ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เฮฮาประสาสามก๊ก

    ลำดับตอนที่ #29 : ชำแหละสามก๊ก-แท้จริงแล้วหลอกว้านจงเขียน "พงศาวดาร"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.26K
      14
      12 ก.พ. 55

    ชำแหละสามก๊ก-แท้จริงแล้วหลอกว้านจงเขียน "พงศาวดาร"
     

    นอกจากความเป็นนักเขียนนิยายแล้ว หลอกว้านจงยังเป็นนักประวัติศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงด้วย เค้ามีผลงานที่ยอดเยี่ยมอยู่หลายเล่ม หนึ่งในนั้นคือสามก๊กซึ่งถูกเขียนขึ้นสองเวอร์ชั่นคือ ฉบับพงศาวดารและฉบับเล่นงิ้ว ผมไม่รู้ว่าฉบับเจ้าพระยาที่เราอ่านเป็นฉบับงิ้วหรือฉบับพงศาวดารกันแน่ แต่เนื่องจากมีคนสับหลอกว้านจงมากฐานทำให้ประวัติศาสตร์บิดเบือน และมีคนไม่น้อยที่ออกมาบอกว่าหลอกว้านจงไม่ได้เขียนรุนแรงขนาดนั้นที่เขียนคือพ่อลูกแซ่เหมาต่างหากแล้วฉบับหลอกว้านจงจริงๆ ไม่มีแล้ว ผมจึงต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อเขียนตอนนี้ขึ้นมา  แต่ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องกัน เราต้องยอมรับความจริงก่อนว่า "เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าหลอกว้านจงคือต้นฉบับของสามก๊กทุกเวอร์ชั่นที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน และเราต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันชัดเจนด้วยว่าสามก๊กเข้ามาถึงบ้านเราในสมัยอยุธยาตอนต้น และหลอกว้านจงก็มีชีวิตในช่วง พ.ศ.1873-1943 ซึ่งใกล้เคียงกัน ฉะนั้นสามก๊กในบ้านเราจึงเป็นของหลอกว้านจงครับ" แต่พึ่งจะมาแปลสมัยรัชการที่หนึ่งโดยทีมงานของเจ้าพระยาพระคลัง แต่ดันไม่แจ่มเรื่องภาษา และไม่เข้าใจวัฒนธรรมที่ต่างกัน ทั้งไม่รู้ว่าจีนเมื่อพันปีก่อนเป็นอย่างไร สามก๊กของเราจึงผิดมหาศาล ตัวอย่างเช่น "ฝ่ายโจโฉนั้นมีความดีความชอบจึงโปรดให้ไปกินเมืองเจลำเซียง" ต้นฉบับบอกว่า "โจโฉได้เป็นปลัดเมืองเจลำ" ไอ้ทุเรศ!  ฉบับเจ้าพระยาพระคลังนั้นมั่วซั่วมาก ทำให้ผมหลงคิดว่าซุนฮกเป็นญาติซุนกวนทั้งที่นายฮกแซ่ "เสวีย" ส่วนนายกวนแซ่ "ซุน"

