ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #16 : ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า O_O

    • อัปเดตล่าสุด 14 เม.ย. 52





    โทมัส อัลวา เอดิสัน : Thomas Alva Edison
     

    เกิด        วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1847 เมืองมิลาน (Milan) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State
                 of America)
    เสียชีวิต วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1931 ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
    ผลงาน
      - ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
                 - เครื่องเล่นจานเสียง
                 - กล้องถ่ายภาพยนตร์
                 - เครื่องขยายเสียง
                 - หีบเสียง
                 - เครื่องบันทึกเสียง

            ถ้าจะพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่แล้ว คงจะไม่มีใครเหนือกว่าเอดิสัน เอดิสันประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เป็น
    ประโยชน์จำนวนมากกว่า 1,000 ชิ้น นอกจากนี้เขายังปรับปรุงเครื่องใช้ที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โทรศัพท์
    เครื่องส่งโทรเลข เป็นต้น ผลงานการประดิษฐ์ของเขาเป็นสิ่งที่สร้างความสะดวกสบาย และเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับ
    สาธารณชน

             เอดิสันเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1847 ที่เมืองมิลาน มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า แซมมวล
    เอดิสัน (Samuel Edison) ประกอบธุรกิจในประเทศแคนาดา และได้เข้าร่วมกับขบวนการต่อต้างรัฐบาล เมื่อฝ่ายต่อต้านพ่ายแพ้
    เขาจึงต้องลี้ภัยการเมืองมาอยู่ที่ประเทศสหรัฐฯ และทำธุรกิจเกี่ยวกับไม้แปรรูปทุกชนิด เมื่อเอดิสันอายุได้ 7 ขวบ ครอบครัวเขาได้
    อพยพไปอยู่ที่เมืองพอร์ตฮิวรอน (Port Huron) รัฐมิชิแกน (Michiganป เนื่องจากกิจการของครอบครัวประสบปัญหา และเขา
    ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนในเมืองพอร์ตฮิวรอนนั่นเอง แต่เขาไปโรงเรียนได้เพียง 3 เดือน เท่านั้นก็ไม่ยอมไปอีก ด้วยความ
    ที่เขาเป็นเด็กซุกซนอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา ทำให้ถูกครูตำหนิและลงโทษ เมื่อเขาออกจากโรงเรียนมารดาจึงรับหน้าที่เป็นครูสอน
    หนังสือให้เขา เขาเรียนหนังสือยู่เพียง 2 ปี เท่านั้น ก็สามารถอ่านเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว

            สิ่งที่เอดิสันให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ วิทยาศาสตร์ การทดลอง และการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ดังนั้นเขาจึงเริ่มหางานทำ
    ตั้งแต่อายุได้ 12 ปี เพื่อหาเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการสร้างห้องทดลองวิทยาศาสตร์ อีกทั้ง
    เขาไม่ค่อยชอบเรียนหนังสือในโรงเรียน เอดิสันได้งานทำในบริษัทรถไฟแกรนทรังค์ (Grand Trank Train Company)
    ในหน้าที่เด็กขายหนังสือพิมพ์ บนรถไฟสายพอร์ตฮิวรอน - ดีทรอยต์ (Port Huron - Detroit) เอดิสันได้ใช้ตู้รถไฟตู้หนึ่งเป็น
    ที่พัก เก็บสารเคมี และหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขามักใช้เวลาว่างส่วนใหญ่อยู่ในห้องพักเพื่ออ่านหนังสือ และทำการทดลอง
    วิทยาศาสตร์ เอดิสันได้ทำงานอยู่ระยะหนึ่งเขาก็สามารถเก็บเงินได้จำนวนหนึ่ง เขานำเงินไปซื้อแท่นพิมพ์เล็ก ๆ เครื่องหนึ่ง เพื่อมา
    พิมพ์หนังสือพิมพ์ของเขาเอง ซึ่งเขาเป็นเจ้าของบรรณาธิการ นักเขียน และพนักงานขายหนังสือพิมพ์ด้วย หนังสือพิมพ์ของ
    เอดิสันมีชื่อว่า Grand Trank Herald ซึ่งขายดีมาก เอดิสันได้นำเงินกำไรส่วนหนึ่งซื้ออุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์
    สารเคมี แร่ และหนังสือวิทยาศาสตร์ แต่วันหนึ่งเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อรถไฟเกิดกระชากอย่างแรงทำให้แท่งฟอสฟอรัส
    ตกกระแทกพื้น แล้วเกิดระเบิดอย่างแรง ทำให้ไฟไหม้ตู้รถไฟของเขา แต่โชคดีที่ดับไฟทันไม่ได้ลุกลามไปตู้อื่น แต่ถึงอย่างนั้นเขา
    ก็ถูกไล่ออกจากงาน และทำให้หูของเขาต้องพิการ
            
