คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : บทนำ
ก่อนที่กษัตริย์เขมรจะก่อตั้งเมืองพระนครเมื่อตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ได้มีราชวงศ์ต่างๆ ปกครองเหนือดินแดนแถบนี้มาก่อนแล้ว โดยตั่งอยู่บนฝั่งแม้น้ำโขงในเขตบาสัก ปัจจุบันอยู่ในประเทศลาว ตั้งอยู่ใกล้กับจังหวัดกำพงธม ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 นั้น เราได้เห็นประเพณีทางสถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างกันเป็นสองสายอย่างชัดเจน สายหนึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นสิ่งก่อสร้างโดยรอบปราสาทสมไบร์ไพรกุก(ใกล้กับกำพงธม) ส่วนอีกสายหนึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากชวา ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นสิ่งก่อสร้างที่พนมกุเลนด้วย และด้วยการหลอมรวมของประเพณีสองแนวทางนี้เอง อารยธรรมแห่งเมืองพระนครก็ได้ก่อเกิดขึ้นมาในที่สุด
ดังนั้น ระบบชลประทานซึ่งมีพื้นฐานจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จึงเป็นไปในสองลักษณะที่แตกต่างกัน ลักษณะแลกที่วัดภู เป็นพนังหรือทำนบกั้นน้ำ รูปทรงคล้ายตัว U ในภาษาอังกฤษ ตั้งอยู่ใกล้แหล่งที่มีลำน้ำขนาดเล็ก ในขณะที่บนที่ลาดของพนมกุเลนนั้น พนังถูกสร้างขึ้นเพื่อกั้นลำน้ำที่ไหลลงมาจากเนินเขา ซึ่งอาจเป็นการเลียนแบบชาวชวาก็เป็นได้
เมื่อกษัตริย์เขมรเริ่มก่อตั่งเมืองพระนคร ณ ที่ซึ่งปัจจุบัน คือ ตำบลร่อลวย ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นที่ราบ โปรดให้สร้างพนักสูง เพื่อกั้นลำน้ำสายเล็กสายน้อยที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งต่อมากลายเป็นที่ตั้งของปราสาทโลเลย แต่เนื่องจากปริมาณของตะกอนและดินเลนทับถมกันขึ้นอย่างรวดเร็วจากการก่อพนัง ทำให้มีความจำเป็นต้องสร้างพนังขนาดเล็กอีกสองแห่งในแนวตั้งฉากกับพนังแห้งแรก การสร้างพนังในลักษณะนี้จึงไปซ้ำรอยกับเทคนิคการสร้างที่วัดภูโดยปริยาย ซึ่งที่จริงแล้วการสร้างพนังใหม่นี้ มีความตั้งใจเพียงแค่จะกั้นน้ำไว้ไม่ให้ไหลทะลักออกจากที่เก็บเท่านั้น แต่เมื่อมีการสร้างพนังเพิ่มเติมทางทิศเหนือเป็นแนวยาว ขนานกับพนังแห่งแรกทางทิศใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจำกัดปริมาณของดินทรายที่จะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ ผลที่เกิดจากการพัฒนาการอันสลับซับซ้อน สิ่งที่ปรากฏออกมาก็คือ บารายนั่นเอง
ในรัชกาลพระเจ้าอินทรวรมันที่1 พ.ศ.2413 จึงมีการสรรหาที่ตั้งแห่งอื่นเพื่อสร้างเมืองหลวงใหม่ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่ดีกว่าเดิมและการที่เมืองพระนครได้รับเลือกก็เพราะมีแม่น้ำเสียมเรียบที่ไหลมาจากพนมกุเลน ทำให้มีน้ำไหลเข้าสู่บารายในแต่ละปีอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ และในคริสต์ศตวรรษที่7 มีการสร้างปราสาทออกยม เป็นเทวสถานบูชาพระศิวะ
งานชินแรกของพระเจ้าอินทรวรมันที่1 ที่เมืองพระนครก็คือ วางผังสร้างบารายตะวันออก ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และปราสาทพนมบาแค็ง ควบคู่กันไป แต่พระเจ้าอินทรวรมันที่1ก็ทรง
