ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เฮฮาประสาสามก๊ก

    ลำดับตอนที่ #54 : จอมเวทย์ในสามก๊ก(มีอุยสีของราเบลด้วย)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.07K
      4
      5 ต.ค. 55

    จอมเวทย์ในสามก๊ก

    ในสามก๊กฉบับนิยายมีจอมเวทย์มากมายมาสร้างสีสัน ทั้งมีจริงบ้างไม่จริงบ้างสลับกันไปตามประสาเรื่องแต่ง ผมเองก็สนใจในระดับหนึ่งจึงค้นๆ มาให้อ่านกันพอเป็นความรู้ ซึ่งก็เหมือนกับที่ผมเคยเกริ่นๆ ไว้เมื่อนานมาแล้วว่า ไม่ต้องเชื่อผมไปซะทั้งหมด เพราะเรื่องที่ผมเอามาเล่าก็มีทั้งเรื่องจริงปนจิตนาการผสมกับมุกที่ได้บ้างแป๊กบ้าง บางเรื่องจำที่มาได้ บางเรื่องก็จำไม่ได้ว่าได้มายังไง จึงไม่ได้ทำเชิงอรรถไว้ แต่เอาเป็นว่าผมไม่ได้มั่วโดยไม่มีมูลก็แล้วกันนะครับ

    ในวิกิพีเดียฉบับจีนเองก็กล่าวถึงตัวโจจู๋ไว้คร่าวๆ นับได้เพียงสี่บรรทัด คือโผล่มาแสดงปฏิหาริย์แล้วก็จากไป ผมจึงต้องค้นเองและบังเอิญมีคำศัพท์คำหนึ่งที่จีนใช้แล้วอาจทำให้สับสน นั่นคือ "ลิ้มรส" ในภาษาจีนคงหมายถึงการ "ท้าทาย" หรือ "ลองหยั่งเชิง" พยายามแปลไปประมาณนะครับ ไม่งั้นท่านจะได้ประโยคที่จั๊กจี้มากๆ ถ้าไม่เชื่อเชิญดูนี่ "หลังจากโจจู๋ได้ลิ้มรสโจโฉแล้วก็มีใจครึกครื่น ก็จากไปอย่างหาที่ไปที่มาไม่ได้เช่นเดียวกับตอนที่มาในทีแรก" ซึ่งได้คำว่าลิ้มรสนี้ไม่ได้ปรากฏครั้งเดียวแต่ปรากฏหลายครั้งในพงศาวดาร โดยเฉพาะตอนที่เกี่ยวกับเรื่อง "เล่าปี่-โจโฉ" ที่จะเล่าในตอนถัดไป ตอนนี้กลับมาที่โจจู๋กันก่อน ไม่งั้นคนอ่านจะเตลิดไปถึงดาวนาเม็ก...  แม้จะแซ่โจแต่ไม่เกี่ยวกับตระกูลทั้งสามสายเนื่องจากเขียนด้วยอักษรจีนคนละตัว และตอนอ่านในภาษาจีนกลางก็คนละเสียงด้วย จากที่หาจะเป็นจะตายผมมั่นใจว่าโจจู๋มิได้มีตัวตนจริง แต่คนแต่งคงมีเจตนาที่สร้างตัวละครที่แสนเว่อร์นี่เพื่อความบันเทิงโดยหาสาระมิได้ เราจึงไม่มีความจำเป็นต้องจดจำอะไรมากไปกว่า "ตัวละคนในสามก๊กที่เป็นนักบวชในลัทธิเต๋า ผู้มาท้าทายและทำนายเกี่ยวกับการตายของโจโฉ"

    สามก๊กเวอร์ชั่นเทวดากับคนตัดฟืน(โจจู๋เป็นเทวดา ตุ้นเป็นคนตัดฟืน ส่วนโจโฉเป็นขวาน)