    นอกจากความผิดพลาดจากการแปลแล้ว ผู้แปลยังบิดเบือนต้นฉบับอย่างจงใจครับเพราะทีมงานแปลอยู่ในระบบกษัตริย์นิยมย่อมไม่พอใจที่จะเขียนยกย่องคนเก่งแต่ชาติตระกูลต่ำเตี้ยอย่างโจโฉ จึงจงใจแต่งเติมให้เล่าปี่เป็นพระเอกเนื่องจากเป็นเชื้อพระวงศ์ และกัดโจโฉมากกว่าที่ต้นฉบับเค้าเขียน ทั้งหมดนี้เกิดจากฝ่ายเราครับไม่ได้เป็นเพราะพ่อลูกเหมา ว่าแล้วก็ขอแก้ไขความเข้าใจบางท่านด้วยว่าพ่อลูกเหมามีตัวตนเมื่อสามร้อยปีที่ผ่านมา พวกเขาไม่ได้เขียนให้เขียนให้ออกทะเลมากขึ้นดังที่หลายคนเข้าใจแต่ทำให้สมบูรณ์ขึ้นครับ แต่ไม่ค่อยมีมีใครได้อ่านเรื่องที่พวกเขาเขียน จนเมื่อปี พ.ศ. 2505 จึงมีการจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกและกลายเป็นเล่มที่คนจีนนิยมอ่านมากที่สุด โจโฉกลายเป็นตัวละครที่ตลกมากเพราะพวกเขาเก็บตกข้อมูลเกี่ยวกับนิสัยโจโฉซึ่งออกจะเพี้ยนและขี้เล่นมาเขียนด้วย คนที่อ่านฉบับหลอกว้านจงจะรักเล่าปี่เกลียดโจโฉ ขณะที่คนอ่านเวอร์ชั่นพ่อลูกเหมาจะรำคาญเล่าปี่และชอบโจโฉมาก(เพราะโจโฉติงต๊องดี) อย่างไรก็ตามฉบับพ่อลูกเหมากลับถือเป็นนิยายครับ ในขณะที่ฉบับหลอกว้านจงคือพงศาวดาร!?

    ทำไมพงศาวดารของหลอกว้านจงจึงแพร่หลายขนาดนั้น? เหตุผลง่ายๆ คือความมีชีวิตชีวา ถ้าเราคิดถึงพงศาวดารฉบับคำให้การของคนกรุงเก่าจะเห็นภาพชัดขึ้น ทุกวันนี้คนไทยยังเชื่อว่าพระนเรศวรท้ามังสามเกียดชนไก่เอาบ้านเอาเมืองจริงๆ ทั้งที่ไม่มีหลักฐานร่วมสมัยรองรับแต่ก็ยังพยายามทำให้มันจริงจนได้ แถมมังสามเกียดยังกลายเป็นเจ้าชายมังกะยอชวาแบบจับแพะชนแกะ แม้ประวัติศาสตร์จะบอกชัดว่าพระสุพรรณกัลยาไม่ได้ถูกนันทบุเรงฟันขาดพร้อมโอรสแต่ปลอดภัยที่อังวะและจากโลกไปด้วยโรคชราเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม เจ้าหญิงภูซิน(เมงอทเว)ก็เป็นมเหสีของพระเจ้าอะนอคะเปตลุน แต่พี่ไทยก็ไม่สนเพราะยึดเรื่องเล่าที่เหมือนนิยายมากกว่าประวัติศาสตร์ที่ไร้ชีวิตชีวา เช่นกัน คนจีนส่วนใหญ่เชื่อว่าโจโฉแตกทัพเรือเหมือนพงศาวดารฉบับหลอกว้านจงมากกว่าจะเชื่อว่าถอยทัพเพราะหนีโรคระบาด คุณวิบูล วิจิตรวาทการผู้เขียนเรื่องของพระมหาจักรพรรดิเองก้เชื่อนายปินโตทั้งๆ ที่ปินโตนั้นแต่งเติมเรื่องให้เวอร์เกินจริงเพื่อให้ขายได้ตามประสาฝรั่งที่ชอบอ้างเรื่องจริงแต่ดันเขียนนิยาย
     

     
    ถ้าเป็นเรื่องแต่งอยากเขียนอะไรก็เขียนครับ เช่นเรื่องนี้ เล่าปี่ทรยศลูกน้องเพื่อช่วยโจโฉ(อ่านแล้วเกิดคำถามว่า "นี่มันสามก๊กเวอร์ชั่นไหนกันฟะ")

