ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เฮฮาประสาสามก๊ก

    ลำดับตอนที่ #73 : เหตุใดคนเก่งจึงไม่รุ่ง!? ผ่าสายตาอันแหลมคมของยอดผู้นำแห่งสามก๊ก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.26K
      5
      13 พ.ค. 56

    เหตุใดคนเก่งจึงไม่รุ่ง!? ผ่าสายตาอันแหลมคมของยอดผู้นำแห่งสามก๊ก

    หลังจากที่ปิดฉากเรื่องน้ำเน่าไปได้ ผมก็เริ่มท่องเน็ตอีกครั้งเพื่อหาเรื่องที่น่าสนใจ เวลาที่เปิดไปเจอเวปที่เค้าถกเรื่องสามก๊กจะต้องมีการเถียงกันวุ่นวายไปหมดว่าคนโน้นดีคนนี้เลว เห็นเลยว่าหลักๆ ที่ทำให้ทะเลาะกันคือ รักคนโน้นเกลียดคนนี้ ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะคิดว่าแต่ละคนก็มีคนรักคนเกลียดเป็นธรรมดา แต่รสนิยมพวกเค้าไม่เหมือนผมเอาซะเลย..
     

    อย่างเล่าปี่นี่... ผมไม่ได้ชอบอะไรเล่าปี่ในนิยายมาก(มันอ่อนแอเหยาะแหยะ) แต่เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ ผมยอมรับว่าผมหลงรักเล่าปี่เต็มที่เลย คนอะไรทั้งเก่ง ทั้งแมน ที่สำคัญเล่เหลี่ยมจัดแต่เนียนโคตร เหมือนได้เห็นคิลลา ควีนพระเอกเรื่อง "มายาชีวิตคิลลา" ที่เป็นชายหนุ่มรูปงามที่ทำได้ทุกอย่างเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย คือตัวจริงร้ายมากๆ แต่ทั้งๆ ที่เป็นแบบนั้นกลับน่าเอาใจช่วยสุดๆ ไปเลย จนผมต้องให้ฉายาเล่าปี่ว่า "พระเอกวายร้าย"  ส่วนโจโฉ...  ผมชอบโจโฉในนิยายก็ความที่เหี้ยมหาญ แต่เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์มากๆ เข้า ยอมรับว่าผิดหวังกับตัวจริงที่ไม่พราวเท่านิยายและเด็ดขาดไม่พอสำหรับยุคแห่งสงคราม แต่มันก็ทำให้เราอึ้ง นี่มันอะไรกันวะเนี่ย  ยกโทษให้คนได้หมดทั้งโลก ไม่สนว่าจะเลวมาขนาดไหนหรือเคยทำร้ายตัวเองมายังไงก็ชั่ง ขอแค่สำนึกผิด-อยากกลับตัวมันก็อภัยให้หมด(เฉพาะเรื่องส่วนตัว ไม่นับกฎหมาย) โห... ประโยคเดียวสำหรับนาย "ไอ้ผู้ร้ายใจพระ" ความเท่ไม่เท่าไหร่แต่หัวใจเท่านั้น ยอมรับเลยว่ารักหัวใจโจโฉไปเต็มๆ  ส่วนไอ้คนท้าย ซุนกวน...  ตัวละครที่เหมือนเอามาแถมๆ ในนิยาย แต่ฉบับประวัติศาสตร์นี่เกรียนได้ใจจริงๆ แล้วต้องยอมรับว่าทั้งอัจฉริยะและเป็นลูกผู้ชายเอามากๆ แม้จะเป็นแบบเกรียนๆ ก็เหอะ ทำให้นึกถึงพระเอกแนวเด็กช่างกลยังไงไม่รู้ รายนี้ผมให้ฉายาว่า "เทพเกรียน"
     