    แต่ตัวละครที่เราอาจจะต้องให้ความสำคัญคือนักพรตเต๋าอีกท่านที่มีนามว่า "อิเกียด" เนื่องจากนักประวัติศาสตร์สันนิฐานว่าเป็นคนที่มีตัวตนจริง แต่ด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนทำให้หลอกว้างจง(หรืออาจจะพ่อลูกเหมา)ให้รายละเอียดผิดไป เนื่องจากในประวัติศาสตร์สมัยสามก๊กมีอาจารย์สอนศาสนาโซโรอัสเตอร์สายเม้งกะผู้หนึ่งที่ชื่อ "อิเกียด" เพราะแม้จะไม่มีสวนไหนของพงศาวดารที่บอกว่าอิเกียดเป็นจอมเวทย์ที่สร้างความปั่นป่วนใจให้ซุนเซ็ก แต่ซุนเซ็กก็ได้ประหารอิเกียดจริงๆ เนื่องจากต้องการระดมไพร่พลมาเป็นทหาร แต่เม้งกะไม่รับคำสั่งทำให้ซุนเซ็กใช้ต้องไม้เด็ดกำราบโดยตั้งข้อหาว่า "บ่อนทำลายบ้านเมือง พยายามล้มล้างกฎหมายและจารีต(ลัทธิข่งจื้อ)ของแผ่นดิน" ซึ่งการกระทำอันนี้ของซุนเซ็กทำให้เม้งกะในกังตั๋งโกรธแค้นมาก นั่นทำให้พยัคฆ์ต้องถึงการอวสานเร็วกว่าที่ควรเป็น...  มีนักเขียนจีนท่านหนึ่งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ใน "ตำราพิเคราะห์สถานการณ์" ว่าด้วยเรื่องความสามารถในการคาดการของโจโฉ(หรือการคาดการณ์ของกุยแกในนิยาย)ว่า "หากซุนเซ็กไม่ตายโจโฉคงนอนตาไม่หลับ นี่อาจจะเป็นลิขิตสวรรค์ก็ได้ เพราะใครมันจะไปคาดการณ์ได้ถูกซะทุกอย่าง" ซึ่งผมเดาว่าตอนอ่านพงศาวดารท่านคงไม่ทันสังเกตว่าอิเกียดเป็นศาสนทูตเม้งกะ ซุนเซ็กทำแบบนี้ย่อมไม่ตายดีแน่

    อิเกียด คนที่ซุนเซ็กเข้าไปแหย่จนต้องสิ้นชีพ

    เตียวก๊กเป็นอีกคนที่นิยายบอกเล่าว่ามีเวทย์มนตร์ มีน้องชายสองคนคือเตียวโป้และเตียวหลาง ซึ่งอันนี้ต้องยอมครับ เพราะในประวัติศาสตร์เตียวก๊กก็เป็นผู้นำระดับหัวในเม้งกะ โดยมีตำแหน่งเป็นตัวแทนระหว่างสวรรค์กับโลกในการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตั้งแต่สวดพระเวทย์ไปจนการทำพิธีแรกนาขวัญ ในนิยายเขียนเกี่ยวกับคัมภีร์ที่เดียวก๊กได้มาแบบพิศดารพันลึกมากทั้งๆ ที่ความจริงอาจจะแค่มีมิชชันนารีมาสอนก็ได้ คนที่สอนศาสนาเช่นนี้เรียกกันว่าศาสนทูต แต่บางครั้งก็ใช้คำว่าทูตสวรรค์ หลอกว้านจงคงไม่เก็ทความหมายพวกอาหรับเลยตีความว่าเซียน(เทวดา)เอาคัมภีร์มาให้(สาธุ) แต่ตรงนี้เราก็จะเข้าใจได้อีกเหมือนกันว่าทำไม "โจโฉจึงเป็นประธานในพิธีแรกนาขวัญ หากเขาไม่คิดเป็นฮ่องเต้หรือตีตัวเสมือนฮ่องเต้จริง เพราะสิ่งนี้ตามประเพณีนั้นเป็นหน้าที่ของฮ่องเต้" คำตอบก็คือ "สถานภาพผู้นำทางศาสนจักรโซโรอัสเตอร์ในจีน" นั่นเอง เพราะพิธีแรกนาขวัญนี้ เป็นทั้งพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณีนิยม ซึ่งหากมองในด้านประเพณีฮ่องเต้ต้องทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว แต่สภาพการณ์ฮั่นตอนนั้น ทั้งสิบสองมณฆลถูกผูกมัดไว้ด้วยกันได้โดยสายใย "ศาสนา" โจโฉจึงต้องรวมใจคนด้วยศาสนาเป็นหลักครับ

