ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เฮฮาประสาประวัติศาสตร์--ภาคVlad_Tepes

    ลำดับตอนที่ #24 : วลาดกลับบ้าน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 260
      2
      23 มิ.ย. 59

    ก่อนที่วลาดจะกลับบ้าน ก็เกิดเหตุ "การหายตัวไปของพระเจ้าราดูที่สาม"

    ในปี 1475 นี้ไม่เพียงเป็นปีที่วลาดได้รับอิสระภาพ แต่เป็นปีที่มีข่าวลือดังไปทั่วว่าพระเจ้าราดูที่สามหรือราดูสุดหล่อ(Radu the Handsome)-กษัตริย์หุ่นเชิดของออตโตมันได้เสด็จสวรรคตอย่างเป็นปริศนา จนเป็นข่าวลือเปรี้ยงปร้างว่าสวรรคตเพราะกามโรค(เนื่องจากข่าวลือที่ว่าทรงเป็นเกย์นั่นเป็นอะไรที่หอมกรุ่นยิ่งนัก) แต่อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทรงหายตัวไป เพราะในปี 1470 ก็ทรงปราชัยแก่พระเจ้าสเตฟานมหาราชย์แห่งมอลโดเวียและหายตัวไปแล้วรอบหนึ่ง

    ^สเตฟานมหาราชย์

    เพียงแต่ครั้งนี้น่าจะหายแล้วหายเลย เพราะไม่ปรากฏว่าทรงกลับมาอีกในประวัติศาสตร์...

    ส่วนเหตุผลที่ต้องรบกันกับมอลโดว่าก็เพราะสเตฟานทรง "หึงหวง" ก็เลยเปิดศึกกับพระเจ้าราดู  แต่หึงหวงใครนั้นยังเป็นปริศนา.. ว่ากันว่าทั้งสองต่างก็เคยกิ๊กกับสุลต่านเมห์เหม็ตอยู่พักหนึ่ง และสุลต่านองค์นี้ก็ไม่รู้ยังไง แม้จะหนวดเครารุงรังแต่ก็มีเสน่ห์กับผู้ชายด้วยกันเอามากๆ ประมาณว่าถ้าไม่รักแมวมากเกินไปก็คงมีสามีเป็นตัวเป็นตนไปแล้ว(โดนเมห์เหม็ตถีบ) แถมไม่เปิดศึกเปล่า จับพระธิดาของพระเจ้าราดูคือเจ้าหญิงมารีอาไปด้วย ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงมารีอาก็ได้เป็นมเหสีของสเตฟานมหาราชย์ผู้ทรงฉุดคร่าพระองค์ไปซึ่งถ้าเป็นสมัยนี้คงไม่ทรงพ้นข้อหา "พรากผู้เยาว์"

    ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สเตฟานทรงมีฐานะเป็นทั้งพระญาติผู้น้องของพระเจ้าวลาด(นักเสียบ)ที่สามและยังเป็นหลานเขยซะด้วย(อืม... ราชวงศ์บางทีก็มีอะไรมั่วๆ แบบนี้อยู่บ่อยๆ เหมือนกันในประวัติศาสตร์) ตอนนั้นราดูทรงหายไปไม่นาน ก็กลับมาชิงบังลังก์คืนจากพระเจ้าบาซารับ แล้วหลังนั้นตลอดห้าปีทั้งคู่ก็เปิดศึกชิงบัลลังก์กันไปมา จนกล่าวได้ว่า ทั้งสองพระองค์ครองราชย์เฉลี่ยปีละสองครั้งในตลอดห้าปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งประชาชนรู้สึกยังไงก็คงไม่ต้องไปถาม เพราะชินแล้วกับการชิงบัลลังก์อันไร้สาระของพระราชาที่สนใจแต่พระราชอำนาจแต่ไม่สนปากท้องของพระชาชน ระหว่างศึกของสองกษัตริย์นี้ ว่ากันว่าในเวลานั้นราษฎรไปรวมตัวกันที่โบสถ์เพื่อขอร้องให้เจ้าอาวาสช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการร้องเรียน--เพื่อช่วยวลาด แดร็กคิวล่าออกจากคุก

    นับว่าเป็นกษัตริย์ที่นั่งอยู่ในหัวใจราษฎรอย่างแท้จริง และที่สำคัญ ในยุคที่กษัตริย์มองเห็นแต่ความหวาดกลัวของประชาชนแต่ไม่ได้รับความรักนั้น วลาดนับว่าประหนึ่งในกษัตริย์ไม่กี่พระองค์ของยุคกลางที่ได้ครองหัวใจของราษฎร