สวรรคตเสียก่อนที่บารายตะวันออกและปราสาทพนมบาแค็งจะแล้วเสร็จ และพระเจ้ายโสวรมันที่1ก็ทรงสร้างต่อจนเสร็จใน พ.ศ.1433
แต่บารายตะวันออกที่สร้างไว้เกิดตืนเขินด้วยตะกอนดินทรายที่พอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ว่า ทำจึงต้องย้ายเมืองหลวงไปเกาะแกร์ ระยะหนึ่งนั่นคือช่วง พ.ศ.1464 ถึง พ.ศ.1484 ในช่วงนั้นงานโยธาขนาดใหญ่ก็ดำเนินไปที่บารายตะวันออก ซึ่งรวมถึงการก่อเสริมพนังให้สูงกว่าเดิม และสร้างพนังทางตอนใต้ของบารายให้มีระยะทางยาวออกไปอีก การเพิ่มความสูงของพนังดังกล่าวเป็นไปได้ว่า มีส่วนทำให้บาร่ายแห่งนี้มีหน้าที่ใหม่นอกจากเป็นอ่างเก็บน้ำ นั้นคือการป้องกันการเกิดน้ำท่วมในที่เพาะปลูกอีกด้วย
เมื่อพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ทรงตัดสินใจย้ายกลับเมืองพระนคร สิ่งที่พระองค์ดำเนินการเป็นอันดับแรกใน พ.ศ. 1495 ก็คือการสร้างปราสาทแม่บุญตะวันออก ขึ้นเป็นเกาะกลางน้ำ ตรงบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของบารายตะวันออก เพื่ออุทิศถวายแด่ พระบิดาให้แล้วเสร็จ ในขณะเดียวกันก็สร้างปราสาทรูปทรงพีระมิดขึ้นทางตอนใต้ของบารายแห้งนี้ นั่นคือ ปราสาทแปรรูป เพื่อเป็นปราสาทประจำราชกาลของพระองค์ ซึ่งก็สามารถสร้างแล้วเสร็จ พ.ศ.1504
ในตอนปลายของคริสต์สตวรรษที่ 10 ภาคตะวันออกทั้งหมดของเมืองพระนครมีการสร้างงานสถาปัตยกรรมอย่างหนาแน่นมีการสร้างศาสนสถานหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปราสาท
บัตชุม เพื่อใช้ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา และปราสาทกระวัน เพื่ออุทิศให้กับพระวิษณุ นอกจากนี้ยังมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดย่อม นั่นคือสระสรง สระนี้สร้างขึ้นเพื่อเสริมพระสิทธิภาพการเก็บน้ำเพิ่มเติมจากบารายตะวันออก และเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ก็มีการสร้างปราสาทตาแก้ว ซึ่งตั้งอยู่บนการเชื่อมต่อระหว่างพระราชวังหลวงกับบารายตะวันออก งานก่อสร้างปราสาทตาแก้วต้องหยุดชะงักเพราะเกิดฟ้าผ่าลงบริเวณที่ก่อสร้าง แต่หลักฐานการจารึกที่พบแสดงให้เห็นว่า งานก่อสร้างที่ทิ้งค้างไว้ได้ดำเนินต่อไป โดยหินที่มีคุณภาพแตกต่างจากของเดิม
เมื่อพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ขึ้นมามีอำนาจในระหว่าง พ.ศ. 1545-1593 พระองค์ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเมืองพระนครใหม่ให่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ทรงแปลงรูปแบบพระราชวังหลวงให้มีกำแพงรอบรอบ โดยเจาะช่องให้มีทางเข้าออกเทวสถานได้ มีการสร้างปราสาท พิมานอากาศ ขึ้นเมื่อตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9ปราสาทแห่งนี้ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไป ได้กลายเป็น
ศาสนสถานแห่งพระราชวังหลวงโดยปริยาย
และด้วยเหตุผลนี้เอง พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 จึงตัดสินใจสร้างปราสาทใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ในใจกลางเมืองหลวงของพระองค์ นั่นคือปราสาท บาปวน แม้พระองค์จะไม่มี พระชนชีพยืนยาวพอจะเห็นงานที่เริ่มไว้แล้วเสร็จ แต่ผู้ที่ครองราชย์จากพระองค์ คือ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ก็ทรงสานต่องานนี้ใหม่ในราว พ.ศ. 1603
