ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เฮฮาประสาสามก๊ก

    ลำดับตอนที่ #75 : นโยบายนำประเทศ-ใครเจ๋งกว่าเพื่อน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 871
      9
      14 ส.ค. 56

    นโยบายนำประเทศ-จากสามัญเป็นฮ่องเต้-ใครเจ๋งกว่าเพื่อน
    วันหนึ่งน้องชายที่หายหัวไปนานแสนนานก็กลับมานอนที่ห้องพร้อมกับขอเอาคอมไปใช้งานและใช้นานจนพี่ไม่ได้ทำอะไร ครั้งจะทวงก็เกรงใจ เนื่องจากน้องท่านตัวใหญ่กว่าเยอะ ทะเลาะกันมาเรานี่แหละจะโดนเหยียบซะแบน จึงให้มันเอาไปใช้ให้พอ แล้วค่อยๆ ตะล่อมๆ เอามาทำงานบ้าง  แฮะๆๆ จากสภาพการณ์ผมคงทำไม่เหยียบร้อยตามเป้าก็จะขอโทษท่านทั้งหลายนะครับที่จะต้องลดลงมาเป็น "เก้าสิบตอน" แทน เนื่องจากตอนนี้งานรัดตัวทั้งวิทยานิพนธ์และสตอร์รี่บอร์ด อีกอย่าง ยังไงก็ยังไม่ลากันไวแน่ๆ เพราะตราบเท่าที่ผมกับน้องยังใช้คอมเครื่องเดียวกันแบบนี้ ผมคงไม่ได้เปิดเรื่องง่ายๆ แน่
     
    ความจริงมีอยู่ว่า เล่าปี่ไม่ได้ใช้นโยบายหลักในเรื่องการกอบกู้มาเป็นแนวทางในการนำคน(หา อะไรนะ) ครับ หลังจากที่ศึกษาประวัติศาสตร์ผมก็ได้ความรู้เพิ่ม ว่าในสมัยสามก๊กจริงๆ แล้วเล่าปี่ไม่เคยโหนสถาบันพระมหากษัตริย์เลย(ขอโทษครับที่ใส่ความท่านมาตลอด) เพราะเล่าปี่ทราบดีแล้วว่าเวลานี้ราษฎรไม่ได้ต้องการฮ่องเต้ฮั่นเซี่ยนตี้อีกต่อไป เพียงแต่ราษฎรสมัยนั้นก็ไม่ฉลาดพอที่จะคิดออกว่าหากไม่มีกษัตริย์แล้วจะปกครองอย่างไรเหมือนกัน นั่นทำให้เล่าปี่ต้องกลายเป็นกษัตริย์ในเวลาต่อมา แต่... เป็นบรรดาที่ปรึกษานั่นเองที่มองว่าหากเล่าปี่ไม่ได้มีความชอบธรรมมาแต่แรก ต่อไปคนรุ่นหลังจะมองว่าเล่าปี่เป็นขบถ ฉะนั้นจึงต้องสร้างความชอบธรรมให้เล่าปี่ โดยการโยงสายคณาญาติจนกระทั่งเชื่อมต่อกับพระเล่าปัง(ฮั่นเกาจู) ซึ่งเป็นการโมเมเอาทั้งนั้น เล่าปี่จริงๆ ไม่ได้เกี่ยวพันธ์กับราชวงศ์ฮั่นเลย อีกทั้งจริงๆ อาจจะไมได้แซ่เล่าด้วย(เอาสิ) แต่ที่ใช้แซ่เล่าก็เพื่อประโยชน์ในการระดมพลเล่านั้น