ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เนื้อหาการเรียน ม.5 โดย ครูพิมพ์

    ลำดับตอนที่ #15 : ฉันท์

    • อัปเดตล่าสุด 22 ส.ค. 54


    ฉันท์

         ฉันท์  คือลักษณะของบทร้อยกรองชนิดหนึ่งที่เน้นเสียงหนักเบา ( ครุลหุ ) เวลา

    อ่าน ฉันท์นี้ไทยได้รูปแบบมาจากอินเดีย  ซึ่งเดิมแต่งเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต  โยเฉพาะในภาษาบาลี  มีตำราที่กล่าวถึงวิธีแต่งฉันท์ไว้เป็นแบบเฉพาะ โดยเรียกชื่อว่า  คัมภีร์วุตโตทัย

    ต่อมาไทยได้จำลองแบบมาแต่งในภาษาไทย  โดยเพิ่มบังคับสัมผัสขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ

    ตามแบบนิยมของไทย

                 ฉันท์ในภาษาบาลีและสันสกฤตแบ่งออกเป็น    ชนิดคือ

    ๑.      ฉันท์วรรณพฤติ  เป็นฉันท์ที่กำหนดด้วยตัวอักษร  คือวางคณะและกำหนดให้มีเสียงหนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ

    ๒.     ฉันท์มาตราพฤติ  เป็นฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา  คือจังหวะสั้นของมาตราเสียงเป็นสำคัญ  นับคำลหุเป็น ๑  มาตรา  ไม่กำหนดตัวอักษรเหมือนอย่างวรรณพฤติ

        ฉันท์มีชื่อต่างๆตามที่ปรากฏในคัมภีร์วุตโตทัย มีถึง  ๑๐๘  ฉันท์  แต่ไทยเรา

    ดัดแปลงเอามาใช้ไม่หมด  คงเลือกเอาเฉพาะที่เห็นว่าไพเราะ  มีทำนองสละสลวยและเหมาะแก่การที่จะบรรจุคำในภาษาไทยได้ดีเท่านั้น

                  ฉันท์ที่นิยมแต่งในภาษาไทยใช้ฉันท์วรรณพฤติเป็นพื้นส่วนใหญ่  ที่เป็นมาตราพฤติ

    ไม่ค่อยปรากฏมีผู้นิยมแต่ง  เพราะจังหวะและทำนองที่อ่านในภาษาไทยไม่สู้จะไพเราะเหมือนฉันท์วรรณพฤติ  แม้ฉันท์วรรณพฤติที่แปลงมาเป็นภาษาไทยแล้ว  ก็ไม่นิยมแต่งทั้งหมด

     

       ลักษณะบังคับของฉันท์ 

              ฉันท์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ    อย่างคือ  พยางค์  คณะ และสัมผัส

              ๑.  พยางค์  ในฉันท์แบ่งออกเป็น    ประเภท คือ

                    ๑.๑.  พยางค์ที่มีเสียงหนัก เรียกว่า ครุ   ใช้  เป็นสัญลักษณ์แทน 

                 ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 

    §       เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา รวมทั้งสระ  อำ  ไอ   เอา  เช่น  มา ดี  มือ  จำใจไปเอา

    §       พยางค์ที่มีตัวสะกด เช่น ช้าง  กิน  ลม  โชย  รวง  ข้าว

           ๑.๒.  พยางค์ที่มีเสียงเบา  เรียกว่า ลหุ ใช้   เป็นสัญลักษณ์แทน 

         ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 

    §       เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะตี บุ เลอะ

    §       เป็นพยัญชนะตัวเดียว เช่น ธ บ    ก็ 

    §       สำหรับสระอำ  อนุโลมให้เป็นเสียงเบาหรือลหุ ได้

    อนึ่งสำหรับคำ    พยางค์ที่เป็นอักษรนำ เช่น ขยาย  สมาน  สวิง  ฯลฯ 

    จะนับเป็น  ๑ พยางค์ คือเป็นครุ หรือจะนับเป็น    พยางค์คือ ลหุ กับ ครุ ก็ได้

              ๒.  คณะ  ในลักษณะบังคับของฉันท์  หมายถึง  ลักษณะการเรียงกันของครุ

    ลหุ  กลุ่มละ    เสียง จึงจัดเป็น    คณะ  ซึ่งมีทั้งหมด    คณะ ดังนี้

    §       มะ  คณะ ย่อมาจาก  มารุต  แปลว่าลม  ประกอบด้วยครุสามเสียง ดังนี้

    §       นะ  คณะ ย่อมาจาก  นรา  แปลว่า ฟ้า   ประกอบด้วยลหุสามเสียง ดังนี้ 

    §       ภะ  คณะ ย่อมาจาก  ภูมิ  แปลว่า ดิน   ประกอบด้วยครุ ลหุ ลหุ ดังนี้ 

    §       ยะ  คณะ ย่อมาจาก  ยชมาน  แปลว่า พราหมณ์บูชายันต์   ประกอบด้วย  ลหุ ครุ  ครุ  เรียงกันดังนี้ 