    ผู้บุกเบิกศาสนาโซโรอัสเตอร์ให้กลายเป็นศาสนาสำคัญของจีนมาหลายร้อยปีก่อนจะเสื่อมลงในภายหลัง

    *อธิบายเพิ่ม.- แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนิกายหนึ่งที่แยกจากโซโรอัสเตอร์ แต่โซโรอัสเตอร์เดิมไม่นับเม้งกะเป็นพวกตนนะครับ ศาสดาจารย์ที่ก่อตั้งเม้งกะจึงโดนพวกโซโรอัสเตอร์เดิมฆ่าตายฐานบังอาจตีตัวเสมอศาสดา-ดัดแปลงคำสอนตามใจชอบ นี่น่าจะเป็นเหตุผลที่พวกม้าเฉียวไม่ยอมรับอำนาจโจโฉเพราะม้าเฉียวถือว่าเม้งกะเป็นพวกลัทธิเทียมเท็จ

    อย่างไรก็ตาม เตียวก๊กตายลงอย่างรวดเร็วและมีเงื่อนงำเมื่อกองทัพในการวางแผนโดยเสนาธิการโจโฉบุกยึกฐานที่มั่นได้สำเร็จ ไม่มีใครทราบว่าทางการจัดการกับพวกเม้งกะหัวรุนแรงอย่างไรบ้าง แต่ลูกศิษย์ส่วนใหญ่กลับหลบหนีเอาตัวรอดไปเหมือนอย่างที่ศานุศิษย์ทั้งหลายทิ้งพระเยซูไปกันหมดเมื่อจวนตัว  และพวกนี้ก็ทำเหมือนกันด้วยคือไปตั้งหลัก รวบรวมกำลัง แล้วกลับมาสู้กับรัฐอีกครั้ง

    อุยสี หรือ เยว่อิงเป็นภรรยาข่งเบ้ง(อันนี้ ราเบลเคยขอมา แต่ผมตอบช้าเพราะไม่ชัวส์เรื่องข้อมูล ตอนนี้หาให้ตามที่สัญญาแล้วนะครับ) แต่เธอมีความรู้ความสามารถสูงมากเมื่อเทียบกับคนสมัยนั้นโดยทั่วๆ ไป  คำว่า "เยว่" หมายถึงพวกทมิฬอินเดีย ไม่ได้หมายถึงพวกเวียดนาม(เย่)นะครับ แต่กระนั้นพวกแขกทั้งหลายไม่ว่าจะอินเดียหรืออาหรับคนจีนเรียกรวมๆ กันว่า "คนฮู้" แต่พวกที่มาจากเติร์กเมกิสถานและอูสเบกิสถานก็จะเรียกรวมๆ กันว่า "คนเฉา" ทั้งนี้เพราะพวกเฉาหน้าไม่เหมือนแขกทั่วไป... โดยรวมแล้วคือเมียข่งเบ้งเป็นพวกทมิฬที่มีผิวดำเมี่ยม และบังเอิญว่ามีผมสีบรอนซ์เหลือง แม้จะไม่มีเรื่องราวที่ชัดเจนนักแต่มีบันทึกเล่าว่าเธอนั้นแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สีฉูดฉาด และมีเวทย์มนตร์คาถา แม้ไม่มีบันทึกว่าเธอเรียนมาจากไหน แต่ก็คาดเดาได้ว่าคงเรียนจากแม่นั่นแหละ เพราะพ่อน่าจะเป็นคนฮั่นที่ไม่ได้ศึกษาพระเวทย์ แต่ก็สรุปไม่ได้ชัดนัก เท่าที่ค้นได้คือ "นางอุยสีเชี่ยวชาญเรื่องดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ เรียนพระเวทย์(คัมภีร์มนตร์ศาสนาพราหมณ์)จนแตกฉาน รู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ และคนทั้งเกงจิ๋วก็ล้วนกลัวนาง"