    แต่ทั้งสามมีจุดร่วมที่เหมือนกันในเรื่องการพิจารณาบุคลากร คือเลือกใช้บุคคลากรที่เหมาะสมกับงานจริงๆ  และเรื่องการเลือกใช้คนนี่เองที่ผมจะเอามาชี้ว่าทำไมคนบาง ผู้อ่านมองว่าเก่งเหลือหลาย แต่กลับไม่ได้รับการพิจารณาเท่าที่ควรในสายตาท่านหัวหน้าก๊ก  ซึ่งผมอาจจะมองค้านกับเพื่อนๆ หลายคนก็ได้ เพราะผมค่อนให้เครดิตท่านผู้นำ เนื่องจากบุคลากรนั้นแม้จะเป็นเพชรที่ล้ำค่าเพียงใด แต่หากผู้นำมองไม่เห็นเพชรก็ไม่อาจถูกเจียระนัย  แต่กระนั้นก็ไม่อาจะบอกว่าคนเก่งบางคนที่ไม่รุ่งเพราะนายตาไม่ถึง เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นเพชรบนยอดมงกุฎได้ แต่ก็อาจเป็นเพชรบนจี้ แหวน กำไล ตามความเหมาะสม  อาทิ... น้อยคนจะทราบว่าข่งเบ้ง เตียวหุย กวนอู ไม่เคยเป็นหมายเลขหนึ่งในสายตาเล่าปี่อย่างที่ปรากฏในนิยายเพราะเล่าปี่มีตัวเลือกมากมาย ก่อนที่เล่าปี่จะตายข่งเบ้งเป็นเพียงขุนนางระดับกลางเท่านั้นและเล่าปี่ฝากอาเต๊าและกิจการบ้านเมืองให้คนมากมายช่วยกันดูแล หาได้ฝากไว้กับขงบ้งคนเดียวไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์(แต่ยุ่งยากสำหรับการสืบค้นคนเหล่านั้น)ว่า "คนที่เล่าปี่ไว้วางใจที่สุดในการนำทัพคืออุยเอี๋ยน และที่ปรึกษาที่ดีที่สุดคือหวดเจ้ง" เพราะนี่คือชื่อที่เพื่อนๆ รู้จักและบังเอิญตรงกับข้อมูลจริงในประวัติศาสตร์  ส่วนคนอื่นๆ หากค้นมาก็จะงง(ทั้งคนเอามาให้อ่านและคนรออ่าน)เนื่องจากไม่ปรากฏในนิยาย

    สำหรับจูล่งนั้น นักประวัติศาสตร์ให้ฉายาว่า "นักรบจับฉ่าย" เนื่องจากในสายตาเล่าปี่  แม้จูล่งจะมีความสามารถด้านการต่อสู้แต่ไม่ใช่แม่ทัพที่ดี สิ่งที่เค้าทำได้คือการนำทหารราวๆ สามสิบคนเท่านั้นไม่ใช่สามร้อยหรือสามพัน(แต่หากเป็นอุยเอี๋ยน ต่อให้นำทัพสามแสนเล่าปี่ก็ไว้ใจ) ซึ่งเพื่อนๆ หลายคนคงจะเถียงคอเป็นเอ็นแน่(รวมทั้งเล่าชวนหัวด้วย)เมื่อผมบอกว่าจูล่งเป็นได้แค่หัวหมู่ทะลวงฟัน ไม่อาจเป็นแม่ทัพได้  แต่ผมเชื่อสายตาเล่าปี่เพราะขนาดม้าเจ็กที่พึ่งเห็นหน้ายังดูไม่พลาด นับประสาอะไรกับจูล่งที่รู้จักมาหลายสิบปี(กระนั้นจูล่งก็กลายเป็นนักรบคนสำคัญในนิยายสามก๊กเพราะฝีมือเป็นเลิศ) และจูล่งก็เป็นหนึ่งในคนที่เล่าปี่ชื่นชอบ ไม่มีเหตุผลที่จะไม่มอบตำแหน่งสำคัญให้ เว้นแต่เรื่องในสามก๊กจะเหมือนที่เล่าชวนหัวตั้งข้อสังเกต  ซึ่งคนที่เทียบเท่ากับจูล่งในก๊กโจโฉก็คือ "เคาทู" ซึ่งตามประวัติศาสตร์และนิยายก็คือยอดฝีมือที่ยากจะมีใครโค่นลงได้ ที่สำคัญคือความซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นยอด หากจดจำวีรกรรมฝ่าทัพช่วยอาเต๊าของจูล่งได้  ก็พึงสังวรด้วยว่าวีรกรรมอารักขาโจโฉของเคาทูก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย 