    ความที่เป็นสามก๊กของหลอกว้านจงคือพงศาวดาร นักประวัติศาสตร์สมัยนั้นจึงถือว่าจริงเจ็ดในสิบตามหลักการพิจารณาพงศาวดารทั่วๆ ไป ซึ่งต่อมาคนรุ่นหลังก็ช่วยกันเพิ่มข้อมูลด้วยในเล่มต่างหาก แต่คนไม่รู้ก็เอาชำระแบบรวมเล่มจึงผิดกันจนทุกวันนี้ ถ้าอยากอ่านฉบับหลอกว้านจงที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีแต่งเติมก็คงต้องไปอ่านที่หอจดหมายเหตุ แต่ถ้าอยากจะคิดง่ายๆ กว่านั้นคือเปรียบเทียบข้อมูลกับปีที่หลอกว้านจงมีชีวิตอยู่ว่าไปด้วยกันได้มั้ย แต่ผมกล้าพูดว่าอย่างมากก็แค่เพิ่มรายละเอียด(เช่นด่านหกด่านที่กวนอูหักชื่ออะไรบ้าง) และเป็นความจริงที่เขียนดีมากจึงถูกนำไปเล่นงิ้วด้วย หลอกว้านจงจึงมีสองชุดคือชุดพงศาวดารและชุดสำหรับเล่นงิ้ว

    เอาเป็นว่าเรามาดูฉบับพงศาวดารกันหน่อยเพราะผิดพลาดเยอะ ข้อแรกพงศาวดารเล่มนี้ได้รวบรวมขึ้นจากตำนานและคำบอกเล่าโดยมีพงศาวดารเสฉวนเป็นหลักหาใช้ฉบับเฉินโซ่วอย่างหลายคนเข้าใจ(ขึ้นต้นก็แย่แล้วครับเพราะดันเป็นพงศาวดารที่เขียนตามคำสั่งข่งเบ้ง) หลอกว้านจงเกิดหลังเรื่องจริงมากกว่าพันปีท่านคิดเอาว่ากว่าจะถึงเรื่องเล่าจะถึงมือหลอกว้านจงจะเพี้ยนไปขนาดไหน และเฮียหลอคงไม่ได้เขียนแบบหลับหูหลับตานะครับ เค้าต้องพิจารณาว่าเรื่องบางเรื่องมันเข้ากันมั้ยจึงมีการเสริมบ้างตัดบ้างให้เนื้อหาไปด้วยกันได้ และตามธรรมดาคนเขียนประวัติศาสตร์ก็ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้(เหมือนที่ผมนั่งวิเคราะห์ให้ท่านอ่าน)ก่อนจะเขียน แต่คุณหลอไม่ได้วิเคราะห์เป็นฉากๆ เหมือนซามมาเอล คนอ่านเลยไม่รู้ว่าเฮียเขียนลงไปได้ยังไง? และเนื่องจากคุณหลอเป็นทีมงานที่พ่ายแพ้จูหยวนจางจึงมีอคติกับฝ่ายที่มีอำนาจโดยชอบธรรมด้วยธรรมดาของปุถุชน ยิ่งอ่านพงศาวดารฉบับเข้าข้างเล่าปี่ก็ยิ่งไปกันใหญ่(ยิ่งพ่อลูกเหมามาสืบสันดานโจโฉก็ยิ่งติงต๊อง แต่คนอ่านรักน่าดู)ซึ่งผมเอามาให้พิจารณาดังนี้