             วันหนึ่งเขาได้ช่วยชีวิตลูกชายของนายสถานีที่กำลังวิ่งเล่นอยู่บนรางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังจะเข้าสถานี เอดิสันกระโดด
    ลงไปอุ้มเด็กน้อยคนนั้นขึ้นมาได้ทันเวลาก่อนที่รถไฟจะทับเด็ก นายสถานีจึงสอนการส่งโทรเลขให้กับเอดิสันเป็นการตอบแทน
    เมื่อเอดิสันมีความชำนาญในการส่งโทรเลขมากขึ้น ในปี ค.ศ.1862 เขาจึงเช่าที่ว่างในร้านขายยาบริเวณใกล้กับสถานีรถไฟ
    เปิดร้านรับจ้างส่งโทรเลขแต่กิจการไม่ค่อยดีนัก เพราะมีร้านรับจ้างส่งโทรเลขหลายร้าน ส่วนร้านของเขาเป็นร้านเล็ก ๆ ที่พึ่งเปิด
    กิจการ จากนั้นเอดิสันจึงหันมาทำกิจการขายเครื่องจักร โดยเช่าส่วนหนึ่งของร้านขายของเปิดแผนกจำหน่ายเครื่องจักรขึ้น

             ในระหว่างที่เอดิสันทำกิจการจำหน่ายเครื่องจักร เขาได้ใช้เวลาว่างประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นหลายชิ้น เช่น
    เครื่องบันทึกคะแนนเสียงในรัฐสภา แต่เมื่อผลิตออกจำหน่ายกลับไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก เครื่องพิมพ์ราคาตลาดหุ้น และเครื่อง
    โทรเลข 2 ทาง ซึ่งประสบความสำเร็จในการทดลองส่งเป็นอย่างดี เอดิสันได้นำผลงานชิ้นนี้ไปเสนอต่อบริษัทเวสเทิร์ส ยูเนียน
    เทเลกราฟ (Western Union Telegraph Company) แต่ได้รับการปฏิเสธ ดังนั้นเอดิสันจึงนำผลงานไปเสนอต่อบริษัท
    โทรเลขแอตแลนติก และแปซิฟิก (Atlantic and Pacific Telegraph Company) ทางบริษัทยอมรับผลงานของเขา
    แต่เอดิสันโชคร้ายเมื่อเขาทำการทดลองส่งสัญญาณจากนิวยอร์คถึงโรเชสเตอร์ ปรากฏว่าเกิดขัดข้องไม่สามารถส่งสัญญาณได้
    ทำให้เมื่อเขากลับมาที่เมืองบอสตันก็ต้องได้รับความลำบากเพราะไม่มีทั้งเงิน และงานก็ไม่มีทำ แต่เอดิสันก็ยังโชคดีอยู่บ้างเมื่อเขา
    พบกับวิศวกรไฟฟ้าผู้หนึ่ง ชื่อ แฟรงคลิน โปป (Franklin Pope) ได้ให้พักอาศัยอยู่ด้วย และฝากงานให้ทำในบริษัทแจ้งราคา
    ทอง ลอว์โกลด์ อินดิเคเตอร์ (Lawglod Indicator) ซึ่งโปปทำงานอยู่ เอดิสันได้เข้าทำงานในตำแหน่งช่างโทรเลขประจำบริษัท
    ด้วยความสามารถของเอดิสันเขาสามารถซ่อมเครื่องส่งโทรเลขได้เป็นอย่างดี และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยของโปป และเมื่อ
    โปปลาออก เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งแทนโปป ต่อมาบริษัทได้รวมกิจการเข้ากับบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน เทเลหราฟเอดิสันจึงลาออก
    หลังจากนั้นเขาได้เปิดบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกับโปป และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งชื่อว่า เจ.เอช.แอชลีย์ เอดิสันต้องทำงานหนัก
    อยู่เพียงลำพังต่างกับหุ้นส่วนที่คอยรับผลประโยชน์ แต่เมื่อผลกำไรออกมาทุกคนต่างก็ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ทำให้เอดิสันรู้สึก
    ไม่พอใจที่ถูกเอาเปรียบเช่นนี้

