ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เฮฮาประสาสามก๊ก

    ลำดับตอนที่ #81 : มังกรเล้นกาย--1

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 659
      7
      4 ม.ค. 57

    มังกรเล้นกาย--1

     
    หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องราวของข่งเบ้งในฐานะมังกรหลับจากปลายพู่กันของหลอกว้านจงและพ่อลูกเหมากันมากมาย  แต่เอาเข้าจริงๆ หลังฐานทางประวัติศาสตร์ได้บ่งชี้ว่ายอดที่ปรึกษาที่เล่าปี่ยอมรับว่ายอดเยี่ยมที่สุดไม่ใช่ข่งเบ้งแต่เป็นหวดเจ้ง  เล่าปี่เมื่อได้หวดเจ้งมาเคียงข้าง หวดเจ้ามีอิทธิพลต่อเล่าปี่มากกว่าที่ปรึกษาทุกคน  แม้แต่เตียวหุยที่เป็นที่ปรึกษาของเล่าปี่มาตั้งแต่เริ่มต้น  ความสำคัญของหวดเจ้งนั้นมากจนเมื่อเล่าปี่คิดตีง่อก๊ก  ใครทักท้วงก็ไม่ยอมรับฟัง  ทำให้ข่งเบ้งถึงกับรำพึงว่า "หากหวดเจ้งยังอยู่ เขาคงสามารถขัดขวางเล่าปี่ได้" นี่เป็นสิ่งที่ยืนยันความสำคัญของหวดเจ้งในฐานะ "คนโปรด" ของเล่าปี่  และมีความสำคัญมากกว่าทุกคน

     
    ความจริงอย่างว่าแต่ทักท้วงเลย  เผลอๆ สงครามระหว่างเล่าปี่กับซุนกวนคราวนี้อาจจะเป็นสงครามที่สนุกมากก็เป็นได้  เพราะหวดเจ้งไม่ได้มีศักยภาพน้อยไปกว่าลกซุน  อันที่จริงเหนือกว่าลกซุนด้วยซ้ำเพราะมีประสบการณ์สูงกว่า ชั่วโมงบินเหนือกว่า  พิชัยสงครามของหวดเจ้งสามารถยับยั้งขิงแก่อย่างโจโฉไว้ได้ด้วยซ้ำในศึกฮั่นจง  และอาจจะชนะอย่างสมบูรณ์แบบถ้าเขาไม่ตายซะก่อน  ผมคิดว่าเพื่อนๆ คงรู้ว่าโจโฉเป็นนักกลยุทธ  เขามีคุณสมบัติของแม่ทัพและเสนาธิการรวมอยู่ในคนเดียวกัน  ทำให้สายตาในการมองโลกของเขามักจะเหนือกว่ากุนซือของเขาด้วยในบางครั้ง  แต่หวดเจ้งก็ยังสามารถทำให้เขาชะงักได้  นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้หวดเจ้งได้ฉายาซึ่งน้อยคนจะรู้จัก นั่นคือ "กุยแกแห่งชู่"

     
    กุยแกเป็นสุดยอดนักการทหารของโจโฉ  และเป็นบุคคลที่นักประวัติศาสตร์ยอมรับอย่างไร้เงื่อนไขว่าเป็นเสนาธิการที่ดีที่สุดในยุคสามก๊ก(เว้นแต่บางท่านจะเสพนิยายมากเกินไปจนยกย่องข่งเบ้งเป็นสุดยอดของเสนาธิการ) และการที่มีคนได้รับฉายาว่า "กุยแก" ย่อมเป็นการยืนยันศักยภาพทางการทหารของเขาผู้นั้น
    แต่เราคงไม่อาจโกรธเคืองบรรดานักเขียนนิยายที่เป็นโรคบิด(เบือนประวัติศาสตร์) เขียนนิยายกดหัวหวดเจ้งเพื่อเชิดชูข่งเบ้ง  เพราะเขาเหล่านั้นเขียนนิยายเพื่อความสนุก
     
    ในความเป็นจริง  เล่าปี่หาได้มีที่ปรึกษาแค่หวดเจ้ง ข่งเบ้ง บังทอง เตียวหุยไม่  เพราะตอนเล่าปี่มีคำสั่งให้ร่างวิธีบริหารราชการแผ่นดินปรากฏว่ามีผู้มีคุณวุฒิเข้าร่วมมากถึงสี่สิบคน  นั่นแปลว่าเล่าปี่ต้องมีที่ปรึกษาอย่างน้อยสี่สิบคน  พวกเขาเหล่านี้คือมังกรเล้นกายตัวจริงของประวัติศาสตร์  เพราะถ้าไม่มีพวกเขา  เล่าปี่ก็อาจจะไม่สามารถรอดพ้นจากอันตรายได้ตลอดเวลา  พวกเขาเหล่านี้มีความสำคัญไม่น้อยกว่าตัวละครอื่นๆ พวกเขาเหล่านี้  บางคนติดตามเล่าปี่มาตั้งแต่แรก  บางคนพึ่งเข้าร่วมหลังจากนั้น  และเมื่อเล่าปี่มีคำสั่งให้ร่วงกฎหมายและวิธีบริหารราชการแผ่นดินพวกเหล่านี้เหลือรอดมามากกว่ายี่สิบคน
     