    §       ชะ  คณะ ย่อมาจาก  ชลน  แปลว่า ไฟ   ประกอบด้วย  ลหุ ครุ  ลหุ  ดังนี้

    §       ระ  คณะ ย่อมาจาก รวิ  แปลว่า แสงอาทิตย์   ประกอบด้วย ครุ ลหุ ครุ             เรียงกันดังนี้ 

    §       สะ  คณะ ย่อมาจาก  โสม  แปลว่า พระจันทร์  ประกอบด้วย ลหุ  ลหุ  ครุ  เรียงกันดังนี้      

    §       ตะ  คณะ ย่อมาจาก  โตย  แปลว่า น้ำ   ประกอบด้วย ครุ  ครุ  ลหุ ดังนี้

     

    ๓.      สัมผัส  สัมผัสเป็นส่วนที่กวีไทยเพิ่มเติมขึ้น  เพื่อปรับปรุงฉันท์ให้เข้ากับ

    ลักษณะของร้อยกรอง แบ่งได้เป็น    ลักษณะด้วยกันคือ

                       ๓.๑.  สัมผัสแบบกาพย์  คือ  ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรคที่ ๓ กับวรรคที่  ๔ ซึ่งฉันท์ส่วนใหญ่จะส่งสัมผัสตามแบบนี้

                       ๓.๒.  สัมผัสแบบกลอนสังขลิก  คือ ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรคสุดท้ายของบทแรกกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒  ของบทต่อไป  ฉันท์ที่ส่งสัมผัสแบบนี้ได้แก่ฉันท์บทละ  ๓ วรรค

    ๓.๓.  สัมผัสแบบกลอนสุภาพ  คือ  มีการสัมผัสทั้งระหว่างวรรคทุกวรรค และระหว่างบทด้วย

     

    ตัวอย่างฉันท์ที่กวีไทยนิยมแต่งบทร้อยกรอง

    ๑. อินทรวิเชียรฉันท์

     

     

     


              อินทรวิเชียรฉันท์  มีรูปแบบดังนี้

     

     

     

     

     

     

     


              สัญลักษณ์               แทนเสียง  หนัก  ( ครุ )

     

              สัญลักษณ์                   แทนเสียง  เบา   ( ลหุ )

     

              คณะ    บทหนึ่งมี    บาท  คือบาทเอกและบาทโท  บาทหนึ่งๆมี    วรรค วรรคหน้า 

                         คำและวรรคหลัง 

              สัมผัสบังคับ

                       ๑.  คำสุดท้ายวรรคแรกบาทเอก  สัมผัสกับคำที่ ๓  หรือที่ ๑ หรือที่ ๒

        วรรคหลังในบาทเดียวกัน

    ๒.       คำสุดท้ายบาทเอกกับคำสุดท้ายวรรคแรกบาทโท

    ๓.        คำสุดท้ายบทแรกกับคำสุดท้ายบาทเอกของบทต่อไป

              สัมผัสพิเศษ      

                       อาจเพิ่มสัมผัสสระหรือสัมผัสอักษรภายในวรรคแต่ละวรรค

              โอกาสที่ควรใช้ 

                       ใช้บรรยายหรือพรรณนาความทั่วไปหรือคร่ำครวญรำพัน

    .........................................................................เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  

     

     

    ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์    บท

     

     

              ควรชนประชุมเช่น             คณะเป็นสมาคม

              สามัคคิปรารม -                ภนิพัทธรำพึง

              ไป่มีก็ให้มี                         ผิวมีก็คำนึง

              เนื่องเพื่อภิยโยจึง               จะประสบสุขาลัย

     

                             สามัคคีเภทคำฉันท์ ชิต  บุรทัต

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ๒.วสันตดิลกฉันท์

     

     

     


     

              สัญลักษณ์           แทนเสียง  หนัก  ( ครุ )

     

              สัญลักษณ์             แทนเสียง  เบา   ( ลหุ )

     

              คณะ   บทหนึ่งมี    บาท  คือบาทเอกและบาทโท  บาทหนึ่งๆมี    วรรค วรรคหน้า 

                         คำและวรรคหลัง 

    .......................................................................เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  

     

    สัมผัสบังคับ

                       ตามแผนผังบังคับ

              สัมผัสพิเศษ   

                       อาจเพิ่มสัมผัสสระหรือสัมผัสอักษรภายในวรรคแต่ละวรรค

              โอกาสที่ควรใช้ 

                       ใช้ในความสรรเสริญ  ความชมเชย  หรือความศักดิ์สิทธิ์

     

    ตัวอย่างวสันตดิลกฉันท์    บท

     

                          ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท -        ธวิสุทธศาสดา

                       ตรัสรู้อนุตรสมา -                 ธิณโพธิบัลลังก์

                       ขุนมารสหัสพหุพา-               หุวิชาวิชิตขลัง

                       ขี่คีริเมขลประทัง                   คชเหี้ยมกระเหิมหาญ            

                                                    บทสวดพระพุทธคุณ  ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

     

     

    ^ ^
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×