ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หน้าที่พลเมือง

    ลำดับตอนที่ #1 : พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

    • อัปเดตล่าสุด 20 ก.ค. 51


    พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  คือ  คนที่ยึดหลักประชาธิปไตย
    ในการ ดำรงชีวิต  ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม  ประพฤติตนในกรอบของ
    สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่น
    ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี  การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิปไตยจะช่วยให้สังคม
    มีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้นวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองดี
    มีลักษณะที่สำคัญ  ดังนี้
       ๑. การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว  ได้แก่  การลดความเห็นแก่ตัว  และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม  ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ  เช่น  ตู้โทศัพท์สาธารณะ  ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน  เป็นต้น  ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  เช่น  ป่าไม้  แม่น้ำลำธาร  เป็นต้น  รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัต
    ิหรือสิ่งแวดล้อม
       ๒. วินัย  ได้แก่  การฝึกกาย  วาจา และใจ  ให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม  เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
       ๓. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ได้แก่  การเอาใจใส่  ตั้งใจ  และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ  ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
       ๔. ความอดทน  ได้แก่  การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น  ไม่หุนหันพลันแล่น  สามารถคาบคุมอารมณ์  และพฤติกรรมให้เป็นปกติ  เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ
       ๕. การประหยัดและอดออม  ได้แก่  การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า  และเกิดประโยชน์สูงสุด  ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย  รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น  ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
       ๖. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  ได้แก่  การมีจิตใจเปิดเผย  รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ  และให้อภัยกันและกัน  ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
       ๗. ความสื่อสัตย์สุจริต  ได้แก่  มีความจริงใจ  ไม่มีอคติ  ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ  ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง  ไม่ทำแบบ  “คดในข้อ  งอในกระดูก”  นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน  ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง
       ๘. การอนุรักษ์ความเป็นไทย  ได้แก่  มีจิตสำนึกในความเป็นไทย  เช่น  พูด  เขียน  และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง  อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย  และนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์  รวมทั้งคิดค้น  ปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลัง  ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×