สิ่งก่อสร้างซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่ในรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 คือ บารายตะวันตก บริเวณใจกลางบารายมีปราสาทที่สร้างขึ้นบนเกาะกลางน้ำ นั่นคือปราสาทแม่บุญตะวันตก ซึ่งมีบทบาทสำคัญกับบารายด้วย เพราะภายในปราสาทมีสระขนาดเล็กซึ่งรอมรอบด้วยกำแพงหินเรียบที่เจาะเป็นช่อง และมีเส้นแกน ที่ทำเป็นเครื่องหมายไว้ด้วยปรางค์องค์ย่อม ๆ จากปรางค์บนเส้นแกนด้านตะวันออก มีพนังขนาดสั้นที่นำไปสู่ยกพื้นอันก่อขึ้นกลางสระ
ทั้งที่ศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะ แต่แทนที่จะมีการสร้างศิวลึงค์ เป็นรูปแทนกลมมน ดังที่ทำกันเป็นปกติในเมืองพระนคร ศิวลึงค์ที่นี่กลับกลวงเป็นโพรง และเชื่อมต่อด้วยท่อสำริดยาวไปจนถึงพื้นน้ำ เมื่อในบารายน้ำเต็ม น้ำก็จะเอ่อเข้าสู่ศิวลึงค์ และไหลผ่านท่อไปยังภาชนะที่รองรับตามจุดต่าง ๆ สรุปความก็คือศิวลึงค์ที่ปราสาทแม่บุญตะวันตกนั้น ทำหน้าที่คล้ายกับไนโลมิเตอร์ ที่ใช้วัดระดับน้ำซึ่งใช้กันในประเทศอียิปต์ ด้วยเหตุนี้เมื่อศิวลึงค์มีน้ำบรรจุอยู่เต็ม จึงมิใช่เป็นเพียงการแสดงออกถึงพลังสร้างสรรค์หรือการให้กำเหนิดชิวิตของเทพเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวบอกถึงพลังของน้ำในบารายซึ่งมองเห็นได้จากศิวลึงค์
น่าเสียดายว่าระบบการตรวจสอบระดับน้ำในบารายอันบอบบางเช่นนี้มิได้คงทนอยู่มาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อมีการเสริมพนังให้สูงขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดสภาพน้ำเอ่อล้นท่วมปราสาทแม่บุญตะวันตกไปด้วย ต่อมาการบูชาสิ่งศักดิ์สิท์ภายในเทวสถานแห่งนี้ก็กลายเป็นการบูชาพระวิษณุ ดังเห็นได้จากเทวรูปพระวิษณุปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ทำด้วยสำริด ซึ่งมีการค้นพบในภายหลัง
บารายตะวันออกนั้น เมื่อเวลาผ่านไปก็ได้ตื้นเขิน จนในที่สุดก็ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ ขณะที่แม่น้ำเสียบเรียบเองก็มีการเปลี่ยนเส้นทาง โดยเกิดสายน้ำใหม่แยกออกไปทางตอนเหนือของบาราย และหลังจากนั้นก็กลายเป็นคูคลองในแนวเหนือ ใต้ ก่อนจะไหลรวมกับแม่น้ำสายเดิม อย่างไรก็ตาม เส้นทางน้ำเก่าเกิดแยกสาย จนทำให้สามารถปรับบริเวณมุมด้านตะวันตกเฉียงใต้ ของบารายให้เป็นคลองเชื่อมต่อระหว่างพนังทั้งสองด้าน แต่ก็มีการใช้ประโยชน์จากคลองนี้ได้ไม่นาน ก่อนที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 จะเริ่มสร้างปราสาท นครวัด มีการย้ายแนวคลองของแม่น้ำเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกและตัดตรงสู่คลองที่ขุดขึ้นมาใหม่
ในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้นหลังจากที่มีชัยเหนือพวกจาม เมื่อ พ.ศ. 1724 พระองค์ก็ทำการเปลี่ยนเมืองพระนครทั้งหมด ภารกิจเมืองใหม่นี้มีอยู่ว่า ผังที่สร้างไว้นั้นจำเป็นที่ต้องอาศัยงานโยธาขนาดใหญ่ ในขณะที่ทำการทำศึกสงครามกับพวกจาม พ.ศ. 1720-พ.ศ. 1724 ได้สร้างความเสียหายให้กับระบบชลประทานจนแก้ไขไม่ได้ ดังนั้นพระองค์จึงสร้างบารายแห่งใหม่ขึ้นมาทางทิศเหนือของเมืองพนะนคร คือ บารายนาคพันซึ่งตั่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองนครชัยศรี ที่เป็นเมืองหลวงชั่วคราว งานสร้างเหล่านี้เป็นผลมาจากการที่บ้านเมืองถูกทำลายด้วยศึกสงคราม และยังเปาะบางอีกด้วย ทั้งนี้เพราะพระราชอำนาจถูกลดทอนอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาถึง 4 ปี ทำให้หัวเมืองรอบนอกสามารถตั้งตนเป็นอิสระขึ้นมา
