ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หน้าที่พลเมือง

    ลำดับตอนที่ #9 : โครงสร้างของสังคม (Social structure)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 13.75K
      7
      20 ก.ค. 51

    โครงสร้างของสังคม (Social structure)

    โครงสร้างของ สังคม หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆของสังคม แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์กัน และมีหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม

    โครงสร้างสังคมไทย ประกอบด้วยความสำคัญ 2 ประการ คือ

    - การจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization)

    - สถาบันทางสังคม (Social Institution)

    โครงสร้าง ทั้ง 2 ประการนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด ความเชื่อ ค่านิยม กระบวนการ วิธีการ อุดมการณ์ คติพจน์ บางส่วนเป็น เรื่องการกระทำ บรรทัดฐานทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ รวมถึง ครอบครัว การศึกษา การศาสนา การเศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ โครงสร้างทั้งสองส่วนนี้รวมเป็นโครงสร้างสังคม ไม่สามารถแยกออกจากชีวิตของกลุ่มคนในสังคม

     

    โครงสร้างสังคม ประกอบด้วยสาระสำคัญดังต่อไปนี้

    1. การจัดระเบียบทางสังคม นับเป็นกระบวนการที่จะสร้างระเบียบทางสังคมและพัฒนาต่อไปจนเป็นสถาบันสังคม

    2. โครงสร้างสังคมเพื่อปูพื้นฐาน คือ ให้เกิดระเบียบของกลุ่มสังคมมนุษย์ 4 ประเภท ประกอบด้วย

    2.1. กลุ่มสังคม (Social group)

    2.2. ครอบครัว (Family)

    2.3. ชุมชน (Community)

    2.4. กลุ่มสมาคม สโมสร กระทรวง ห้างร้าน ฯลฯ (Association) นักวิชาการบางท่านเรียกว่า สหจร

     

     

    3. กลุ่มที่จัดระเบียบทั้งหลาย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

    3.1. ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship)

    3.2. แบบแผนพฤติกรรม (Pattern of Behavior)

    3.3. ภาระหน้าที่ (Function)

    4. กาลเวลา เนื่องจากลักษณะสังคมและวัฒนธรรมค่อยๆ เปลี่ยนไปอย่างช้าๆ ความแตกต่างของลักษณะสังคมวัฒนธรรม ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน จึงมองเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน ทำให้นักสังคมศาสตร์แบ่งช่วงเวลาออกเป็น อดีต ปัจจุบัน และอนาคตสำหรับเส้นคั่นระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ถือเอาช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาสู่ระบอบประชาธิปไตย ปี พ.ศ.2475 เป็นเกณฑ์

     

    หน้าที่หลักของสังคมมนุษย์จำแนกได้ดังนี้

    1. ผลิตสมาชิกใหม่ ทดแทนสมาชิกเก่าที่ตายไป

    2. กำหนดระเบียบแบบแผน กฎเกณฑ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิตร่วมกัน

    3. จัดให้มีการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) เป็นการอบรมให้รู้จักระเบียบแบบแผนแนวทางปฏิบัติทาง

    สังคม เพื่อสมาชิกจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง

    4. ผลิต แจกแจงสินค้า และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิก

    5. ให้บริการและสวัสดิการแก่สมาชิก เช่น การบริการทางสาธารณูปโภค ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย ฯลฯ

    6. ควบคุมสังคม (Social Control) ให้อยู่ในระเบียบแบบแผน

     

    การจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization)

    การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง วิธีการควบคุมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของมนุษย์ให้อยู่ในระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ เมื่อมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น

     

    ปัจจัยที่ใช้ในการจัดระเบียบทางสังคม

    1. บรรทัดฐาน (Norms) หมายถึง แนวทางปฏิบัติ ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดไว้ เพื่อให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติตาม ประกอบด้วย

    1.1 - วิถีประชา (Folkways) เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้างๆ ซึ่งสมาชิกในสังคมควรปฏิบัติตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีบทลงโทษที่รุนแรง เพียงแต่ถูกตำหนินินทา หรือว่ากล่าวตักเตือน แบ่งออกเป็น

    - สมัย นิยม (Fashion) เป็นวิถีประชาของคนกลุ่มหนึ่งที่ปฏิบัติตามในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะเสื่อมความนิยม ได้แก่ การแต่งกาย ทรงผม เครื่องประดับ เมื่อไม่ทำตามจะถูกนินทา หรือเป็นคนเชย

    - ความ นิยม ชั่วครู่ (Fad) คล้ายกับสมัยนิยม แต่จะเป็นคำพูด ภาษาวัยรุ่น เช่น จ๊าบ แห้ว อิน เอาท์ ฯลฯ

    - ความคลั่งไคล้ (Craze) หรือลุ่มหลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มัวเมากับสิ่งนั้นจนไม่อยากทำอย่างอื่น เป็นลุกษณะเหมือนขาดเหตุผล เช่น คลั่งดารา นักร้อง นักฟุตบอล

    - งานพิธี (Ceremonies) เป็นวิถีประชาที่จัดขึ้นเพื่อความมีเกียรติ มีหน้ามีตา เช่น การจัดงานวันเกิด งานแต่งงาน งานฉลองยศตำแหน่ง เป็นต้น

    - พิธี (Rite, Rituals) เป็นการทำตามประเพณี อาจใช้ในความหมายคล้ายๆกัน เช่น พิธีแรกนาขวัญ งานรับน้องใหม่ พิธีบวช พิธีแต่งงาน

    - มารยาทสังคม (Etiquette ) ได้แก่ มารยาทในการรับประทานอาหาร มารยาทในการรับแขก การกล่าวคำขอบคุณ คำขอโทษ มรรยาทในการดูกีฬา มหรสพ ฯลฯ

    1.2. จารีตหรือกฎศีลธรรม (Mores) เป็นบรรทัดฐานที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ต่างจากวิถีประชาตรงที่มีศีลธรรม มีคำสอนของศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นเรื่องของความผิดถูก ดี ชั่ว ในบางสังคมจารีตจึงเป็นข้อห้าม (Taboo) เช่น ในศาสนาอิสลาม ห้ามคนที่นับถือศาสนารับประทานหมู เป็นต้น

    1.3. กฎหมาย (Laws) กฎหมายเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญสำหรับสังคมที่ซับซ้อนเช่นปัจจุบัน คนที่ไม่ปฏิบัติตาม จะถูกลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×