ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เฮฮาประสาประวัติศาสตร์--ภาคVlad_Tepes

    ลำดับตอนที่ #3 : องค์ประกันในต่างแดน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 603
      4
      9 เม.ย. 58


    บ้านสีเหลือของแดร็กคิวล่า

    ดูเต็มๆ

    ในยุโรปยุคกลางนั้น ชีวิตของเด็กๆ ไม่เหมือนทุกวันนี้ เพราะ
          1. หกปีแรกซึ่งควรจะได้รับการดูแลอย่างดีนั้น ผู้ใหญ่มักปล่อยอย่างตามมีตามเกิด โดยคิดเอาว่าเด็กจะอยู่หรือตายขึ้นอยู่กับพระเจ้า(เวร...) ข้อดีคือ ทำให้เด็กมีโอกาสได้มีชีวิตตามประสาเขาบ้าง แต่ข้อเสียคือเด็กที่ไม่มีผู้ใหญ่ดูมีโอกาสได้รับอันตรายสูงจึงมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ
          2. ถ้าเด็กรอดชีวิตจนอายุเจ็ดขวบ เขาจะสูญเสียโอกาสที่จะเป็นเด็ก เพราะคนยุคนั้นมองว่าพวกเขากำลังค่อยๆ เป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้น พวกเขาจะได้รับการปฏิบัติและมีความรับผิดชอบเหมือนผู้ใหญ่ ได้รับการประเมินผลเหมือนผู้ใหญ่ ได้รับโทษเท่าผู้ใหญ่ถ้าทำผิด(รวมถึงโทษประหาร) และเรื่องเพศไม่ได้เป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับพวกเขา พวกเขาถูกจับแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยและบางคนอาจมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกทั้งแต่อายุไม่ถึงแปดขวบ!!
     
    วลาดเทเปสอาจจะไม่อยู่ในสภาพที่น่ากลัวเช่นนี้ในช่วงแรก เพราะแม้จะเริ่มต้นด้วยการถูกเนรเทศ แต่ด้วยความเป็นถึงพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า และยุคกลางก็เป็นยุคที่กษัตริย์ยังเป็นเหมือนเทพเจ้า ท่านชายองค์น้อยจึงน่าได้รับการดูแลอย่างดีตั้งแต่ยังอยู่ในผ้าอ้อม พระองค์ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านสีเหลืองที่ชิกิโซอาร่า-ทรานซิลวาเนียจนกระทั่งพระชนม์มายุได้สี่พรรษา ช่วงเวลานี้มีตัวละครสำคัญบังเกิดขึ้น ซึ่งผู้อ่านต้องจำให้ดีๆ เพราะมีความสำคัญมาก บุคคลดังกล่าวคือ
          -สตีเฟ่น บาโธรี่-พระราชนัดดาของพระเจ้าสมันด์ บาโธรี่-บรรพบุรุษโดยตรงของอลิซาเบธ บาโธรี่, ประสูตรในปี 1430
          -สุลต่านเมห์เหม็ต-ผู้พิชิต, 30มีนาคม 1432 ใครไม่รู้จักท่าน กลับไปดูเรื่องDracula Untold!!
          -สเตฟานมหาราช, กรกฎาคม 1433
          -ราดูสุดหล่อ, น้องชายร่วมสายเลือดของวลาดเทเปส, 1434 หรือ1435

    และช่วงปลายปี 1435 นี่เอง พระเจ้าอเล็กซานดรูก็สวรรคต และแทนที่ทายาทของพระเจ้าอเล็กซานดรูจะครองราชย์ต่อ วลาดดราคูลก็ยกทัพมายึดเมืองหลวงไว้ และโดยการสนับสนุนของภาคีมังกร วลาดดราคูลได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าวลาดที่สอง(Vlad II) ทำให้บรรดาท่านชายและท่านหญิงน้อยทั้งหลายที่เป็นสายพระโลหิตก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าฟ้าชายและเจ้าฟ้าหญิง และในปี 1436 พระองค์ก็วลาดน้อยของพระองค์ไปยังที่ประชุมลับของภาคีมังกรและเข้าสู่พิธีสำคัญในภาคี-รวมถึงได้พระเจ้าสมันด์ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ฮังการี, สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, และประมุขสูงสุดของภาคีมังกร เป็น "พ่อทูนหัว"
     