    ขอขอบคุณภาพจากDW

    ความจริงยิ่งกว่านั้นคือไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าเธอหน้าตาอัปลักษณ์ เพียงบอกว่าเธอผิวดำ ผมหยาบ แต่งกายไม่น่ามอง กล่าวคือเธออาจจะเป็นหญิงสาวหน้าตาธรรมดาก็ได้ ว่าตามตรงน่าจะสวยด้วยซ้ำเพราะเป็นสาวอินเดียซึ่งหน้าตาจะคมเป็นพิเศษ เพียงแต่เธอแต่งตัวไม่เหมาะกับธรรมเนียมฮั่น อาจจะไม่แยแสใครด้วย แล้วก็มีความสามารถที่เหนือกว่าคนอื่นๆ ทำให้เธอน่ากลัวและไม่น่าคบหา(อาจจะออกแนวบ๊องๆ บวมๆ ด้วย)

    นางอุยสีเป็นธิดาของนายอุยสิง่าน ไม่ทราบว่าพ่อเป็นฮั่นแท้หรือไม่ แต่แม่มาไกลจากอินเดีย ครอบครัวเจ้าหล่อนนับถือศาสนาพรมหมณ์(อืมมม... นายเบ้งนี่นอกจากจะกาหัวโจโฉเป็นศัตรูแล้ว หมอยังได้เมียเอกเป็นสาวอินเดียเหมือนที่นับถือศาสนาพราหมณ์เหมือนกันด้วยแฮะ) ไม่เพียงมีปัญญา ทำนายทายทักแม่นแล้ว ยังเก่งเรื่องการทรงเจ้าเข้าผีด้วย มีเรื่องเกี่ยวกับความกลัวของคนอื่นที่มีต่อเธออีกว่า เธอเคยสาปคนที่หมิ่นครอบครัวของเธอ จนคนกลัวกันไปหมด นั่นอาจจะเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไม่ไปยุ่งที่กระท่อมหลงจงมากนัก แต่เธอไมได้เก่งแต่เรื่องไสยศาสตร์เท่านั้น เธอเก่งปรัชญา ญาณวิทยา และยังเชียวชาญการทำค่ายกลด้วย นับว่าท่านเบ้งใจกล้าจริงที่เลือกเมียแบบนี้(ไม่กลัวโดนเสกหนังควายใส่ท้องบ้างเลย)

    **น้อยคนจะทราบว่าข่งเบ้งนั้นมีความสัมพันธ์กับสาวหลายนาง แต่เรื่องนี้ไม่ได้บอกชัดเจนนักในพงศาวดาร แต่บอกเป็นนัยย์ๆ ในภาค "เกร็ดพงศาวดาร"

    เตียวฬ่อก็เป็นหนึ่งในประธานสาขาเม้งกะ และประวัติศาสตร์ เขาเป็นอีกคนที่รวมคนมากมายมาในอาณัติได้ด้วยศาสนา... เป็นยุคทองของโซโรอัสเตอร์ในประเทศจีนจริงๆ อย่าทำเป็นเล่นไปนะครับ ทุกวันนี้เรายังมีซากโบสถ์สำหรับทำพิธีกรรมทางศาสนาของพวกโซโรอัสเตอร์กระจายทั่วทั้งภาคเหนือและอิสานของจีน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นทั้งนั้น แค่ที่โลหยาง-ฉางอานและสี่เชียง(ฮูโต๋)ก็มีโบสถ์โซโรอัสเตอร์อย่างน้อยสี่แห่งในแต่ละเมืองแล้วครับ คิดเอาแล้วกันว่าสมัยสามก๊กโซโรอัสเตอร์จะรุ่งเรืองมากเพียงใด... บันทึกประวัติศาสตร์บอกว่าเตียวฬ่อเล่นไสยศาสตร์ ติดต่อกับสวรรค์ ทำพิธีบูชาเทพเจ้าเพื่อเรียกลมเรียกฝนเหมือนอย่างที่เตียวก๊กทำ  คิดว่าเฉินโซ่วเองก็คงไม่ค่อยเก็ทเกี่ยวกับพวกโซโรอัสเตอร์ด้วยเช่นกัน เพราะสุมาเอี๋ยนเล่นล้างบางพวกเม้งกะเกือบหมดประเทศ--ชูนโยบายฟื้นฟูลัทธิหยู(อันที่จริงโจโฉไม่ได้ล้มล้างหยูนะครับ แต่ประกาศนโยบายชัดเจนเลยว่าหยูเป็นศาสนาประจำชาติ เพียงแต่ออกตัวชัดเจนเช่นกันว่าตัวเองไม่ได้เป็นหยู รวมทั้งสั่งให้พ่อแม่ต้องอนุญาตให้ลูกชายบวชในพุทธศาสนาได้แม้ว่าจะมีลูกชายคนเดียวก็ตาม)