    ดังนั้น ซามมาเอล ซินจึงเดาตามประสานักจับแพะชนแกะว่า "สเตฟานมหาราชย์ทรงมองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับความนิยมชมชื่นจากราษฎรวัลลาเคีย" ดังนั้นจึงกลายเป็นหัวแรงสำคัญในการล่ารายชื่อเหล่าชนชั้นสูงในยุโรปตะวันออก--เพื่อยื่นอุทรณ์ต่อวาติกัน--เพื่อให้ฮังการี่ปล่อยตัววลาด แล้วหลังจากนั้น--รวมกับน้องเขยซึ่งก็คือสตีเฟ่น บาโธรี่แห่งทรานซิลวาเนีย(พระปัยยกาของคุณหญิงอลิซาเบธ บาโธรี่ผู้อื้อฉาว)ทั้งสามกองทัพได้ร่วมกันถล่มพระเจ้าบาซารับจนต้องล่าถอยไป

    ^พระเจ้าสตีเฟ่น บาโธรี่(ไม่ใช่ตาลุงเครายาวที่ยืนข้างๆ นะ) แห่งทรานซิลวาเนีย ไม่รู้เป็นไง ผู้ชายยุโรปตะวันออกชอบไว้หนวดทรงเดียวกัน

    และหลังจากนั้น วลาดก็กลับสู่ราชสมบัติอีกครั้งท่ามกลางความยินดีของประชาชนที่มีอย่างท่วมท้น จะมีก็แต่โบสถ์ออธอด๊อกซ์ซึ่งกังขาและไม่ไว้วางใจพระองค์เนื่องจากข่าวลือที่ได้ทราบมาคือวลาดได้ทรงเป็นชาวคาธอริคไปแล้ว

    ดังนั้นการสอบสวนพระราชาโดยศาสนจักรจึงเริ่มขึ้น!!!

    ผมเสียดายที่ไม่มีหลักฐานใดที่จะช่วยยืนยันว่าเกิดอะไรขึ้นในการสอบสวนหรือหลังจากนั้น เพราะแม้จะมีภาพยนตร์มากมาย(ตัวอย่างเช่น "แดร็กคิวล่า เจ้าชายกระหายเลือด" Dark Prince the True story of Dracula)ได้โชว์ว่า วลาดไม่ได้ทรงรับนิกายคาธอริคอย่างจริงๆ จังๆ ซึ่งก็จริง เพราะค่อนข้างชัดเจนในประวัติศาสตร์ว่าพระองค์ทรงถูกลากลงแม่น้ำดานูบและโดนจับหัวกดน้ำทั้งแบบนั้น เผลอๆ อาจจะถูกมัดมือมัดปากด้วยซ้ำไป(ป้องกันการคัดค้าน?) แต่พวกพระออธอด๊อกซ์ก็ไม่ได้เชื่อพระองค์ แถมยังประกาศการตัดขาดพระองค์จากโบสถ์เสียด้วย ซึ่งเท่ากับว่าพระองค์จะไม่มีที่ฝังพระศพบนแผ่นดินของพระองค์เองเลยทีเดียว ซึ่งในความเชื่อของคนในยุคกลางนับว่าเป็นอะไรที่เลวร้ายมาก ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้วลาดถึงกับหลั่งน้ำตาและตะโกนสาปเมืองบูคาเรส ซึ่งได้ตัดขาดพระองค์เลยว่า ขอให้เมืองนี้ล่มจมเพราะการกระทำอันไม่ยุติธรรมนี้

    ^สนากอฟ(snagov)ที่ใครๆ ก็คิดว่าเป็นสุสานแดร็กคิวล่า

    ซึ่งภายหลังเมื่องนี้ก็เจอกับความวิบัติเข้าจริงๆ รวมทั้งสนากอฟ--ซึ่งเป็นโบสถ์ที่ตัดขาดพระองค์ในเวลานั้นก็ต้องประสบกับภัยหลายอย่างรวมทั้งสิ่งก่อสร้างในเขตวัดก็ถูกพายุโจมตีจนพังทลายซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเหล่าพระแทบจะย้ายวัดหนี อย่างไรก็ตาม มีพระสมองใสท่านหนึ่งทำพิธีฝังศพวลาดขึ้นมา หลังจากนั้นเหตุการณ์เลวร้ายทั้งหลายก็หายไปราวกับปาฏิหารย์

    ซึ่งเพียงเท่านี้ก็คงพอเข้าใจแล้วนะครับว่า พระศพของพระเจ้าวลาดไม่ได้ฝังไว้ที่สนากอฟอย่างที่ใครๆ คิด(ถ้าใครไปโรมาเนียแล้วจะไปสนากอฟเพื่อเยี่ยมวลาดขอให้เข้าใจซะใหม่) เพราะสุสานที่แท้จริงของวลาด ตามเอกสารราชวงศ์คือวัดโคมานา(Comana)

    ^วัดโคมานา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×