เพราะคนแซ่เล่ามีทั่วทั้งแผ่นดิน อีกทั้งมีไม่น้อยที่เกี่ยวพันธ์กับแซ่เตียว(จาง) สรุปคือเอาไว้นับญาติกับชาวบ้านนั้นเอง แล้วไปๆ มาๆ ก็เลยนับญาติกับฮ่องเต้ไปด้วยเพราะพวกราชวงศ์ก็ใช้แซ่เล่า เพราะฉะนั้นเราจึงสามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำแล้วว่า เหี้ยนเต้ไม่เคยรู้จักเล่าปี่ในฐานะพระเจ้าอา และข่งหยงก็ไม่ได้ตายเพราะขัดขวางการเดินทัพลงใต้ของโจโฉด้วยเหตุผล "เล่าปี่เป็นเชื้อพระวงศ์" อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นเมื่อเล่าปี่ไม่ได้พยายามจะเป็นฮ่องเต้ด้วยการอ้างตัวเป็นเชื้อพระวงศ์แต่แรก เราก็ย่อมเข้าใจชัดว่าทำไมโจโฉจึงมองเล่าปี่เป็นศัตรูตัวสำคัญ เพราะเล่าปี่เป็นลูกผู้ชายพอสำหรับการเผชิญหน้ากัน
    ^อันนี้ล้อเลียนเฉยๆ นะ ไม่เคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ แต่หากมันเกิดขึ้นจริงก็ไม่ต้องรบกันแล้ว
    และในการกลับกัน โจโฉแสดงชัดเจนว่าปกป้องฮ่องเต้ เพราะเค้าหันปลายดาบไปหาใครก็ตามที่ไม่ยอมรับความฮ่องเต้ของเหี้ยนเต้ และแน่นอนว่าสภาพเหี้ยนเต้ในตอนนั้นค่อนข้างจะย่ำแย่เพราะคนมากมายไม่ยอมรับพระองค์จริงๆ เหี้ยนเต้อยู่มาได้เพราะโจโฉค้ำบัลลังก์ให้แท้ๆ แต่กระนั้น เค้าก็ไม่ได้คิดไปไกลขนาดว่าจะปกป้องฮ่องเต้ไปจนชั่วลูกสืบหลาน เค้าทำเท่าที่ควรทำในชีวิตเค้าเท่านั้นเอง จึงอาจจะกล่าวได้ว่าโจโฉไม่รังเกียจหากลูกหลานจะแย่งราชสมบัติฮั่น ทำให้นักวิจารณ์ไม่น้อยมองว่าโจโฉมีใจขบถอยู่แล้ว ซึ่งต่อให้จริงผมก็ว่าโจโฉมีสิทธิที่จะทำเช่นนั้นนะครับ เพราะอีกประการตอนนั้นแทบไม่มีใครอยากชูฮั่นด้วยใจจริงด้วยซ้ำ เพราะงั้นแค่ค้ำบัลลังก์ให้เหี้ยนเต้คนเดียวก็ถือว่าเมตตามากแล้ว ยังไม่นับเรื่องที่พระเจ้าเลนเต้ไม่ได้เป็นแซ่เล่าแท้ๆ ด้วย สรุปคือไม่ว่าไอ้บ้าที่ไหนก็รู้เต็มออกว่าราชวงศ์เส็งเค็งที่ชื่อฮั่นนั้น แท้จริงมันได้จบไปนานแล้ว และนิสัยโจโฉก็เป็นที่ชัดเจนเฮียแกสนแต่ปัจจุบันเท่านั้น อนาคตจะเป็นเช่นไรไม่เกี่ยวกับกรู
     