    เป็นไปได้ว่าเล่าปี่คนนี้อาจจะไม่ได้เป็นแค่คนทอเสื่อธรรมดา  โอ้... ลืมไป อันที่จริงมันไม่ใช่คนทอเสื่อขายรองเท้ามาแต่แรกแล้วครับ  เพราะแม้ครอบครัวของเล่าปี่จะประกอบอาชีพนี้  แต่เราต้องไม่ลืมว่าเล่าปี่ออกจากบ้านตั้งแต่อายุสิบสามและรวบรวมกองทัพเล็กๆ จำนวนไม่ถึงยี่สิบคนขึ้นมา  หลังจากนั้นสิบปีพวกเขามีจำนวนมากถึงห้าร้อยคน  ฉะนั้น  ในช่วงเวลาสิบปีที่เขาเร่ร่อนออกจากบ้านไปเป็นทหารรับจ้างตั้งแต่อายุสิบสามจนถึงยี่สิบสามนั้น  เล่าปี่ย่อมไม่ได้นั่งทอเสื่อขายรองเท้าฟางแน่นอน  เขาน่าจะเอาความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากแม่มาทอเสื่อสานรองเท้าสำหรับกองทัพของเขามากกว่า  นั่นทำให้เขายิ่งชำนาญ เพราะการเดินทางไกลย่อมทำให้เสื่อและรองเท้าชำรุดได้ง่าย  เล่าปี่จึงต้องสานบ่อยๆ  ถ้าเพื่อนบางคนจะจำได้  เล่าปี่พูดชัดว่า "มันเป็นงานอดิเรก" ไม่ใช่อาชีพ  ฉะนั้นเรื่องที่ว่าเล่าปี่เป็นพวกทอเสื่อขายรองเท้านั้นน่าจะเป็นคำพูดที่ผู้อื่นแสดงความเหยียดหยามต่อเล่าปี่--คือไม่ยอมรับว่าเขามีเชื่อสายราชวงศ์ตามที่เขาอ้างนั่นเอง

     
    แต่นายหลอก็เอามาเขียนนิยายจนคนเชื่อว่าเล่าปี่ทอเสื่อขายรองเท้าจริงๆ

     
    กลับมาที่เรื่องที่ปรึกษาเล่าปี่ใหม่  หลังจากพาออกทะเลไปพักใหญ่  คือชื่อที่ปรึกษาเล่าปี่นั้น ผมหามาได้แค่สี่คนนี้เพราะผมไม่สามารถหาบรรทึกเกี่ยวกับจ๊กก๊กมาอ่านทั้งหมดได้ จึงไม่ทราบว่าแต่ละท่านมีความพิเศษอันใดบ้าง  จะมีที่พอค้นคว้าได้ก็มีแค่ "หวดเจ้ง" ที่ปรากฏบทบาทชัดเจนในประวัติศาสตร์ "เตียวหุย" ที่มีเค้าโครงในประวัติศาสตร์บันทึกให้เชื่อว่ามีสติปัญญาสูง(แต่ในนิยายนั้นโง่บรม) "บังทอง" ซึ่งมีบทในประวัติศาสตร์มากกว่านิยาย และ "ข่งเบ้ง" ที่ในประวัติศาสตร์แทบไม่มีประโยชน์เลยในขณะที่เล่าปี่ยังมีชีวิต  แต่มีบทบาทอย่างสูงเมื่อเล่าปี่ตาย  แต่ในนิยายดันเขียนให้มันเป็นยอดอัฉริยะ
     
    ยังมีมังกรเร้นกายอีกหลายคนที่ปรากฏในสามก๊กแบบผิวเผิน  เหมือนไม่มีความสำคัญทั้งที่มีความสำคัญและความสามารถ  ด้วยพื้นที่ที่ไม่สามารถจัดสรรได้อย่างเต็มที่ของนักเขียนนิยาย  หนึ่งในนั้นคือสุมาเต็กโซ(ซือหม่าเต๊อะเชา)--ผู้ได้ฉายาว่า "กระจกวารี" ท่านนี้เป็นอัฉริยะที่ไม่ฝักใฝ่การเมือง  แต่ท่านพร้อมจะให้คำแนะนำแก่ทุกคนที่มาพบเขาด้วยเรื่องการเมือง  โจโฉและซุนเซ็กรวมถึงเล่าปี่ก็เคยมาเชิญชวนเขาให้เขาร่วมกับฝ่ายตนเช่นกัน  แต่เขาปฏิเสธ และเราก็รู้แล้วว่าบางคนไม่ใช่คนที่ใครจะปฏิเสธได้ง่ายๆ เช่นโจโฉและซุนเซ็ก แต่เขาก็สามารถปฏิเสธคนเหล่านั้นได้  แสดงว่าสุมาเต็กโซผู้นี้ต้องมีอะไรบางอย่างที่สยบคนเหล่านี้

     
    เดี๋ยวคราวหน้าผมจะมาต่อเรื่องนี้กันอีก... สำหรับตอนนี้ เอาไว้แค่นี้ก่อนครับ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×