    เตียวฬ่อ-เจ้าแห่งไฟ

    เตียวฬ่อต่อสู้กับโจโฉนั้นไม่ใช่แค่เรื่องชิงอำนาจธรรมดาแต่เป็นสงครามศาสนาด้วยซึ่งผลสรุปก็คือเตียวฬ่อต้องยอมจำนน ทำให้โจโฉรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางได้สำเร็จ

    บารมีเยอะจริงๆ เลยนะพ่อคุณ แล้วยิ่งสมัยนั้นผู้นำศาสนามีอำนาจกว่ากษัตริย์หรือพระสันตะปะปาในสมัยนี้อีก หรือพูดง่ายๆ คือ "โจโฉสั่งคำเดียวก็ยึดอำนาจพระเจ้าแผ่นดินได้เลย" เพราะว่าประชาชนที่อาศัยในสิบสองมณฑลทางเหนือ(ก๊กเว่ย)นั้นเป็นเม้งกะกว่าเจ็ดส่วนแล้ว ไม่แปลกในเลยว่าทำไมพวกข้าราชสำนักฮั่นสมัยนั้นจึงเกรงว่าโจโฉจะล้มเจ้า แม้ว่าโจโฉจะไม่คิดก็ตาม เพราะอิทธิพลเค้าเยอะออกปานนั้น... เมื่อก่อนผมไม่เก็ทเท่าไหร่แต่พอศึกษาประวัติศาสตร์สามก๊กมาจนตอนนี้แล้วก็เก็ทเลยว่าทำไมคนมากมายตราหน้าโจโฉเป็นขถบและเป็นศัตรูราชสมบัติ ทั้งๆ ที่พยายามพิสูจน์แทบตายก็ยังมีแต่คนวางแผนฆ่า เพราะอำนาจมันไม่ธรรมดาจริงๆ

    ถ้านึกภาพตามไม่ออก ลองคิดเล่นๆ เปรียบเทียบจีนสมัยสามก๊กเป็นประเทศไทย แล้ว "อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง" มีอำนาจเท่ากับโจโฉตอนนั้น(คือสั่งนักศึกษารามทั่วประเทศได้เหมือนโจโฉสั่งเม้งกะทั่วประเทศ) แล้วนักศึกษารามมีมากเพียงใดท่านทราบมั้ยครับ... คราวนี้สมมติว่าอธิการบดีม. รามสั่ง...คำเดียว

    ยึดประเทศได้เลย!!

    ตอนต่อไป... เราไปนินทาเล่าปี่/โจโฉกัน ปล. สำหรับท่านที่ไม่โปรดปราณเรื่องแปลก หรือท่านใดมีความจริงจังกับการศึกษาประวัติศาสตร์ กรุณาอย่าแปลคำว่า "ลิ้มรส" ด้วยความคิดอันแสนตื้น มิฉะนั้นท่านอาจจะฝันร้ายได้ ผมเตือนด้วยความหวังดีนะครับ เพราะผมพลาดมาแล้วรอบหนึ่ง เล่นเอาบ้าไปหลายวันเลย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×