             ดังนั้นในปี ค.ศ.1871 เอดิสันจึงถอนหุ้นออกจากโรงงาน และเดินทางไปยังเมืองนิววาร์ด รัฐนิวเจอร์ซี (New Jersey)
    เพื่อเปิดบริษัทผลิตเครื่องใช้ต่าง ๆ บริษัทของเอดิสันประสบความสำเร็จอย่างมาก จากการจำหน่ายเครื่องป้องกันความผิดพลาด
    ของใบแจ้งราคาหุ้น ต่อมาในปี ค.ศ.1876 เอดิสันได้ย้ายโรงงานไปที่เมืองเมนโล ปาร์ค (Menlo Park) รัฐนิวยอร์ค
    (New York) และในปีเดียวกันนี้อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) สามารถประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้น
    เป็นผลสำเร็จ ส่งผลให้บริษัทโทรเลขประสบปัญหาขาดทุนอย่างรุนแรงดังนั้นบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน เทเลกราฟ จึงได้ว่าจ้าง
    เอดิสันปรับปรุงโทรศัพท์ของเบลล์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เอดิสันได้พยายามหาวัสดุชนิดอื่น เพื่อใช้แทนแผ่นเหล็กที่เบลล์ใช้ใน
    โทรศัพท์ จนกระทั่งเอดิสันทดลองนำคาร์บอนมาทาบริเวณแผ่นเหล็ก ปรากฏว่าได้ยินเสียชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมในเวลา
    ไม่นานนัก ถึงแม้ว่าโทรศัพท์จะจำหน่ายได้ดีเพียงใด เอดิสันก็ได้รับค่าตอบแทนเพียง 100,000 ดอลลาร์เท่านั้น แต่ประโยชน์ที่
    เอดิสันได้รับนอกจากเงินก็คือ ระหว่างที่เขาปรับปรุงโทรศัพท์อยู่นั้น เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องหลายอย่าง และจากการปรับปรุง
    โทรศัพท์ครั้งนี้ทำให้เขาได้พบวิธีประดิษฐ์หีบเสียง ในปี ค.ศ.1877 ซึ่งใช้หลักการเดียวกับโทรศัพท์ คือ เมื่อมีเสียงส่งผ่านเข้าไป
    จะทำให้โลหะที่อยู่ภายในสั่น ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดเสียง เมื่อผลงานชิ้นนี้ของเขาได้เผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าได้รับความนิยม
    เป็นอย่างมาก เอดิสันได้ปรับปรุงหีบเสียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งประดิษฐ์ของเขาอีกชิ้นหนึ่ง ก็คือ เครื่องบันทึกเสียง