    เพียงแต่อัตราความสำเร็จในการปกป้องเจ้านายของเคาทูดูจะต่ำกว่าจูล่งหลายเท่าตัว เพราะโจโฉไม่ค่อยเซฟตัวเองเท่าไหร่ จากบันทึกประวัติศาสตร์ โจโฉเจ็บหนักทุกศึกที่ออกรบซึ่งในหนึ่งศึกก็มีการรบหลายรอบ แต่ละรอบจะเจ็บบ้างไม่เจ็บเป็นธรรดา แต่ที่แน่ๆ เมื่อรวมแล้วไม่มีหัวหน้าสามก๊กคนไหนจะสะบักสะบอมเท่าโจโฉที่เป็นเจ้าของสถิติบาดเจ็บสาหัสทุกสมรภูมิ(น่าแปลกใจที่หมอนี่อยู่มาจนอายุเลยหกสิบ) และยังไม่นับความจริงที่โจโฉมีอัตราเสี่ยงภัยในสูงสุดด้วยเพราะโดนลอบฆ่าบ่อยมาก ความจริงเรื่องลอบฆ่าเป็นเรื่องธรรมดาของผู้นำเพราะเล่าปี่และซุนกวนก็เคยโดนลอบฆ่าทั้งนั้น เพียงแต่ทั้งสองไม่เคยมีประวัติว่าโดนถึงขั้นฉุดหรือโดนลักพาตัวซักครั้ง แต่โจโฉกลับโดนครบเครื่องทั้งฉุด-คร่า-อนาจารและลักพาตัว  ตามประวัติศาสตร์สามก๊กนั้นเหี้ยนเต้คือคนที่โดนลักพาตัวและโดนฉุดมากที่สุด แต่พระองค์เป็นแค่ในนาม(ไม่ได้เป็นจริงๆ) ขณะที่โจโฉเป็นผู้นำจริงๆ ที่โดนฉุดมาแล้วหลายครั้ง ลักพาตัวสามครั้งโดยประมาณและโดน...? อย่างน้อยหนึ่งครั้ง ซึ่งสร้างปัญหาให้เหล่าบริวารไม่น้อยเลยจริงๆ  เหตุผลพื้นๆ คือตำแหน่ง!? เห็นมั้ยครับว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมันเป็นยากมาตั้งแต่สมัยสามก๊กแล้วจริงๆ ไม่ได้พูดเล่น
     

    อันที่จริงจูล่งไม่ได้เป็นบอร์ดี้การ์ดคนเดียวของเจ้านาย ก่อนหน้านี้หน้าที่ปกป้องเล่าปี่เป็นหน้าที่ของกวนอูและเตียวหุย(ความจริงเล่าปี่ไม่จำเป็นต้องรับการปกป้องขนาดนั้นเพราะเค้าเก่ากว่าสองคนนั่น) ทั้งสองได้รับความไว้วางใจเพราะเป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่ตีนเท่าฝาหอย  ความใกล้ชิดนี้ทำให้ทั้งสามนอนเตียงเดียวกัน  ที่เล่าปี่ชอบนอนเตียงเดียวกับเพื่อนชายอาจะไม่ใช่แค่การแสดงความชอบพอหรือเชื่อใจ แต่เหตุผลลึกๆ อาจจะเป็นเพื่อความปลอดภัย โดยฝากชีวิตไว้ในการดูแลของเตียวหุย-กวนอู ซึ่งไว้ใจได้มากที่สุดและเรียกกันเป็นพี่เป็นน้อง(นับว่ามีจิตวิทยาการครองใจคนสูงมากจริงๆ) แต่เมื่อเวลาผ่านไปทั้งสองก็เลื่อนตำแหน่ง  มีคนใหม่มาแทนที่แต่จูล่งยังอยู่เท่าเดิม!?  จะบอกว่าเพราะเล่าปี่วางใจจูล่งจนไม่เลือกคนอื่นมาแทนก็คงจะไม่ใช่  ผมว่าเล่าปี่คงพิจารณาแล้วว่าให้จูล่งเป็นบอร์ดี้การ์ดนั้นเหมาะสมกว่าไปเป็นอย่างอื่น อย่าลืมนะครับว่าก่อนที่จะลงตัวที่บอร์ดี้การ์ดเล่าปี่ให้จูล่งทำมาหมดแล้วทั้งฝึกทหารและนำทัพลาดตะเวน เป็นไปได้ว่าเค้าอาจจะเอาใจใส่ลูกน้องมากเกินไปและสนใจรายละเอียดเล็กๆ ทำให้เล่าปี่เห็นว่าไม่เหมาะจะคุมคนจำนวนมากๆ เพราะ  หากสนใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จะเอาเวลาที่ไหนไปดูแลทุกคนจนครบได้ เค้าคงจะเหมาะกับการนำคนจำนวนสิบหรือยี่สิบคนซะมากกว่า