    เหตุการณ์ตอนนี้จึงทำให้ผมตระหนักได้ว่าสถานของวลาดเทเปสไม่ธรรมดา พระองค์ได้ถูกจัดการให้แน่ใจว่าจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและถูกขนานนามในเวลานี้ว่า "Dracula" อันแปลว่า "มังกรน้อย" เวลานั้นก็เกิดกระแสขึ้นมาด้วยว่ามังกรน้อยตัวนี้คือ "ผู้มาโปรดของชาวโรมาเนีย" แน่ล่ะว่าแดร็กคิวล่าคงคิดเอาเองว่าพระองค์มีหน้าที่ปลดปล่อยชาวโรมาเนียจากการเป็นทาสของชาวต่างชาติ แต่จริงๆ แล้วไม่เลยครับ... ภาคีมังกรมีความเชื่อทางศาสนาเป็นของเขาเอง และมังกรน้อยท่ามกลางเหล่ามังกรก็คือ "เครื่องถวายบูชา" ที่ภาคีมังกรจะนำขึ้นถวายพระเจ้า(คือตายนั่นเอง) ความคิดนี้คือการเดินตามรอยความเชื่ออับราฮังที่ถวายอิสอัคในพระสัญญาเดิม!!  คิดดีๆ แล้วน่าตกใจนะครับ พระเจ้าสมันด์เป็นประมุขแท้ๆ ยังไม่คิดจะนำพระราชนัดดาแท้ๆ อย่างสตีเฟ่น บาโธรี่มาถวาย แต่วลาดที่สองก้าวหน้าถึงขั้นเอาแดร็กคิวล่าน้อยมาประทับตราในฐานะเครื่องถวายบูชาในอนาคต-โดยถวายในนามของชาวโรมาเนีย!! ผมไม่แน่ใจว่าพระเจ้าจะทำหน้าอย่างไรตอนที่เห็นแดร็กคิวล่าน้อย!? ปลาบปลื้มพระทัยที่วลาดดราคูลแสดงความสัตย์ซื่อเหมือนที่อับราฮัมเคยแสดง? หรือว่าเสียพระทัย?  แต่ที่แน่ๆ วลาดที่สอง--ดราคูลก็ครองราชย์อย่างไม่มีปัญหา
     
    รัชสมัยของดราคูลตรงกับรัชสมัยของสุลต่านมูรัตที่สองแห่งออตโตมัน เอกสารของออตโตมันระบุว่า "วลาดดราคูลคือค่าใช้จ่ายสำคัญของจักรวรรดิ์สำหรับการต่อสู้กับพวกคนเถื่อนที่กระด้างกระเดื่อง เป็นตัวแสบที่ทำให้เหล่าปาชา(ขุนนางออตโตมัน)ต้องจ่ายเงินมากกว่าที่ควรจะเป็น.." และเช่นกัน ทางวาติกันก็ยอมรับว่าวัลลาเคียภายใต้การนำของวลาดที่สองคือหัวเมืองที่สำคัญในการต่อสู้กับพวกมุสลิม ฉะนั้นจึงต้องทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นบ้างเกี่ยวอุดมการณ์ที่หมิ่นเหม่และเป็นอันตรายของภาคีมังกร ความห้าวหาญของวลาดที่สองทำให้สุลต่านต้องยกทัพมาด้วยตัวเอง และนั่นกลายเป็นการพบกันที่อยากจะลืม..

    สุลต่านมูรัตที่สอง
     
    สุลต่านมูรัตเป็นไบเซ็กซ่วนครับ....!!
     