             เครื่องบันทึกเสียงของเขาประกอบไปด้วยกระบอกสูบเป็นร่องที่เป็นลานเกลียวยาวอันหนึ่ง ซึ่งหมุนไปด้วยข้อเหวี่ยง ทั้งสอง
    ด้านของกระบอกสูบนี้เป็นท่อเล็ก ๆ พร้อมกับมีแผ่นกะบัง และเข็มเขาได้ส่งแบบเครื่องบันทึกเสียงพร้อมกับคำแนะนำให้กับ
    จอห์น ครุยส์ (John Kruesi) หัวหน้าผู้ช่วยของโรงงาน เมื่อครุยส์นำเครื่องกลที่สร้างเสร็จแล้วมาให้เอดิสัน แต่ครุยส์ก็ยังไม่
    เข้าใจว่าเครื่องกลนี้มีประโยชน์อย่างไร จนกระทั่งเอดิสันพูดใส่ลงไปในกระบอกสูบว่า"Mary have a small sheep"
    และหมุนเครื่องอีกครั้ง ก็มีเสียงดังออกมาว่า "Mary have a small sheep" สร้างความประหลาดใจให้กับคนงานในโรงงาน
    เป็นอย่างมาก เครื่องบันทึกเสียงถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นที่เขาชื่นชอบมากที่สุด ต่อมาเขาได้ปรับปรุงเครื่องบันทึกเสียงมาเป็นเครื่อง
    บันทึกโทรเลข (Automatic Telegraph Repeater)

             เอดิสันได้นำผลงานทั้งสองชิ้นไปแสดงให้อัลเฟรด อีลีบัช (Alfred Dlybeah) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไซแอนติฟิค
    อเมริกัน (Scientific American Newspaper) เมื่ออีลีบัชได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ของเอดิสัน เขารู้สึกตื่นเต้นมาก และได้นำผลงาน
    ทั้ง 2 ชิ้น ของเอดิสันลงในหนังสือพิมพ์ เมื่อข่าวนี้เผยแพร่ออกไปทำให้เอดิสันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และได้รับการยกย่องเป็นอย่าง
    มาก เอดิสันได้รับเชิญจากบุคคลสำคัญหลายท่าน ให้นำผลงานของเขาไปแสดงให้ดู เช่น ลูเธอร์ฟอร์ด บีชาร์ด เฮส์ (Rutherford
    Birchard Hayes) ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา พระราชินีแห่งอังกฤษกษัตริย์แห่งรัสเซีย รวมถึงประธานาธิบดีแห่งเยอรมนี
    ด้วย

             เอดิสันยังคงค้นคว้าและประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ต่อไป ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุดก็คือ หลอดไฟฟ้า ก่อนหน้านั้น
    เซอร์ฮัมฟรี เดวี่ (Sir Humphry Davy) ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้าโดยการนำลวดมาต่อเข้ากับขั้วบวกและลบ ของแบตเตอรี่
    ขนาดใหญ่ เมื่อเอาปลายของลวดทั้งสองเข้ามาใกล้ ๆ กัน ปรากฏว่าเกิดประกายไฟกระโดดข้ามไปมา โดยประกายไฟกระโดด มีลักษณะโค้งเล็กน้อยอีกทั้งมีแสงสว่างออกมาด้วย ต่อมาเขาได้ทำการทดลองเช่นนี้ในสูญญากาศและผลจากการทดลองครั้งนี้
    เดวี่ได้นำไปประดิษฐ์หลอดไฟ โดยตั้งชื่อหลอดไฟฟ้าชนิดนี้ว่า Arc Light แต่เส้นลวดไม่สามารถทนความร้อนได้สูง ทำให้
    การใช้งานของหลอดชนิดนี้มีอายุสั้น จากการทดลองของเดวี่ เอดิสันจึงได้พยายามค้นหาตัวนำที่สามารถทนความร้อนได้สูง
    เอดิสันทดลองใช้วัสดุมากกว่า 10,000 ชนิด มาทำการทดลองใช้เป็นไส้ของหลอดไฟ และในปี ค.ศ.1879 เอดิสันก็พบว่า
    เมื่อนำเส้นใยที่ทำด้วยฝ้ายมาทำด้าย จากนั้นนำมาเผาไฟจะได้ถ่านคาร์บอนที่ทนความร้อนได้สูง จากนั้นจึงนำมาบรรจุไว้ในหลอด
    สูญญากาศ หลอดไฟของเอดิสันสามารถจุดให้แสงสว่างได้นานถึง 45 ชั่วโมง หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีชื่อว่า Incandesent
    Electric Lamp แต่ถึงอย่างนั้นเอดิสันก็ยังต้องการหาวัสดุที่ดีกว่า เขาได้ส่งคนงานจำนวนหนึ่งออกไปเสาะหาวัสดุที่ดีกว่าฝ้าย
    และในที่สุดเขาก็พบว่าเส้นใยของไม้ไผ่ในประเทศญี่ปุ่นมีคุณภาพดีกว่า แต่ถึงกระนั้นหลอดไฟฟ้าของเอดิสันก็ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไร
    นัก เพราะราคาค่าไฟฟ้าในขณะนั้นแพงมาก

