ห้องทดลองทางฟิสิกส์
    คาเวนดิช (Cavendish Physical Laboratory)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×