    สำหรับซุนกวน น้องเล็กสามก๊กนั้นท่านก็ดูจะสบายๆ กล่าวคือเป็นผู้นำสามก๊กที่มีความทะเยอทะยานน้อยสุด รักสงบมากที่สุด แม้จะมีร่างกายสูงใหญ่มากที่สุด แต่เค้ากลับไม่ค่อยชอบรังแกคนอื่นเท่าไหร่ ผิดกับพี่ใหญ่สามก๊กที่แม้จะตัวเล็กสุดแต่กลับชอบยกทัพไปราวีชาวบ้านเป็นประจำ ทำให้ไม่ค่อยมีอะไรจะกล่าวเกี่ยวกับท่านมากนัก แต่ต้องชูฮกในฐานะที่สามารถยืนหยัดเป็นใหญ่ได้ในยุคแห่งความวาย เอ้ย ความวุ่นวาย
     
    ในแง่การเมือง ซุนกวนเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามโอกาส กล่าวคือไม่มีเป้าหมายที่แน่นอนนัก แต่ก็อาจจะกล่าวได้อีกเหมือนกันว่าเป้าหมายที่แน่นอนก็คือ "การรักษาสภาพง่อก๊กเอาไว้ให้นานที่สุด เหมือนต้นอ้อริมน้ำที่แม้โอนเอนไปตามสายลมแต่จะไม่หักโค่น" ทำให้การเมืองของง่อมีสภาพเหมือนนกสองหัว แต่นั่นก็ทำให้ง่อเป็นรัฐสุดท้ายที่โดนโค่นลงด้วย อีกประการในแง่การเมือง หน้าตาไม่สำคัญเท่ากับนโยบายที่ปฏิบัติได้จริง ท่านกวนจึงไม่คิดจะแสดงแสงยาไปต่อสู้ฆ่าฟันกับก๊กอื่นโดยไม่จำเป็น แค่รักษาเสถียรภาพไว้ก็เพียงพอแล้ว อีกประการ ท่านกวนเองก็ให้โอกาสข้าราชการของตนในการแสดงความสามารถออกมาให้เต็มที่ เช่นเดียวกับวิธีการขอโจโฉที่ปล่อยให้คนใต้บังคับบัญชาแสดงศักยภาพออกมา ซุนกวนนับเป็นผู้บริหารที่เต็มไปด้วยศาสตร์และศิลป์ไม่แพ้ผู้นำก๊กคนใดเลย ที่สำคัญคืออายุคราวลูกของอีกสองคนที่เหลือด้วย ซุนกวนเด็กกว่าเล่าปี่ตั้งยี่สิบสองปี และเด็กกว่าโจโฉยี่สิบแปดปี แต่กลับสามารถต่อกรกับพวกขิงแก่ได้อย่างมีชั้นเชิง แค่นี้ก็ไม่รู้จะเทพไปไหนแล้ว
     
    ฉะนั้นผมอาจจะสรุปได้ว่า... ขอย้ำนะว่าผมสรุปเอาเอง ไม่เกี่ยวกับนักประวัติศาสตร์ และไม่ต้องเชื่อผม เพราะเหตุผลที่ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาไม่ได้เอาไว้โชว์ภูมิอย่างเดียวแต่เอาไว้ปรับภูมิด้วย เพราะอาจจะมีคนที่รู้กว่าผมมาคอยตักเตือน(เช่นท่านอิเกิ้ล)ทำให้ผมได้ความรู้ใหม่ๆ ด้วย และคนรู้จริงบางคนแต่ไม่เขียนบอกใครก็อาจจะมาแจม(อันนี้มีหลายคน) ทำให้มีความรู้ในสามก๊กแตกฉานกว่าเดิม  เอาใหม่  ฉะนั้นผมอาจสรุปได้ว่า การก่อร่างสร้างตัวที่เหล่าหัวโจกสามก๊กพยายามทำในสมัยแห่งความวุ่นวายในสมัยสามก๊กนั้นตั้งอยู่บนนโยบายสามแบบคือ "กอบกู้แผ่นดิน" โดยโจโฉ "รักษาสภาพบ้านเมือง" โดยซุนกวน และ "คาดหวังการเปลี่ยนแปลง" โดยเล่าปี่

    ^ใครวาดวะ เสื่อมสิ้นดี(โจโฉเป็นแฮมสเตอร์)
    โจโฉนำนโยบายกอบกู้แผ่นดินหรือรวมประเทศมาใช้ นี่เป็นนโยบายที่ดึงความสนใจคนทั่วไปที่คิดว่าประเทศเกิดความเสื่อมทรามเนื่องจากการชิงอำนาจ ซึ่งนี่ดูจะเป็นความคิดของคนส่วนใหญ่ของประเทศทำให้ได้มวลชนมากกว่า โจโฉไม่สนตำแหน่งฮ่องเต้ แค่มีอำนาจเบ็ดเสร็จก็พอ ส่วนใครจะเป็นฮ่องเต้ "ไม่สนเว้ยยย!!!!" ยังไงฮ่องเต้ก็ต้องก้มหัวให้กฏหมายรธน. เพราะงั้นโจผีที่ไม่เห็นด้วยเลยปฏิวัติซะ
     
    ซุนกวนนำนโยบายรักษาสภาพบ้านเมืองมาใช้ นี่อาจจะไม่มีมวลชนมากนักแต่ก็มีกลุ่มขุนนางและพ่อค้าพาณิชย์มากมายที่ต้องการรักษาสภาพทางการเงินและสังคมไว้ พวกเค้ามีอำนาจในการจ่ายค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับกำลังหนุนอื่นในอีกสองก๊ก เห็นได้ชัดว่าเป็นก๊กที่อุ้มนายทุนเป็นหลัก ไม่น่าจะเรียกว่านโยบายนำประเทศด้วยซ้ำ เพราะรักษาแค่เฉพาะพื้นที่ทำการค้าอย่างง่อ
     