              เอดิสันจึงเดินทางกลับมานิวยอร์คอีกครั้งหนึ่ง และก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Edison Electric Limit Company เพื่อสร้าง
    เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการนำไดนาโมของไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faradayป มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    เขาได้ตั้งชื่อเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเครื่องนี้ว่า "Beauty Mary Ann" ตามชื่อของภรรยาของเขา จากนั้นเอดิสันได้วางสาย
    ไฟฟ้าไปทั่วเมืองนิวยอร์ค ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสได้ใช้ไฟฟ้ากันอย่างทั่วถึง นับว่าเอดิสันเป็นผู้ที่บุกเบิกกิจการไฟฟ้าในประเทศ
    สหรัฐอเมริกาเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้เขายังสร้างเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า และสายดินเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าอีกด้วย กิจการของ
    เอดิสันดำเนินไปได้ด้วยดีทั้งการจำหน่ายหลอดไฟฟ้า และจำหน่ายกระแสไฟฟ้า

             ต่อมาในปี ค.ศ.1889 เขาได้ประดิษฐ์เครื่องมือเกี่ยวกับการถ่ายภาพขึ้น โดยใช้หลักการเดียวกับเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งต่อมา
    ได้พัฒนามาเป็นการถ่ายภาพเคลื่อนไหว หรือกล้องถ่ายภาพยนตร์ แต่ในขั้นแรกภาพที่ถ่ายยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ต่อมาในปี
    ค.ศ.1912 เขาได้ปรับปรุงและทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกจากกล้องถ่ายภาพยนตร์แล้วเขายังสร้างเครื่องฉายภาพยนตร์ ขึ้นด้วย
    ต่อจากนั้นเอดิสันได้สร้างภาพยนตร์ที่พูดได้ครั้งแรกของโลกขึ้น โดยใช้เครื่องบันทึกเสียงเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการฉาย
    ภาพยนตร์ เขาได้ว่าจ้างนักแสดงจากบรอดเวย์ (Broadway) มาแสดงในภาพยนตร์ของเขา ภาพยนตร์เครื่องแรกของเอดิสัน
    ชื่อว่า Synchronized Movie

             ผลงานของเอดิสันยังมีอีกหลายชิ้น ได้แก่ เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เครื่องอัดสำเนา (Duplicating
    Machine) และแบตเตอรี่ที่ทำจากนิกเกิลและเหล็ก เป็นต้น เอดิสันได้ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการประดิษฐ์คิดค้น เครื่องมือ
    เครื่องใช้ต่าง ๆ อยู่เสมอ การที่เขาทำงานอย่างหนักและพักผ่อนเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมง เท่านั้น ทำให้เอดิสันได้ล้มป่วยลงด้วยโรค
    กระเพาะ เบาหวาน และปัสสาวะเป็นพิษแต่เมื่ออาการทุเลาลง แทนที่เขาจะหยุดพักผ่อนกลับไปทำงานอย่างหนักอีก ทำให้อาการ
    ป่วยกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง และเป็นสาเหตุทำให้เขาเสียชีวิตในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1931 จากนั้นรัฐบาลได้สร้างหลอดไฟฟ้าที่ใหญ่
    ที่สุดในโลก ไว้บนยอดเสาสูง 13 ฟุต 8 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ฟุต 2 นิ้ว หนัก 3 ตัน มีหลอดไฟบรรจุอยู่ภายในถึง 12 ดวง
    ซึ่งมีกำลังไฟฟ้ารวมกันถึง 5,200 วัตต์ หลอดไฟฟ้าอันนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1934 เพื่อระลึกถึงคุณประโยชน์ที่เขาได้สร้างเอาไว้



    เครดิต http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/Thomas%20Alva%20Edison.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×