    ศึกผาแดง-ความผิดพลาดสูงสุด!?
    เมื่อโจโฉพาทหารเดนตายสามสิบคนวิ่งไปมาเหมือนคนเสียสติแล้วก็ขอชีวิตกวนอูแบบหมดศักดิ์ศรี ผมพบว่าหลอกว้านจงไม่ได้พลาดซะทุกอย่างหรอกครับ เพราะตามประวัติศาสตร์ทัพของซุนกวนได้โจมตีและจมเรือลำที่โจโฉนั่งมากลางหมอกจัด กำเหลงเข้าประชิดตัวโจโฉที่กำลังป่วยด้วย แม้จะไม่รู้ว่าได้ฝากคมดาบบนร่างโจโฉหรือไม่ แต่เป็นความจริงที่หลังจมเรือมีคนที่รอดและพยายามคุ้มครองโจโฉที่โคม่ากลับค่ายมีเพียงไม่กี่สิบคนจริงๆ เป็นไปได้มั้ยว่าตามเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นอาจจะโดนกวนอูที่นำทหารมาด้วยพบเข้าพอดี กวนอูจอมโอหังไม่มีวันมาตามคำสั่งข่งเบ้งแน่ แต่คงมาตาคำสั่งเล่าปี่จอมอัจฉริยะที่ไม่ยอมให้ฆ่าโจโฉผู้มีนิสัยเป็นประเภทขุนแลกเบี้ย(ยอมตายเพื่อฆ่าทั้งกองทัพ) เพราะถ้าโจโฉเป็นอะไรไปกองทัพจะไม่ถอยกลับแต่จะปักหลักสู้และส่งข่าวกลับฮูโต๋ให้แต่งตั้งโจผีซึ่งยังไม่ได้มีโจสิดเป็นคู่แข่ง สถานการณ์สงครามกับทัพโจจะไม่ดีขึ้นแต่จะถึงจุดแตกหักกับง่อแน่นอนและตัวเองก็จะพังด้วย คำสั่งของเล่าปีน่าจะเป็นการ "จับเป็น" มากกว่าเพราะโจโฉที่ยังมีชีวิตจะเป็นเครื่องต่อรองชั้นดีกับฝ่ายวุ่ย แต่กวนอูคงต้องยอมปล่อยให้เตียวเลี้ยวอุ้มโจโฉที่ปางตายหนีไปเพราะถ้าโจโฉเสียชีวิตระหว่างการชิงตัวย่อมไม่คุ้ม สรุปแล้วหลอกว้านจงได้เก็บรายละเอียดสำคัญไว้ เพียงแต่วิเคราะห์เหตุการณ์ผิดไปหน่อย ทหารเดนตายสามสิบคนจึงช่วยกันคุ้มกันโจโฉกลับฮูโต๋แทนที่จะพากลับค่ายที่ป่าดำ
     

    กวนอูหักด่าน!?
    อันนี้มีคนค้านไว้ว่าหลอกว้านจงอาจจะไม่ได้เขียนเพราะบางด่านไม่มีสมัยหลอกว้านจงและมีหลักฐานให้เราพิจารณาด้วย ผมยืนยันว่าหลอกว้านจงเขียนแน่นอน แต่ไม่ได้ให้ชื่อด่านไว้(คนรุ่นหลังก็มาสันนิฐานและเติมชื่อเอง) เพราะมีเรื่องหักด่านหกด่านของกวนอูจริงๆ ในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการหักด่านเพื่อหนีทางการหลังฆ่าคนตายครับ ด่านทั้งหกไม่ได้อยู่ไกลกันแบบอ้อมประเทศแต่แค่ประตูเมืองหกเมืองใกล้ๆ กัน เขาหนีไปและเจอกับเล่าปี่ จึงอยู่รับใช้เล่าปี่แต่นั้นเป็นต้นมา และจากวันนั้นเขาก็เปลี่ยนชื่อจากเฝิงเสี้ยนเป็นกวนอู(ฮา) เมืองที่เขาฆ่าคนตายนั้นโจโฉมีตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด แต่โจโฉสอบเรื่องแล้วพบว่ากวนอูป้องกันตัวจึงให้คนเอาจดหมายไปบอกนายด่านที่หกปล่อยไป(มันหนีโจโฉไปหาเล่าปี่จริงๆ!?) ตอนนั้นกวนอูอายุแค่สิบหกปีส่วนโจโฉก็ยี่สิบสาม มาเจอกันอีกทีก็อีกเจ็ดปีถัดมาโจโฉอาจจะจำกวนอูไม่ได้แล้ว หรือถ้าจำได้ก็ไม่ติดใจเอาความอีกเพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว

    เตียวเสี้ยน-ชัวส์หรือมั่วนิ่ม!?
    นางเตียวเสี้ยนที่มายั่วลิโป้และตั๋งโต๊ะจนฆ่ากันตายไม่มีจริง แต่มีผู้หญิงชื่อเตียวเสี้ยนจริงๆ โดยโจโฉนี่เองที่เป็นคนแนะนำตั๋งโต๊ะให้ถวายนางแด่เหี้ยนเต้และพระองค์ก็ตั้งนางให้เป็นฮองเฮา เตียวเสี้ยนมีอายุมากกว่าเหี้ยนเต้หลายปีเพราะเป้าหมายแรกในการถวายก็เพื่อให้ควบคุมราชสำนักได้ และหากศึกษาประวัติศาสตร์อย่างแยบยล เธอนี่เองคือตัวตั้งตัวตีสำคัญในการโค่นตั๋งโต๊ะและเกือบจะตัดหัวโจโฉได้หลายครั้งเพื่อครองอำนาจหลังราชบัลลังก์ เข้าใจว่าหลอกว้านจงเจอข้อมูลว่าเตียวเสี้ยนคือผู้หญิงที่เป็นตัวแปรสำคัญของอำนาจ แถมตั๋งโต๊ะกับลิโป้มีปัญหาผิดใจกันเพราะผู้หญิง หลอกว้านจงจึงตีความว่าเตียวเสี้ยนคือหญิงงามล่มเมือง

    เล่าปี่-ข่งเบ้งคนทีที่สุดในพิภพ!?!
    หลักฐานร่วมสมัยไม่มีเล่มไหนบอกเลยว่าเล่าปี่เป็นคนมีคุณธรรมหรือเจ้าน้ำตา แต่บอกตรงกันว่า "เล่าปี่ทะเยอทะยานแต่สำรวมถ้อยคำ ถ้าไม่ใช้เวลาอยู่ด้วยกันมากพอจะไม่รู้ว่าชายคนนี้มักใหญ่ใฝ่สูง" แม้เจ้าทีมงานเจ้าพระยาจะบิดปากกาให้เล่าปี่เป็นคนโคตรดีแต่ก็ไม่อาจจะกลบสิ่งที่หลอกว้านจงเขียนให้คนที่เล่าปี่ไปพึ่งใบบุญมาแล้วออกมาพูดถึงเล่าปี่เสียๆ หายๆ ได้ โจโฉที่คนอ่านคิดว่าปองร้ายเล่าปี่ทุกลมหายใจก็ถูกเล่าปี่ต้มจนเปื่อย แม้จะอ่านฉบับเจ้าพระยาที่แปลเข้าข้างเล่าปี่แล้วผมยังรู้สึกว่าเล่าปี่ต่างหากที่คุกคามโจโฉ ซ้ำเล่าปี่ยังเลือดเย็นจนน่าขนลุก... อีกคนหนึ่งคือข่งเบ้งที่โคตรมีคุณธรรม แต่อ่านไปอ่านมาแล้วต้องเกาหัวกับพฤติกรรม ซึ่งคงจะยาวถ้าให้ผมอธิบาย จึงขอแนะนำหนังสือเรื่อง "เปิดหน้ากากข่งเบ้ง" สามภาคกับ "ชำแหละกึ๋นเล่าปี่" ของเล่าชวนหัว เพราะที่เอาเป็นเหตุด่าสองคนนี้ล้วนขุดจากพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทั้งสิ้น อีกสิบเปอร์เซ็นต์เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ ผมอ่านแล้วหัวเราะจนหงาย เพราะผมก็สังเกตเห็นเหมือนที่เล่าชวนหัวเห็นนั่นและ เลยรู้สึกเหมือนแกมานั่งพูดในใจผมเลย
     
     
    ดูรูปแล้วจินเอา

    เหตุผลสำคัญที่หลอกว้านจงลำดับเวลาผิดพลาดหลายครั้งเพราะคิดตามหลักเหตุผลเกินไป เช่น

    1 "โจโฉประหารหมอหัวโถที่เสนอผ่ากระโหลกศีรษะของโจโฉเพื่อขุดลิ่มเลือดออก" หลอกว้านจงคงไม่คิดว่าโจโฉจะมีเหตุผลในการประหารหมอหัวโถจึงคิดว่าหมอเสนอการผ่าตัดสมองให้ แต่โจโฉระแวงถึงถูกประหาร ความจริงผู้เสนอการผ่าคือหมอหญิงที่เป็นคู่ประกบคลายเครียดยามสงครามของโจโฉนั่นเอง ทว่า โจโฉอ่อนแอเกินกว่าจะรับการผ่าตัดและหมออื่นๆ ไม่กล้าเสี่ยงเพราะหากโจโฉตายระหว่างผ่าตัดโจผีคงลากขึ้นเขียงทุกคน