    เคาทูเองก็เป็นบอร์ดี้การ์ดต่อจากเตียนอุย และไม่ได้ทำตามลำพัง  ในทีมองครักษ์พิทักโจโฉยังมีหมันทอง งักจิ้น อิกิ๋ม และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ท้ายที่สุดทุกคนมีที่จะไป หมันทองเริ่มเข้าทีมที่ปรึกษามากขึ้น งักจิ้นเองโจโฉก็เห็นแววว่าเค้าเป็นแม่ทัพที่ดีได้จนในศึกเตียวสิ้ว โจโฉก็ถอดหมวกรบของตัวเองแล้วสวมให้งักจิ้นเพื่อให้งักจิ้นนำกองทัพ ซึ่งภายหลังงักจิ้นเป็นแม่ทัพที่มีไพร่พลในมือหลายหมื่นคน อิกิ๋มเองโจโฉก็วางใจให้คุมคนหลายพันคน ยิ่งกว่านั้นหากดูประวัติศาสตร์ชัดๆ จะเห็นว่าเวลาโจโฉโดนฉุด(ซึ่งส่วนใหญ่คนที่ทำตัวเป็นป๋าคอยดักฉุดน้องโฉก็มักเป็นเล่าปี่)คนที่ตามไปชิงตัวโจโฉกลับมาได้ส่วนใหญ่มักเป็นสุมาอี้ โจโฉเคยโดนลักพาตัว  หนึ่งในจำนวนนั้นเกิดโดนทหารม้าเฉียว คนที่ตามหาและช่วยไว้ก็เป็นนายจิ้งจอกเก้าหาง-ชงต๊ะอีกตามเคย ไหนจะตอนที่เกิดขบถ-มันก็อยู่กับโจโฉและโดนฟันขาดสะพายแล่ง นับว่าเป็นบอร์ดี้การ์ดอีกคนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่แล้วสุมาอี้-ชงต๊ะก็ได้ตำแหน่งที่ปรึกษาทหารทั้งที่ทำท่าจะเป็นบอร์ดี้การ์ดที่ดียิ่งกว่าเคาทูซะอีก  ทว่า.. เคาทูนั้นไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเพียงใด แม้จะได้เป็นพระยาแต่หลักๆ ก็ยังเป็นบอร์ดี้การ์ด(เหมือนเดิม)

    ไม่ต้องพูดถึงประวัติศาสตร์ที่บันทึกวีรกรรมความเก่งกาจ เพราะในนิยายความเก่งก็มีไม่น้อยไปกว่าประวัติศาสตร์ ลองอ่านสิครับจะพบว่าสองคนนี้เก่งจริงๆ แต่มีความเหลื่อมล้ำค่อนข้างมาก เพราะจูล่งนั้นได้ชื่อว่าเก่งจนไม่มีใครเอาเลือดได้ แต่เคาทูกลับไม่ค่อยมีใครพูดถึงมากทั้งๆ ที่เก่งจนต่อกรกับม้าเฉียวอย่างสูสีและคาดว่าน่าจะชนะด้วยหากการประลองไม่ล่มกลางทาง(หากจำได้ว่ามันล่มยังไง) ทั้งๆ ที่ม้าเฉียวตอนนั้นยังไม่เสียมวย โจโฉยังออกปากว่าเก่งเหมือนลิโป้สมัยหนุ่มๆ ซึ่งเตียวหุย-กวนอู-เล่าปี่ต้องเล่นบทเสือหมู่จึงทำให้ลิโป้ยอมถอยได้ เสียดายที่หลังรบแพ้โจโฉม้าเฉียวถึงกับเสียมวยทีเดียวและป่วยตายในเวลาไม่นาน ซึ่งเหตุผลพื้นๆ อาจจะเพราะเคาทูเป็นฝ่ายศัตรู-เป็นบอร์ดี้การ์ดโจโฉ
     

