ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ...รวมบทความธรรมะดีๆ...

    ลำดับตอนที่ #64 : รวมคำสอน ท่าน ว.วชิรเมธี จากรายการวู้ดดี้เกิดมาคุย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.25K
      1
      30 พ.ย. 52

    สรุป "สาระ" และ "แก่น" พระพุทธศาสนา มาแบ่งปันเพื่อนๆทุกคน
    อาจจะไม่ได้ลงรายละเอียดในทุกข้อ แต่เป็นใจความสำคัญที่ท่านเน้น
    ในรายการค่ะ

    (1) ว่าถึงเรื่องการดั้นด้นตามไหว้พระวัดดังๆ ของชาวพุทธบางกลุ่ม: ท่านสอนว่า "ไหว้พระตามแนวพุทธ ไหว้ด้วยใจ"

    (2) เรื่องการฆ่าสัตว์เล็กๆ ที่เราไม่เองไม่รู้ตัว: ท่านสอนว่า " กรรมไม่มี บาปไม่มี หากไม่ได้เจตนา ให้ดูที่เจตนาเป็นสำคัญ"

    (3) เรื่องการดูหมอ : ท่านกล่าวว่า " คนที่รู้จักตัวเอง ไม่จำเป็นต้องหาหมอดู.. ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว" ท่านไม่เชื่อเรื่องหมอดู แต่ท่านเชื่อ กฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำ กฎที่บอกว่า ชีวิตเราจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับตัวเรา

    (4) การห้อยพระ: ท่านกล่าวว่า "กฎแห่งกรรมของพระพุทธเจ้าก็เป็นหมัน เพราะง้างกับกฎแห่งกรรม " วู้ดดี้เลยโยงถึงเรื่อง ธุรกิจพิมพ์พระ ซึ่งท่านกล่าวว่า "บาปไม่บาปให้วัดที่เจตนา  หากมีเจตนาเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ไม่บาป"

    (5) การแก้กรรม: ท่านกล่าวว่า "คนไทยชอบแก้กรรม เหมือนเราถูกมัดไว้แล้วต้องมานั่งแก้ กรรมคือตัวความคิดของเรา ง่ายนิดเดียวคือการเปลี่ยนความคิด" และท่านเสริมว่า หลายสิ่งหลายอย่างพิสูจน์ไม่ได้ในห้องแล็บ ของพวกนี้ไม่ได้เห็นด้วยตา แต่เห็นด้วยปัญญา สิ่งสำคัญไม่ใช่โลกหน้ามีรึไม่มี แต่โลกนี้มีอยู่จริงและเราใช้ชีวิตอย่างไร

    (6) พุทธพาณิชย์ : ท่านกล่าวว่า "ให้วัดที่เจตนา.. หากท่านพิมพ์คำเทศน์ คำสั่งสอนเป็นหนังสือ อ่านกันได้ทั่วโลก กำไรคือสติ ปัญญา การหายโง่ งมงาย ไม่ใช่พุทธพาณิชย์  หาวัดกำไรเป็นเม็ดเงินนั่นแหละคือพุทธพาณิชย์"

    (7) เรื่องค่าตัวท่านในการนิมนต์เทศน์ : ท่านกล่าวว่า "ท่านเป็นพระ ไม่มีต้นสังกัด ไม่มีค่าย ท่านเป็นต้นสังกัดของตัวท่านเอง เวลานิมนต์อย่าถามเรท ถ้าท่านว่างและเห็นว่าเป็นประโยชน์ ท่านก็ไปให้" ท่านยังเสริมอีกว่า ถ้าคุณเป็นคนดี นั่นก็บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีวัด วัดอยู่ที่ใจคุณแล้ว

