ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    The Twilight Zone

    ลำดับตอนที่ #12 : ปริศนาเร้นลับที่ซ่อนอยู่ในมหานครอียิปต์

    • อัปเดตล่าสุด 21 ต.ค. 49


     

    "อียิปต์" ชื่อนี้เคยมีอำนาจและวัฒนธรรมอันเกรียงไกรในอดีต มีเรื่องราวที่น่าสนใจให้คนรุ่นหลังได้ค้นหามากมาย


    ดังเช่น มหานครแห่งวิหารเฮราคลีออน (Heracleion) ที่ซ่อนตัวอยู่ก้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean) มานานนับพันปี ซึ่งบันทึกสมัยโบราณได้บอกเล่าถึงวิหาร อันยิ่งใหญ่และงานเทศกาลอันอลังการ ที่ดึงดูดใจผู้คนจาก อเล็กซานเดรีย ให้มาเข้าร่วมงานกันอย่างคึกคัก ไม่เว้นแม้แต่ฟาโรห์ยังต้องเดินทางมาเพื่อประกอบพิธีบูชาเทพเจ้าที่นี่

    การสาบสูญไปโดยไร้ร่องรอย ของมหานครโบราณริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทำ ให้นักโบราณคดีกลุ่มหนึ่งพยายามค้นหามันให้พบ พวกเขาใช้เวลาถึง 6 ปี ดำน้ำในบริเวณอ่าวอาบูเกียร์ ใกล้กับเมืองอเล็กซานเดรียในปัจจุบัน ด้วยความเชื่อว่าใต้ทะเลบริเวณนี้ เคยเป็นมหานครที่ผู้บุกรุกชาวกรีกเข้าครอบครองเมื่อ 2,300 ปีก่อน และเป็นจุดเริ่มที่กองทัพกรีกใช้แผ่ขยายอำนาจไปทั่วอียิปต์

    ณ สุสานใต้น้ำที่ปกคลุมพื้นที่กว่า 500 ตารางกิโลเมตร พวกเขาค้นพบกำแพงยาว 500 ฟุต ซึ่งหากเปรียบเทียบสัดส่วนกัน เสาของวิหารแห่งนี้ก็น่าจะสูงถึง 100 ฟุต ในบริเวณเดียวกันมีสฟิงซ์แกรนิตสีแดง 8 ตัว และสฟิงซ์แกรนิตสีดำ 2 ตัว เรียงรายไปตามทางเหมือนถนนที่มุ่งไปสู่วิหารอียิปต์ และของใช้ที่บรรดานักบวชใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น อ่างทองเหลือง ทัพพี และถังที่ประดับประดาอย่างสวยงามสำหรับใช้บรรจุของสักการะ

    พวกเขาพบรูปปั้นขนาดยักษ์ สูง 19 ฟุต จำนวน 3 รูป ประกอบด้วยรูปปั้นราชินี รูปปั้นกษัตริย์ทัลเลอร์เมย์ บรรพบุรุษของคลีโอพัตรา และรูปปั้นเทพเจ้าฮาปี้ ตัวแทนความบริบูรณ์และความมั่งคั่ง ตั้งอยู่ด้านหน้าของวิหาร ซึ่งยืนยันว่าที่แห่งนี้เคยเป็นสถานที่สำคัญของผู้นำราชวงศ์ ทัลเลเมอิกแห่งอียิปต์มาก่อน

    นอกจากนี้ยังพบแท่นบูชาสูง 2 เมตร มีจารึกพระนามของเทพเจ้าอามุนแห่งเกอเร็บเอาไว้ ซึ่งแท่นบูชานี้คือบ้านของอามุน เพราะชาวอียิปต์เชื่อว่าเทพเจ้าของพวกเขามีบ้านทั้งบนโลกและบนสวรรค์ ทุกวันตอนรุ่งสางดวงจิตของอามุนจะหวนกลับมาบนโลก

    แต่สิ่งที่ทำให้ทีมนักสำรวจตื่นเต้นที่สุด ก็คือการค้นพบแผ่นหินหนัก 1 ตัน สลักเป็นภาษาฮีโรกลิฟ แนวดิ่ง 14 แถว ในสภาพสมบูรณ์ กล่าวว่านี่คือวิหารของอามุน แห่งเกอเร็บ หรือที่ชาวกรีกเรียกว่า นครแห่งเฮราคลีออน และเรื่องราวของเมืองรอบวิหาร ซึ่งบ่งชี้ว่านี่คือเฮราคลีออน เมืองที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนา และลัทธิของอียิปต์ในอดีตกาล