    ด้วยพระรูปโฉมอันอร่ามเรืองของวลาดที่สองทำให้มูรัตออกจะกลัดมันส์ไม่น้อย ผมขออนุญาติระบุเพิ่มหน่อยว่า "ราชวงศ์นี้(ครอบครัวของวลาดดราคูล)มีชื่อเสียงเรื่องความงามของสมาชิกในราชวงศ์ แม้แต่วลาดเทเปสก็ทรงได้รับการพิจารณาว่าสวย" ความงามของวลาดที่สองจะเห็นได้ชัดจากงานศิลปะของพวกออตโตมันซึ่งแม้จะทุกคนเหมือนกันหมด--แต่เน้นความปราณีตอย่างยิ่งยวดบนภาพวลาดที่สอง--ทำให้เข้าใจได้ไม่อยากว่าพระองค์ต้องมีความงามโดดเด่นมาก และในภาพยนตร์เรื่อง "Mircea" บุคคลที่ถูกเลือกมารับบทวลาดดราคูลก็หล่อเลิศกว่าทุกคนอย่างมีนัยยะสำคัญ  อย่างไรก็ตาม ความงามของพระองค์ดูจะเป็นความงามซึ่งนำมาซวยมาให้มากกว่า เพราะประมาณปลายปี 1441 มูรัตก็ทนไม่ไหว--ส่งหน่วมคอมมาโดไปลักพาตัวกษัตริย์รูปงามแห่งวัลลาเคียมาทันที!! แล้วไม่ลักพาตัวมาเปล่าๆ ครับ.. พอดีว่าเจ้าชายแดร็กคิวล่าทรงประทับอยู่แถวนั้นด้วยเลยติดร่างแหมาด้วยกัน
     
    แน่ล่ะ มูรัตอาจจะยังคาดไม่ถึงว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระองค์จะยุติการ "ผสมพันธุ์" ทุกประเภทและนำพระองค์เองไปสู่การ "สูญพันธุ์" โดยสมบูรณ์ เพราะพระองค์คิดถึงแต่ดราคูลเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อพระองค์ได้สบตากับมรกตคู่สวยของมังกรน้อยที่พึ่งออกจากไข่ สุลต่านเสือไบก็กลายเป็นไอ้โรคจิตทันที  ด้วยความชาญฉลาดทางการเมือง พระองค์ทำให้ดราคูลสิโรราบและยอมทิ้งแดร็กคิวล่าไว้เป็นองค์ประกันและยอมสัญญาที่จะส่งโอรสอีกพระองค์มาเป็นองค์ประกันเพิ่มด้วย ฉะนั้นพระราชาจึงได้กลับประเทศไปในปี 1442 ก่อนจะส่งเจ้าชายราดู(สุดหล่อ)มาเป็นองค์ประกันเพิ่ม--ตามสัญญา  แล้วเจ้าชายน้อยทั้งสองได้ถูกส่งไปรับการศึกษาภาษาตุรกีและเข้ารับการฝึกที่แตกต่างกัน โดยเจ้าชายวลาดทรงได้รับเลือกให้เป็นมหาดเล็กฝ่ายใน(icoglani) และราดูถูกส่งไปรับการฝึกเป็นทหารองค์รักษ์(janissary)
     
    ตอนนี้ขออธิบายทิ้งท้ายเพิ่มอีกนิดว่า...
    แดร็กคิวล่า หรือ วลาดเทเปสนั้น พระนาม "วลาด" มาจากคำว่า "วลาดิลาฟ" แปลว่า "ฤทธานุภาพแห่งพระเจ้า" และ "เทเปส(Tepes) แปลว่า "เสาหลัก" แต่ทุกวันนี้มักถูกแปลว่า "เสาแหลม" มากกว่า... ส่วน "ราดู" นั้นแปลว่า "สันติสุข" ด้วยความหมายของชื่อทำให้ผู้คนมากมายมีอิมเมจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของทั้งสองว่า "วลาดดุร้ายและห้าวหาญ" และ "ราดูอ่อนแอและสวยงาม" อย่างไรก็ตาม... ผมอยากให้ติดตามต่อต่อไป แล้วท่านจะรู้ว่าตัวจริงของทั้งสองพระองค์ไม่เป็นดังที่คนส่วนใหญ่คิดไว้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×