    (8) คำถามจากผู้ชมทางบ้าน: 
    (
    8.1) ถ้าเราไม่เคารพพระที่เราไม่ชอบ เพราะประพฤติมิชอบ บาปไหม ท่านตอบว่า "ถ้าไม่มีความดีให้เราเคารพ ก็ไม่ควรเคารพ ไม่เสียหายอะไร คนเราจะเคารพคนที่สูงกว่าเรา ดีกว่าเรา เป็นเรื่องปกติ ถ้าเราไปเคารพคนที่ไม่ควรเคารพ อันนี้บาป"
    (8.2) ถ้านำแกนนำเหลือง-แดงมาให้ท่านเทศน์ ท่านจะเทศน์อย่างไร
    ท่านฝากไว้สองข้อว่า 1. อย่าเห็นแก่ตัว จนไม่เห็นหัวประเทศไทย
                               2. ต้องยอมถอย เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า

    (9) คนเราจิตตก จะมีวิธีแก้อย่างไร: ท่านสอนว่า "จิตตก ก็ยกจิต ต้องออกจากสภาพแวดล้อมแบบนั้น หาหนังสือธรรมอ่าน.." ท่านยังเสริมถึงเรื่องกัลยาณมิตร คือเพื่อนแท้ ที่คนจิตตกควรมีและสร้างให้มีได้ ส่วนปาปะมิตรคือเพื่อนเลว ที่ดีงชีวิตเราให้ต่ำลง

    (10) มาหาพระพุทธเจ้าอย่าขอ แต่บอกว่า พระพุทธองค์จะเป็นต้นแบบของเรา ท่านมีหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจ พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาแห่งการขอ เป็นศาสนาแห่งการลงมือทำ การลงมือทำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

    (11) บุคคลต้นแบบของท่าน ว. วุฒิชัย
          (11.1) พระพุทธเจ้า
          (11.2) ท่านพุทธทาสภิกขุ - เป็นแรงบันดาลใจในการคิดนอกกรอบ กล้าคิดกล้าทำ ยินดีที่จะพูดความจริงโดยไม่กลัวว่าตัวเองจะต้องตาย
          (11.3) พระพรหมคุณาภรณ์ - มีความแม่นยำในพระธรรมวินัย ท่านเป็นพระที่ไม่ได้จบจากนอก แต่ท่านสามารถสอน ที่ ม. Harvard
          (11.4) หลวงพ่อชา สุภัทโท - ท่านเจริญรอยตามหลวงพ่อชา จนมีอาศรมอิสรชน
          (11.5) ท่านดาไล ลามะ - ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมดีเลิศ ท่านเป็นพระที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวโลก จนชาวโลกรู้สึกได้
          (11.6) ท่านติช นัท ฮันท์ - พระชาวเวียดนาม

    (12) พูดถึงกิเลสที่ทำให้เกิดความอยาก : ท่านกล่าวว่า "ความอยากมี 2 อย่าง  หนึ่งอยากเพราะถูกกดดันด้วยตัวกิเลส และสอง อยากเพราะถูกผลักดันโดยปัญญา อย่างหลังเป็นความอยากที่ถูกต้อง

    (13) เรื่องการระงับอารมณ์ทางเพศของพระ: ท่านกล่าวว่า ความสุขทางเพศรสเป็นความสุขขั้นต่ำ ของบันไดความสุข กามอารมณ์เกิดจากความคิด ถ้าเราไม่ต่อยอดความคิด ความรู้สึกทางกามอารมณ์ก็ไม่มีตัวตน ท่านอธิบายขั้นของความสุขไว้ว่า ปัญญาสุข คือความสุขจากการแสวงหาปัญญา  สมาธิสุขคือความสุขจากการนั่งสมาธิ ทำจิตให้สงบ สารแห่งความสุขจะแผ่ไปทั่วร่าง และความสุขสุดยอดคือนิพพานสุข เป็นความสุขตลอดกาล เป็นความสุขที่ปราศจากกิเลสทั้งปวง

    ขอ ความสุขทาง "ธรรม" จงบังเกิดแก่ผู้อ่านทุกท่านคะ 

    ที่มาจาก pantip.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×