ในตอนต้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น ซึ่งสร้างความชอบธรรมทำให้พระองค์สามารถพื้นอำนาจของสถาบันกษัตริย์กลับคืนขึ้นมาอีกครั้ง แต่พระองค์ก็มีพระประสงค์ที่จะขยายอำนาจออกไป ด้วยเหตุนี้เส้นทางเข้าสู่ที่ตั้งเมืองพระนครจึงตัดเป็นถนนผ่านเป็นสิ่งกรีดข้างทางธรรมชาติทั้งหมด การตัดถนนเช่นนี้ไม้ได้ทำเฉพาะภายในเมืองหลวงเท่านั้น แต่ที่อื่น ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรก็ทำด้วยเช่นกัน ดั้งนั้นถนนที่เชื่อมเมืองพระนครกับปราสาทพระขรรค์ จึงตัดเป็นเส้นตรงเกือบ
ในราวพ.ศ. 1733 นครใหม่ก็เสร็จสมบูรณ์พร้อมทั้งกำแพงเมือง คูเมือง คลองขุดเชื่อมภายในเมือง ศาสนสถานอันเป็นศูนย์กลางของนคร คือ ปราสาทบายน และพระราชวังหลวง มีความพยามยามที่จะใช้ประโยชน์จากบารายตะวันตก โดยการยกพนังให้สูงขึ้น แต่ไม่สัมฤทธิ์ผล และในที่สุดอ่างเก็บน้ำดังกล่าวก็แห้งจนไม่สามารถที่จะใช้งานได้อีก
เป็นที่น่าเสียได้ว่า บารายนาคพันที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ได้แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของการออกแบบในเวลาไม่นานหลังจากเริ่มเก็บน้ำ ครั้งแรกมีความพยายามที่จะซ่อมแซมด้วยการเสริมพนังให้สูงขึ้น ซึ่งคล้ายกับการดัดแปลงในอดีต แต่ว่าแค่นั้นดูจะไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงเปลี่ยนนโยบายพลังน้ำอย่างสิ้นเชิง โดยการใช้ประโยชน์จากสะพานที่ทำหน้าที่เป็นเขื่อน สามารถเปิดหรือปิดประตูน้ำได้ตามความต้องการ
การเปลี่ยนแปลงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถอนลากถอนโคน เพราะแทนที่จะปล่อยน้ำให้ล้นเข้าไปในนาข้าวกลับมีการขุดคลองเพื่อระบายน้ำเข้าไปยังบริเวรที่ต้องการแทน และที่สำคัญกว่านี้คือ การกระจายตัวของแหล่งน้ำ ขนาดเล็กออกไปอีกหลายส่วน ซึ่งเท่ากับส่วนกลางที่เคยมีบทบาทควบคลุมจัดสรรค์ทรัพยากรน้ำอ่อนแอลงไปตามลำดับ และนี่เป็นเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เมืองพระนครต้องล่มสลายลงไปในที่สุด
ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อชาวเขมรยึดครองเมืองพระนครกลับคืนมาได้อีกครั้งหนึ่ง สิ่งแรกที่พวกเค้าใส่ใจก็คือ การสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อการชลประทานขึ้นมาใหม่ แม่น้ำเสียบเรียบถูกกันทางทางน้ำโดยการสร้างสะพานขวางชื่อสะเปียนทะมอ ซึ่งสร้างขึ้นบนแกนของประคูเมืองนครธม ที่รู้รักกันนามประตูชัย เป็นไปได้ว่า ด้วยเหตุผลที่คลายคลึงกับที่ทำให้พนังดังกล่าวมีปัญหา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 คอสะพานด้านตะวันออกได้เกิดพังทลายลงมาทำให้เกิดน้ำท่วมอีกครั้ง เมื่อระดับน้ำลดลง แม่น้ำก็เปลี่ยนทางเดินใหม่ เป็นทางที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
ความคิดเห็น