    2 ความจริงม้าเฉียวไล่ฆ่าโจโฉเกือบตายหลังจากนั้นหลายปีโจโฉจึงฆ่าม้าเท้งเพราะขบถ แต่หลอกว้านคงมองว่าถ้าโจโฉถูกม้าเฉียวล่าขนาดนั้นย่อมฆ่าม้าเท้งเพื่อแก้แค้นแทนที่จะปล่อยให้ม้าเท้งทำผิดแล้วค่อยฆ่า แต่บันทึกทุกเล่มระบุตรงกันว่าม้าเท้งตายเพราะทำผิดหลอกว้านจงจึงคิดว่า "โจโฉฆ่าม้าเท้งก่อนม้าเฉียวจึงแค้น" ซึ่งสมเหตุสมผลกว่า นับว่าหลอกว้านจงผิดอย่างน่าเสียดายเพราะใช้หลักคิดของคนทั่วไปมาวัดคนอย่างโจโฉที่ตันก๋งและกุยแกยังต้องยกย่องก่อนตาย ว่าเป็นผู้ครองแผ่นดินที่มีเมตตาสูงมาก

    3 หลอกว้านจงว่า "โจโฉประหารฮองเฮาก่อนแล้วค่อยถวายลูกสาว" ทั้งที่โจโฉได้เป็นวุ่ยก๋งเพราะถวายลูกสาวขณะที่ฮองเฮายังมีพระชนม์อยู่ และเป็นเหี้ยนเต้เรียกร้องเอาจากโจโฉเอง แต่หลอกว้านจงคงเชื่อไปแล้วว่าโจโฉข่มเหี้ยนเต้(เพราะเจ้าซื่อบื้อโจผีมันดันตั้งตัวเป็นฮ่องเต้)จึงไม่คิดว่าเหี้ยนเต้จะขอลูกสาวโจโฉจริง และวิเคราะห์ไปว่าโจโฉบังคับให้เหี้ยนเต้รับลูกสาวเค้าเป็นฮองเฮาใหม่

    4 หลอกว้านจงเป็นผู้ริเริ่มเรื่อง "ตันก๋งทิ้งโจโฉเพราะโจโฉฆ่าลิแปะเฉียและครอบครัว" ความจริงมีบันทึกที่เขียนหลังสมัยเฉินโซ่วว่า "ปฐมกษัติย์เว่ยหวู่ตี้ทรงหลบออกจากเมืองหลวงมีสมบัติพอควร ลิแปะเฉียและลูกต้องการชิงทรัพย์แต่เห็นเว่ยหวู่ตี้ระวังพระองค์จึงทำทีเป็นมิตรชวนไปพักที่บ้าน" ครับ.. พอตกดึกก็ช่วยกันปลุกปล้ำโจโฉ(เฮ้ยๆ คิดอะไรน่ะ? อย่าจิ้นให้มันมากนะ) และหมายจะฆ่าและฝังซะ โจโฉจึงพยายามหว่านล้อมให้ตัวเองมีช่องทางเอาตัวรอดก่อนจะฆ่าเด็กหนุ่มสามคนเพื่อป้องกันตัว โจโฉพูดอย่างเศร้าใจก่อนฆ่าลิแปะเฉียให้ตายตามลูกไปว่า "พวกท่านทำผิดต่อข้าเพราะความโลภ แต่ข้าทำผิดต่อท่านเพื่อไม่ให้ท่านทำผิดต่อข้า" พอดีว่าหลอกว้านจงคงได้ข้อมูลเรื่องตันก๋งหนีจากโจโฉเพราะโจโฉได้ฆ่าคนผู้หนึ่งทั้งครอบครัว เลยเดาเอาว่าเหตุการณ์ลิแปะเฉียปิดซิง เฮ้ย เหตุการณ์โจโฉฆ่าลิแปะเฉียตันก๋งคงอยู่ด้วย แม้หลอกว้านจงจะจงใจแปลงคำพูดของโจโฉเป็น "ข้ายอมผิดต่อใต้ฟ้า ดีกว่าให้ใต้ฟ้าผิดต่อข้า" จนเหมือนโจโฉจะสามารถทำผิดต่อใครก็ได้ใน "ใต้ฟ้านี้" แต่เขารู้สึกเสียใจกับสิ่งที่ทำ ผิดกับทางเราที่จงใจบิดเบือนต้นฉบับไปว่าโจโฉพูดอย่างเลือดเย็นว่า "ข้ายอมทรยศคนทั้งโลก แต่ไม่ยอมให้โลกมาทรยศข้า" ทำให้โจโฉเสียผู้เสียคนไปเลย

