ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เนื้อหาการเรียน ม.5 โดย ครูพิมพ์

    ลำดับตอนที่ #7 : .......สำนวน - โวหาร........

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.9K
      1
      22 ส.ค. 54

    สำนวน-โวหาร

     

    โวหาร  คือ  การใช้ถ้อยคำที่เลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดี  มีความสละ  สลวย  มีความเหมาะสม  โวหารใช้ขยายให้ชัดแจ้ง  และเพื่อถ่านทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด  ความรู้หรือจินตนาการของผู้เขียนให้กว้างไกลออกไป

    โวหาร  ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ..๒๕๒๕  หมายถึงชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด ,  ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน

                ในการเขียนอาจใช้โวหารต่าง กัน  โดยจะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับความหมายของ  ข้อความที่เขียน  การใช้โวหารถือว่าเป็นการใช้ภาษาอย่างมีศิลปะ  โวหารในการเขียน  มี    ประเภท  ได้แก่

    )  บรรยายโวหาร

    )  พรรณนาโวหาร                             

    )  สาธกโวหาร 

    )  เทศนาโวหาร

    )  อุปมาโวหาร

    . บรรยายโวหาร  หมายถึง  การเขียนอธิบายหรือบรรยายเหตุการณ์ที่เป็น

    ข้อเท็จจริงตามลำดับเหตุการณ์  เป็นการเขียนตรงไปตรงมา  ไม่เยิ่นเย้อ  มุ่งความชัดเจนเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้  ความเข้าใจ    ผู้เขียนควรใช้ภาษากะทัดรัด  เขียนให้ตรงเป้าหมาย  อ่านเข้าใจง่าย  ในการเขียนทั่วไปๆ  มักใช้บรรยายโวหาร  เช่น  การเขียนเล่าเรื่อง  เล่าเหตุการณ์เล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้น 

     

    หลักการเขียนบรรยายโวหาร

    )  เขียนเฉพาะสาระสำคัญ

    )  เขียนเรื่องจริง  โดยผู้เขียนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียน

          เป็นอย่างดี

    )  ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

    )  เรียบเรียงความคิดให้ต่อเนื่องกัน

    .........................................................................เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  

     

    .  พรรณนาโวหาร  หมายถึง  การเขียนที่สอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียน  เพื่อให้ผู้อ่านซาบซึ้ง  ประทับใจ  มีความรู้สึกคล้อยตามไปกับผู้เขียน  เช่น การเขียนพรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก  รัก  หลง  โกรธ  เกลียด  เศร้า  เป็นต้น  โดยเลือกใช้ถ้อยคำที่ไพเราะ  เห็นภาพพจน์ได้ง่าย  เพื่อโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้คล้อยตามและเกิดความประทับใจ

    หลักในการเขียนพรรณนาโวหาร

    )  ใช้ถ้อยคำที่เลือกสรรแล้ว  เพื่อสื่อความหมายและอารมณ์

           ความรู้สึกที่ชัดเจน

    )  เขียนใจความควรเน้นให้เกิดภาพพจน์  เกิดอารมณ์ความรู้สึก

          ร่วมไปกับผู้เขียน

    )  ใช้ภาพพจน์หรืออุปมาโวหาร  เพื่อให้ได้อารมณ์ความรู้สึกหรือ

            เกิดจินตนาการคล้อยตาม

    .  สาธกโวหาร  หมายถึง  การที่ผู้เขียนหยิบยกตัวอย่างมาอ้างอิงประกอบการอธิบายเพื่อสนับสนุนข้อความที่เขียนไว้ให้ผู้อ่านเข้าใจ  และเกิดความเชื่อถือ

    หลักการเขียนสาธกโวหาร

    คือ  ต้องสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส  เหมาะกับจุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้องตามลักษณะของโวหาร

    .  เทศนาโวหาร  หมายถึง  การเขียนอธิบาย  ชี้แจงให้ผู้อ่านเข้าใจ  ชี้ให้เห็นประโยชน์หรือโทษของเรื่องที่กล่าวถึง  เป็นการชักจูงให้ผู้อ่านคล้อยตาม   เห็นด้วยหรือเพื่อแนะนำสั่งสอน  ปลุกใจหรือเพื่อให้รู้ถึงข้อเท็จจริง  การเขียนแบบเทศนาโวหารต้องอาศัยกลวิธีการชักจูงใจ

     

                            หลักการเขียนเทศนาโวหาร

    การเขียนโวหารประเภทนี้  จำเป็นต้องใช้โวหารอื่นๆ มาประกอบ  คือ อาจเป็นบรรยาย  พรรณนา สาธก  หรือ อุปมาโวหาร  เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนแจ่มชัด  สามารถชักจูงใจ  ผู้อ่านให้คล้อยตามความคิดของผู้เขียนได้

     .  อุปมาโวหาร  หมายถึง  การเขียนเป็นสำนวนเปรียบเทียบที่มีความคล้ายคลึงกัน   เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น  โดยการเปรียบเทียบสิ่งของที่เหมือนกันเปรียบเทียบโดยโยงความคิดไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง หรือเปรียบเทียบข้อความตรงกันข้ามหรือข้อความที่ขัดแย้งกัน^ ^

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×