    อันที่จริงประวัติศาสตร์คงไม่ได้เวอร์ขนาดนั้น จูล่งคงไม่ได้บุกเดี่ยวฝ่าทัพโจโฉช่วยอาเต๊าได้เทพปานนั้น ไม่งั้นโจโฉคงไม่สั่ง "ห้ามยิงธนู" รวมทั้ง "เปิดทางให้หนี" เพราะหากจูล่งฆ่าทหารโจตายเป็นเบือจริง ด้วยนิสัยโจโฉในประวัติศาสตร์ เค้าคงไม่สั่งห้ามทหาร "ปกป้องพรรคพวกตัวเอง" โดยการห้ามยิงธนูหรอก  หากเป็นนายที่ไม่แยแสชีวิตลูกน้องซะแบบนั้นจะซื้อใจทหารเรือนแสนได้ยังไง  อย่าลืมว่าโจโฉเป็นที่รักของบรรดาข้าทหารและราษฎรทั่วไป(โดยเฉพาะชนชั้นล่าง)ทั้งๆ ที่เป็นคนเข้มงวดและโผงผาง ผิดกับเล่าปี่ที่มีวิธีซื้อใจคนที่ไม่ธรรมดา  แสดงว่าโจโฉต้องมีมนุษยธรรมที่เด่นชัดจนเป็นที่สังเกตเห็นได้แม้จะไม่ต้องแสดงออกมากมาย  ฉะนั้นผมจึงเห็นว่าสภาพการณ์จริงจูล่งคงอยู่ในสภาพที่ทุลักทุเลมากกว่าจะโคตรเทพเหมือนในนิยาย
     

    เช่นกัน... เคาทูเองก็อาจจะไม่ได้ปกป้องโจโฉขึ้นเรือในสภาพเหมือนในนิยาย  เหตุการณ์จริงอาจจะมีทั้งโจหองและโจเจียงร่วมกันปกป้องโจโฉก็ได้รวมทั้งหน่วยกล้าตายที่ช่วยกันต้านทหารม้าเฉียวเพื่อถ่วงเวลาให้โจโฉได้รับการช่วยเหลือซึ่งต้องให้เครดิตพวกเค้าเหล่านั้นมากกว่าจะให้เครดิตเคาทูแค่คนเดียว  รวมทั้งการประลองระหว่างเคาทูกับม้าเฉียวก็ไม่ได้มีเกิดขึ้นจริง อันที่จริงคนที่ประลองกับม้าเฉียวไม่ใช้เคาทูแต่เป็นหวังอี้(Wang Yi)ซึ่งเป็นภรรยาของขุนนางท้องที่(บังเอิญว่าเธอเป็นนักรบในกองทัพของต้วนจง-หวนฮูหยินด้วย) ซึ่งวีรกรรมที่หวังอี้คนนี้ได้ทำก็ทำให้โจโฉที่ทราบเรื่องประทับใจมาก หวังอี้จึงร่วมกองทัพของโจโฉและมีส่วนอย่างมากในการปราบขบถม้าเฉียว หากเราเล่นเกมส์DWเราจะได้เห็นหวังอี้ด้วย

    A หวังอี้-โจโฉ(เตี้ยกว่าเพื่อน)-และกุยแก

    ในประวัติศาสตร์มีเรื่องคาดไม่ถึงอีกเยอะครับ แต่ในบรรดาสิ่งที่ถูกบันทึกไว้นั้นก็ไม่แน่ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ด้วย  เพียงแต่เราก็คงเชื่อได้มากกว่านิยายล่ะครับ เพราะนิยายก็จินตนาการเรื่องราวขึ้นจากบันทึกประวัติศาสตร์นั่นแหละ ตอนหน้าผมจะยังพูดเรื่องการเมืองการปกครองของผู้นำสามก๊กต่อ เพียงแต่จะโฟกัสไปที่ส่วนอื่นๆ บ้าง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×