    5 อีกคนที่น่าสงสารไม่แพ้กันคือจิวยี่ที่ถูกข่งเบ้งยั่วจนกระอักเลือดตายแค่เพราะดันมาตายหลังเสียรู้เล่าปี่(แต่พงศาวดารเสฉวนที่เขียนตามคำสั่งข่งเบ้งคงเขียนยกหางว่าข่งเบ้งเก่งแทนที่จะเป็นเล่าปี่เก่ง) คุณหลอคงพิเคราะห์ดูก็เลยคิดว่ากระอักเลือดตายเพราะเสียรู้ข่งเบ้ง ซึ่งก็ไม่ผิดเพราะถ้าเรามีข้อมูลในมือแค่นั้นก็คงวิเคราะห์ออกมาอีหรอบเดียวกัน ส่วนพวกพ่อลูกเหมาบ้าง ยาขอบบ้าง ก็พากันเขียนเพิ่มจนจิวยี่กลายเป็นไอ้ขี้อิจฉา ถ่มน้ำลายรดฟ้า เสียผู้เสียคนไปเลยทีเดียว

    ยังมีคนอีกมายมายที่เสียชื่อเสียงแบบไม่มีทางเรียกคืนเพราะบทวิเคราะห์ที่ผิดพลาด  แต่เราล่ะ มีโอกาสศึกษาข้อมูลมากกว่าหลอกว้านจงหลายเท่าแล้วยังจะถือหนังสือเล่มเดียวมาอธิบายทุกอย่างนี่ปัญญาอ่อนไปหน่อยมั้ย? แล้วเล่าอย่างกับผู้รู้แต่โดยไม่ตรวจทานต้นฉบับเค้าก่อนนี่สมควรโดนสับยิ่งกว่าหลอกว้านจงหลายเท่าเพราะทำให้คนอ่านไม่มีโอกาสพิจารณาอย่างรอบด้าน ประวัติศาสตร์ฉบับหลอกว้านจงนี้ผมว่าเค้าทำได้ดีมากแล้วสำหรับปราชญ์ชาวบ้าน เค้าได้พยายามวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ด้วยหลักเหตุและผล แม้ว่าจะไม่ถูกต้องที่สุดแต่ก็ได้นำเสนอมุมมองใหม่ๆ และเก็บตกเรื่องราวหลายอย่างที่หาอ่านไม่ได้ในพงศาวดารฉบับหัตถเลขาเช่น ฮันนิบาลฆ่าเมียเพื่อทำอาหารให้เล่าปี่ ข่งเบ้งตีเฮ็กเจียอย่างยากลำบากก็ยังไม่สำเร็จ ลิโป้ยิงธนูช่วยเล่าปี่ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหลอกว้านจงก็ต้องนับว่าเป็นบุคคลที่เราควรยกย่องคนหนึ่งมากกว่าจะสับจนเละ ถ้าเราพิจารณาอย่างเป็นธรรม

    ตอนต่อไป แหละนางเตียวเสี้ยนว่าตัวจริงกับของหลอกว้านจงและนิยายที่คนรุ่นหลังเขียนนั้น อันไหนจะเผ็ดมันกว่ากัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×