ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรงเรียนมนตร์ตรามหาวิทยาลัย(ตอนนี้ปิดรับสมัครแล้วนะ[ร้าง])

    ลำดับตอนที่ #9 : สมุนไพรธรรมชาติ หัวข้อ การเกิดของเมล็ด และส่วนประกอบ ( New )

    • อัปเดตล่าสุด 30 เม.ย. 52


    ข้อตกลงในการเรียนวิชานี่
    วิชานี่จะต้องเหนื่อยหน่อยนะครับ
    HP จะลดลง 40
    SP  จะลดลง 20
    ถ้าทำการบ้านวิชานี่เสร็จ
    จะเพิ่มเงินให้ 1,000 Bath นะจ๊ะ

    เราจะเรียนและทำการบ้านกันในวันอาทิตย์เป็นประจำเลยนะ
    แล้วก็ส่งการบ้านวันพฤหัสบดี

    เรื่องที่เราจะเรียนในสัปดาห์นี่คือ...

    การเกิดของเมล็ด และส่วนประกอบ
    (ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม)


    เมล็ดของพืชชั้นสูงเจริญมาจากไข่(ovule)  ที่ได้รับการปฎิสนธิ (fertilization) เมื่อเมล็ดแก่เต็มที่จะเกิดเป็นต้นอ่อน  และถูกห่อหุ้มด้วย\เปลือก(seed coat) ซึ่งเปลือกนี้จะทำหน้าที่  ปกป้องและเป็นแหล่งอาหารให้แก่ต้นอ่อน

    เมล็ด คือส่วนที่เจริญมาจากไข่ หลังจากได้รับการปฏิสนธิแล้ว ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ
            เปลือกเมล็ด (seed coat)

            
    อาหารสะสม (endosperm) เป็นเนื้อเยื่อที่เก็บสะสมอาหาร อยู่นอกเอมบริโอแต่พืชบางชนิดไม่ปรากฏให้เห็น
            
    ต้นอ่อน (embryo) ประกอบด้วย
            - ใบเลี้ยง (cotyledon) คือ ใบแรกของพืช
            - ลำต้นเหนือใบเลี้ยง (epicotyl) เป็นส่วนที่จะเจริญเป็นยอด
            - ลำต้นใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) เป็นส่วนที่จะเจริญเติบโตเป็นลำต้น
            - รากแรกเกิด (radicle) คือ รากแรกของพืช

     

     

     

     

    การเกิดเมล็ด ถือเป็นวงจรการดำรงเผ่าพันธ์พืช  มนุษย์และสัตว์มักรู้จักเมล็ดพืชในฐานะที่เป็นแหล่ง  อาหารที่สำคัญเช่น เมล็ด ถั่ว เมล็ดงา แต่อาหาร  ที่พืชสะสมในเมล็ดก็เพื่อไว้ใช้ บำรุง ต้นอ่อน ใน  ระยะที่ยังไม่สามารถทำการสังเคราะห์แสง จน  กว่าต้นอ่อนงอกเงยเป็นต้นกล้า และทำการสร้าง  อาหารเองได้

    เมล็ดมีการสะสมอาหารในรูปแบบต่างๆกัน  ส่วนใหญ่จะเก็บอยู่นอกต้นอ่อน (embryo) โดยจะอยู่ที่ endosperm หรือ perisperm แต่กว่าที่เมล็ดจะแตกต้นอ่อนออกมา ต้นอ่อน  จะดูดซึมอาหารมาไว้กับตัว โดยเก็บไว้ที่  ใบเลี้ยง (cotyledons) 

    embryo จะห่อหุ้มด้วยเปลือกเมล็ดรอวันงอก ในช่วงที่เหมาะสม โดยส่วนประกอบ ของ embryo ประกอบด้วย ใบเลี้ยง (cotyledons), hypocotyl ,radicle

    เมล็ดระหุ่งแสดงภาพผ่าตามขวาง

     

    เยื่อที่ห่อหุ้ม รังไข่ (ovule) คือ  integument ที่กลายมาเป็นเปลือกเมล็ด  (seed coat)โดยทั่วไปมี 2 ชั้น ได้แก่  outer integument จะกลายมาเป็น  เปลือกชั้นนอกเมล็ด( testa )  และชั้น inner integument จะกลายมา  เป็นเปลือกชั้นในเมล็ด ( tegmen ) 

    โดยทั่วไปเปลือกเมล็ดมักมีลักษณะแห้งแต่เมล็ดพืช  บางชนิดจะมีเปลือกฉ่ำน้ำ และเป็นอาหาร เช่น  เมล็ด ทับทิม เปลือกเมล็ดพืชบางชนิดจะมีสารสำคัญ  ทำหน้าที่ควบคุมการงอกของเมล็ดพืช 

    ในระยะการเปลี่ยนแปลงจาก ovule เป็นเมล็ดนั้น  โดยปกติแล้ว nucellus ของ ovule จะค่อยๆ  สลายไป แต่พืชบางชนิด nucellus  ยังคงอยู่และ  เปลี่ยนไปเป็นเนื้อเยื่อที่สะสมอาหาร  (nutritive tissue) ซึ่งเรียกเยื่อนี้ว่า perisperm  มักพบในพืชที่ไม่มี endospermแต่บางชนิดพบได้ทั้ง perisperm และ endosperm  perisperm เป็นแหล่งสะสมอาหารที่สำคัญที่พบได้ใน  วงศ์ Piperaceae ,Zingiberaceae, Nymphaceae  และในเมล็ดกาแฟส่วนที่นำมาทำเป็นเครื่องดื่มนั้นคือ  perisperm 

    ตัวอย่างเมล็ดแบบ albuminous

     

    ในระยะการเกิดปฎิสนธิ (fertilization)และมีการ  แบ่งตัวของเนื้อเยื่อทำให้เกิดเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สะสม  อาหารคือ endosperm ซึ่งจะห่อหุ้มและคอยส่ง  อาหารให้ต้นอ่อน เมล็ดบางชนิดเมื่อแก่เต็มที่จะดูด  ซับอาหารจาก endosperm มาที่ใบเลี้ยง (cotyedon) จนหมด  เมล็ดชนิดนั้นถือเป็น non-endospermic หรือ  exalbuminous เช่นเมล็ดถั่วต่าๆ ส่วนเมล็ดที่ยังเห็น endosperm  อย่างชัดเจนในระยะที่แก่ จึงเป็น endospermic  หรือ albuminous เช่น เมล็ดกาแฟ  อาหารที่สะสมในendospermได้แก่พวกแป้ง(starch)  น้ำมัน เมล็ดพืชบางชนิดพบ โปรตีนปะปนกับแป้งได้ 

      
    ตัวอย่างเมล็ดแบบ exalbuminous

    คำถามประจำสัปดาห์
    เมล็ดมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

    แบบฟอร์มการส่งการบ้าน
    หัวข้อ(ชื่อวิชา)
    ตอบ
    ชื่อ
    สกุล
    รหัสประจำตัวนักเรียน

    -จะอัพเดทการบ้านและเนิ้อหาเฉพาะวันอาทิตย์-
    ถ้าจะทำการบ้านเก่าสามารถทำได้ที่ตอน
    คลังความรู้และการบ้าน(เก่า)

    ตอบทางข้อความลับให้อาจารย์นะครับ
    (ย้ำ)ตอบทางข้อความลับให้อาจารย์นะ
    ขอขอบคุณ http://www.samunpri.com/ ด้วยนะครับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×