    บนแผ่นจารึกนั้น มีจารึกอักษรซึ่งมีใจความว่า "ประกาศภาษีต่อเรือสินค้าต่างชาติทั้งหมดที่มาที่แม่น้ำไนล์" ซึ่งคำบนแผ่นจารึกนั้น ตอกย้ำว่าเฮราคลีออนเคยเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอียิปต์ก่อนการรุกรานของกรีก โดยด้านบนของแผ่นหินมีรูปปั้นของฟาโรห์ เนคตาเนโบที่ 1 ผู้ปกครองอียิปต์ตั้งแต่ปี 362 ถึง 380 ก่อนคริสตกาล หนึ่งรุ่นก่อนอเล็กซานเดอร์เข้ายึดครองอียิปต์

    ส่วนภายในวิหาร พวกเขาพบรูปปั้นของเทพเจ้าโอไซริส ที่ชาวอียิปต์โบราณใช้แห่มาจากวิหารแห่งเฮราคลีออน ไปที่วิหารแคโนปัส ด้วยเรือท้องแบน เพื่อขอให้เทพประทานน้ำในแม่น้ำไนล์ให้เต็มเป็นประจำทุกปี อีกทั้งยังพบมัมมี่, ข้าวสาลีโอไซริส ซึ่งในจารึกบอกไว้ว่านักบวชหญิงจะผสมโคลนสูตรพิเศษของไนล์ แล้วฝังเมล็ดข้าวบาร์เลย์เข้าไป นำไปวางไว้ในอ่างศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธี เสกให้ธัญพืชอุดมสมบูรณ์ในช่วงเริ่มต้นของฤดูเพาะปลูก




    นักโบราณคดีให้ความเห็นว่า รูปปั้นฮาปี้และรูปโอไซริสที่ปั้นจากโคลนของไนล์ แสดงให้เห็นว่าสองลัทธินี้มีความสำคัญเกือบจะเท่าเทียมกันในวัฒนธรรมของเฮราคลีออน ซึ่งราชวงศ์ทัลเลอร์เมย์ที่แม้จะเป็นชาวกรีก ได้พยายามเชื่อมตนเองเข้ากับเทพเจ้าทั้งสองของอียิปต์ โดยอาศัยนักบวชที่วิหารแห่งนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดของอียิปต์ยุคนั้น


    เมื่อครั้งที่กองทัพกรีกรุกรานอียิปต์ พวกเขาได้พบกับดินแดนแห่งวิหารอันยิ่งใหญ่ และตระหนักว่าถ้าต้องการจะควบคุมคนอียิปต์ พวกเขาจะต้องควบคุมวิหารอียิปต์ให้ได้เสียก่อน เนื่องจากอามุน มีอำนาจในการให้สิทธิการปกครองต่อกษัตริย์และฟาโรห์  ในตำนานกล่าวไว้ว่า อเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นผู้พิชิตคนแรกที่ได้รับศักดิ์และสิทธิอันชอบธรรมในการปกครองอียิปต์  ด้วยการโน้มน้าวให้นักบวชแห่งอามุน ประกาศรับรองเขาในฐานะเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ และทำให้เขากลายเป็นฟาโรห์ที่แท้จริง


    ความสัมพันธ์ระหว่างนักบวชและผู้นำทัลเลอร์เมย์ ดำเนินต่อเนื่องจนสามารถปกครองอียิปต์ยาวนาน แต่เหตุใดมหานครแห่งวิหารเฮราคลีออนและสิ่งปลูกสร้างอันยิ่งใหญ่จึงพังทลายและจมอยู่ใต้ทะเล นี่เป็นเรื่องที่ทีมสำรวจต้องการค้นหาคำตอบ


    ลึกลงไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นักโบราณคดีใต้น้ำได้พบซากเรือโบราณนับสิบ บริเวณรอบฐานของวิหารพบกองไม้ที่จมอยู่จำนวนมาก รวมทั้งพบกระดูกคนติดอยู่ใต้ซากตึกในวิหาร ซึ่งชี้ให้เห็นถึงหายนะครั้งใหญ่ หลักฐานหลายอย่างบ่งบอกว่ามันเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ เช่น การพบทอง เครื่องประดับ เหรียญ แผ่นทอง กระจายอยู่ในบริเวณวิหาร เพราะหากไม่ใช่ภัยธรรมชาติของพวกนี้คงถูกคนเก็บไปหมด


    และนี่คือสิ่งที่ช่วยย้ำเตือนว่า ครั้งหนึ่งที่นี่เป็นเคยเป็นเมืองที่ถูกลบเลือนไปจากประวัติศาสตร์อย่างกะทันหัน
    เครดิตจาก น.ส.พ.ไทยรัฐ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×