    เล่าปี่เริ่มต้นจากสื่อและรองเท้าฟาง เข้าสู่วงการการเมืองด้วยทุนที่น้อยที่สุด เค้าประกาศชัดเจนว่าจะเป็นฮ่องเต้(แปลว่าจะล้มระบบเดิม) นโยบายเล่าปี่เรียกมวลชนได้มากพอๆ กับโจโฉ แต่เป็นรูปเป็นร่างน้อยกว่าเพราะเป็นพรรคความหวังใหม่(ไม่แน่ใจว่าใหม่แบบไม้มลายหรือไม่ม้วน แต่พาคนไปบรรลัยตลอด)  แต่คนที่ตามเค้าไปคือคนที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลง เพราะพวกเค้าเชื่อว่าไม่ว่าประเทศมันจะวุ่นวายเพราะอะไรก็ตาม มันไม่มีทางจะกลับมาดีได้เพราะมันคือวงจรอุบาทว์ ทางเดียวคือต้องรื้อระบบใหม่ทั้งหมด
     
    ในสามก๊กนี้ใครกันแน่เป็นขบถ? โจโฉ? เล่าปี่? หรือ ซุนกวน? แน่นอนว่าคำตอบต่างกันไป แต่สำหรับผมในตอนนี้ หลังจากที่เพาะบ่มปัญญามาเกือบร้อยตอน พวกมันเป็นขบถทั้งสามคน เป็นขบถของสังคมสมัยโบราณ เพราะสิ่งที่พวกมันคิดไม่ใช่สิ่งที่ปราชญ์เต่าล้านปีจะคิดได้ การที่โจโฉรวมประเทศและชูกฏหมายเหนือสถาบันกษัตริย์ฟังดูดีสำหรับสมัยนี้แต่เป็นความคิดที่เลยในสมัยโน้นเพราะสมัยนั้นกษัตริย์คือเทพเจ้า ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิเอากฏใดๆ มาวางเหนือพระองค์ได้  ส่วนเล่าปี่ แค่มันคิดตั้งตัวเป็นฮ่องเต้มันก็เป็นขบถแล้ว ไม่ต้องรอดูนโยบายให้ยุ่งยาก เพราะสำหรับสมัยนั้น การแยกตัวเป็นประเทศใหม่ก็คือการไม่ยอมรับฮ่องเต้ไม่ยอมรับโองการสวรรค์ เล่าปี่ต้องการการเปลี่ยนแปลงเพราะเค้าอาจจพบว่าแม้จะยุติความขัดแย้งทางการเมืองและการชิงอำนาจลงได้ แต่คนที่จนมันก็ยังจนเหมือนเดิม เพราะงั้นเล่าปี่จึงไม่เอาด้วยกับโจโฉ เพราะเอาเข้าจริงๆ มันอาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคมเลยก็ได้(คือเล่าปี่คิดว่าตนจะนำความเปลี่ยนแปลงมายังประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านระบบ) เล่าปี่ไม่ผิดหรอกที่คิดแบบนั้น เพราะหากเทียบกับสมัยนี้ ก็คงอยากเป็นนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดี(คือไม่ผิดสำหรับสมัยนี้แต่ผิดสำหรับสมัยนั้น)  สำหรับซุนกวนการที่มันลอยตัวเหนือความขัดแย้งแล้วรักษาน่านน้ำแห่งการพาณิชย์ไว้ก็ไม่ต่างอะไรกับการเป็นขบถ เพราะเห็นได้ชัดว่าพอใจกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นและยินดีจะให้มันเกิดต่อไป ขอแค่ที่ๆ ตัวเองอยู่ได้รับประโยชน์จากสถานการณ์นั้นๆ
     
    ใครเจ๋งกว่าใคร ผมคงตอบไม่ได้ซะแล้ว เพื่อนๆ ละครับคิดยังไงกับไอ้สามคนนี้?
     
    คราวหน้าผมจะมาคุยเรื่อง หลักแห่งคุณธรรมในยุคสามก๊กบ้าง แล้วก็ลองมาตัดสินดูว่า คนที่เราคิดว่าดีมันดีจริงมั้ยเมื่อมองด้วยสายตาคนสมัยนั้น แล้วคนที่เหมือนจะไม่ดีมันไม่ดีจริงรึเปล่า  อย่าลืมนะครับว่าเราตัดสินคนโบราณด้วยมาตรฐานศีลธรรมสมัยใหม่ไม่ได้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×